เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 3 ปฐมบัญญัตินิทาน

อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว อานาปานสติสมาธิที่เจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้ว
อย่างไร จึงเป็นสภาพสงบประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขและทำอกุศล
ธรรมชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า1 มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า2

อานาปานสติ 16 ขั้น3

(1) เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
(2) เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
(3) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจออก
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจเข้า
(4) สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจออก
สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า
(5) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจออก
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจเข้า
(6) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจออก
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจเข้า
(7) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจออก
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจเข้า

เชิงอรรถ :
1 กำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน
2 ตามอรรถกถาวินัยนี้ อัสสาสะ หายใจออก ปัสสาสะ หายใจเข้า (อสฺสาโสติ พหินิกฺขมนวาโต. ปสฺสาโสติ
อนฺโตปวิสนวาโต. วิ.อ. 1/165/446) ส่วนตามอรรถกถาพระสูตร กลับกัน อัสสาสะ หายใจเข้า ปัสสาสะ
หายใจออก (อสฺสาโสติ อนฺโตปวิสนนาสิกวาโต. ปสฺสาโสติ พหินิกฺขมนนาสิกวาโต. ม.อ. 2/305/136)
3 ม.ม. 13/141/95-6, ม.อุ. 14/147/130-131, สํ.ม. 19/977/269

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :137 }