เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 บทภาชนีย์

สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ
อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา 3 สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5
พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
และอรหัตตผล ... เข้าอยู่ ... เป็นผู้เข้าแล้ว ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้อรหัตตผล ...
เป็นผู้ชำนาญ ... ภิกษุรูปนั้นทำอรหัตตผลให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ 3 อย่าง ... เมื่อผู้
อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นสละราคะ
แล้ว ฯลฯ สละโมหะแล้ว ฯลฯ สละ คลาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว
ด้วยอาการ 3 อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน จิตของภิกษุรูปนั้น
ปลอดจากราคะ ... จากโทสะ ... จิตปลอดจากโมหะ ด้วยอาการ 3 อย่าง ฯลฯ
ด้วยอาการ 7 อย่าง คือ (1) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กำลังกล่าวเท็จ (3) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น
(5) อำพรางความเห็นชอบ (6) อำพรางความพอใจ (7) อำพรางความประสงค์
เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้า
ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ในเรือนว่างแล้ว ... เข้าอยู่ ... เป็นผู้เข้า
แล้ว ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้จตุตถฌานในเรือนว่าง ... เป็นผู้ชำนาญ ... ภิกษุรูปนั้นทำ
จตุตถฌานให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ 3 อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ 7 คือ (1) เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (3) ครั้นกล่าว
แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น (5) อำพรางความเห็นชอบ
(6) อำพรางความพอใจ (7) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
แม้ที่เหลือก็พึงขยายให้พิสดารเหมือนกับที่ได้ขยายมานี้


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 อนาปัตติวาร

[221] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดใช้สอยจีวรของท่าน ภิกษุรูปใด
ฉันบิณฑบาตของท่าน ภิกษุรูปใดใช้สอยเสนาสนะของท่าน ภิกษุรูปใดบริโภค
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของท่าน วิหารของท่านภิกษุรูปใดใช้สอยแล้ว จีวรของท่าน
ภิกษุรูปใดใช้สอยแล้ว บิณฑบาตของท่านภิกษุรูปใดฉันแล้ว เสนาสนะของท่าน
ภิกษุรูปใดใช้สอยแล้ว คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของท่านภิกษุรูปใดบริโภคแล้ว ท่าน
อาศัยภิกษุรูปใดแล้วได้ถวายวิหาร ได้ถวายจีวร ได้ถวายบิณฑบาต ได้ถวาย
เสนาสนะ ได้ถวายคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุรูปนั้น เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน
ตติยฌาน จตุตถฌาน ในเรือนว่าง ... เข้าอยู่ ... เป็นผู้เข้าแล้ว ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้
จตุตถฌาน ในเรือนว่าง ... เป็นผู้ชำนาญ ... ภิกษุรูปนั้นทำจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว
ในเรือนว่าง ฯลฯ ด้วยอาการ 3 อย่าง ... 7 อย่าง คือ (1) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (3) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น (5) อำพรางความเห็นชอบ (6) อำพรางความพอใจ
(7) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติทุกกฏ

เปยยาล 15 หมวด จบ
ปัจจัยปฏิสังยุตตวารกถา จบ
อุตตริมนุสสธรรมจักรเปยยาล จบ

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[222] 1. ภิกษุผู้สำคัญว่าได้บรรลุ
2. ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด
3. ภิกษุวิกลจริต
4. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
5. ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
6. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :210 }