เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เวรัญชกัณฑ์

ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน” ครั้นเวลาเย็นจึงออกจากที่พักเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง
ณ ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรผู้นั่งอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า เมื่อข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความรำพึง
ขึ้นมาอย่างนี้ว่า ‘พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์ไหนดำรงอยู่ไม่
นาน ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน’ พรหมจรรย์ของพระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์ไหนดำรงอยู่ไม่นาน ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระ
องค์ไหนดำรงอยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร พรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้าวิปัสสี
พระพุทธเจ้าสิขี พระพุทธเจ้าเวสสภู ดำรงอยู่ไม่นาน พรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้า
กกุสันธะ พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ และพระพุทธเจ้ากัสสปะ ดำรงอยู่นาน”
[19] “อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้พรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้าวิปัสสี
พระพุทธเจ้าสิขี และพระพุทธเจ้าเวสสภู ดำรงอยู่ไม่นาน พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร พระพุทธเจ้าวิปัสสี พระพุทธเจ้าสิขี พระพุทธเจ้าเวสสภู ทรงผ่อน
คลายที่จะแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวก สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ1 ของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์จึงมีน้อย
มิได้ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แก่สาวก ไม่มีการแสดงปาติโมกข์ เมื่อหมดพระพุทธเจ้า
และสาวกผู้ตรัสรู้ตามแล้ว สาวกชั้นหลัง ๆ ต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติวรรณะ ได้เข้า
มาบวชจากต่างตระกูล เธอเหล่านั้นพาให้พรหมจรรย์สูญสิ้นไปเร็วพลัน เหมือนดอก
ไม้นานาพรรณกองอยู่บนแผ่นกระดาน ยังไม่ร้อยด้วยด้าย ย่อมถูกลมพัด
กระจัดกระจายไป เพราะเหตุไร เพราะไม่ได้เอาด้ายร้อยไว้ ข้อนี้ฉันใด เมื่อหมด
พระพุทธเจ้าและสาวกผู้ตรัสรู้ตามแล้ว สาวกชั้นหลังๆ ต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ
วรรณะ ได้เข้ามาบวชจากต่างตระกูล เธอเหล่านั้นพาให้พรหมจรรย์สูญสิ้นไปเร็ว
พลันฉันนั้น

เชิงอรรถ :
1 สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ รวมเรียกว่า “นวังค
สัตถุศาสน์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :11 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เวรัญชกัณฑ์

อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นไม่ทรงผ่อนคลายที่จะกำหนดจิตของสาวกด้วย
พระทัยแล้วทรงสั่งสอน สารีบุตร เรื่องเคยเกิดขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้าเวสสภู ทรง
กำหนดจิตภิกษุสงฆ์แล้วทรงสั่งสอนภิกษุสงฆ์ 1,000 รูป ในราวป่าน่าสะพึงกลัว
แห่งหนึ่งว่า “เธอทั้งหลายจงพิจารณาเช่นนี้ อย่าพิจารณาอย่างนั้น จงตั้งใจอย่างนี้
อย่าตั้งใจอย่างนั้น จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด” จิตของภิกษุ 1,000 รูป ที่พระ
พุทธเจ้าเวสสภูทรงสั่งสอน หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีความถือมั่น สารีบุตร
เพราะราวป่าน่าสะพึงกลัว น่าสยดสยอง จึงมีเรื่องดังนี้ คือ ภิกษุผู้ไม่ปราศจาก
ราคะ เข้าไปราวป่า ส่วนมากเกิดความกลัวขนลุกขนพอง
สารีบุตร นี้คือเหตุปัจจัยที่ทำให้พรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้าวิปัสสี พระ
พุทธเจ้าสิขี พระพุทธเจ้าเวสสภูดำรงอยู่ไม่นาน”
[20] “อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้พรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ
พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ และพระพุทธเจ้ากัสสปะดำรงอยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร พระพุทธเจ้ากกุสันธะ พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ และพระพุทธเจ้า
กัสสปะ ไม่ทรงผ่อนคลายที่จะทรงแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวก สุตตะ เคยยะ
เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละของพระพุทธเจ้า 3
พระองค์จึงมีมาก ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แก่สาวก มีการแสดงปาติโมกข์ เมื่อหมด
พระพุทธเจ้าและสาวกผู้ตรัสรู้ตามแล้ว สาวกชั้นหลังๆ ต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ
วรรณะ ได้เข้ามาบวชจากต่างตระกูล เธอเหล่านั้นพาให้พรหมจรรย์ดำรงอยู่นาน
เหมือนดอกไม้นานาพรรณกองอยู่บนแผ่นกระดานเอาด้ายร้อยไว้ ย่อมไม่ถูกลมพัด
กระจัดกระจายไป เพราะเหตุไร เพราะเอาด้ายร้อยไว้ ข้อนี้ฉันใด เมื่อหมดพระพุทธเจ้า
และสาวกผู้ตรัสรู้ตามแล้ว สาวกชั้นหลังๆ ต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติวรรณะ ได้เข้า
มาบวชจากต่างตระกูล เธอเหล่านั้นพาให้พรหมจรรย์ดำรงอยู่นานฉันนั้น
สารีบุตร นี้คือเหตุปัจจัยที่ทำให้พรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ พระ
พุทธเจ้าโกนาคมนะ และพระพุทธเจ้ากัสสปะ ดำรงอยู่นาน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :12 }