เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เวรัญชกัณฑ์

ทรงปรารภเหตุที่จะบัญญัติสิกขาบท

[21] ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรลุกขึ้นห่มผ้าเฉวียงบ่าประนมมือไปทาง
พระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “ถึงเวลาแล้วพระพุทธเจ้าข้า ที่พระผู้มีพระภาคจะ
ทรงบัญญัติสิกขาบท ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่พระสาวกอันจะเป็นเหตุให้
พรหมจรรย์ดำรงอยู่ได้ยืนนาน”
“จงรอไปก่อนเถิดสารีบุตร ตถาคตรู้เวลาในเรื่องที่จะบัญญัติสิกขาบทนั้น
ศาสดาจะยังไม่บัญญัติสิกขาบทแก่สาวก ไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ตลอดเวลาที่ยัง
ไม่เกิดอาสวัฏฐานิยธรรม1 บางอย่างในสงฆ์ เมื่อเกิดอาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างใน
สงฆ์ ตถาคตจึงจะบัญญัติสิกขาบท จะยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่สาวก เพื่อขจัด
ธรรมเหล่านั้น
สารีบุตร อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่
เป็นหมู่ใหญ่เพราะมีภิกษุบวชนาน เมื่อสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่เพราะมีภิกษุบวชนาน และ
มีอาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างเกิดในสงฆ์ ตถาคตจะบัญญัติสิกขาบท จะยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่สาวก เพื่อขจัดธรรมเหล่านั้น
สารีบุตร อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยัง
ไม่เป็นหมู่ใหญ่เพราะแพร่หลาย เมื่อสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่เพราะแพร่หลาย และมี
อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างเกิดในสงฆ์ ตถาคตจะบัญญัติสิกขาบท จะยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงแก่สาวก เพื่อขจัดธรรมเหล่านั้น
สารีบุตร อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยัง
ไม่เป็นหมู่ใหญ่เพราะมีลาภสักการะมาก เมื่อสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่เพราะมีลาภสักการะ
มาก และมีอาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างเกิดในสงฆ์ ตถาคตจะบัญญัติสิกขาบท จะยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่สาวก เพื่อขจัดธรรมเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
1 ตตฺถ อาสวา ติฏฺฐนฺติ เอเตสูติ อาสเวหิ ฐาตพฺพา น โวกฺกมิตพฺพาติ วา อาสวฏฐานียา แปล
สรุปความว่า ธรรมเป็นที่ตั้งอาสวะ ความชั่วต่างๆ เช่น การกล่าวให้ร้ายคนอื่น ความเดือดร้อน และการ
จองจำ (วิ.อ. 1/21/197)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :13 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เวรัญชกัณฑ์

สารีบุตร อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่
เป็นหมู่ใหญ่เพราะความเป็นพหูสูต เมื่อสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่เพราะความเป็นพหูสูต
และมีอาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างเกิดในสงฆ์ ตถาคตจะบัญญัติสิกขาบท จะยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่สาวก เพื่อขจัดธรรมเหล่านั้น
สารีบุตร ก็ภิกษุสงฆ์ยังไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ ไม่มีสิ่งมัวหมอง บริสุทธิ์
ผุดผ่อง ดำรงอยู่ในสารคุณ แท้จริงในภิกษุ 500 รูปนี้ ผู้มีคุณธรรมอย่างต่ำก็ชั้น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า1”

เสด็จนิเวศน์เวรัญชพราหมณ์

[22] ต่อมา พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า
“อานนท์ พระตถาคตทั้งหลายยังมิได้บอกลาผู้ที่นิมนต์ให้อยู่จำพรรษา จะไม่จากไป
เรื่องนี้เป็นประเพณีของพระตถาคตทั้งหลาย เราจะไปลาเวรัญชพราหมณ์” พระ
อานนท์ทูลสนองพระพุทธดำรัสแล้ว
ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร2 มีพระ
อานนท์ตามเสด็จ เสด็จพระพุทธดำเนินไปถึงนิเวศน์ของเวรัญชพราหมณ์ ครั้นถึง
แล้วจึงประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย ทรงบอกเวรัญชพราหมณ์ผู้มาเฝ้าว่า
“ท่านนิมนต์เราอยู่จำพรรษา เราขอลาท่าน ต้องการจะจาริกไปในชนบท”
เวรัญชพราหมณ์กราบทูลว่า “เป็นความจริง ข้าพระพุทธเจ้านิมนต์ท่านพระ
โคดมอยู่จำพรรษา แต่ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่ได้ถวายไทยธรรมที่ได้ตั้งใจเอาไว้ สิ่งนั้น

เชิงอรรถ :
1 สัมโพธิปรายณะ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า คือ อุปริ มคฺคตฺตยํ อวสฺสํ สมฺปาปโก... ปฏิลทฺธ-
ปฐมมคฺคตฺตา จะบรรลุมรรค 3 ชั้นสูงขึ้นไปแน่นอน เพราะได้ปฐมมรรค(คือโสดาปัตติมรรค)แล้ว (วิ.อ. 1/21/
203); อุปริมคฺคตฺตยสงฺขาตา สมฺโพธิ สัมโพธิ คือ มรรค 3 (สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค)
ที่สูงขึ้นไป (สารตฺถ.ฏีกา. 1/21/559).
2 คำว่า “ทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร” นี้มิใช่ว่าก่อนหน้านี้ พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงนุ่งสบง
มิใช่ว่าพระองค์ถือบาตรและจีวรไปโดยเปลือยพระกายส่วนบน คำว่า “ครองอันตรวาสก” หมายถึงพระองค์
ผลัดเปลี่ยนสบงหรือขยับสบงที่นุ่งอยู่ให้กระชับ คำว่า “ถือบาตรและจีวร” หมายถึงถือบาตรด้วยมือ ถือจีวร
ด้วยกาย คือ ห่มจีวรอุ้มบาตรนั่นเอง (วิ.อ. 1/16/180, ที.อ. 2/153/143, ม.อ. 1/63/163, อุทาน.อ. 65)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :14 }