เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 บทภาชนีย์

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ด้วยอาการ 4
อย่าง คือ (1) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(3) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ด้วยอาการ 5
อย่าง คือ (1) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(3) ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น (5) อำพราง
ความเห็นชอบ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ด้วยอาการ 6 อย่าง
คือ (1) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (3)
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น (5) อำพรางความ
เห็นชอบ (6) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ด้วยอาการ 7
อย่าง คือ (1) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(3) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น (5) อำพรางความ
เห็นชอบ (6) อำพรางความพอใจ (7) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก
[ปฐมฌานนี้นักปราชญ์ให้พิสดารแล้ว ฉันใด แม้ฌานทั้งมวลก็พึงให้พิสดาร
ฉันนั้น]

ทุติยฌาน ตติยฌานและจตุตถฌาน

[206] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว” ด้วยอาการ 3
อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌานแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้จตุตถฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ...
ข้าพเจ้าทำจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ 7 อย่าง คือ (1) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (3) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น (5) อำพรางความเห็นชอบ (6) อำพรางความพอใจ
(7) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :190 }