เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 บทภาชนีย์

คำว่า เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ คือ ยกเว้นการสำคัญว่าได้บรรลุ
คำว่า แม้ภิกษุนี้ คือ ภิกษุที่พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบกับภิกษุรูปก่อน ๆ
คำว่า เป็นปาราชิก ความว่า ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยาก
ครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ไม่เป็นจริง ย่อมไม่เป็นสมณะไม่เป็น
เชื้อสายศากยบุตร เปรียบเหมือนต้นตาลยอดด้วนที่ไม่อาจงอกได้ต่อไป ดังนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “เป็นปาราชิก”
คำว่า หาสังวาสมิได้ อธิบายว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่ทำร่วมกัน
อุทเทศที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับภิกษุ
รูปนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “หาสังวาสมิได้”

บทภาชนีย์

[199] ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ
ฌาณทัสสนะ มรรคภาวนา การทำผลให้แจ้ง การละกิเลส ภาวะที่จิตปลอดจาก
กิเลส ความยินดีในเรือนว่าง
คำว่า ฌาน ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
คำว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
คำว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ
คำว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ
คำว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา 3
คำว่า มรรคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4
อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8
คำว่า การทำผลให้แจ้ง ได้แก่ การทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง การทำ
สกทาคามิผลให้แจ้ง การทำอนาคามิผลให้แจ้ง การทำอรหัตตผลให้แจ้ง
คำว่า การละกิเลส ได้แก่ การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ
คำว่า ภาวะที่จิตปลอดจากกิเลส ได้แก่ ภาวะที่จิตปลอดจากราคะ ภาวะ
ที่จิตปลอดจากโทสะ ภาวะที่จิตปลอดจากโมหะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :185 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 บทภาชนีย์

คำว่า ความยินดีในเรือนว่าง ได้แก่ ความยินดีในเรือนว่างด้วยปฐมฌาน
ความยินดีในเรือนว่างด้วยทุติยฌาน ความยินดีในเรือนว่างด้วยตติยฌาน ความ
ยินดีในเรือนว่างด้วยจตุตถฌาน

สุทธิกวารกถา
สุทธิกฌาน
ปฐมฌาน

[200] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ 3
อย่าง คือ (1) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(3) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ 4 อย่าง
คือ (1) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(3) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ 5 อย่าง
คือ (1) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(3) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น (5) อำพราง
ความเห็นชอบ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ 6 อย่าง
คือ (1) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(3) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น (5) อำพราง
ความเห็นชอบ (6) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ 7 อย่าง
คือ (1) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(3) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น (5) อำพรางความเห็น
ชอบ (6) อำพรางความพอใจ (7) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก