เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 บทภาชนีย์

เท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น (5) อำพรางความเห็นชอบ (6) อำพรางความ
พอใจ (7) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก

สัพพมูลกนัย จบ
สุทธิกวารกถา จบ

วัตตุกามวารกถา
ขัณฑจักรแห่งเอกมูลกนัย
วัตถุวิสารกะ

[215] ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้ง
ที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว” ด้วยอาการ 3 อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า
ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ 3 อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก
เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า
ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ 3 อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า
ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ อนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ
สุญญตสมาธิ ฯลฯ อนิมิตตสมาธิ ฯลฯ อัปปณิหิตสมาธิ ฯลฯ สุญญตสมาบัติ
ฯลฯ อนิมิตตสมาบัติ ฯลฯ อัปปณิหิตสมาบัติ ฯลฯ วิชชา 3 ฯลฯ สติปัฏฐาน 4
ฯลฯ สัมมัปปธาน 4 ฯลฯ อิทธิบาท 4 ฯลฯ อินทรีย์ 5 ฯลฯ พละ 5 ฯลฯ
โพชฌงค์ 7 ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ 8 ฯลฯ โสดาปัตติผล ฯลฯ สกทาคามิผล
ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผลแล้ว ด้วยอาการ 3 อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :203 }