เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 สิกขาบทวิภังค์

คำว่า น้อมเข้ามาในตน ได้แก่ น้อมกุศลธรรมเหล่านั้นเข้าในตน หรือน้อม
ตนเข้าในกุศลธรรมเหล่านั้น
คำว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา 3
คำว่า ทัสสนะ ได้แก่ ญาณก็คือทัสสนะ ทัสสนะก็คือญาณ
คำว่า กล่าวอวด คือ บอกแก่ชายหรือแก่หญิง แก่บรรพชิตหรือแก่คฤหัสถ์
คำว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ความว่า “ข้าพเจ้ารู้ธรรมเหล่านั้น เห็น
ธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพเจ้า และข้าพเจ้าย่อมเห็นชัดธรรมเหล่านั้น”
คำว่า ครั้นสมัยต่อจากนั้น คือ ล่วงขณะ ลยะ ครู่ ที่กล่าวอวดนั้น1
คำว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตาม คือ มีผู้โจทก์ในเรื่องที่เธอกล่าวอ้างว่า
“ท่านบรรลุอะไร บรรลุอย่างไร บรรลุเมื่อไร บรรลุที่ไหน ละกิเลสเหล่าไหนได้ ได้
ธรรมอะไร”
คำว่า ไม่โจท คือ ไม่มีใคร ๆ กล่าว
คำว่า ผู้ต้องอาบัติแล้ว ความว่า ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยาก
ครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริงไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
คำว่า หวังความบริสุทธิ์ คือ ประสงค์จะเป็นคฤหัสถ์ อุบาสก อารามิก (คนวัด)
หรือสามเณร
คำว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ข้าพเจ้าไม่เห็น
อย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ความว่า ภิกษุกล่าวว่า “ข้าพเจ้าไม่รู้ธรรมเหล่านั้น ไม่
เห็นธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นไม่มี และข้าพเจ้าก็ไม่เห็นชัดธรรมเหล่านั้น”
คำว่า กล่าวคำไร้ประโยชน์ เป็นคำเท็จ ความว่า ข้าพเจ้ากล่าวคำไร้
ประโยชน์ กล่าวเท็จ กล่าวไม่จริง กล่าวสิ่งที่ไม่มี ข้าพเจ้าไม่รู้กล่าวไปแล้ว

เชิงอรรถ :
1 ดีดนิ้วมือ 10 ครั้งเป็น 1 ขณะ, 10 ขณะเป็น 1 ลยะ, 10 ลยะเป็น 1 ขณลยะ, 10 ขณลยะเป็น 1 ครู่
(ดู อภิธา.ฏี. คาถา 66-67)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :184 }