เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 วินีตวัตถุ

ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะกล่าวอวด
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ 4)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งบอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “พวกภิกษุอันเตวาสิกของพระ
อุปัชฌาย์ของพวกเราล้วนมีฤทธานุภาพมาก” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะกล่าว
อวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่องที่ 5)

เรื่องอิริยาบถ 4 เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้จึงเดิน
จงกรม ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเดินจงกรมด้วยปรารถนาอย่าง
นั้น ภิกษุใดเดินจงกรมด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ 6)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้จึงยืน
ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยืนด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุ
ใดยืนด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ 7)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้จึงนั่ง
ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนั่งด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุใด
นั่งด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ 8)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้ จึงนอน
ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนอนด้วยปรารถนาอย่างนั้น
ภิกษุใดนอนด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ 9)

เรื่องละสังโยชน์ 1 เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แม้
ภิกษุรูปนั้นก็กล่าวอวดว่า “แม้กระผมก็ละสังโยชน์1 ได้” ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ 10)

เรื่องธรรมในที่ลับ 2 เรื่อง

[224] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่สงัด กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ภิกษุผู้รู้ความคิดของผู้อื่นรูปหนึ่งตักเตือนท่านว่า “ท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น เพราะ
ท่านไม่มีธรรมเช่นนั้น” ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ 11)
สมัยนั้น ภิกษุอีกรูปหนึ่งอยู่ในที่สงัด กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม เทพดาตัก
เตือนท่านว่า “พระคุณเจ้า พระคุณเจ้าอย่ากล่าวอย่างนั้น เพราะพระคุณเจ้าไม่มี
ธรรมอย่างนั้น” ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ 12)

เชิงอรรถ :
1 สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ มี 10 อย่าง คือ (1) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
(2) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (3) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต (4) กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
(5) ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ (6) รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม (7) อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
(8) มานะ ความถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่ (9) อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน (10) อวิชชา ความไม่รู้จริง (ดู สํ.ม. 19/
180-181/56-57, องฺ.ทสก. 24/13/14, อภิ.วิ. 35/940/460)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :214 }