เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักบานหน้าต่างของสงฆ์ แล้วเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ 141)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักไม้กลอนของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจ
ว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ 142)

เรื่องของมีเจ้าของไม่ควรนำไปใช้ 1 เรื่อง

[157] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้นำเสนาสนะเครื่องใช้สอยประจำในวิหาร
ของอุบาสกคนหนึ่งไปใช้สอยที่อื่น อุบาสกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงนำเครื่องใช้สอยประจำในที่แห่งหนึ่ง ไปใช้ในที่อีกแห่งหนึ่ง
เล่า” ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่ง ไม่พึงนำไปใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่ง
ภิกษุใดพึงใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ 143)

เรื่องของมีเจ้าของควรขอยืม 1 เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรังเกียจการนำเสนาสนะเครื่องใช้สอยไปโรงอุโบสถบ้าง
ที่ประชุมบ้าง จึงนั่งบนพื้นดิน เนื้อตัวและจีวรจึงเปื้อนฝุ่น ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้นำไปใช้ได้ชั่วคราว” (เรื่องที่ 144)

เรื่องภิกษุณีชาวกรุงจำปา 1 เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุณีผู้เป็นอันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทา ไปยังตระกูล
อุปัฏฐากของภิกษุณีถุลลนันทา ในกรุงจัมปา บอกคนในตระกูลว่า “ภิกษุณีถุลลนันทา
ประสงค์จะดื่มยาคูปรุงด้วยของ 3 อย่าง” เมื่อเขาหุงหาให้แล้วเธอกลับนำไปฉัน
เสียเอง ภิกษุณีถุลลนันทารู้เข้าจึงกล่าวหาภิกษุณีนั้นว่า “เธอไม่เป็พระ” ภิกษุณีนั้น


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 วินีตวัตถุ

เกิดความกังวลใจจึงบอกความนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย พวกภิกษุณีจึงบอกแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะกล่าวเท็จทั้งที่รู้” (เรื่องที่ 145)

เรื่องภิกษุณีชาวกรุงราชคฤห์ 1 เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุณีผู้เป็นอันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทา ไปยังตระกูลอุปัฏฐาก
ของภิกษุณีถุลลนันทาในกรุงราชคฤห์ บอกคนในตระกูลว่า “ภิกษุณีถุลลนันทา
ประสงค์จะฉันขนมรวงผึ้ง” เมื่อสั่งให้เขาทอดแล้วเธอกลับนำไปฉันเสียเอง
ภิกษุณีถุลลนันทารู้เข้าจึงกล่าวหาภิกษุณีนั้นว่า “เธอไม่เป็นพระ” ภิกษุณีนั้นเกิด
ความกังวลใจจึงบอกความนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย พวกภิกษุณีจึงบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย
พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะ
กล่าวเท็จทั้งที่รู้” (เรื่องที่ 146)

เรื่องพระอัชชุกะชาวกรุงเวสาลี 1 เรื่อง

[158] คหบดีผู้เป็นอุปัฏฐากของพระอัชชุกะ ในกรุงเวสาลี มีบุตร 1 คน
หลาน 1 คน ต่อมา เขาสั่งเสียท่านพระอัชชุกะว่า “ท่านพึงบอกที่ฝังทรัพย์แก่เด็ก
ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ในจำนวนเด็ก 2 คนนี้” แล้วถึงแก่กรรม เวลานั้นปรากฏว่า
หลานชายของคหบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ท่านพระอัชชุกะจึงบอกที่ฝังทรัพย์แก่
เธอ เธอนำทรัพย์สมบัติมาตั้งเป็นกองทุนและเริ่มให้ทาน
ต่อมาบุตรของคหบดีนั้น ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ว่า “พระคุณเจ้า
อานนท์ ใครเป็นทายาทของพ่อ ลูกหรือหลาน”
“ธรรมดาลูกต้องเป็นทายาทของพ่อ”
“ท่านขอรับ พระคุณเจ้าอัชชุกะบอกทรัพย์สมบัติของกระผมแก่คู่แข่งของ
กระผมไปแล้ว”