เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 วินีตวัตถุ

เรื่องข้ามน้ำ 2 เรื่อง

สมัยนั้น ผ้าผืนหนึ่งหลุดจากมือพวกช่างย้อมไปคล้องอยู่ที่เท้าของภิกษุรูป
หนึ่งผู้กำลังข้ามน้ำ ท่านเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่าจะนำไปคืนให้เจ้าของ พวกเจ้าของกล่าว
หาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีไถยจิต ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ 104)
สมัยนั้น ผ้าผืนหนึ่งหลุดจากมือพวกช่างย้อมไปคล้องอยู่ที่เท้าของภิกษุรูป
หนึ่งผู้กำลังข้ามน้ำ ท่านมีไถยจิตคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น ได้ถือเอาผ้านั้นไป พวก
เจ้าของกล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ 105)

เรื่องฉันทีละน้อย 1 เรื่อง

[155] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบหม้อเนยใสจึงฉันเนยใสทีละน้อย แล้วเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติทุกกฏ” 1 (เรื่องที่ 106)

เรื่องชักชวนกันไปลัก 2 เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปชักชวนกันไปด้วยคิดจะลักทรัพย์ ภิกษุรูปหนึ่ง
ลักทรัพย์มาได้ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราไม่เป็นปาราชิก ภิกษุรูปใด
ลักทรัพย์ ภิกษุรูปนั้นเป็นปาราชิก” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ 107)

เชิงอรรถ :
1 ภิกษุถือเอาเนยใสและน้ำมันเป็นต้น มีราคาไม่ถึงหนึ่งบาท คิดว่า เราจักไม่ทำอย่างนี้อีก ดำรงอยู่ใน
ความสำรวมแม้ในวันที่ 2 และ 3 เมื่อเกิดความคิดขึ้นอย่างนี้แล้ว ขณะที่ฉันก็ทำการทอดธุระอย่างนั้น แม้
จะฉันเนยใสและนำมันเป็นต้นนั้นทั้งหมด ก็ไม่เป็นปาราชิก เธอต้องอาบัติทุกกฏหรือถุลลัจจัย แต่สิ่งของนั้น
เธอต้องชดใช้คืน(เป็นภัณฑไทย) (ดู วิ.อ. 1/155/421)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :123 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปชักชวนกันไปแล้ว ได้ลักทรัพย์มา แล้วแบ่งกัน เมื่อ
กำลังแบ่งทรัพย์กัน ภิกษุแต่ละรูปได้ส่วนแบ่งไม่ครบ 5 มาสก ภิกษุเหล่านั้นจึงบอก
ว่า “พวกเราไม่เป็นปาราชิก” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ 108)

เรื่องกำมือที่กรุงสาวัตถี 4 เรื่อง

สมัยนั้น กรุงสาวัตถีเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลัก
ข้าวสารของชาวร้านตลาดไป 1 กำมือ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ 109)
สมัยนั้น กรุงสาวัตถีเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลัก
ถั่วเขียวของชาวร้านตลาดไป 1 กำมือ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ 110)
สมัยนั้น กรุงสาวัตถีเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลัก
ถั่วราชมาสของชาวร้านตลาดไป 1 กำมือ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ 111)
สมัยนั้น กรุงสาวัตถีเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักงา
ของชาวร้านตลาดไป 1 กำมือ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ 112)

เรื่องเนื้อเป็นเดน 2 เรื่อง

สมัยนั้น พวกโจรฆ่าโค กินเนื้อแล้ว ซ่อนส่วนที่เหลือไว้ในป่าอันธวัน เขตกรุง
สาวัตถี แล้วพากันไป พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้อนุปสัมบันถือเอาไป