เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 บทภาชนีย์

ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและตติยฌานแล้ว แต่กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ด้วยอาการ 3 อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและตติยฌานแล้ว แต่กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ 3 อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ 7
อย่าง คือ ฯลฯ (7) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก
เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย

พัทธจักร ทุมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ จบ

พัทธจักร ทุมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ

ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ และจิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ 3 อย่าง
... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ และจิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ ด้วยอาการ 3
อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ 7 อย่าง คือ ฯลฯ (7) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่น
เข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย

พัทธจักร ทุมูลกนัย แห่งวัตถุวิสารกะที่ท่านย่อไว้ จบ

พัทธจักร ติมูลกนัยก็ดี จตุมูลกนัยก็ดี ปัญจมูลกนัยก็ดี ฉมูลกนัยก็ดี
สัตตมูลกนัยก็ดี อัฏฐมูลกนัยก็ดี นวมูลกนัยก็ดี ทสมูลกนัยก็ดี แห่งวัตถุวิสารกะ
บัณฑิตพึงตั้งขยายให้เหมือน พัทธจักรแม้ที่เป็นเอกมูลกนัยแห่งนิกเขปบทที่ขยายไว้แล้ว
พึงขยายให้พิสดารเหมือนพัทธจักรเอกมูลกนัยที่ท่านขยายให้พิสดารไว้แล้วเถิด
คำที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นพัทธจักร สัพพมูลกนัย
[218] ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ