เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 3 บทภาชนีย์

ภิกษุนำรสที่น่าชอบใจเข้าไปใกล้ ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มรสนี้แล้วจะซูบผอมตาย
เพราะไม่ได้(รสนั้น) ต้องอาบัติทุกกฏ เขาเห็นรูปนั้นแล้วซูบผอมเพราะไม่ได้(รสนั้น)
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก

การนำโผฏฐัพพะเข้าไปใกล้

ที่ชื่อว่า การนำโผฏฐัพพะเข้าไปใกล้ ได้แก่ ภิกษุนำโผฏฐัพพะที่ไม่น่าพอใจ
มีสัมผัสไม่สบายและแข็งกระด้างเข้าไปใกล้ ด้วยตั้งใจว่า เขาถูกต้องสิ่งนี้แล้วจะตาย
ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาถูกต้องสิ่งนั้นแล้วเกิดทุกขเวทนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขา
ตาย ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุนำโผฏฐัพพะที่น่าพอใจ มีสัมผัสสบาย อ่อนนุ่ม เข้าไปใกล้ ด้วยตั้งใจว่า
เขาถูกต้องสิ่งนี้แล้ว จะซูบผอมตายเพราะไม่ได้(โผฏฐัพพะนั้น) ต้องอาบัติทุกกฏ
เขาถูกสิ่งนั้นแล้ว ซูบผอมเพราะไม่ได้(โผฏฐัพพะนั้น) ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย
ต้องอาบัติปาราชิก

การนำธรรมารมณ์เข้าไปใกล้

ที่ชื่อว่า การนำธรรมารมณ์เข้าไปใกล้ ได้แก่ ภิกษุแสดงเรื่องนรกแก่คนผู้
ควรจะเกิดในนรกด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่องนรกนี้แล้ว จะตกใจตาย ต้องอาบัติทุกกฏ
เขาฟังเรื่องนั้นแล้ว ตกใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุแสดงเรื่องสวรรค์แก่บุคคลผู้กระทำความดี ด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่องนี้
แล้ว จะสมัครใจตาย ต้องอาบัติทุกกฏ เขาฟังเรื่องนั้นแล้ว คิดว่า เราจะยอมตายละ
แล้วทำทุกขเวทนาให้เกิดขึ้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก

การบอก

[179] ที่ชื่อว่า การบอก ได้แก่ ภิกษุถูกถามแล้วบอกว่า “ท่านจงตาย
อย่างนี้ ผู้ตายอย่างนี้จะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือได้ไปสวรรค์” ต้องอาบัติทุกกฏ เขา
คิดว่า จะตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิดตามการบอกนั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขา
ตาย ต้องอาบัติปาราชิก


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 3 อนาปัตติวาร

การแนะนำ

ที่ชื่อว่า การแนะนำ ได้แก่ ภิกษุที่เขาไม่ได้ถามแต่แนะนำให้เขาตายว่า
“ท่านจงตายอย่างนี้ ผู้ตายอย่างนี้จะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือได้ไปสวรรค์” ต้องอาบัติ
ทุกกฏ เขาคิดว่า “จะตาย” แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิดตามการแนะนำนั้น ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก

การนัดหมาย

ที่ชื่อว่า การนัดหมาย ได้แก่ ภิกษุทำการนัดหมายว่า “จงฆ่าเขา ตามเวลา
นัดหมายนั้น คือ ในเวลาก่อนอาหาร หรือในเวลาหลังอาหาร ในเวลากลางคืน หรือ
ในเวลากลางวัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้รับคำสั่งฆ่าเขาสำเร็จตามเวลานัดหมายนั้น
ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป ฆ่าเขาได้ก่อนหรือหลังเวลานัดหมายนั้น ผู้นัดหมาย
ไม่ต้องอาบัติ ผู้ฆ่าต้องอาบัติปาราชิก

การทำนิมิต

ที่ชื่อว่า การทำนิมิต ได้แก่ ภิกษุทำนิมิตว่า “เราจักขยิบตา ยักคิ้ว หรือผงก
ศีรษะ ท่านจงฆ่าเขาตามที่เราทำนิมิตนั้น” ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้รับสัญญาณ ฆ่าเขา
สำเร็จตามนิมิตนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป ฆ่าเขาได้ก่อนหรือหลังการทำนิมิต
ผู้ทำนิมิตไม่ต้องอาบัติ ผู้ฆ่าต้องอาบัติปาราชิก

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
1. ภิกษุไม่จงใจ
2. ภิกษุไม่รู้
3. ภิกษุไม่มีความประสงค์จะฆ่า
4. ภิกษุวิกลจริต
5. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน
6. ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
7. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปฐมภาณวาร ในมนุสสวิคคหปาราชิก จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :150 }