เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 วินีตวัตถุ

เรื่องลักดอกไม้ 2 เรื่อง

[149] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปสวนดอกไม้ มีไถยจิต ได้ลักดอกไม้ที่เขา
เก็บไว้แล้ว มีราคา 5 มาสก แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ 84)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปสวนดอกไม้ มีไถยจิต ได้ลักเก็บดอกไม้ มีราคา 5
มาสก แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิก” (เรื่องที่ 85)

เรื่องพูดตามคำบอก 3 เรื่อง

[150] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังเข้าไปหมู่บ้าน ได้บอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า
“ท่านครับ ผมจะไปบอกตระกูลอุปัฏฐากให้ตามที่ท่านสั่ง” ครั้นเธอไปถึงจึงให้เขานำ
ผ้ามา 1 ผืนแล้วใช้เสียเอง ภิกษุผู้สั่งรู้เข้าจึงกล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ”
ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกล่าวว่า ผมจะบอกตามที่ท่านสั่ง ภิกษุใด
พึงกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ 86)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจะเข้าไปหมู่บ้าน ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้สั่งท่านว่า “ท่านครับ
ท่านช่วยบอกตระกูลอุปัฏฐากของผมตามที่ผมสั่งด้วย” ภิกษุนั้นครั้นไปแล้วจึงให้
ตระกูลอุปัฏฐากนำผ้ามา 1 คู่ ตนเองใช้ 1 ผืน ถวายภิกษุผู้สั่งนั้น 1 ผืน ภิกษุผู้สั่ง
รู้เข้าจึงกล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกล่าว
ว่า ท่านจงบอกตามที่สั่ง ภิกษุใดพึงกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ 87)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังไปหมู่บ้าน ได้บอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “ท่าน ผม
จะไปบอกตระกูลอุปัฏฐากของท่านตามที่ท่านสั่ง” ภิกษุแม้รูปนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 วินีตวัตถุ

“ท่านช่วยบอกตามที่ผมสั่ง” ภิกษุนั้น ครั้นไปถึงจึงให้ตระกูลอุปัฏฐากนำเนยใส 1
อาฬหกะ น้ำอ้อยงบ 1 ตุละ ข้าวสาร 1 โทณะ1 มาแล้วฉันเสียเอง ภิกษุผู้สั่งรู้เข้า
จึงกล่าวหาภิกษุนั้นว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ท่านเกิดความเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง
กล่าวว่า ผมจะบอกตามที่สั่ง และไม่พึงกล่าวว่า ท่านจงบอกตามที่สั่ง ภิกษุใดพึง
กล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ 88)

เรื่องนำแก้วมณีผ่านด่านภาษี 3 เรื่อง

[151] สมัยนั้น บุรุษคนหนึ่งนำแก้วมณีราคาแพง เดินทางไกลไปกับภิกษุ
รูปหนึ่ง ครั้นเห็นด่านภาษี จึงใส่แก้วมณีลงในย่ามของภิกษุนั้นผู้ไม่รู้ เมื่อเดินพ้น
ด่านภาษีจึงถือไปแต่ผู้เดียว ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่รู้ ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ 89)
สมัยนั้น บุรุษคนหนึ่งนำแก้วมณีราคาแพงเดินทางไกลไปกับภิกษุรูปหนึ่ง
ครั้นเห็นด่านภาษี ทำลวงว่าเป็นไข้แล้วมอบห่อของของตนให้ภิกษุถือไป เมื่อเดินพ้น

เชิงอรรถ :
1 4 กุฑุวะ หรือ ปสตะ (ฟายมือ) เป็น 1 ปัตถะ (กอบ)
4 ปัตถะ เป็น 1 อาฬหกะ
4 อาฬหกะ เป็น 1 โทณะ
4 โทณะ เป็น 1 มาณิกา
4 มาณิกา เป็น 1 ขารี
20 ขารี เป็น 1 วาหะ
20 วาหะ เป็น 1 ธารณะ
10 ธารณะ เป็น 1 ปละ
100 ปละ เป็น 12 ตุลา
20 ตุลา เป็น 1 ภาระ
(ดู อภิธา.ฏี. คาถา 480-484)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :119 }