เมนู


คำนำ
ในการพิมพ์ครั้งแรก
สมุดคู่มือเล่มนี้ ได้รวบรวมคำสอนพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 9
ที่ชื่อว่า กัมมัฏฐานสังคหวิภาค อันเป็นปริจเฉทสุดท้ายแห่งพระอภิธัมมัตถสังคหะ
ที่พระอนุรุทธาจารย์ เป็นผู้รจนา ปริจเฉทนี้เป็นปริจเฉทที่สำคัญมาก และ เป็น
ประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะแสดงถึงการงานทางใจที่จะให้บรรลุถึงฌาน และถึง
มัคค ผล นิพพาน
อันการบรรลุถึง มัคค ผล นิพพาน นั้น เป็นยอดแห่งความประพฤติ
ปฏิบัติศาสนกิจที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาแต่เพียงศาสนาเดียวเท่านั้น ซึ่งศาสนา
อื่นใดไม่มีการสอนให้ทำใจให้บริสุทธิหมดจดจนหลุดพ้นโดยสิ้นเชิงอย่างนี้เลย นี่
เป็นประการแรกที่พระพุทธศาสนาประเสริฐกว่าศาสนาอื่น
ความประเสริฐกว่าศาสนาอื่นอีกประการหนึ่ง ก็คือพระพุทธศาสนาสอน
ให้เชื่อด้วยเหตุด้วยผล ไม่ได้มีการ ขอร้อง วิงวอน หรือบังคับให้เชื่อแต่อย่าง
ใดๆ ทั้งสิ้น ดังปรากฏในกาลามสูตร แสดงไว้ว่า
เอถ ตุมฺเห กาลามา กาลามชนทั้งหลายจง
มา อนุสฺสเวน อย่าได้เชื่อโดยฟังตามกันมา
มา ปรมฺปราย อย่าได้เชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าสืบๆ กันมา
มา อิติกิราย อย่าได้เชื่อโดยตื่นข่าวเล่าลือ
มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าได้เชื่อโดยอ้างตำรา
มา ตกฺกเหตุ อย่าได้เชื่อโดยนึกเดาเอา
มา นยเหตุ อย่าได้เชื่อโดยความคาดคะเน
มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าได้เชื่อโดยตรึกตามอาการ
มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา อย่าได้เชื่อโดยชอบใจว่า ต้องกันกับลัทธิ
ของตน
มา ภพฺพรูปตาย อย่าได้เชื่อโดยถือว่าผู้พูดควรเชื่อได้
มา สมโณ โน ครูติ อย่าได้เชื่อโดยนับถือว่า ท่านเป็นครูของเรา
แต่สอนว่า บรรดาคำสั่งสอนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของผู้ใดทั้งนั้น จงอย่าเพ่อรับ
รองและอย่าเพ่อคัดค้าน แต่ให้พินิจพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบก่อน ต่อเมื่อ
ได้พิเคราะห์โดยถี่ถ้วนแล้วและเห็นว่าเหตุกับผลสมกัน ลงกันได้ จึงควรปลงใจ
เชื่อถือต่อไป
อนึ่ง มีคาถาใน ธรรมบท แสดงไว้ว่า
กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ ความได้เป็นมนุษย์ พึงได้แสนยาก
กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ ชีวิตความเป็นอยู่ ของสัตว์ทั้งหลาย
พึงได้แสนยาก
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ ความได้ฟังพระสัทธรรม พึงได้แสนยาก
กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พึงได้แสนยาก
ก็การที่เราท่านได้บังเกิดมาเป็นมนุษย์ ดำรงชีวิตสืบมาได้จนตราบเท่า
ทุกวันนี้ อยู่ในยุคที่ยังมีพระพุทธศาสนา ซ้ำยังได้สดับตรัวฟังพระสัทธรรม ได้
ศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ จนถึงปริจเฉทที่ 9 นี้แล้ว นับว่าประเสริฐพร้อมที่
จะเจริญกัมมัฏฐาน เพ่ือให้ถึงซึ่ง โมกขธรรม อันเป็นธรรมที่ประเสริฐยิ่ง จึงไม่
ควรที่จะให้พลาดโอกาสอันประเสริฐนี้ไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะเพียงแต่ศึกษา
พระปรมัตถธรรม ก็ทำให้เกิดความรู้ถึงสภาวธรรมตามเหตุผลที่ท่านกล่าวไว้เท่า
นั้นเอง ส่วนการปฏิบัติธรรมจนถึงเจริญกัมมัฏฐาน เฉพาะอย่างยิ่งการเจริญ
วิปัสสนากับมัฏฐาน เป็นการเข้าไปพิสูจน์ความรู้ดังที่ได้กล่าวแล้วนั้น ให้ประจักษ์
แจ้งแก่ตนเองโดยไม่ต้องเชื่อเหตุผลที่ท่านได้กล่าวไว้แต่เพียงถ่ายเดียว วิธีการ
เจริญกัมมัฏฐานก็มีแนวทางที่จะประพฤติปฏิบัติดังที่แสดงไว้ใน พระอภิธัมมัตถ
สังคหะปริจเฉทที่ 9 นั้นแล้ว ซึ่งหนังสือคู่มือเล่มนี้ได้พยายามเก็บย่อข้อคำสอน
เท่าที่ได้ศึกษาและพบเห็นจากหนังสือต่างๆ มารวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้เพื่อ
ให้สะดวกแก่การศึกษา
หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเพียงคู่มือสำหรับศึกษา ไม่ถึงขั้นที่เป็นตำรับตำรา
ฉะนั้นการศึกษาจากคู่มือเล่มนี้ จำต้องศึกษาด้วยความพินิจพิจารณาไตร่ตรองให้
ถ่องแท้ถึงเหตุถึงผล ต่อเมื่อได้พิเคราะห์จนเห็นเหมาะสมทั้งเหตุทั้งผลแล้ว จึง
ควรปลงใจเชื้อ เว้นข้อความที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนอันพึงมีนั้นเสีย ซึ่งเข้าใจว่า
คงมีข้อบกพร่องคลาดเคลื่อนไปบ้าง อันเป็นความผิดพลาดที่เกิดจากความเบา
ปัญญาของข้าพเจ้าผู้รวบรวมแต่ผู้เดียว เพราะเป็นผู้ที่ยังอยู่ในฐานะเป็นนักศึกษา
พระอภิธรรมอยู่ และเป็นนักศึกษาพระอภิธรรมที่ไม่ได้เรียนรู้บาลี ทั้งยังไม่ได้
อุปสมบทเลย
เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะกล่าวว่า ที่ได้เก็บย่อข้อคำสอนพระอภิชัย
มัตถสังคหะ มาจนครบทั้ง 9 ปริจเฉทนี้ ก็เพราะบรรดาครูบาอาจารย์ผู้พร่ำสอน
พระอภิธัมมัตถสังคหะ ได้กรุณาถ่ายทอดความรู้ให้โดยมิได้เห็นแก่ความเหนื่อย
ยากทั้งๆ ที่มิได้มีสิ่งตอบแทนในการสอน ตลอดจนท่านที่ได้รจนาหนังสือบรรดา
ที่ได้ใช้ประกอบในการรวบรวมเป็นคู่มือนี้ด้วย จึงขอกราบขอบพระคุณครูบา
อาจารย์ทั้งหลายและผู้รจนาหนังสือเหล่านั้นไว้ ณ ที่นี้ด้วย
และการที่หนังสือคู่มือชุดนี้สำเร็จเป็นรูปเล่มขึ้นมาได้ทั้ง 9 ปริจเฉท ก็
ด้วยความสมานฉันท์ของบรรดาท่านที่เป็นนักศึกษาพระอภิธรรม ได้ร่วมให้ความ
อุปการะทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังปัญญา และกำลัังทรัพย์ ด้วยสัทธาอัน
สูงส่ง จึงขออนุโมทนาสาธุการในธรรมทานนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะ
ยาทิสํ วปเต พีชํ หว่านพืชเช่นใดไว้
ตาทิสํ ลภเต ผลํ ย่อมได้ผลเช่นนัั้น
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ผู้ทำเหตุดี ย่อมได้ผลดี
ในที่สุดนี้ ด้วยกุสลเจตนาที่รวบรวมคู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ
ชุดนี้ขึ้นเพื่อเป็นธรรมทาน จึงขออนุภาพแห่งมหากุสลนี้จงเป็นพลวปัจจัยให้
ท่านที่ได้กรุณาและอุปการะดังกล่าวแล้ว ตลอดจนผู้มีพระคุณทั้งหลาย และสรรพ
สัตว์ทั้งมวล จงปราญจากภัยพิบัติด้วยประการทั้งปวง คงตั้งมันอยู่ในความ
สมบูรณ์พูนสุขด้วย อายุ วัณณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ และ
เฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ใฝ่ใจศึกษาพระอภิธรรม จงเกิดปัญญาญาณให้เชี่ยวชาญแตก
ฉานในพระอภิธรรม จนน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติให้บรรลุถึงซึ่ง โมกขธรรม
โดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ
ขุนสรรพกิจโกศล
นักศึกษาพระอภิธรรม

12 ซอยโรงเรียนสวัสดิ์อำนวยเวทย์
ถนนประดิพัทธ์ สามเสนใน ดุสิต
พระนคร
สารบาญ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 9
หน้า 1 ความเบื้องต้น
" 2 กัมมัฏฐานมี 2 ประการ
" 3 สมถกัมมัฏฐาน
" 4 หมวดที่ 1 กสิณ 10
" 5 " 2 อสุภะ 10
" 9 " 3 อนุสสติ 10
" 9 " 4 อัปปมัญญา 4
" 19 " 5 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1
" 20 " 6 จตุธาตุววัตถาน 1
" 20 " 7 อรูปกัมมัฏฐาน 4
" 22 จริต หรือ จริยะ
" 31 อัชฌาสัย
" 32 กัมมัฏฐานที่เหมาะกับจริต
" 35 ภาวนาและนิมิต
" 39 ปลิโพธ
" 41 สัปปายะ
" 42 กัลยาณมิตร
หน้า 45 ข้อที่ควรเว้นในการเจริญกัมมัฏฐาน
" 45 ข้อที่ควรปฏิบัติในการเจริญกัมมัฏฐาน
" 47 การเจริญกสินกัมมัฏฐาน
" 49 วสิตา หรือ วสีภาวะ
" 51 การเจริญอสุภกัมมัฏฐาน
" 52 การเจริญอนุสสติกัมมัฏฐาน
" 60 การเจริญอัปปมัญญากัมมัฏฐาน
" 61 เมตตากัมมัฏฐาน
" 69 กรุณากัมมัฏฐาน
" 72 มุทิตากัมมัฏฐาน
" 74 อุเบกขากัมมัฏฐาน
" 77 อัปมัญญากัมมัฏฐานถึงฌานไม่เท่ากัน
" 78 การเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญากัมมัฏฐาน
" 80 การเจริญจตุธาตุวัตถานกัมมัฏฐาน
" 82 การเจริญอรูปกัมมัฏฐาน
" 89 อภิญญา
" 90 การอบรมสมาธิเพื่อทำอภิญญา
" 97 กสิณใดแสดงฤทธิอะไรได้
" 99 อภิญญา 5
" 105 อภิญญา ญาณ วิชา
" 107 สรุปอารมณ์ของอภิญญา
" 108 อานิสงส์ของสมาธิ
หน้า 109 วิปัสสนากัมมัฏฐาน
" 111 วิสุทธิ 7
" 113 อานุภาพแห่งญาณทัสสนวิสุทธิ
" 113 ปริญญากิจ
" 113 ปหานกิจ
" 114 ภาวนากิจ
" 114 สัจฉิกริยกิจ
" 114 ผังวิสุทธิ 7
" 115 โสฬสญาณ
" 117 ไตรลักษณ์
" 121 วิปัสสนาภูมิ
" 122 วิปัลลาสธรรม
" 124 สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์
" 127 อนุปัสสนา
" 129 วิปัสสนาญาณ
" 130 วิโมกข และ วิโมกขมุข
" 131 การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
" 132 สีลวิสุทธิ และจิตตวิสุทธิ
" 135 ทิฏฐิวิสุทธิ และนามรูปปริจเฉทญาณ
" 143 ปัญญา
หน้า 144 กังขาวิตรณวิสุทธิ และปัจจยปริคคหญาณ
" 149 มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ และ
สัมมสนญาณ กับ อุทยัพพยญาณ
" 154 วิปัสสนูปกิเลส
" 159 ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
" 160 อุทยัพพยญาณ
" 161 ภังคญาณ
" 162 ภยตูปัฏฐานญาณ หรือภยญาณ
" 163 อาทีนวญาณ
" 165 นิพพิทาญาณ
" 167 มุญจิตุกมยตาญาณ
" 168 ปฏิสังขาญาณ
" 169 สังขารุเบกขาญาณ
" 172 อนุโลมญาณ
" 175 วุฏฐานคามินี
" 177 ญาณทัสสนวิสุทธิ
" 178 วโคตรภูญาณ
" 180 มัคคญาณ
" 182 ผลญาณ
" 183 ปัจจเวกขณญาณ
หน้า 185 มัคคญาณ ผลญาณ เบื้องบน
" 189 กิเลสที่พระอริยประหาณ
" 192 ฌานลาภีบุคคลเจริญวิปัสสนากัมมััฏฐาน
" 198 สรุป
" 199 วิปัสสนาภูมิ
" 199 ญาณ 16 วิสุทธิ 7 ปรับเข้ากัน
" 202 อริยบุคคล 8
" 204 จำแนกพระอริยะแต่ละชั้น
" 207 ปฏิปทา 4
" 209 ปฏิสัมภิทาญาณ 4
" 210 อานิสงส์ของปัญญา
" 213 พระอริยสุกขวิปัสสกเข้าผลสมาบัติได้หรือไม่
" 220 บารมี 10 ทัส
" 239 ลำดับของบารมี
" 243 บารมีจัดเป็น 3 ขั้น
" 244 อานิสงส์ของบารมี
" 246 อวสานคาถาปริจเฉทที่ 9
" 247 อวสารแห่ง ปกรณ์

มตฺตานฏฺงฺติโก เสฏฺโ
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ 8 ประเสริฐสุด
สจฺจานํ จตุโร ปหา
บรรดาสัจจทั้งหลาย สัจจ 4 ประเสริฐสุด
วิราโต เสฏฺโ ธมฺมานํ
บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรม ประเสริฐสุด
ทิปทานตฺจ จกฺขุมา
บรรดาสัตว์ทั้งหลาย พระตถาคต มีพระจักขุ ประเสริฐสุด