เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 3 สิกขาบทวิภังค์

ว่า “ท่านผู้เจริญ จะมีชีวิตอย่างลำบากยากเข็ญนี้ไปทำไม ท่านตายเสียดีกว่า
ดังนี้” เธอมีจิตใจอย่างนี้ มีดำริในใจอย่างนี้ กล่าวพรรณนาคุณความตาย
หรือชักชวนเพื่อความตายโดยประการต่าง ๆ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หา
สังวาสมิได้

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[172] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า จงใจ ได้แก่ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ตั้งใจ ล่วงละเมิด
ที่ชื่อว่า กายมนุษย์ ได้แก่ จิตดวงแรกเกิด คือวิญญาณดวงแรกปรากฏขึ้นใน
ครรภ์มารดา จนถึงเวลาตาย อัตภาพในระหว่างนี้ชื่อว่ากายมนุษย์
คำว่า พรากจากชีวิต ได้แก่ ตัดทำลายชีวิตินทรีย์ ตัดความสืบต่อ
คำว่า แสวงหาศัสตราอันจะพรากกายมนุษย์นั้น ได้แก่ แสงหาดาบ หอก
ฉมวก หลาว ค้อน หิน มีด ยาพิษ หรือเชือก
คำว่า กล่าวพรรณนาคุณความตาย ได้แก่ แสดงโทษในความมีชีวิตอยู่
พรรณนาคุณความตาย
คำว่า ชักชวนเพื่อให้ตาย คือ ชักชวนให้นำมีดมา ให้กินยาพิษหรือให้เอา
เชือกผูกคอตาย
คำว่า ท่านผู้เจริญ เป็นคำร้องเรียก
คำว่า จะมีชีวิตอย่างลำบากยากเข็ญนี้ไปทำไม ท่านตายเสียดีกว่า นั้นมี
อธิบายว่า ชีวิตที่ชื่อว่ายากแค้น คือ เทียบชีวิตของคนมั่งคั่ง ชีวิตของคนขัดสนก็ชื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :141 }