เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 4
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา

ปาราชิกสิกขาบทที่ 4
ว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา

[193] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมาก เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมา
จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา คราวนั้น วัชชีชนบทเกิดข้าวยากหมากแพง
ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาว
เกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้ ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดว่า “บัดนี้
วัชชีชนบทเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปัน
ส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้
ทำอย่างไรหนอ พวกเราจึงจะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำ
พรรษาอย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ภิกษุบางพวกเสนอว่า “ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกเรามาช่วยกันทำงาน
ของพวกคฤหัสถ์ เมื่อช่วยทำงาน พวกเขาก็คงจะพอใจถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา
โดยวิธีนี้แหละ พวกเราก็จะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกันอยู่จำพรรษา
อย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ภิกษุอีกพวกเสนอว่า “อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ทำไมพวกเราจะต้องไปช่วย
กันทำงานของพวกคฤหัสถ์ ขอให้พวกเรามาช่วยกันทำหน้าที่ทูตนำข่าวสารให้พวก
คฤหัสถ์จะดีกว่า เมื่อทำอย่างนี้ พวกคฤหัสถ์ก็คงจะพอใจถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา
โดยวิธีนี้แหละพวกเราก็จะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกันอยู่จำพรรษา
อย่างผาสุกและบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ภิกษุอีกพวกเสนอว่า “อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ทำไมพวกเราจะต้องไปช่วย
กันทำงานหรือทำหน้าที่ทูตนำข่าวสารให้พวกคฤหัสถ์ ทางที่ดีพวกเรามากล่าวอวด
อุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังว่า ‘ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูป
โน้นได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้ตติยฌาน รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 4
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา

รูปโน้นเป็นพระสกทาคามี รูปโน้นเป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้น
ได้วิชชา 3 รูปโน้นได้อภิญญา 6’ เมื่อพูดอย่างนี้ พวกคฤหัสถ์ก็คงจะพอใจถวาย
บิณฑบาตแก่พวกเรา โดยวิธีนี้พวกเราจะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน
อยู่จำพรรษาอย่างผาสุกและบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ในที่สุด ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดตกลงกันว่า “ท่านทั้งหลาย วิธีที่พวกเราพากัน
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธีอื่น”
[194] ต่อมาภิกษุเหล่านั้นได้พากันกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกัน
และกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังว่า “ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน ฯลฯ รูปโน้นได้จตุตถฌาน
รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน ฯลฯ รูปโน้นได้อภิญญา 6 ”
ครั้งนั้นแล ประชาชนก็พากันยินดีว่า “เป็นลาภของพวกเราหนอ พวกเราได้
ดีแล้วหนอที่มีภิกษุทั้งหลายเช่นนี้มาอยู่จำพรรษา เพราะแต่ก่อนนี้พวกเราไม่มีภิกษุ
ทั้งหลายที่มีคุณสมบัติ เหมือนอย่างภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้มาอยู่จำ
พรรษาเลย” โภชนะ (อาหาร) ... ขาทนียะ (ของขบเคี้ยว) ... สายนียะ (ของลิ้ม) ...
ปานะ (เครื่องดื่ม) ชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่รับประทาน
ไม่ขบเคี้ยว ไม่ลิ้ม ไม่ดื่มด้วยตนเอง ทั้งไม่ให้แก่มารดาบิดา บุตร ภรรยา คนรับใช้
กรรมกร มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิต
ภิกษุเหล่านั้น จึงเป็นผู้มีน้ำมีนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีใบหน้าเอิบอิ่ม มีผิว
พรรณผุดผ่อง มีประเพณีอยู่ว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วจะไปเข้าเฝ้าพระผู้
มีพระภาค ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาครบ 3 เดือนแล้วจึงเก็บเสนาสนะ ถือบาตร
และจีวรออกเดินทางมุ่งไปสู่กรุงเวสาลี จาริกไปโดยลำดับ ถึงกรุงเวสาลี ผ่านป่ามหา
วัน ไปถึงกูฏาคารศาลา แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึงถวาย
บังคม แล้วนั่งลงอยู่ ณ ที่สมควร

ภิกษุต่างทิศมาเข้าเฝ้า

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาอยู่ในทิศต่างๆ ดูซูบผอม ซอมซ่อ มีผิว
พรรณหมองคล้ำ ซีด เหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง ส่วนภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทากลับ