เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 วินีตวัตถุ

กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีไถยจิต ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ 99)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตคิดว่า เจ้าของจะเห็น ได้ถือเอาชิ้นเนื้อที่
เหยี่ยวเฉี่ยวเอามา พวกเจ้าของเนื้อกล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ 100)

เรื่องไม้ 2 เรื่อง

[154] สมัยนั้น พวกชาวบ้านผูกแพแล้วเข็นลงแม่น้ำอจิรวดี เมื่อเชือกขาด
ไม้ทั้งหลายได้กระจายไป พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงช่วยกันขนไม้ขึ้นฝั่ง
พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุเกิดความ
กังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล
ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ 101)
สมัยนั้น พวกชาวบ้านผูกแพแล้วเข็นลงแม่น้ำอจิรวดี เมื่อเชือกขาด ไม้ทั้ง
หลายได้กระจายไป พวกภิกษุมีไถยจิต คิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น จึงช่วยกันขนไม้
ขึ้นฝั่ง พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า “พวกท่านไม่เป็นพระ” พวกภิกษุเกิด
ความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้
มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ 102)

เรื่องผ้าบังสุกุล 1 เรื่อง

สมัยนั้น คนเลี้ยงโคคนหนึ่งพาดผ้าไว้ที่ต้นไม้แล้วไปถ่ายอุจจาระ ภิกษุรูป
หนึ่งสำคัญว่าเป็นผ้าบังสุกุล จึงถือเอาไป คนเลี้ยงโคกล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่
เป็นพระ” ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอสำคัญว่า
เป็นผ้าบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ 103)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 วินีตวัตถุ

เรื่องข้ามน้ำ 2 เรื่อง

สมัยนั้น ผ้าผืนหนึ่งหลุดจากมือพวกช่างย้อมไปคล้องอยู่ที่เท้าของภิกษุรูป
หนึ่งผู้กำลังข้ามน้ำ ท่านเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่าจะนำไปคืนให้เจ้าของ พวกเจ้าของกล่าว
หาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีไถยจิต ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ 104)
สมัยนั้น ผ้าผืนหนึ่งหลุดจากมือพวกช่างย้อมไปคล้องอยู่ที่เท้าของภิกษุรูป
หนึ่งผู้กำลังข้ามน้ำ ท่านมีไถยจิตคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น ได้ถือเอาผ้านั้นไป พวก
เจ้าของกล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ 105)

เรื่องฉันทีละน้อย 1 เรื่อง

[155] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบหม้อเนยใสจึงฉันเนยใสทีละน้อย แล้วเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติทุกกฏ” 1 (เรื่องที่ 106)

เรื่องชักชวนกันไปลัก 2 เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปชักชวนกันไปด้วยคิดจะลักทรัพย์ ภิกษุรูปหนึ่ง
ลักทรัพย์มาได้ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราไม่เป็นปาราชิก ภิกษุรูปใด
ลักทรัพย์ ภิกษุรูปนั้นเป็นปาราชิก” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ 107)

เชิงอรรถ :
1 ภิกษุถือเอาเนยใสและน้ำมันเป็นต้น มีราคาไม่ถึงหนึ่งบาท คิดว่า เราจักไม่ทำอย่างนี้อีก ดำรงอยู่ใน
ความสำรวมแม้ในวันที่ 2 และ 3 เมื่อเกิดความคิดขึ้นอย่างนี้แล้ว ขณะที่ฉันก็ทำการทอดธุระอย่างนั้น แม้
จะฉันเนยใสและนำมันเป็นต้นนั้นทั้งหมด ก็ไม่เป็นปาราชิก เธอต้องอาบัติทุกกฏหรือถุลลัจจัย แต่สิ่งของนั้น
เธอต้องชดใช้คืน(เป็นภัณฑไทย) (ดู วิ.อ. 1/155/421)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :123 }