เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 3 ปฐมบัญญัตินิทาน

อสุภสมาบัติเนือง ๆ โดยประการต่าง ๆ’ จึงพากันประกอบความเพียรในการเจริญ
อสุภกัมมัฏฐานหลายประการ กระทั่งเกิดความรู้สึกอึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจร่าง
กายของตน เหมือนชายหรือหญิงที่เป็นหนุ่มเป็นสาวชอบแต่งตัวอาบน้ำสระเกล้า มี
ซากศพงู ซากศพสุนัขหรือซากศพมนุษย์ มาติดอยู่ที่คอ เกิดความรู้สึกอึดอัด เบื่อ
หน่าย รังเกียจ ภิกษุเหล่านั้นจึงฆ่าตัวตายเองบ้าง ใช้กันและกันให้ฆ่าบ้าง ภิกษุบาง
กลุ่มพากันไปหาตาเถนมิคลัณฑิกะบอกว่า ‘ขอโอกาสหน่อยเถิด ท่านช่วยฆ่าพวก
อาตมาทีเถิด บาตรและจีวรนี้จักเป็นของท่าน’ ตาเถนมิคลัณฑิกะ รับจ้างเอาบาตร
และจีวร จึงฆ่าภิกษุวันละ 1 รูปบ้าง ฯลฯ วันละ 60 รูปบ้าง ขอประทานพระ
วโรกาส ขอพระองค์โปรดตรัสบอกวิธีอื่นที่ภิกษุสงฆ์จะพึงดำรงอยู่ในอรหัตตผลเถิด
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้นเธอจงเผดียงภิกษุเท่าที่อาศัย
กรุงเวสาลีอยู่ทั้งหมดให้ประชุมกันที่โรงอาหาร”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธดำรัส แล้วเผดียง1ภิกษุสงฆ์ที่อาศัย
กรุงเวสาลีอยู่ทั้งหมดให้ประชุมที่โรงอาหาร แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับครั้นถึงแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุสงฆ์
ประชุมพร้อมกันแล้ว ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดทราบเวลาอันสมควรในบัดนี้”

ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา

[165] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปที่โรงอาหาร ประทับนั่งบนพุทธ
อาสน์ที่จัดถวาย ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ
สมาธิแม้นี้ที่เจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นสภาพสงบประณีต สดชื่น เป็นธรรม
เครื่องอยู่เป็นสุข และทำอกุศลธรรมชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไป สงบไป
โดยเร็ว เปรียบเหมือนฝุ่นละอองที่ฟุ้งขึ้นท้ายฤดูร้อน ถูกฝนใหญ่นอกฤดูกาลให้

เชิงอรรถ :
1 “เผดียง” คือบอกให้รู้ นิยมใช้ในพิธีกรรมของสงฆ์ เวลาภิกษุสงฆ์จะทำสังฆกรรม ก่อนจะเริ่มทำสังฆกรรม
จะมีการเผดียงสงฆ์ คือบอกให้สงฆ์รู้ว่าจะทำอะไร อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :136 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 3 ปฐมบัญญัตินิทาน

อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว อานาปานสติสมาธิที่เจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้ว
อย่างไร จึงเป็นสภาพสงบประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขและทำอกุศล
ธรรมชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า1 มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า2

อานาปานสติ 16 ขั้น3

(1) เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
(2) เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
(3) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจออก
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจเข้า
(4) สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจออก
สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า
(5) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจออก
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจเข้า
(6) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจออก
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจเข้า
(7) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจออก
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจเข้า

เชิงอรรถ :
1 กำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน
2 ตามอรรถกถาวินัยนี้ อัสสาสะ หายใจออก ปัสสาสะ หายใจเข้า (อสฺสาโสติ พหินิกฺขมนวาโต. ปสฺสาโสติ
อนฺโตปวิสนวาโต. วิ.อ. 1/165/446) ส่วนตามอรรถกถาพระสูตร กลับกัน อัสสาสะ หายใจเข้า ปัสสาสะ
หายใจออก (อสฺสาโสติ อนฺโตปวิสนนาสิกวาโต. ปสฺสาโสติ พหินิกฺขมนนาสิกวาโต. ม.อ. 2/305/136)
3 ม.ม. 13/141/95-6, ม.อุ. 14/147/130-131, สํ.ม. 19/977/269

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :137 }