เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 วินีตวัตถุ

ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะกล่าวอวด
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ 4)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งบอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “พวกภิกษุอันเตวาสิกของพระ
อุปัชฌาย์ของพวกเราล้วนมีฤทธานุภาพมาก” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะกล่าว
อวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่องที่ 5)

เรื่องอิริยาบถ 4 เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้จึงเดิน
จงกรม ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเดินจงกรมด้วยปรารถนาอย่าง
นั้น ภิกษุใดเดินจงกรมด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ 6)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้จึงยืน
ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยืนด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุ
ใดยืนด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ 7)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้จึงนั่ง
ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนั่งด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุใด
นั่งด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ 8)