เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 บทภาชนีย์

(5) อำพรางความเห็นชอบ (6) อำพรางความพอใจ (7) อำพรางความประสงค์
เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย

พัทธจักร สัพพมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ จบ
จักรเปยยาลแห่งวัตถุวิสารกะ จบ
วัตตุกามวารกถา จบ

ปัจจยปฏิสังยุตตวารกถา
เปยยาล 15 หมวด

[220] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้น
เข้าปฐมฌานแล้ว ... เข้าอยู่ ... เป็นผู้เข้าแล้ว ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้ปฐมฌาน
... เป็นผู้ชำนาญ ... ภิกษุรูปนั้นทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ 3 อย่าง คือ
(1) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (3) ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้า
ปฐมฌานแล้ว ... เข้าอยู่ ... เป็นผู้เข้าแล้ว ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ... เป็น
ผู้ชำนาญ ... ภิกษุรูปนั้นทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ 4 อย่าง ฯลฯ ด้วย
อาการ 5 อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ 6 อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ 7 อย่าง คือ (1)
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (3) ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น (5) อำพรางความเห็นชอบ
(6) อำพรางความพอใจ (7) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้า
ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :208 }