เมนู

ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับบาลีสนามหลวง


เรื่องการทำบัญชีสนามหลวง
1. บัญชี ศ.2 และ ศ.3 (บัญชีรายชื่อผู้ขอเข้าสอบความรู้ประโยคบาลีและบัญชีเรียกชื่อ
นักเรียนเข้าสอบความรู้ประโยคบาลี) ให้เจ้าสำนักเรียนส่วนกลาง และเจ้าคณะจังหวัดส่วนภูมิภาค
ขอเบิกไปที่กรมการศาสนาโดยประมาณให้พอใช้แต่ละปี อย่าใช้กระดาษอื่น เช่น กระดาษฟุลสแก็ป
เป็นต้น
2. สำนักเรียนส่วนกลาง และสำนักเรียนคณะจังหวังเฉพาะที่สอบส่วนกลางไม่ต้องทำบัญชี
ศ.3 ส่งไป
3. สำนักเรียนคณะจังหวัดที่สอบในส่วนภูมิภาค ต้องทำบัญชี ศ.3 เอง ถ้าสอบรวมกันหลาย
จังหวัด ให้จังหวัดที่เป็นสถานที่สอบเรียงเลขที่ไว้หน้า ส่วนจังหวัดที่มาสมทบสอบเรียงเลขที่ต่อไป
และการทำบัญชี ศ.3 นั้น ต้องเรียงชื่อนักเรียนให้ตรงกับบัญชี ศ.2 ที่ได้ส่งไปยังเจ้าคณะภาคแล้วนั้น
ห้ามส่งนักเรียนที่มิได้สมัครขอเข้าสอบแทนที่นักเรียนที่ขาดสอบ และจะส่งเพิ่มเติมอีกไม่ได้
4. การทำบัญชี ศ.2 และ ศ.3 ให้พิมพ์แผ่นละหน้าเดียว
5. กำหนดส่งบัญชี ศ.2 สำนักเรียนส่วนกลาง ส่งถึงกรมการศาสนาหรือกองลาลีสนามหลวง
โดยตรงก่อนสิ้นเดือนอ้าย คณะจังหวัดส่วนภูมิภาค ควรส่งถึงเจ้าคณะภาคก่อนกลางเดือนอ้าย
และเจ้าคณะภาครวบรวมส่งถึงกรมการศาสนา หรือกองบาลีสนามหลวง ก่อนสิ้นเดือนอ้าย
เช่นเดียวกัน
6. เจ้าสำนักเรียนจะต้องตรวจดูหลักฐาน ขอนักเรียนผู้สมัครขอเข้าสอบคือประกาศนียบัตร
หรือบัญชีรายชื่อผู้เข้าสอบประโยคบาลีได้ที่ทางสานามหลวงแผนกบาลีส่งมาถวายให้เก็บไว้เป็นหลักฐาน
ทุกปีแล้วนั้น การทำบัญชี ศ. 2 ในช่องประโยคเดิม ต้องลงหมายเลขประกาศนียบัตร และ พ.ศ.
วัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์ สมัครขอเข้าสอบความรู้ประโยค ป.ธ. 3 ต้องลงบัญชีดังนี้

ประโยคเดิม
ฯ ล ฯจังหวัด ชั้น เลขที่ประกาศนียบัตร วัด สำนักเรียน หมายเหตุ
พ.ศ. หรือคณะจังหวัด
น.ธ.ตรี 1101/2523 ราชบุรณะ วัดประยุรวงศาวาส
ป. 1-2 535/2524 กลาง คณะจังหวัดบุรีรัมย์

7. การทำบัญชี ศ.2 ในช่องประโยคเดิม สำนักเรียนส่วนกลางให้ใช้คำว่า "สำนักเรียน"
เช่น สำนักเรียนวัดชนะสงคราม. คณะจังหวัดส่วนภูมิภาคให้ใช้คำว่า "คณะจังหวัด" เช่น
คณะจังหวัดเชียงใหม่
เรื่องการรับสมัครนักเรียนขอเข้าสอบความรู้บาลีสนามหลวง
1. สำนักเรียนต้องให้ผู้สมัครนำหลักฐานมาแสดง และต้องตรวจชื่อ ฉายา
และนามสกุล เป็นต้น ให้ถูกต้อง อย่ายอมให้นักเรียนเปลี่ยนชื่อและนามสกุล ตามอำเภอใจ
2. อย่าส่งนักเรียนเข้าสอบ โดยเจ้าตัวมิได้มาสมัครสอบด้วยตนเองเพราะอาจจะซ้ำ
กับสำนักเรียนอื่น เมื่อปรากฏว่ามีชื่อสมัครสอบซ้ำกัน 2 แห่ง สนามหลวงจะตัดสิทธิ์ในการสอบ
เป็นการเสียประโยชน์ของนักเรียนรูปนั้นโดยใช่เหตุ
เรื่องการส่งรายชื่อกรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวง
1. สำนักเรียนส่วนกลางและสำนักคณะจังหวัดในส่วนภูมิภาค ต้องส่งรายชื่อ
กรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวงไปพร้อมกับบัญชี ศ.2 โดยทำบัญชีตามแบบฟอร์มที่เคย
ส่งไปทุกปี (ซึ่งพิมพ์แบบฟอร์มไว้ในหนังสือ "เรื่องสอบบาลี" แล้ว) และหมายเหตุให้แน่ชัดว่า
ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแล้วหรือยัง การส่งรายชื่อกรรมการตรวจ ฯ ต้องส่งทุกปี ทั้งนี้เพราะต้อง
การกรรมการที่มีความพร้อมและมีสถานภาพเป็นปัจจุบัน
2. กรรมการที่กรมการศาสนานิมนต์นั้น เป็นการเฉพาะตัวจะให้ใครไปตรวจแทนไม่ได้
ถ้ารูปใด ลาสิกขา มรณภาพ หรืออาพาธก็เป็นอันขาดไปและให้เจ้าสำนักเรียนส่งใบนิมนต์นั้นคืน
ให้กรมการศาสนาทราบโดยด่วน
3. คุณวุฒิของกรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวงนั้นกำหนดไว้ตั้งแต่ประโยค ป.ธ.6
ขึ้นไป ถ้ามีวุฒิเป็นเปรียญธรรม 5 ประโยค ต้องเป็นพระราชาคณะ หรือเป็นพระครู
เรื่ององค์จำกัดสิทธิ์นักเรียนผู้สมัครขอเข้าสอบความรู้ประดยคบาลีสนามหลวง
1. ผู้สมัครขอเข้าสอบความรู้ประโยค 1-2 ในบัญชี ศ.2 ต้องแจ้งประโยคนักธรรม
ด้วย ถ้ากำลังสอบนักธรรมตรี ให้ลงไว้ในช่องหมายเหตุว่า "กำลังสอบ น.ธ.ตรี"
2. ผู้สมัครขอเข้าสอบความรู้ประโยค ป.ธ. 3 ให้ลงประโยคเดิม คือ ป. 1-2 และ
ประโยคนักธรรมด้วย เพราะยังไม่ได้ประกาศยกเลิก
3. ผู้สมัครขอเข้าสอบความรู้บาลีประโยค ป.ธ. 4 ต้องลงประโยคเดิม คือ ป.ธ. 3
และประโยคนักธรรมชั้นโท หรือเอกด้วย ถ้ากำลังสอบนักธรรมชั้นโท ให้ลงในช่องหมายเหตุว่า
"กำลังสอบ น.ธ. โท."

4. ถ้าผู้สมัครขอเข้าสอบความรู้บาลีประโยค ป.ธ. 7 ต้องลงประโยคเดิมคือ
ป.ธ. 6 และประโยคนักธรรมชั้นเอกด้วย ถ้ากำลังสอบนักธรรมชั้นเอกให้ลงในช่องหมายเหตุว่า
"กำลังสอบ น.ธ. เอก"
5. สำหรับที่ลงหมายเหตุไว้ว่า "กำลังสอบ น.ธ. ตรี, โท, เอก" "ตามข้อ 1,3,4 นั้น
เมื่อทราบผลการสอบธรรมแล้ว ให้เจ้าสำนักเรียนหรือเจ้าคณะจังหวัดแล้วแต่กรณีรีบแจ้งผลการ
สอบธรรมให้แก่กองบาลีสนามหลวงทราบโดยด่วน มิฉะนั้น แม้สอบบาลีได้ก็เป็นอันหมดสิทธิในการ
สอบได้นั้น
6. ผู้สมัครขอเข้าสอบความรู้บาลีประโยค ป.ธ. 5,6,8,9 ให้ลงแต่ประโยคเดิมเท่านั้น
ไม่ต้องลงประโยคนักธรรม เพราแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ
1. เปรียญตรี คือ ประโยค ป.ธ. 3 ผู้ขอเข้าสอบต้องสอบนักธรรมตรีได้จึงมี
สิทธิสอบ แม้ประโยค 1-2 ก็เช่นเดียวกัน
2. เปรียญโท คือ ประโยค ป.ธ. 4,5,6 ต้องสอบนักธรรมชั้นโทได้จึงมี
สิทธิสอบ
3. เปรียญเอก คือ ประโยค ป.ธ. 7,8,9 ต้องสอบนักธรรมชั้นเอกได้จึงมีสิทธิ
สอบ
ฉะนั้น ผู้เข้าสอบประโยค ป.ธ. 5,6 ไม่ต้องลงประโยคนักธรรมเพราะสอบนักธรรม
ชั้นโทได้แล้ว แม้ประโยค ป.ธ. 8,9 ก็เช่นเดียวกัน เพราะสอบนักธรรมชั้นเอกได้แล้ว
เรื่องการแสดงหนังสือสุทธิ
บัดนี้ ได้มีประกาศแม่กองบาลีสนามหลวง ให้นักเรียนมีหนังสือสุทธิไปแสดงในเวลา
สอบบาลีสนามหลวง ดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล ต้องถ่ายเอกสาร
นำมาแสดงต่อคณะกรรมการผู้ควบคุมการสอบด้วย
เรื่องการส่งบัญชีเรียกชื่อและบัญชีรับใบตอบของนักเรียน
1. เมื่อสอบเสร็จแล้ว ให้เจ้าสำนักสถานที่สอบส่งบัญชีเรียกชื่อของนักเรียน (ศ.3)
ไปให้ครบทุกชั้น นักเรียนรูปใดขาดสอบต้องขีดชื่อด้วยหมึกแดงหรือดินสอสีแดง และให้หมายเหตุ
ไว้ว่าขาดสอบในวันใดและในบัญชีรับใบตอบก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันและให้ใส่ของพิเศษไป
โดยเขียนหน้าซองว่า บัญชี ศ.3 ของสถานที่สอบวัดไหน จังหวัดอะไร
2. บัญชีรับใบตอบของนักเรียนทุกชั้น ให้ใส่รวมไปในซองที่กองบาลี ฯ จัดให้
หรือใส่ซองพิเศษต่างหาก โดยเขียนหน้าซองว่า บัญชีรับใบตอบของสถานที่สอบ วัดไหน จังหวัดอะไร

เรื่องกระดาษใบตอบของนักเรียน
เนื่องจากมีประกาศของแม่กองธรรมและแม่กองบาลีสนามหลวงเรื่องมารยาทของ
นักเรียน ในขณะสอบธรรมบาลีสนามหลวง ข้อ 5 ว่า ห้ามเขียนข้อความอื่นจากคำตอบปัญหา
ลงในกระดาษสอบ ฉะนั้น ควรประกาศให้นักเรียนผู้เข้าสอบประโยคบาลีสนามหลวงทราบว่า
ในการสอบบาลีสนามหลวง ถือเคร่งครัดมาก ห้ามนักเรียนเขียนชื่อ และเลขประจำโต๊ะลงใน
กระดาษสอบ เพราะมีบัตรประจำวันอยู่แล้ว แม้เขียนลอกปัญหาลงในกระดาษสอบก็ผิด มารยาทด้วย
ให้เขียนเฉพาะคอตอบปัญหาเท่านั้น กระดาษสอบต้องเป็นกระดาษฟุลสแก็ปธรรมดาห้ามใช้กระดาษ
ที่เป็นแบบฟอร์มของสถาบันศึกษาต่าง ๆ มาเขียนสอบ กรรมการปรับเป็นตกได้
เรื่องการแจ้งผลการสอบบาลีสนามหลวง
เจ้าสำนักเรียนส่วนกลาง และเจ้าคณะภาค ควรไปรับแจ้งผลการสอบบาลี สนามหลวง
ณ สำนักงานเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวงหลังจากประกาศประโยคสูงแล้ว โดยจะไปรับเอง
หรือจะส่ง ผู้แทนไปรับก็ได้ และเก็บบัญชีรายชื่อผู้สอบประโยคบาลีได้ไว้เป็นหลักฐานของนักเรียน
ให้ครบทุกปี
สำหรับการประกาศผลการสอบบาลี ทางสนามหลวงจะอ่านเฉพาะรายชื่อผู้เข้า
สอบได้เปรียญเอกเท่านั้น ส่วนประโยคอื่น ทางสนามหลวงจะปิดรายชื่อผู้สอบได้ไว้
สำหรับผู้ประสงค์จะดู
เรื่องการขอแก้ชื่อ ฉายา และนามสกุลเป็นต้น
การขอแก้ชื่อ ฉายา และนามสกุลเป็นต้น ที่คลาดเคลื่อนไม่ตรงกับหลักฐาน จะขอ
แก้ได้หลังจากวันประกาศผลสอบเป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยเจ้าสำนักเรียนมีหนังสือขอแก้ไปทาง
แม่กองบาลีสนามหลวง เพราะทางสนามหลวงแผนกบาลีจะพิมพ์บัญชี ศ.4 (บัญชีรายชื่อภิกษุ
สามเณรผู้สอบประโยคบาลีบาลีได้) ตามบัญชีรายชื่อสอบประโยคบาลีได้ ที่ได้แจ้งมายังสำนักเรียน
ต่าง ๆ แล้ว ทั้งได้มีหมายเหตุท้ายบัญชีว่า "ถ้าชื่อ ฉายา นามสกุลเป็นต้น ของผู้ใดคลาดเคลื่อน
ไม่ตรงกับหลักฐาน ให้มีหนังสือขอแก้ภายในวันที่.......เดือน................พ.ศ...............เพื่อออก
ประกาศนียบัตรให้ถูกต้องต่อไป" หลังจากพ้นกำหนด 1 เดือนแล้ว จะขอแก้ชื่อ ฉายา และนาม
สกุลเป็นต้น ทางสำนักเรียนต้องมีหนังสือขอแก้ไปยังกรมการศาสนา พร้อมกับถ่ายเอกสารใบอนุญาต
เปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลเป็นต้นไปด้วย
เรื่องการออกใบรับรองเปรียญ
เมื่อประกาศผลการสอบประจำปีแล้ว ถ้าผู้สอบได้รูปใดต้องการประกาศนียบัตรโดย
เร็ว แต่ประกาศนียบัตรนั้น จะออกให้ได้ประมาณวันวิสาขบูชา ในกรณีเช่นนี้ แม่กองลาลีสนาม
หลวงจะออกใบรับรองวุฒิเปรียญให้แทนโดยเจ้าสำนักเรียนหรือเจ้าคณะจังหวัด มีหนังสือถึงแม่กอง
บาลีสนามหลวง ขอใบรับรองวุฒิของนักเรียนของตนพร้อมกับมีรูปถ่ายของผู้ขอใบรับรองขนาด
2 นิ้ว คูณ 3 นิ้ว จำนวน 2 รูป มีลายเซ็นของเจ้าสำนักเรียน หรือเจ้าคณะจังหวัดแล้วแต่
กรณี รับรองว่าเป็นรูปของผู้สอบได้จริง และผู้ขอต้องนำไปยื่นด้วยตนเองจะให้ผู้อื่นไปยื่นแทนไม่ได้

หนังสือรับรองนี้ จะออกให้ใช้แทนได้ ไม่เกินวันวิสาบูชาเท่านั้นต่อไปถือว่า
ประกาศนียบัตรได้ออกแล้ว ไม่จำเป็นต้องออกใบรับรองต่อไป
เรื่องการย้ายสนามสอบ
จังหวัดใด มีความประสงค์จะย้ายสนามสอบ ให้เจ้าคณะจังหวัดทำเรื่องขอย้ายสนาม
สอบจากที่เดิมไปยังที่แห่งใหม่ โดยแสดงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องย้าย เสนอไปยังเจ้าคณะภาค
เพื่อขอความเห็นชอบและเจ้าคณะภาคนำเสนอแม่กองบาลีสนามหลวงเพื่อขออนุมัติ ก่อนสิ้นเดือนอ้าย
เรื่องการเก็บวิชาที่สอบผ่านแล้วเป็นเวลา 2 ปี นำร่องชั้นประโยค 1-2 ก่อน
สนามหลวงแผนกบาลี โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ได้อนุมัติให้มีการเก็บ
ในวิชาที่สอบผ่านแล้วเป็นเวลา 2 ปี น่าร่องชั้นประโยค 1-2 ก่อน โดยอาศัยเค้าโครง รูปแบบ
หลักสูตร และวิชาการเช่นเดิม เปลี่ยนแต่การเก็บวิชาที่สอบได้เท่านั้น เมื่อสอบผ่านวิชาใดแล้ว
สนามหลวงแผนกบาลีจะเก็บวิชานั้นไว้ในปีต่อไป (ภายใน 2 ปี) ไม่ต้องสอบในวิชานั้นอีก คงสอบ
เฉพาะในวิชาที่ยังสอบไม่ผ่านเท่านั้น
ข้อกำหนดในการเก็บวิชาที่สอบผ่าน
1. ในเบื้องแรก ผู้สอบต้องสอบให้ครบทั้ง 2 วิชา ทำปัญหาข้อสอบครบถ้วน ตั้ง
แต่ต้นจนจบในทุกวิชา
2. ต้องสอบได้ผ่านเกณฑ์ที่กองบาลีสนามหลวงกำหนดไว้ จึงจะเก็บวิชานั้น
3. ในวิชาที่สอบได้นั้นจะเก็บไว้ 2 ปี เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้เป็นอันยกเลิกทั้งหมด
ที่กำหนดเท่านั้น จึงจะถือว่าสอบผ่านชั้นประโยค 1-2
เกณฑ์ในการเก็บวิชา
1. นักเรียนต้องสอบทั้ง 2 วิชา
2. ในทั้ง 2 วิชานั้น ถ้าสอบได้ตามเกณฑ์ที่กองบาลีสนามหลวงกำหนดไว้ใน วิชา
ใด จะเก็บวิชานั้นไว้ในปีต่อไป สอบเฉพาะวิชาที่ยังสอบไม่ผ่าน ต้องลงบัญชีตามแบบฟอร์ม ของ
กองบาลีสนามหลวง โดยให้พิมพ์สำนักศาสนศึกษาอำเภอเมืองไว้ก่อนตามลำดับเขตปกครองในจังหวัด
นั้น ทั้งนี้เพื่อต้องการทราบสถิติศาสนศึกษาที่เปิดสอนในคณะจังหวัดนั้น ๆ
3. ในวิชาที่สอบแล้ว จะเก็บไว้เป็นเวลา 2 ปี นักจากปีที่มีสิทธิ์สำหรับ "เก็บ"
เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีแล้ว ให้เป็นอันยกเลิกทั้งหมด กล่าวคือ จะต้องเริ่มต้นใหม่ เช่น ในชั้น
ประโยค 1-2 นักเรียนสอบผ่านวิชาแปลมคธเป็นไทย ในปี พ.ศ. 2541 สนามหลวงแผนกบาลี จะ
เก็บวิชาแปลมคธเป็นไทยนั้นไว้เป็นเวลา 2 ปี ในปีถัดไป คือปี พ.ศ. 2542-2543 คง สอบเฉพาะ
ประโยค 1-2 แต่ถ้าเมื่อพ้นจากกำหนด 2 ปีนี้แล้ว ยังสอบไม่ผ่านวิชาบาลีไวยากรณ์ ให้ถือเป็น
อันยกเลิกทั้งหมด กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2544 ต้องเริ่มต้นสอบใหม่ทั้ง 2 วิชา ฯ
สนามหลวงแผนกบาลี 7 มีนาคม 2541

รายนามกรรมการยกร่าง - ตรวจร่างเฉลย
ข้อสอบประโยคบาลีสนามหลวง
ณ ห้องแม่กองบาลีสนามหลวง ตึกเมตตาพุทธิ ชั้น 5
วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2543 ตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 4
เวลา 14.00 น. เป็นต้นไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ

1. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ประธานกรรมการ
2. พระธรรมกิตติวงศ์ วัดราชโอรสาราม
เฉลย ตัวอย่าง แต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.9
3. พระธรรมวโรดม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
เฉลย แปลมคธเป็นไทย ป.ธ. 9
4. พระเทพเวที วัดชนะสงคราม
เฉลย ตัวอย่าง แต่งฉันท์ภาษามคธ ป.ธ.8
5. พระธรรมโมลี วัดพิชยญาติการาม
เฉลยแปลมคธเป็นไทย ป.ธ. 8
6. พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดเทพธิดาราม
เฉลย แปลมคธเป็นไทย ป.ธ. 7
7. พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดปากน้ำ
เฉลย แปลมคธเป็นไทย ป.ธ. 6
8. พระธรรมปริยัติโสภณ วัดไตรมิตรวิทยาราม
เฉลย แปลมคธเป็นไทย ป.ธ. 5
9. พระเทพสุธี วัดสามพระยา
เฉลย แปลมคธเป็นไทย ป.ธ. 4
10. พระราชวิสุทธิเวที วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม
เฉลย แปลมคธเป็นไทย ป.ธ. 3
11. พระเมธิปริยัติยากรณ์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
เฉลย แปลมคธเป็นไทย ป.ธ. 3
12. พระเทพมุนี วัดปากน้ำ
เฉลย แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2
13. พระราชเวที วัดเบญจมพิตรดุสิตวนาราม
เฉลย บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2

ตัวอย่าง

การออก - เฉลย

ปัญหา

บาลีสนามหลวง

ปี 2543

ประโยค 1-2
แปล มคธเป็นไทย
สอบ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543
แปล โดยพยัญชนะ
1. สตฺถา ตสฺส ภิกฺขุโน อิมํ โอวาทํ ทตฺวา คจฺฉ ภิกฺขุ อญฺญํ กิญฺจิ อจินฺตยิตฺวา
ตตฺเถว วสาหีติ ปหิณิ ฯ โส ภิกฺขุ สตฺถุ สนฺติกา โอวาทํ ลภิตฺวา ตตฺถ อคมาสิ ฯ กิญฺจิ
พหิทฺธา จินฺตนํ นาม น จินฺเตสิ ฯ มหาอุปาสิกาปิ ทิพฺเพน จกฺขุนา โอโลเกนฺตี เถรํ ทิสฺวา
อิทานิ โอวาททายกํ อาจริยํ ลภิตฺวา ปุนาคโต มม ปุตฺโตติ อตฺตโน ญาเณเนว ปริจฺฉินฺทิตฺวา
ตสฺส สปฺปายาหารํ ปฏิยาเทตฺวา อทาสิ ฯ โส สปฺปายโภชนํ ลภิตฺวา กติปาเหเนว อรหตฺตํ
ปตฺวา มคฺคผลสุเขน วีตินาเมนฺโต อโห มหาอุปาสิกา มยฺหํ ปติฏฺฐา ชาตา, อหํ อิมํ นิสฺสาย
ภวนิสฺสรณํ ปตฺโตมฺหีติ จินฺเตตฺวา อิมสฺมึ ตาม เม อตฺตภาเว ปติฏฺฐา ชาติ, สํสาเร ปน เม
สํสรนฺตสฺส, อญฺเญสุปิ อตฺตภาเวสุ อยํ ปติฏฺฐา ภูตปุพฺพา โน วติ อุปธาเรนฺโต เอกูนอตฺต
ภาวสตํ อนุสฺสริ ฯ สาปิ เอกูนอตฺตภาวสเต ตสฺส ปาทปริจาริกา หุตฺวา อญฺเญสุ ปฏิพทฺะ
จิตฺตา หุตฺวา ตํ ชีวิตา โวโรปาเปสิ ฯ เถโร ตสฺสา เอตฺตกํ อคุณํ ทิสฺวา อโห อยํ มหาอุปาสิกา
ภาริยํ กมฺมํ อกาสิติ จินฺเตสิ ฯ มหาอุปาสิกาปิ เคเห นิสินฺนา ว กินฺนุ โข มยฺหํ ปุตฺตสฺส
ปพฺพชิตกิจฺจํ มตฺถกํ ปตฺตํ โนติ อุปธารยมานา ตสฺส อรหตฺตปฺปตฺตึ ญตฺวา อุตฺตรึ อุปธารย
มานา มม ปุตฺโต อรหตฺตํ ปตฺวา อโห วต เม อยํ อุปสาสิกา มหตี ปติฏฺฐา ชาตาติ จินฺเตตฺวา
อตีเตปิ นุ โข เม อยํ ปติฏฺฐา ภูตปุพฺพา โนติ อุปธาเรนฺโร เอกูนอตฺตภาวสตํ อนุสฺสริ: อหํ
โข ปน เอกูนอตฺตภาวสเต อญฺเญหิ สทฺธึ เอกโต หุตฺวา เอตํ ชีวิตา โวโรเปสึ, อยํ เม เอติตกํ
อคุณํ ทิสฺวา 'อโห ภาริยํ กมฺมํ กตํ อุปาสิกายาติ จินฺเตสีติ อญฺญาสิ; นตฺถิเอว นุ โข สํสาเร
สํสรนฺติยา มม ปุตฺตสฺส อุปกาโร กตปุพฺโพติ อุปธารยมานา ตโต อุตฺตรึ สติมํ อตฺตภาวํ
อนุสฺสริตฺวา สติเม อตฺตภาเว มยา เอตสฺส ปาทปริจาริกาย หุตฺวา เอกสฺมึ ชีวิตา
โวโรปนฏฺฐาเน ชีวิตทานํ ทินฺนํ; อโห มยา มม ปุตฺตสฺส มหาอุปกาโร กโตติ ญตฺวา เคเห
นิสินฺนา ว อุตฺตรึ วิเสเสตฺวา อุปธาเรถาติ อาห ฯ โส ทิพฺพาย โสตธาตุยา สทฺทํ สุตฺวา
วิเสเสตฺวา สติมํ อตฺตภาวํ อนุสฺสริตฺวา ตตฺถ ตาย อตฺตโน ชีวิตสฺส ทินฺนภาวํ ทิสฺวา อโห
มม อิมาย มหาอุปาสิกาย อุปกาโร กตปุพฺโพติ จินฺเตตฺวา อตฺตมโน หุตฺวา ตสฺสา ตตฺเถว
จตูสุ มคฺคผเลสุ ปญฺหํ กเถตฺวา อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายิ ฯ

แปลโดยอรรถ
2. มหาปุญฺญาย หิ อิตฺถิยา เกสา โมรกลาปสทิสา หุตฺวา มุญฺจิตฺวา วิสฺสฏฺฐา
นีวาสนนฺตํ ปหริตฺวา นิวตฺติตฺวา อุทฺธคฺคา ติฏฺฐนฺติ, อิทํ เกสกลฺยาณํ นาม ฯ ทนฺตาวรณํ
พิมฺพผลสทิสํ วณฺณสมฺปนฺนํ สมํ สุผุสฺสิตํ โหติ, อิทํ มํสกลฺยาณํ นาม ฯ ทนฺตา สุกฺกา สมา
อวิวรา อุสฺสาเปตฺวา ฐปิตวชิรปนฺตี วิย สมุจฺฉินฺสงฺขปนฺตี วิย จ โสภนฺติ, อิทํ อกฺฐิกลฺยาณํ
นาม ฯ กาฬิยา วณฺณกาทีหิ อวิลิตฺโตเอว ฉวิวณฺโณ สินิทฺโธ นีลุปฺปลทามสทิโส โหติ,
โอทาตาย กณฺณิการปุปฺผทามสทิโส โหติ; อิทํ ฉวิกลฺยาณํ นาม ฯ ทสกฺขตฺตุํ วิชาตาปิ โข ปน
สกึ วิชาตา วิย อวิคตโยพฺพนา ว โหติ, อิทํ วยกลฺยาณํ นามาติ ฯ
ให้เวลา 4 ชั่วโมง 15 นาที

เฉลย ประโยค 1 - 2
แปล มคธเป็นไทย
แปลโดยพยัญชนะ
1. อ. พระศาสนา ครั้งทรงประทานแล้ว ซึ่งพระโอวาทนี้ แก่ภิกษุนั้น ทรงส่งไปแล้ว ด้วย
พระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุ อ. เธอ จงไป อ. เธอ ไม่คิดแล้ว ซึ่งเหตุอะไร ๆ อื่น จงอยู่ในที่นั้นนั่นเทียว
ดังนี้ ฯ อ. ภิกษุนั้น ได้แล้วซึ่งพระโอวาท จากสำนักของพระศาสดา ได้ไปแล้วในที่นั้น ฯ อ. ภิกษุนั้น
ไม่คิดแล้ว ชื่อซึ่งความคิดในภายนอกอะไร ๆ ฯ แม้ อ. มหาอุบาสิกา แลดูอยู่ ด้วยจักษุอันเป็นทิพย์
เห็นแล้ว ซึ่งพระเถระ กำหนดแล้ว ด้วยญาณของตนนั่นเทียวว่า อ. บุตรของเรา ได้แล้ว ซึ่งอาจารย์
ผู้ให้ซึ่งโอวาท มาแล้วอีก ในกาลนี้ ดังนี้ จัดแจงแล้ว ซึ่งอาหารอันเป็นที่สบาย ได้ถวายแล้ว แก่พระ
เถระนั้น ฯ อ. พระเถระนั้น ได้แล้ว ซึ่งโภชนะอันเป็นที่สบาย บรรลุแล้ว ซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์
โดยวันเล็กน้อยนั่นเทียว ยังกาลให้น้อยล่วงไปวิเศษอยู่ ด้วยสุขอันเกิดแต่มรรคและผล คิดแล้วว่า โอ
อ. มหาอุบาสิกา เป็นที่พึ่งของเรา เกิดแล้ว อ. เรา อาศัยแล้ว ซึ่งมหาอุบาสิกานี้ เป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่ง
ความแล่นออกจากภพ ย่อมเป็น ดังนี้ ใคร่ครวญอยู่ว่า อ. มหาอุบาสิกานี้ เป็นผู้เป็นที่พึ่งของเรา
เกิดแล้ว ในอัตภาพนี้ก่อน ก็ เมื่อเราแล่นไปพร้อมอยู่ ในสงสาร อ. มหาอุบาสิกานี้ เป็นผู้เป็นที่พึ่ง
แล้วในก่อน ในอัตภาพ ท. แม้เหล่าอื่น ได้เป็นแล้ว หามิได้ ดังนี้ ระลึกตามแล้ว ซึ่งร้อยแห่งอัตภาพ
อันหย่อนด้วยอัตภาพหนึ่ง ฯ อ. มหาอุบาสิกาแม้นั้น เป็นหญิงผู้บำเรอซึ่งเท้าของพระเถระนั้น เป็น
ยังบุคคลให้ปลงลงแล้ว ซึ่งพระเถระนั้นจากชีวิต ในร้อยแห่งอัตภาพหย่อนด้วยอัตภาพหนึ่ง ฯ อ. พระ
เถระ เห็นแล้ว ซึ่งโทษมิใช่คุณ มีประมาณเท่านี้ของอุบาสิกาแล้ว คิดแล้วว่า โอ อ. มหาอุบาสิกานี้
ได้กระทำแล้ว ซึ่งกรรมอันหนัก ดังนี้ ฯ แม้ อ. มหาอุบาสิกา นั่งแล้วในเรือนเทียว ใครครวญอยู่ว่า
อ. กิจแห่งบรรพชิต ของบุตรของเรา ถึงแล้ว ซึ่งที่สุด หรือหนอแล หรือว่าถึงซึ่งที่สุด หามิได้ ดังนี้
รู้แล้วซึ่งความบรรลุ ซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์แห่งพระเถระนั้น เมื่อใคร่ครวญยิ่งขึ้น ได้รู้แล้วว่า
อ. บุตรของเรา บรรลุแล้ว ซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์ คิดแล้วว่า โอหนอ อ. อุบาสิกานี้ เป็นผู้เป็น
ที่พึ่งใหญ่ของเรา เกิดแล้ว ดังนี้ ใคร่ครวญอยู่ว่า อ. อุบาสิกานี้ เป็นผู้เป็นที่พึ่งของเรา เป็นแล้ว ใน
ก่อน ได้เป็นแล้ว ในกาลแม้อันเป็นอดีตหรือหนอแล หรือว่าเป็นผู้เป็นที่พึ่งของเราเป็นแล้วในก่อน
ได้เป็นแล้ว ในกาลแม้อันเป็นอดีต หามิได้ ดังนี้ ระลึกตามแล้ว ตลอดร้อยแห่งอัตภาพอันหย่อนด้วย
อัตภาพหนึ่ง อ. พระเถระนี้ เห็นแล้ว ซึ่งโทษมิใช่คุณ มีประมาณเท่านี้ของเรา คิดแล้วว่า โอ อ. กรรม
อันหนัก อันอุบาสิกากระทำแล้ว ดังนี้ ใคร่ครวญอยู่ว่า อ. อุปการะ ย่อมไม่มีนั่นเทียวหรือหนอแล
ดังนี้ ระลึกตามแล้ว ซึ่งอัตภาพที่ร้อย อันยิ่งกว่าร้อยแห่งอัตภาพอันหย่อนด้วยอัตภาพหนึ่งนั้น รู้แล้วว่า

อ. การให้ซึ่งชีวิต อันเราเป็นหญิงผู้บำเรอซึ่งเท้าของพระเถระนั่น เป็น ให้แล้ว ในที่เป็นที่ปลงลง
จากชีวิตแห่งหนึ่ง ในอัตภาพที่ร้อย โอ. อ. อุปการะใหญ่ อันเรากระทำแล้วแก่บุตรของเรา ดังนี้ นั่ง
แล้วในเรือนเทียว กล่าวแล้วว่า อ. ท่าน ท. ขอจงใคร่ครวญให้วิเศษยิ่ง ดังนี้ ฯ
อ. พระเถระนั้น ฟังแล้ว ซึ่งเสียง ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์ ระลึกตามแล้ว ซึ่งอัตภาพที่
ร้อยให้วิเศษ เห็นแล้ว ซึ่งความที่แห่งชีวิตของตนเป็นธรรมชาตอันอุบาสิกานั้นให้แล้วในก่อน ในอัต
ภาพนั้น คิดแล้วว่า โอ อ. อุปการะ เป็นสภาพอันมหาอุบาสิกานี้กระทำแล้วในก่อนแก่เรา ได้เป็น
แล้ว ดังนี้ เป็นผู้มีใจเป็นของแห่งตน เป็น กล่าวแล้ว ซึ่งปัญหาในมรรคและผล ท. สี่ แก่มหา
อุบาสิกานั้น ในที่นั้นนั่นเทียว ปรินิพพานแล้ว ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ฯ
แปลโดยอรรถ
2. จริงอยู่ ผมของหญิงผู้มีบุญมาก เป็นเช่นกับกำหางนกยูง สยายออกกระทบชายผ้านุ่ง
แล้วกลับมีปลายงอนขึ้นอยู่ นี้ชื่อว่าผมงาม ฯ ริมฝีปาก เป็นเช่นกันผลตำลึง (สุก) ถึงพร้อมด้วยสี
เรียบ สนิทดี นี้ชื่อว่าเนื้องาม ฯ ฟัน ขาว เรียบ ไม่ห่างกัน งดงาม เหมือนแถวเพชรที่ยกขึ้นวางไว้
และเหมือนแถวสังข์ที่ตัดเรียบแล้ว นี้ชื่อว่ากระดูกงาม ฯ ผิวพรรณของหญิงดำ ซึ่งไม่มีริ้วรอยด้วย
แผลเป็น เป็นต้นเลย เนียน เป็นเช่นกับพวงดอกอุบลเขียว ของหญิงขาว เป็นเช่นกับพวงดอกกรรณิกา
นี้ชื่อว่าผิดงาม ฯ อนึ่ง หญิงแม้คลอดแล้วตั้ง 10 ครั้งแล เป็นเหมือนคลอดแล้วครั้งเดียว ยังสาว
พริ้วอยู่ทีเดียว นี้ชื่อว่าวัยงาม ฯ

หมายเหตุ
ประโยค ภูตปุพฺพํ ลงในอรรถปฐมาวิภัตติ แปลว่า อ. เรื่องอันมีแล้วในก่อน โดยอรรถแปลว่า
เรื่องเคยมีแล้ว เป็นลิงฺคตฺถ คัมภีร์ปทรูปสิทธิกล่าวว่า ภูตปุพฺพํ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถกาลสัตตมี
อภินวฎีกา ข้อ 336 ปุพฺเพ ทิฏฺโฐ ทิฏฺฐปุพฺโพ พุทฺโธ ปุริเสน. เอวํ คตปุพฺโพ มคฺโค ปุริเสน คตปุพฺโพ
วา ปุริโส มคฺคํ, ทิฏฺฐ คต เป็นได้ทั้งกัตตุ และกัมมะ

พระเทพมุนี ธมฺมรตโน วัดปากน้ำ เฉลย
สนามหลวงแผนกบาลี ตรวจแก้

ประโยค 1 - 2
ปัญหา บาลีไวยากรณ์
สอบ วันที่ 1 มีนาคม 2543
1. บาลีไวยากรณ์ แบ่งเป็น 4 ภาค มีอะไรบ้าง ฯ และในภาคนั้น ๆ ว่าด้วยเรื่องอะไร ฯ
2. อะไรเรียกว่าสนธิ ฯ ในสนธิ การต่อมี 2 อย่าง อะไรบ้าง จงตอบพร้อมทั้งยกตัวอย่างมาประกอบ
ด้วย ฯ
3. จงแจก อาจริย (อาจารย์) ด้วย อ การันต์ในปุํลิงค์ ซึ่งมีวิธีแจกอย่างปุริส (บุรุษ) มาดู ฯ
4. อะไร ชื่อว่าอาขยาต ฯ ในอาขยาตนั้น ท่านประกอบด้วยอะไรบ้าง ฯ จงเขียนวิภัตติหมวดกาลาติ
ปัตติ ฝ่ายปรัสสบท มาดู ฯ
5. ข้อความว่า "วิภัตติแห่งกิริยากิตก์นั้น ไม่มีแผนกหนึ่งเหมือนวิภัตติอาขยาต ใช้วิภัตตินาน ถ้านาม
ศัพท์เป็นวิภัตติและวจนะอันใด กิริยากิตก์ก็เป็นวิภัตติและวจนะอันนั้นตาม" เท่าที่อธิบายไว้อย่างนี้
ขอให้ยกตัวอย่าง (ตามแบบ) มาให้ดู 2 ตัวอย่าง ฯ
6. อะไร ชื่อว่าทวันทวสมาส ฯ ทวันทวสมาสนั้น มี 2 อย่าง อะไรบ้าง จงตอบพร้อมทั้งยกตัวอย่าง
มาประกอบด้วย ฯ
7. ในอัพยยตัทธิต มีปัจจัย 2 ตัว คืออะไร ฯ ในปัจจัยทั้ง 2 ตัวนั้นมีวิธีใช้อย่างไร จงยกตัวอย่างมา
ประกอบด้วย ฯ
ให้เวลา 3 ชั่วโมง

เฉลย ประโยค 1 - 2
ปัญหา บาลีไวยากรณ์
1. มีอักขรวิธี 1, วจีวิภาค 1, วากยสัมพันธ์ 1, ฉันทลักษณะ 1,ฯ
(1) อักขรวิธี ว่าด้วยอักษร จัดเป็น 2 คือ สมัญญาภิธาน แสดงชื่ออักษรที่เป็นสระ
และพยัญชนะพร้อมทั้งฐานกรณ์ สนธิ ต่ออักษรอยู่ในคำอื่นให้เนื่องเป็นอันเดียวกัน

(2) วจีวภาค แบ่งคำพูดออกเป็น 6 ส่วน คือ นาม อัพยยศัพท์ สมาส ตัทธิต อาขยาต
กิตก์
(3) วากยสัมพันธ์ ว่าด้วยการกและประพันธ์ผูกคำพูดที่แบ่งไว้ในวจีวิภาคให้เข้าเป็น
ประโยคอันเดียวกัน
(4) ฉันทลักษณะ แสดงวิธีแต่งฉันท์ คือคาถาที่เป็นวรรณพฤทธิ์และมาตราพฤทธิ์
2. ในภาษาบาลี มีวิธีต่อศัพท์และอักขระให้เนื่องด้วยอักขระ เพื่อจะย่นอักขระให้น้อยลง เป็นอุปการะ
ในการแต่งฉันท์และให้คำพูดสละสลวย เรียก สนธิ ฯ การต่อมี 2 อย่าง คือ ต่อศัพท์ที่มีวิภัตติให้
เนื่องด้วยศัพท์มีวิภัตติ เหมือน จตฺตาโร อิเม ต่อเข้าเป็น จตฺตาโรเม เป็นต้น อย่าง 1, ต่อบทสมาส
ย่ออักษรให้น้อยลง เหมือน กด อุปกาโร ต่อเข้าเป็น กโตปกาโร เป็นต้น อย่าง 1 ฯ
3. แจก อาจริย (อาจารย์) ด้วย อ การันต์ ในปุํลิงค์ ดังนี้
เอกวจนํ พหุวจนํ
ท. อาจริยํ อาจริยา
ต. อาจริเยน อาจริเย
จ. อาจริยสฺส อาจริยาย อาจริยตฺถํ อาจจริยานํ
ปญฺ. อาจริยสฺมา อาจริยมฺหา อาจริยา อาจจริเยหิ อาจริเยภิ
ฉ. อาจริยสฺส อาจริยานํ
ส. อาจริสฺมึ อาจริยมฺหิ อาจริเย อาจริเยสุ
อา. อาจริย อาจริยา
4. ศัพท์กล่าวกิริยา คือ ความทำ เป็นต้นว่า ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ชื่อว่าอาขยาต ฯ
ในอาขยาตนั้น ท่านประกอบด้วยวิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ วาจก ปัจจัย ฯ
กาลาติปตฺติ ฝ่ายปรัสสบท
เอก. พหุ.
สุสา สฺสํสุ
สุเส สฺสถ
สฺสํ สฺสามฺหา ฯ

5. ภิกขุ คามํ บิณฺฑาย ปวิฏฺโฐ ภิกษุ เข้าไปแล้ว สู่บ้าน เพื่อก้อนข้าว เย เกจิ พุทฺธํ สรณํ คตา เส
(ชน ท.) เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงแล้ว ซึ่งพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่ระลึก หรือ เอกํ ปุริสํ ฉตฺตํ คเหตฺวา
คจฺฉนฺตํ ปสฺสามิ, (ข้า) เห็นซึ่งบุรุษคนหนึ่ง ถือซึ่งร่มไปอยู่ ฯ
6. นามนามตั้งแต่ 2 ศัพท์ขึ้นไป ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อทวันทวสมาส ในทวันทวสมาสนั้น
มี 2 อย่าง คือ สมาหาโร อสมาหาโร
สมาหาระ อย่างนี้ สมฺโถ จ วิปสฺสนา จ สมถวิปสฺสนํ สมถะด้วย วิปัสสนาด้วย ชื่อสมถะ
และวิปัสสนา ฯ (ตอบตัวอย่างอื่นในแบบก็ได้)
อสมาหาระ อย่างนี้ จนฺทิมา จ สุริโย จ จนฺทิมสุริยา พระจันทร์ด้วย พระอาทิตย์ด้วย ชื่อ
พระจันทร์และพระอาทิตย์ ท. (ตอบตัวอย่างอื่นในแบบก็ได้)
7. คือ ถา, ถํ ฯ มีวิธีใช้อย่างนี้
ถา ปัจจัย ลงในประการ หลังสัพพนาม อย่างนี้ ยถา ประการใด ตถา ประการนั้น สพฺพถา
ประการทั้งปวง เป็นต้น ฯ
ถํ ปัจจัย ลงในประการ หลัง กึ และ อิม อย่างนี้ กถํ ประการไร, อย่างไร, อิติถํ ประการนี้,
อย่างนี้ ฯ

พระราชเวที พฺรหฺมวํโส วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เฉลย
สนามหลวงแผนกบาลี ตรวจแก้

ประโยค ป.ธ. 3
แปล มคธเป็นไทย
สอบ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2583
แปลโดยพยัญชนะ
1. ปุณฺโณ เถรํ ทิสฺวา กสึ ฐเปตฺวา ปญฺจปฺปติฏฺฐิเตน เถรํ วนฺทิตฺวา ทนฺตกฏฺเฐน
อตฺโถ ภวิสฺสตีติ ทนฺตกฏฺฐํ กปฺปิยํ กตฺวา อทาสิ ฯ อถสฺส เถโร ปตฺตญฺจ ปริสฺสาวนญฺจ
นีหริตฺวา อทาสิ ฯ โส ปานีเยน อตฺโถ ภวิสฺสตีติ ตํ อาทาย ปานียํ ปริสฺสาเวตฺวา อทาสิ
ฯ เถโร จินฺเตสิ อยํ ปเรสํ ปจฺฉิมเคเห วสติ, สจสฺส เคหทฺวารํ คมิสฺสามิ, อิมสฺส ภริยา มํ
ทฏฺฐุํ นํ ลภิสฺสติ ; ยาวสฺส ภตฺตํ อาทาย มคฺคํ ปฏิปชฺชติ, ตาว อิเธว ภวิสฺสามีติ ฯ โส
อนฺตรามคฺเค เถรํ ทิสฺวา จินฺเตสิ อปฺเปกทาหํ เทยฺยธมฺเม สติ อยฺยํ น ปสฺสามิล อปฺเปกทา
เม อยฺยํ ปสฺสนฺติยา เทยฺยธมฺโม น โหติ, อชฺช ปน อยฺโย จ ทิฏฺโฐ, เทยฺยธมฺโม จายํ อตฺถิ,
กริสฺสติ นุ โช เม สงฺคหนฺติ ฯ สา ภตฺตภาชนํ โอตาเรตฺวา เถรํ ปญฺจปฺปติฏฺฐิเตน วนฺทิตฺวา
ภนฺเต 'อิทํ ลูขํ วา ปณีตํ วาติ อจินฺเตตฺวา ทาสสฺส โว สงฺคหํ กโรกาติ อาห ฯ เถโร ปตฺตํ
อุปนาเมตฺวา ตาย เอเกน หตฺเถน ภาชนํ ธาเรตฺวา เอเกน หตฺเถน ภตฺตํ ททมานาย
อุปฑฺฒภตฺเต ทินฺเน อลนฺติ หตฺเถน ปตฺตํ ปิทหิ ฯ สา ภนฺเต เอโกว ปฏิวึโส น สกฺกา
ทฺวิธา กาตุํ, ตุมฺหากํ ทาสสฺส อิธโลกสงฺคหํ อกตฺวา ปรโลกสงฺคหํ กโรถ, นิรวเสสเมว
ทาตุกามามฺหีติ วตฺวา สพฺพํ เถรสฺส ปตฺเต ปติฏฺฐเปตฺวา ตุมฺเหหิ ทิฏฺฐธมฺมสฺเสว ภาคินี
อสฺสนฺติ ปตฺถนํ อกาสิ ฯ เถโร เอวํ โหตูติ วตฺวา ฐิตโก ว อนุดมทนํ กตฺวา เอกสฺมึ
อุทกผาสุกฏฺฐาเน นิสีทิตฺวา ภตฺตกิจฺจํ อกาสิ ฯ
แปลโดยอรรถ
2. สตฺถา น ภิกฺขเว ฉนฺทาทิวสิกา หุตฺวา สาหเสน อตฺถํ วินิจฺฉินนฺตา ธมฺมฏฺฐา
นาม โหนฺติ, อปราธํ ปน อนุวิชฺฌิตฺวา อปราธานุรูปํ อสาหเสน วินิจฺฉยํ กโรนฺตาเอว ธมฺมฏฺฐา
นาม โหนฺตีติ วตฺวา อิมา คาถา อภาสิ
น เตน โหติ ธมฺมฏฺโฐ, เยนตฺถํ สหสา นเย;
โย จ อตฺถํ อนตฺถญฺจ อุโภ นิจฺเฉยฺย ปณฺฑิโต
อสาหเสน ธมฺเมน สเมน นยตี ปเร,

ธมฺมสฺส คุตฺโต เมธาวี 'ธมฺมฏฺโฐติ ปวุจฺตีติ ฯ
ตตฺถ เตนาติ : เอตฺตเกเนว การเณน ฯ ธมฺมฏฺโฐติ: ราชุหิ อตฺตนา กตฺตพฺเพ
วินิจฺฉยธมฺเม ฐิโต ธมฺมฏฺโฐ นาม น โหติ ฯ เยนาติ : เยน การเณน ฯ อตฺถนฺติ: โอติณฺณํ
วินิจฺฉิตพฺพํ อตฺถํ ฯ สหสา นเยสิ: ฉนฺทาทีสุ ปติฏฺฐิโต สาหเสน มุสาวาเทน วินิจฺเฉยฺย ฯ โม
หิ ฉนฺเท ปติฏฺฐาย อตฺตโน ญาตึ วา มิตฺตํ วา มุสาวาทํ วตฺวา อสฺสามิกเมว สามิกํ กโรติ,
โทเส ปติฏฺฐาย อตฺตโน เวรินํ มุสา วตฺวา สามิกเมว อสฺสามิกํ กโรติ, โมเห ปติฏฺฐาย สญฺจํ
คเหตฺวา วินิจฺฉยกาเล อญฺญาวิหิโต วิย อิโต จิโต จ โอโลเกนฺโต มุสา วตฺวา อิมินา ชิตํ,
อยํ ปราชิโตติ ปรํ นีหรติ, ภเย ปติฏฺฐาย กสฺสจิเทว อสฺสรชาติกสฺส ปราชยํ ปาปุณนฺตสฺสาปิ
ชยํ อาโรเปสิ; อยํ สาหเสน อตฺถํ เนติ นาม ฯ โส ธมฺมฏฺโฐ นาม น โหตีติ อตฺโถ ฯ
ให้เวลา 4 ชั่วโมง 15 นาที

เฉลย ประโยค ป.ธ. 3
แปล มคธเป็นไทย
แปลโดยพยัญชนะ
1. อ. นายปุณณะ เห็นแล้ว ซึ่งพระเถระ หยุดไว้แล้ว ซึ่งการไถ ไหว้แล้ว ซึ่งพระเถระ ด้วย
อันตั้งไว้เฉพาะแห่งองค์ 5 คิดแล้วว่า อ. ความต้องการ ด้วยไม้เป็นเครื่องชำระซึ่งฟัน จักมี ดังนี้
กระทำแล้ว ซึ่งไม้เป็นเครื่องชำระฟัน ให้เป็นกัปปิยะ ได้ถวายแล้ว ฯ ครั้งนั้น อ. พระเถระ นำออก
แล้ว ซึงบาตด้วย ซึ่งภาชนะเครื่องกรองน้ำด้วย ได้ให้แล้ว แก่นายปุณณะนั้น ฯ อ. นายปุณณะนั้น
คิดแล้วว่า อ. ความต้องการ ด้วยน้ำอันบุคคลพึ่งดื่ม จักมี ดังนี้ ถือเอาแล้ว ซึ่งภาชนะเป็นเครื่อง
กรองน้ำนั้น กรองแล้ว ซึ่งน้ำอันบุคคลพึงดื่ม ได้ถวายแล้ว ฯ อ. พระเถระ คิดแล้วว่า อ. นายปุณณะ
นี้ ย่อมอยู่ในเรือนอันมีในภายหลัง ของชน ท. เหล่าอื่น ถ้าว่า อ. เราจักไป สู่ประตูแห่งเรือน ของนาย
ปุณณะนั้นไซร้ อ. ภรรยา ของนายปุณณะนี้ จักไม่ได้ เพื่ออันเห็น ซึ่งเรา อ. ภริยา ถือเอาแล้ว ซึ่งภัต
เพื่อนายปุณณะนั้น ย่อมดำเนินไป สู่หนทาง เพียงใด อ. เรา จักมี ในที่นี้นั่นเทียว เพียงนั้น ดังนี้ ฯ
อ. พระเถระนั้น ยังกาลให้น้อมไปล่วงวิเศษแล้ว หน่อยหนึ่ง ในที่นั้นนั่นเทียว รู้แล้ว ซึ่งความที่แห่ง
ภริยาของนายปุณณะนั้นเป็นผู้ขึ้นแล้วสู่หนทาง เป็นผู้มีหน้าเฉพาะต่อภายในแห่งนคร เป็น ออกไป
แล้ว ฯ อ. ภริยาของนายปุณณะนั้น เห็นแล้ว ซึ่งพระเถระ ในหระหว่างแห่งหนทาง คิดแล้วว่า ในกาล
บางคราว อ. เรา ครั้นเมื่อไทยธรรม มีอยู่ ย่อมไม่เห็น ซึ่งพระผู้เป็นเจ้า ในกาลบางคราว เมื่อเรา
เห็นอยู่ ซึ่งพระผู้เป็นเจ้า อ. ไทยธรรม ย่อมไม่มี ก็ ในวันนี้ อ. พระผู้เป็นเจ้า อันเรา เห็นแล้ว ด้วย อ.
ไทยธรรมนี้ มีอยู่ ด้วย อ. พระผู้เป็นเจ้า จักกระทำหรือหนอแล ซึ่งการสังเคราะห์ แก่เรา ดังนี้ ฯ อ.
ภริยาของนายปุณณะนั้น ยังภาชนะแห่งภัต ให้หยั่งลงแล้ว ไหว้แล้ว ซึ่งพระเถระด้วยอันตั้งไว้เฉพาะ
แห่งองค์ 5 กล่าวแล้วว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ. ท่าน ไม่คิดแล้วว่า อง ภัตนี้ เป็นของเศร้าหมอง
หรือว่าเป็นของประณีต ย่อมเป็น ดังนี้ ขอจงกระทำ ซึ่งการสงเคราะห์ แก่ทาสของท่าน ดังนี้ ฯ อ.
พระเถระ ยังบาตร ให้น้อมเข้าไปแล้ว ครั้นเมื่อภัตอันเข้าไปด้วยทั้งกึ่ง อันภริยาของนายปุณณะนั้น
ผู้ทรงไว้ ซึ่งภาชนะด้วยมือข้างหนึ่งแล้วจึงถวายอยู่ ซึ่งภัตด้วยมือข้างหนึ่ง ถวายแล้ว ปิดแล้ว ซึ่งบาตร
ด้วยมือ มีอันให้รู้ว่า อ. พอละ ดังนี้เป็นเหตุ ฯ อ. ภริยาของนายปุณณะนั้น กล่าวแล้วว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ อ. ส่วน ส่วนเดี่ยวเทียว อันดิฉัน ไม่อาจ เพื่ออันกระทำ โดยส่วน 2 อ. ท่าน ไม่กระทำแล้ว
ซึ่งการสงเคราะห์ในโลกนี้ ขอจงกระทำ ซึ่งการสงเคราะห์ในโลกอื่น แก่ทาส ของท่าน อ. ดิฉัน เป็น
ผู้ใคร่เพื่ออันถวายซึ่งภัต กระทำให้เป็นของมีส่วนเหลือลงออกแล้วนั่นเทียว ย่อมเป็น ดังนี้ ยังภัต

ทั้งปวง ให้ตั้งไว้เฉพาะแล้วในบาตร ของพระเถระได้กระทำแล้ว ซึ่งความปรารถนาว่า อ. ดิฉัน พึงเป็น
ผู้มีปวง แห่งธรรม อันท่าน เห็นแล้วนั่นเทียว พึงเป็น ดังนี้ ฯ อ. พระเถระ กล่าวแล้วว่า อ. ความ
ปรารถนา อันท่าน ปรารถนาแล้ว อย่างนี้ จงมี ดังนี้ ผู้ยืนแล้วเทียว กระทำแล้ว ซึ่งการอนุโมทนา
นั่งแล้ว ในที่อันผาสุกด้วยน้ำ แห่งหนึ่ง ได้กระทำแล้ว ซึ่งกิจด้วยภัต ฯ
แปลโดยอรรถ
2. สมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกมหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัย เป็นผู้ตก
อยู่ในอำนาจอคติมีฉันทาคติเป็นต้น ตัดสินความโดยผลุนผลัน ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม ส่วนพวก
ที่ไต่สวนความผิดแล้ว ตัดสินความโดยไม่ผลุนผลัน ตามสมควรแก่ความผิดนั่นแหละ เป็นผู้ชื่อว่าตั้ง
อยู่ในธรรม ดังนี้ ได้ตรัสคาถาเหล่านี้ ว่า
บุคคล ไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม เพราะเหตุที่นำคดีไป โดยความผลุนผลัน
ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต วินิจฉัยคดีและไม่ใช่คดีทั้งสอง ย่อมนำบุคคลเหล่า
อื่นไป โดยไม่ผลุนผลันโดยธรรม โดยสม่ำเสมอ ผู้นั้น อันธรรมคุ้มครอง
แล้ว เป็นผู้มีปัญญา เรากล่าวว่า ตั้งอยู่ในธรรม ฯ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตน แปลว่า เพราะเหตุเพียงเท่านี้เอง ฯ บทว่า ธมฺมฏฺ
บุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรมเครื่องวินิจฉัย ที่พระราชาทั้งหลาย จะพึงทรงกระทำด้วยพระองค์ ไม่เป็นผู้ชื่อ
ว่าตั้งอยู่ในธรรม ฯ บทว่า เยน แปลว่า เพราะเหตุใด ๆ ฯ บทว่า อตฺถํ ความว่า ซึ่งคดีที่หยั่งลงแล้ว
ผลุนผลัน คือ โดยการกล่าวเท็จ ฯ อธิบายว่า จริงอยู่ ผู้ใดตั้งอยู่ในฉันทาคติ กล่าวมุสาวาท ย่อมทำ
ญาติหรือมิตรของตน ซึ่งมิใช่เจ้าของนั้นแลให้เป็นเจ้าของ ตั้งอยู่ในโทสาคติ กล่าวเท็จ ย่อมทำคนที่
เป็นศัตรูของตนซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงไม่ให้เป็นเจ้าของ ตั้งอยู่ในโมหาคติ รับสินบนแล้ว ในเวลาตัด
สิน ทำเป็นเหมือนส่งจิตไปในที่อื่น แลดูข้างโน้นและข้างนี้ กล่าวเท็จ ย่อมนำบุคคลอื่นออก ด้วยคำ
แพ้ ผู้นี้ ชื่อว่าย่อมนำคดีไปโดยความผลุนผลัน ฯ ผู้นั้น ซึ่งว่าเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมฯ

พระราชวิสุทธิเวที อาภาสิริ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เฉลย
สนามหลวงแผนกบาลี ตรวจแก้

ประโยค ป.ธ. 3
สัมพันธ์ไทย
สอบวันที่ 1 มีนาคม 2543

อลชฺชิตาเย ลชฺชนฺติ ลชฺชิตาเย น ลชฺชเร
มิจฺแาทิฏฺฐิสมาทานา สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ ฯ
อภเย ภยทสฺสิโน ภเย จ อภยทสฺสิโน
มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตินฺติ ฯ
ตตฺถ อลชฺชิตาเยติ: อลชฺชิตพฺเพน ภิกฺขาภาชเนน ฯ ภิกฺขาภาชนํ หิ อลชฺชิตพฺพํ
นาม ฯ เต ปน ตํ ปฏิจฺฉาเทตฺวา วิจรนฺตา เตน ลชฺชนฺติ นาม ฯ ลชฺชิตาเยติ: อปฺปฏิจฺฉนฺเนน
หิริโกปินงฺเคน ฯ หิริโกปินงฺคญฺหิ ลชฺชิตพฺพํ นาม ฯ เต ปน ตํ อปฺปฏิจฺฉาเทตฺวา วิจรนฺตา
ลชฺชิตาเย น ลชฺชนฺติ นาม ฯ เตน เตสํ อลฃฺชิตพฺเพน ลชิชตํ ลชฺชิตพฺเพน อลชฺชตํ
ตุจฺฉคฺคหณภาเวน จ อญฺญถาคหณภาเวน จ มิจฺฉาทิฏฺฐิ โหติ, ตํ สมาทยิตฺวา วิจรนฺตา เต
ิมิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา สตฺตา นิรยาทิเภทํ ทุคฺคตึ คจฺฉนฺตีติ อตฺโถ ฯ อภเยติ: ภิกฺขาภาชนํ
นิสิสาย ราคโทสโมหมานทิฏฺฐิกิเลสทุจฺจริตภยานํ อนุปฺปชฺชนโต ภิกฺขาภาชนํ อภยํ นาม ฯ
ภเยน ตํ ปฏิจฺฉาเทนฺตา ปน อภเย ภยทสฺสิโน นาม ฯ หิริโกปินงฺคํ ปน นิสฺสาย ราคาทีนํ
อุปฺปชฺชนโต ตํ ภยํ นาม ฯ ตสฺส อปฺปฏิจฺฉาทเนน ภเย จ อภยทสฺสิโน ฯ ตสฺส อญฺญาถา
จ คหณสฺส สมาทินฺนตฺตา มิจฉาทิฏฺฐิสมาทานา สตฺตา ทุคฺคตึ คจฺฉนฺตีติ อตฺโถ ฯ

ให้เวลา 4 ชั่วโมง 15 นาที

เฉลย ประโยค ป.ธ. 3
สัมพันธ์ไทย
สตฺถา สยกตฺตา ใน อภาสิ ฯ อาขฺยาตบท กตฺตถวาจก อิมา วิเสสน ของ คาถา ๆ
อวุตฺตกมุม ใน อภาสิ ฯ
สตฺตา สยกตฺตา ใน สชฺชนฺติ น ลชฺชเร และ คจฺฉนฺติ, ลชฺชนฺติ ลชฺชเร และ
คจฺฉนฺติ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก อลชฺชิตาเย วิเสสน ของ วตฺถุสฺมึ ๆ นิมิตฺตสตฺตมี
ใน ลชฺชนฺติ ลชฺชิตาเย วิเสสน ของ วตฺถุสมึ ๆ นิมิตฺตสตฺตมี ใน ลชฺชเร น ศัพท์
ปฏิเสธ ใน ลชฺชเร มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา วิเสสน ของ สตฺตา ทุคฺคตึ อวุตฺตกมฺม
หรือ สมฺปาปุณิยกมุม ใน คจฺฉนฺต, สตฺตา สยกตฺตา ใน คจฺฉนฺต ๆ อาขฺยาตบท
กตฺตุวาจก อภเย ภินฺนาธาร ใน ภยทสฺสิโน ภเย ภินฺนาธาร ใน อภยทสฺสิโน
ภยทสฺสิโน ก็ดี อภยทสฺสิโน ก็ดี มิจฺฉาทิฏฺฐิ สมาทานา ก็ดี วิเสสน ของ สตฺตา
จ สองศัพท์ ปทสมุจฺจยตฺถ เข้ากับ อภเย ภยทสฺสิโน และ ภเย อภยทสฺสิโน
ทุคฺคตึ อวุตฺตกมฺม ใน คจฺฉนฺติ อิติ ศัพท์ สรูป ใน อามา คาถา ฯ
ตตฺถ วีเสสน ของ ปเทสุ ๆ นิทฺธารณ ใน ปทสฺส อลชฺชิตาเย สรูป ใน อิติ ๆ ศัพท์ สรูปใน
ปทสฺส ๆ นิทฺธารณีย และ สามีสมฺพนฺธ ใน อตฺโถ อลชฺชิตพฺเพน วิเสสน ของ ภิกฺขาภาชเนน ๆ เหตุ
ใน ลชฺชนฺติ อิติ ศัพท์ สรูป ใน อตฺโถ ๆ ลิงฺคตฺถ ฯ
หิ ศัพท์ ทฬฺหีกรณโชตก ภิกฺขาภาชนํ ลิงฺคตฺถ อลชฺชิตพฺพํ วิเสสน ของ ภิกฺขาภาชนํ นาม
ศัพท์ สญฺญาโชตก เข้ากับ อลชฺชิตพฺพํ ฯ
ปน ศัพท์ วิเสสโชตก เต วิเสสน ของ สตฺตา ๆ สยกตฺตา ใน ลชฺชนฺติ ๆ อาขฺยาตบท
กตฺตุวาจก ตํ วิเสสน ของ ภิกฺขาภาชนํ ๆ อวุตฺตกมฺม ใน ปฏิจฺฉาเทตฺวา ๆ สมานกาลกิริยา ใน
วิจรนฺตา ๆ วิเสสน ของ สตฺตา เตน วิเสสน ของ ภิกฺขาภาชเนน ๆ เหตุ ใน ลชฺชนฺติ นาม ศัพท์
สญฺญาโชตก เข้ากับ ลชฺชนฺติ ฯ
ลชฺชิตาเย สรูป ใน อิติ ๆ ศัพท์ สรูป ใน ปทสฺส ๆ สามีสมฺพนฺธ ใน อตฺโถ อปฺปฏิสนฺเนน
วิเสสน ของ หิริโกปินงฺเคน ๆ เหตุ ใน ลชฺชเร อิติ ศัพท์ สรูป ใน อตฺโถ ๆ ลิงฺคตฺถ ฯ
หิ ศัพท์ ทฬฺหีกรณโชตก หิริโกปินงฺคํ ลิงฺคตฺถ ลชฺชิตพฺพํ วิเสสน ของ หิริโกปินงฺคํ, นาม

ศัพท์ สญฺญาโชตก เข้ากับ ลชฺชิตพฺพํ ฯ
ปน ศัพท์ วิเสสโชตก เต วิเสสน ของ สตฺตา ๆ สยกฺกตฺตา ใน น ลชฺชนฺติ, ลชฺชนฺติ
อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก น ศัพท์ ปฏิเสธ ใน ลชฺชนฺติ, ตํ วิเสสน ของ หิริโกปินงฺคํ ๆ อวุตฺตกมฺม ใน
อปฺปฏิจฺฉาเทตฺวา ๆ สมานกาลกิริยา ใน วิจรนฺตา ๆ วิเสสน ของ สตฺตา ลชฺชิตาเย วิเสสน ของ
วตฺถุสฺมึ ๆ นิมิตฺตสตฺมี ใน ลชฺชนฺติ นาม ศัพท์ สญฺญาโชตก เข้ากับ ลชฺชนฺติ ฯ
เตน เหตุ เตสํ วิเสสน ของ สตฺตานํ ฯ อนาทร ใน ลชฺชตํ และ อลชฺชตํ ๆ อนาทรกิริยา
ลชฺขิตพฺเพน วิเสสน ของ วตฺถุนา ๆ เหตุ ใน ลชฺชตํ, อลชฺชิตพฺเพน วิเสสน ของ วตฺถุนา ๆ เหตุ ใน
อลชฺชตํ, มิจฺฉาทิฏฺฐิ สยกตฺตา ใน โหติ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก ตุจฺฉคฺคหณภาเวน ก็ดี อญฺญาถา
คหณภาเวน ก็ดี เหตุ ใน โหติ, จ สอง ศัพท์ ปทสมุจฺจยตฺถ เข้ากับ ตุจฺฉคฺคหณภาเวน และ อญฺญาถา
คหณภาเวน, สตฺตา สยกตฺตา ใน คจฺฉนฺติ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก ตํ วิเสสน ของ มิจฺฉาทิฏฺฐึ ๆ
อวุตตกมฺม ใน สมาทยิตฺวา ๆ สมานกาลกิริยา ใน วิจรนฺตา, วิจรนฺตา ก็ดี เต ก็ดี มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทา
นา ก็ดี วิเสสน ของ สตฺตา นิรยาทิเภทํ วิเสสน ของ ทุคฺคตึ ๆ อวุตฺตกมฺมใน คจฺฉนฺติ อิติ ศัพท์ สรูป
ใน อตฺโถ ๆ ลิงฺคตฺถ (หรือ อตฺโถ วุตฺตกมฺม ใน เวทิตพฺโพ ปณฺฑิเตน อนภิหิตกตฺตา ใน เวทิตพฺโพ ๆ
กิตบท กมฺมวาจก) ฯ
อภเย สรูป ใน อิติ ๆ ศัพท์ อาทยตฺถและสรุป ใน ปทสฺส ๆ สามีสมฺพนฺธ ใน อตฺโถ
ภิกฺขาภาชนํ ลิงฺคตฺถ ภิกฺขาภาชนํ อวุตฺตกมฺม ใน นิสฺสาย ๆ เหตุ ใน อนุปฺปชฺชนโต ราคโทสโมหมาน
ทิฏฺฐิกิเลสทุจฺจริตภยานํ ภาวาทิสมฺพนฺธ ใน อนุปฺปชฺชนโต ๆ เหตุใน อภยํ ๆ วิเสสน ของ ภิกฺขาภา
ชนํ นาม ศัพท์ สญฺญาโชตก เข้ากับ อภยํ ฯ
ปน ศัพท์ วากฺยารมฺภโชตก สตฺตา สยกตฺตา ใน โหนฺติ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก ภเยน
เหตุใน ปฏิจฺฉาเทนฺตา ตํ วิเสสน ของ ภิกฺขาภาชนํ ๆ อวุตฺตกมฺม ใน ปฏิจฺฉาเทนฺตา ๆ วิเสสน ของ
สตฺตา อภเย ภินฺนาธาร ใน ภยทสฺสิโน ๆ วิกติกตฺตา ใน โหนฺติ นาม ศัพท์ สญฺญาโชตก เข้ากับ
ภยทสฺสิโน ฯ
ปน ศัพท์ วากฺยารมฺภโชตก ตํ วิเสสน ของ หิริโกปินงฺคํ ๆ ลิงฺคตฺถ หิริโกปินงฺคํ อวุตฺตกมฺม
ใน นิสฺสาย ๆ เหตุ ใน อุปฺปชฺชนโต ราคาทีนํ วิเสสน ของ กิเลสานํ ๆ ภาวาทิสมฺพนฺธ ใน อุปชฺชนโต
ๆ เหตุ ใน ภยํ ๆ วิเสสน ของ หิริโกปินงฺคํ นาม ศัพท์ สญฺญาโชตก เข้ากับ ภยํ ฯ
สตฺตา สยกตฺตา ใน โหนฺติ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก ตสฺส วิเสสน ของ หิริโกปินงฺคสฺส ๆ
ฉฏฺฐีกมฺม ใน อปฺปฏิจฺฉาทเนน ๆ เหตุ ใน อภยทสฺสิโน ภเย ภินฺนาธาร ใน อภยทสฺสิโน ๆ

วิกติกฺตฺตา ใน โหนฺติ จ ศัพท์ ปทฺสมุจฺจยตฺถ เข้ากับ ตสฺส อปฺปฏิจฺฉาทเนน ภเย อภยทสฺสิโน ฯ
สตฺตา สกยกตฺตา ใน คจฺฉนฺต ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก ตสฺส วิเสสน ของ ตุจฺฉคิคหณสฺส
ๆ ภาวาทิสมฺพนฺธ ใน สมาทินฺนตฺตา อญฺญาถา ตติยาวิเสสน ใน คหณสฺส ๆ ภาวาทิสมฺพนฺธ ใน
สมาทินฺนตฺตา จ สองศัพท์ ปทสมุจฺจยตฺถ เข้ากับ ตสฺส ตุจฺฉคฺคหณสฺส และ อญฺญาถา คหณสฺส,
สมาทินฺนตฺตา เหตุ ใน มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา ๆ วิเสสน ของ สตฺตา ทุคฺคตึ อวุตฺตกมฺม ใน คจฺฉนฺติ
อิติ ศัพท์ สรูป ใน อตฺโถ ๆ ลิงฺคตฺถ ฯ

พระเมธีปริยัตยากรณ์ อคฺคธมฺโม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม สัมพันธ์
สนามหลวงแผนกบาลี ตรวจแก้

ประโยค ป. ธ. 3
บุรพภาค
สอบ วันที่ 2 มีนาคม 2543
จงแก้ตัวอักษร ย่อหน้า และจัดวรรคตอน ให้ถูกต้องตามสมัยนิยม

ที่ จญน. 10/2542 สำนักงานเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ วัดปากน้ำ เขตภาศีเจริญ กทม. 10160 1
พฤษจิกายน 2542 เรื่องโคลงการเจิรญนวัคหายุสมธัมม์ถวายพระพรของคณะสงค์ เรียนเจ้าคณะ
ภาก 6 สิ่งที่ส่งม่ด้วยมติมหาเถรสมาคมครั้งที่ 36/2542 จำนวน 1 ฉลับ ในการประชุมมหา
เถรสมาคมครั้งที่ 36/2542 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2542 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆ
ราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระบัณชาให้กรมกาลสาสนานำเรื่องโคลงการเจริญนวัคคหายุสมธัมม์
ถวายพระพรของคณะสงฆ์ เนื่องในมหามงคลวโรกาศที่สมเด็จบรมพิตร พระราชสมภารเจ้า ผู้ทรง
พระคุณอันประเสริฐ จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542
เสนอต่อที่ประชุมพิจารณา ซึ่งที่ประชุมพิจารนาแล้วลงมติว่า มหาเถรสมาคมขอน้อมรับสนองพระ
ดำหริทุกประกาน และให้กลมกาลสาสนาแจ้งเจ้าคณะใหญ่เพื่อปฏิบัติตามพระดำหริ ลายละเอียดตาม
สำเนามติมหาเถรสมาคมที่แนบถวายมาพร้อมนี้ ในกาลนี้ เจ้าคนะใหญ่หนเหหหนือ เป็นผู้ดำเนินการ
ประกอบพิธีสืบดวงพระบรมราชสมพบตามประเพนีไทยโบรานของภาคเหนือ ณ พระอุโบสถวัดปาก
น้ำ วันเสา ที่ 4 ธันวาคม 2542 เวลา 15.00 - 20.00 น. จึงเรียนมาเพื่อแจ้งไปยังวัดทุกวัดใน
สังกัดปกครองให้ร่วมกันเจริญพระพุทธมนต์และตั้งจิตภาวนาธิศฐารถวายพระพรที่วัดของตนโดย
พร้อมเพลียงกันตามกำหนดวันเวลาดังกล่าว. เรียนมาด้วยความนับถือ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
(สมเด็จพระมหารัชมัคลาจารย์) เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ

ให้เวลา 1 ชั่วโมง 15 นาที

เฉลย ประโยค ป.ธ. 3
บุรพภาค

ที่ จญน. 102/2542 สำนักงานเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
วัดปากน้ำ
เขตภาษีเจริญ กทม. 10160

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2542

เรื่อง โครงการเจริญวัคคหายุสมธัมม์ถวายพระพรของคณะสงฆ์
เรียน เจ้าคณะภาค 6
สิ่งที่ส่งมาด้วย มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 36 / 2542 จำนวน 1 ฉบับ
ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 36 / 2542เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2542 สมเด็จ
พระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระบัญชาให้กรมกาลศาสนานำ เรื่อง
โครงการเจริญนวัคคหายุสมธัมม์ถวายพระพรของคณะสงฆ์ เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่สมเด็จพระ
บรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72
พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 เสนอต่อที่ประชุมพิจารณา ซึ่งที่ประชุมพิจารนาแล้วลงมติว่า
มหาเถรสมาคมขอน้อมรับสนองพระดำหริทุกประการ และให้กรมกาลศาสนา แจ้งเจ้าคณะใหญ่เพื่อ
ปฏิบัติตามพระดำหริ ลายละเอียดตามสำเนามติมหาเถรสมาคมที่แนบถวายมาพร้อมนี้
ในกาลนี้ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ เป็นผู้ดำเนินการประกอบพิธีสืบดวงพระบรมราชสมภพ
ตามประเพณีไทยโบราณของภาคเหนือ ณ พระอุโบสถวัดปากน้ำ วันเสาร์ ที่ 4 ธันวาคม 2542
เวลา 15.00 - 20.00 น.
จึงเรียนมาเพื่อแจ้งไปยังวัดทุกวัดในสังกัดปกครอง ให้ร่วมกันเจริญพระพุทธมนต์และ
ตั้งจิตภาวนาธิษฐานถวายพระพร ที่วัดของตนโดยพร้อมเพรียงกันตามกำหนดวันเวลาดังกล่าว.

เรียนมาด้วยความนับถือ

(สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์)
เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ

ประโยค ป.ธ. 3
ปัญหา บาลีไวยากรณ์
สอบ วันที่ 2 มีนาคม 2543

1. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. สระ 8 ตัว เกิดในฐานเดียวกันหรือต่างกันอย่างไร ฯ เรียกชื่อว่าอย่างไร
ข. ห พยัญชนะ ในคำว่า สณฺหา เกิดในฐานไหน ฯ เพราะเหตุไร ฯ
2. ในนิคคหิตสนธิ จะลบนิคคหิตได้ในที่เช่นไร ฯ และจะแปลงนิคคหิตเป็น นฺ ได้ในที่เช่นไร ฯ จงตอบ
พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ ฯ ปมุตฺยตฺถิ , หตฺถเมวานุกนฺตติ เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
3. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามศัพท์ เมื่อนำไปใช่ในข้อความทั้งปวง จะต้องทำอย่างไร ฯ
ข. ศัพท์ว่า สทฺธาย, อตฺถาย เป็นวิภัตติอะไรได้บ้าง ฯ ศัพท์ไหนเป็นลิงค์อะไร ฯ
ค. "จตสฺโส สกุณา นก 4 ตัว" "ตีณิ ขนฺธา ขันธ์ 3 " ประกอบศัพท์อย่างนี้ ถูกหรือไม่
ถ้าไม่ถูก จงแก้ไขให้ถูกต้อง ฯ
ง. เพราะเหตุไร ปุริสสัพพนาม จึงแบ่งบุรุษเป็น 3 ฯ
จ. ภนฺเต กับ อาวุโส มีวิธีใช้ต่างกันอย่างไร ฯ
4. เมื่อเห็นกิริยาศัพท์ที่ท่านประกอบ ม วิภัตติ เช่น คจฺฉาม สังเกตอย่างไร จึงจะรู้ว่าเป็นวัตตมานา
หรือปัญจมี ฯ ปริวชฺชเย, ลชฺชเร, ปาปุณึสุ ประกอบด้วยเครื่องปรุงอะไร ฯ
5. ปัจจัยกิตก์ตัวไหนบ้าง ใช้เป็นนามกิตก์ก็ได้ เป็นกิริยากิตก์ก็ได้ จงยกตัวอย่างประกอบด้วย ฯ
อนฺรธาโน (มนฺโต), กจวรจฺฉฑฺฑิกา (ทาสี), ปสาโท ลงปัจจัยอะไร ฯ เป็นรูปและสาธนะอะไร ฯ
จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
6. ทิคุสมาส กับ ทวันทวสมาส ต่างกันอย่างไร จงตอบพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบด้วย ฯ สุธา
ปริกมฺมกตา (โปกฺขรณิโย), ปญฺจวณฺณปทุมสญฺฉนฺนํ (อุทกํ) เป็นสมาสอะไรบ้าง ฯ จึงตั้งวิเคราะห์มา
ตามลำดับ ฯ
7. สมุหตัทธิต เป็นนามหรือคุณ ฯ ต่างจากตรตยาทิตัทธิตอย่างไรบ้าง ฯ กายิโก (อาพาโย),
พลวตี (ตณฺหา), อิทฺธิมยํ (รูปํ) ลง มย ปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ให้เวลา 3 ชั่วโมง

เฉลย ประโยค ป.ธ. 3
ปัญหา บาลีไวยากรณ์
1. ได้ตอบคำถามดังต่อไปนี้ คือ
ก. สระ 8 ตัว เกิดในฐานเดียวกันหรือต่างกันอย่างนี้ และมีชื่อเรียกอย่างนี้ คือ
อ อา เกิดในคอ เรียกชื่อว่า กณฺฐชา
อิ อี เกิดที่เพดาน เรียกชื่อว่า ตาลุชา
อุ อู เกิดที่ริมฝีปาก เรียกชื่อว่า โอฏฺฐชา
เอ เกิดใน 2 ฐาน คือคอและเพดาน เรียกชื่อว่า กณฺฐตาลุโช
โอ เกิดใน 3 ฐาน คือคอและริมฝีปาก เรียกชื่อว่า กณฺโฐฏฺฐโช
ข. ห พยัญชนะ ในคำว่า สณฺหา เกิดในฐานนอก เพราะ ห ที่ประกอบด้วยพยัญชนะ 8
ตัว คือ ญ น ม ย ล ว ฬ ท่านกล่าวว่าเกิดแต่อก ที่ไม่ได้ประกอบด้วยพยัญชนะเหล่า
นี้เกิดในคอตามฐานเดิมของตน ฯ
2. ในที่เช่นนี้ คือ เมื่อมีสระหรือพยัญชนะอยู่เบื้องหลัง ลบนิคคหิตซึ่งอยู่ข้างหน้าบ้างก็ได้ ตัวอย่าง
เช่น ตาสํ - อหํ เป็น ตาสาหํ, วิทูนํอคฺคํ เป็น วิทูนคฺคํ, พุทฺธานํสาสนํ เป็น พุทฺธาสาสนํ ฯ
และแม้จะแปลงนิคคหิตเป็น น ได้ ในที่เช่นนี้ คือ เมื่อมีพยัญชนะ ต วรรคอยู่หลัง นิคคหิต
อยู่หน้า แปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรค คือ น ตัวอย่างเช่น ตํนิพฺพุตํ เป็น ตนฺนิพฺพุตํ, ยํทุนฺนิ
มิตฺตํ เป็น ยนฺทุนฺนิมิตฺตํ ฯ
ปมุตฺยตฺถิ เป็น อาเทสสระสนธิ ตัดเป็น ปมุตฺติอตฺถิ ถ้า อิ เอ หรือ โอ อยู่หน้า มีสระอยู่
เบื้องหลัง แปลง อิ ตัวหน้าเป็น ย ถ้าพยัญชนะซ้อนกัน 3 ตัว ลบพยัญชนะมีรูปเสมอกันเสียตัวหนึ่ง
ต่อเป็น ปมุตฺยตฺถิ ฯ
หตฺถเมวานุกนฺตติ เป็นอาเทสนิคคหิตสนธิ และโลปสระสนธิ ตัวเป็น หตฺถํเอวอนุกนฺตติ
ระหว่าง หตฺถํเอว ถ้าสระอยู่เบื้องปลายแปลงนิคคหิตเป็น ม ต่อเป็น หตฺถเมว ระหว่าง หตฺถเมว
อนุกนฺตติ ถ้าสระทั้ง 2 เป็นรัสสะมีรูปเสมอกัน คือ เป็น อ หรือ อิ หรือ อุ ทั้ง 2 ตัว เมื่อลงแล้วต้อง
ทำสระที่ไม่ได้ลบด้วยทีฆสระสนธิ ต่อเป็น หตฺถเมวานุกนฺตติ ฯ
3. ได้ตอบคำถามดังต่อไปนี้
ก. นามศัพท์ เมื่อนำไปใช่ในข้อความทั้งปวง จะต้องประกอบด้วยลิงค์ วจนะ วิภัตติ ฯ
ข. สทฺธาย ถ้าเป็นศัพท์ นาม เป็น ได้ 5 วิภัตติ คือ ตติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติ ปัญจมี

วิภัตติ ฉัฏฐีวิภัตติ และสัตตมีวิภัตติเป็นอิตถีลิงค์ ถ้าเป็นศัพท์คุณนาม เป็นได้ 3 ลิงค์
ที่เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ เป็นจตุตถีวิภัตติ ส่วนที่เป็นอิตถีลิงค์เป็นได้ 5 วิภัตติ
คือ ตติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติ ปัญจมีวิภัตติ ฉัฏฐีวิภัตติ และสัตตมีวิภัตติ ฯ อตถาย
เป็น จตุตถีวิภัตติ เป็นปุงลิงค์ ฯ
ค. "จตสฺโส สกุณา นก 4 ตัว" ไม่ถูก แก้เป็น จตฺตาโร สกุณา
"ตีณิ ขนฺธา ขันธ์ 3" ไม่ถูก แก้เป็น ตโย ขนฺธา ฯ
ง. เพราะอนุโลมตามวิภัตติในอาขยาตที่แบ่งเป็น 3 เหมือนกัน ฯ
จ. มีวิธีใช่ต่างกันดังนี้
ภนฺเต เป็นคำสำหรับคฤหัสถ์เรียกบรรพชิตด้วยเคารพ หรือบรรพชิตผู้อ่อนพรรษา
กว่าเรียกบรรพชิตผู้แก่กว่า
อาวุโส เป็นคำสำหรับบรรพชิตที่มีพรรษามากกว่าเรียกบรรพชิตที่มีพรรษาน้อยกว่า
และสำหรับบรรพชิตเรียกคฤหัสถ์
4. จะต้องสังเกตเนื้อความคำแปลในประโยคนั้น ๆ เช่น ถ้าแปลว่า อยู่ ย่อม จะ เป็นวัตตมานา
ถ้าแปลว่า จง เถิด ขอจง เป็นปัญจมี ฯ
ปริวชฺชเย ประกอบด้วย ปริ บทหน้า วชฺช ธาตุ ในความเว้น, ละ, งด ลง ณฺย ปัจจัย เอยฺย
สัตตมีวิภัตติ ลบ ยฺย คงไว้แต่ เอ ฯ
ลชฺชเร ประกอบด้วย ลชฺช ธาตุ ในความละอาย ลง อ ปัจจัย อนฺติ วัตตมานาวิภัตติ
แปลง อนฺติ เป็น เร ฯ
ปาปุณึสุ ประกอบด้วย ป บทหน้า อป ธาตุในความถึง, บรรลุ ได้, ประสบ ลง อุณา
ปัจจัย อุํ เป็น อึสุ ฯ
5. ปัจจัยกิตก์ 3 ตัว คือ ณฺย อนีย ต
ณฺย ปัจจัยแห่งกิตก์ ถ้าใช้เป็นศัพท์กล่าวกิริยาของศัพท์เป็นกิริยากิตก์ ตัวอย่างเช่น เต จ
ภิกฺขู คารยฺหา
อนีย ต ปัจจัยแห่งกิริยากิตก์ ถ้าใช้เป็นชื่อหรือวิเสสนะของศัพท์อื่น เป็นนามกิตก์
อนีย ปัจจัย ตัวอย่างเช่น ปณีเตน ขาทนีเยน โภชนีเยน ปริวิสิ ฯ
ต ปัจจัย ตัวอย่างเช่น พุทฺโธ โลเก อุปฺปนฺโน ฯ
อนฺตรธาโน (มนฺโต) ลง ยุ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ
วิ. อนฺตรธายติ เตนาติ อนฺตรธาโน (มนฺโต)
หรือเป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ
วิ. อนฺตรธายตีติ อนฺตรธาดน (มนฺโต)

กจวรจฺฉฉฑฺฑิกา (ทาสี) ลง ณฺวุ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธน
วิ กจวรํ ฉฑฺเฑตีติ กจวรจฺฉฑฺฑิกา (ทาสี)
ปสาโท ลง ณ ปัจจัย เป็นภาวรูป ภาวสาธนะ
วิ. ปสาทนํ ปสาโท ฯ
6. ต่างกันอย่างนี้ กัมมธารยสมาส มีสังขยาอยู่หน้า ชื่อทิคุสมาส ๆ นั้น มี 2 อย่าง คือ สมาหาร
ทิคุสมาสและอสมาหารทิคุสมาส ทิคุสมาสที่รวมนามศัพท์ มีเนื้อความเป็นพหุวจนะทำให้เป็นเอก
วจนะนปุงสกลิงค์ ชื่อสมาหารทิคุสมาส ตัวอย่างเช่น ตโย โลกา ติโลกํ เป็นต้น ทิคุสมาสที่ท่านไม่ได้
ทำอย่างนี้ ชื่ออสมาหารทิคุ ตัวอย่างเช่น จตสฺโส ทิสา จตุทฺทิสา เป็นต้น ฯ
นามนามตั้งแต่ 2 ศัพท์ขึ้นไป ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกันชื่อทวันทวสมาส ๆ นี้มี 2 อย่าง
คือ สมาหารทวันทวสมาส และอสมาหารทวันทวสมาสเหมือนทิคุสมาส ตัวอย่างเช่น สมโณ จ
พฺราหฺมโณ จ สมณพฺราหฺมณา เป็นต้น ฯ
สุธาปริกมฺมกตา (โปกฺขรณิโย) เป็นตติยาตัปปุริสสมาส มีตติยาตัปปุริสสมาสเป็นภายใน
มีวิเคราะห์ตามลำดับดังนี้
ตติยา. ตัป. วิ. สุธาย ปริกมฺมํ สุธาปริกมฺมํ
ตติยา. ตัป. วิ. สุธาปริกมฺเมน กตา สุธาปริกมฺมกตา (โปกฺขรณิโย)
หรือเป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส มีตติยาตัปปุริสสมาสเป็นภายในมีวิเคราะห์ตามลำดับดังนี้
ต. ตัป. วิ. สุธาย ปริกมฺมํ สุธาปริกมฺมํ
ฉ. ตุล. วิ. สุธาปริกมฺมํ กตํ ยาสํ ตา สุธาปริกมฺมกตา (โปกฺขรณิโย)
ปญฺจวณฺปทุมสญฺฉนฺนํ (อุทกํ) เป็นตติยาตัปปุริสสมาส มีฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส
และวิเสสนบุพพบทกัมมธรยสมาสเป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับดังนี้
ฉ. ตุล. วิ. ปญฺจวณฺณา เยสํ ตานิ ปญฺจวณฺณานิ (ปทุมานิ)
วิ. บุพ. กัม. วิ. ปญฺจวณฺณานิ ปทุมานิ ปญฺจวณฺณปทุมานิ
หรือ วิ. ปญฺจวณฺณานิ จ ตานิ ปุทุมานิ จาติ ปญฺจวณฺณปทุมานิ
ตติยา. ตัป. วิ. ปญฺจวณฺณปทุเมหิ สญฺฉนฺนํ ปญฺจวณฺณปทุมสญฺฉนฺนํ (อุทกํ) ฯ
7. สมุหตัทธิต เป็นนามฯ
ต่างจากตรตยาทิตัทธิตดังนี้ สมุหตัทธิต สำเร็จรูปแล้วใช้เป็นนามอย่างเดียว ลงปัจจัย ภ ตัว คือ
กณ ณ ตา แทน สมุห ศัพท์ ในเวลาตั้งวิเคราะห์ ศัพท์หน้าต้องประกอบด้วย นํ ฉัฏฐีวิภัตติเสมอ
ตัวอย่างเช่น
กณ ปัจจัย มนุสฺสานํ สมุโห มานุสโก
ณ ปัจจัย มนุสฺสานํ สมุโห มานุโส

ตา ปัจจัย ชนานํ สมุโห ชนตา ฯ
ส่วนตรตยาทิตัทธิต สำเร็จรูปแล้วเป็นคุณนามล้วน ต้องใช้อัญญบทเสมอ ลง ณิก ปัจจัย แทนศัพท์
ได้ทั่วไป ตัวอย่างเช่น
แทนกิริยาอาขยาต สกเฏน จรตีติ สากฏิโก (ชโน)
แทนกิริยากิตก์ ราชคเห ชาโต ราชคหิโก (ชโน)
แทนนามนาม สงฺฆสฺส สนฺตกํ สงฺฆิกํ (วตฺถุ)
แทนคุณนาม นครสฺส อิสฺสโร นาคริโก (ชโน)
กายิโก (อาพาโธ) ลง ณิก ปัจจัย ในตรตยาทิตัทธิต
วิ. กาเยน วตฺตตีติ กายิโก (อาพาโธ)
พลวตี (ตณฺหา) ลง วนฺตุ ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
วิ. พลํ อสฺสา อตฺถีติ พลวตี (ตณฺหา)
อิทฺธิมยํ (รูปํ) ลง มย ปัจจัย ในปกติตัทธิต
วิ. อิทฺธิยา ปกตํ อิทฺธิมยํ (รูปํ) ฯ

พระราชปริยัติเวที เขมเวที วัดทองนพคุณ เฉลย
สนามหลวงแผนกบาลี ตรวจแก้

ประโยค ป.ธ. 4
แปล ไทยเป็นมคธ
สอบ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2543
1. วันรุ่งขึ้น พระเจ้าพิมพิสารเสด็จมายังพระเวฬุวันวิหาร กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระตถาคต
เจ้าแล้ว ฯ พระบรมศาสดาตรัสว่า มหาบพิตรในที่สุด 92 กัลป์แต่กัลป์นี้ไป ในกาลแห่งพระพุทธเจ้า
ทรงพระนามว่าผุสสะ เปรตเหล่านี้เป็นพระญาติของพระองค์ กินของควรเคี้ยวและควรบริโภคที่เขา
ถวายภิกษุสงฆ์ แล้วบังเกิดในโลกของเปรต ท่องเที่ยวอยู่ได้ทูลถามพระพุทธเจ้าหลายพระองค์นี้และคำ
นี้แล้ว มุ่งหวังอยู่เฉพาะทานของพระองค์ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ เมื่อวานนี้ เมื่อพระองค์ทรงถวาย
ทานแล้ว ไม่ได้รับส่วนบุญ จึงได้ทำอย่างนั้น ฯ พระเจ้าพิมพิสารกราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ก็เมื่อหม่อมฉันถวายทานแม้ในบัดนี้ เปรตเหล่านั้นจักได้รับหรือ ฯ พระบรมศาสดาตรัสว่า
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ฯ พระราชาทรงนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระผู้เจริญ ขอข้าวและน้ำทิพย์
จงสำเร็จแก่พวกเปรตเหล่านั้น จากมหาทานนี้เถิด ฯ ข้าวและน้ำทิพย์บังเกิดแล้วอย่างนั้นทีเดียวแก่
พวกเปรตเหล่านั้น ฯ วันรุ่งขึ้น พวกเปรตเหล่านั้นได้แสดงตนเป็นผู้เปลือยแล้ว ฯ พระราชากราบ
ทูลว่า วันนี้ พวกเปรตได้แสดงตนเป็นผู้เปลือยแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ พระบรมศาสดาตรัสว่า
มหาพิตร ยังมิได้ถวายผ้าทั้งหลาย ขอถวายพระพร ฯ วันรุ่งขึ้น ฯ พระราชาถวายผ้าจีวรทั้งหลาย
แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว ทรงให้ส่วนบุญถึงว่า ขอผ้าทิพย์ทั้งหลาย จงสำเร็จแก่พวก
เปรตเหล่านั้น จากจีวรทานนี้เถิด ฯ ในขณะนั้นนั่นเอง ผ้าทิพย์ทั้งหลายเกิดขึ้นแก่พวกเปรตเหล่า
นั้นแล้ว ฯ พวกเปรตเหล่านั้น ละอัตภาพเปรตแล้ว ดำรงอยู่ด้วยอัตภาพทิพย์ ฯ
2. ต่อจากนั้น เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาประทับนั่งทำภัตกิจแล้ว ดาบสนั้นเรียกอันเตวาสิก
ทั้งหมดมาแล้ว นั่งกล่าวสาราณียกถาอยู่ในที่ใกล้พระบรมศาสดา ฯ พระบรมศาสดาทรงพระดำริ
ว่าขอพระอัครสาวกทั้ง 2 จงมาพร้อมกับภิกษุสงฆ์เถิด ฯ พระอัครสาวกทั้ง 2 องค์นั้น ทราบพระ
ดำริของพระบรมศาสดาแล้ว มีพระขีณาสพ 100,000 รูปเป็นบริวาร มาถวายบังคมพระบรมศาสดา
แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ ลำดับนั้น สรทดาบสเรียกพวกอันเตวาสิกมาแล้วกล่าว
ว่า พ่อคุณทั้งหลาย แม้อาสนะทีพระพุทธเจ้าประทับนั่ง ก็ยังต่ำ แม้อาสนะสำหรับพระสมณะ
ว่า พ่อคุณทั้งหลาย แม้อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับนั่ง ก็ยังต่ำ แม้อาสนะสำหรับพระสมณะ
100,000 รูป ก็ยังไม่มี วันนี้ พวกเธอควรทำสักการะพระพุทธเจ้าอย่างโอฬาร จงนำดอกไม้ทั้ง
หลายที่เพียบพร้อมด้วยสีและกลิ่นมาจากเชิงเขาเถิด ฯ กาลที่พูด ย่อมเป็นเสมือเนิ่นช้า แต่วิสัย

แห่งฤทธิ์ ของท่านผู้มีฤทธิ์ ย่อมเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ไม่ควรคิด เพราะเหตุนั้น โดยกาลเพียงชั่วครู่เดียว
เท่านั้น ดาบสเหล่านั้น ก็นำดอกไม้ทั้งหลายที่เพียบพร้อมด้วยสีและกลิ่นมาแล้ว ตบแต่งอาสนะประ
มาณ 1 โยชน์สำหรับพระพุทธเจ้า ประมาณ 3 คาวุตสำหรับพระอัครสาวกทั้ง - ประมาณต่างกันมี
ประมาณกึ่งโยชน์สำหรับพระทั้งหลายที่เหลือ มีประมาณอุสภะหนึ่งสำหรับพระผู้ใหม่ในสงฆ์ ฯ
ใคร ๆ ไม่ควรคิดว่า ในอาศรมบทแห่งเดียว จะตบแต่งอาสนะใหญ่โตถึงเพียงนั้นได้อย่างไร ฯ เพราะว่า
เรื่องนี้เป็นวิสัยแห่งฤทธิ์ ฯ
ให้เวลา 4 ชั่วโมง 15 นาที.

เฉลย ประโยค ป. ธ. 4
แปล ไทยเป็นมคธ

1. โส ปุนทิวเส เวฬุวนํ อาคนฺตฺวา ตถาคตสฺส ตํ ปวตฺตึ อาโรเจสิ ฯ สตฺถา
มหาราช อิโต เทฺวนวุติกปฺปมตฺถเก ผุสฺสพุทฺธกาเล เอเต ตว ญาตกา ภิกฺขุสงฺฆสฺส ทินฺนํ กฏฺฏํ
ขาทิตฺวา เปตโลเก นิพฺพตฺติตฺวา สํสรนฺตา กกุสนฺธาทโย พุทฺเธ อุปฺปนฺเน ปุจฺฉิตฺวา เตหิ
อิทญฺจิทญฺจ วุตฺตา เอตฺตกํ กาลํ ตว ทานํ ปจฺจาสึสมานา, หิยฺโย ตยา ทาเน ทินฺเน, ปตฺติ
อลภมานา เอวมกํสูติ ฯ กึ ปน ภนฺเต อิทานิปิ ทินฺเน ลภิสฺสนฺตีติ ฯ อาม มหาราชาติ ฯ
ราชา พุทฺธปฺปมุขํ ภิกฺขุสงฺฆํ นิมนฺเตตฺวา ปุนทิวเส มหาทานํ ทตฺวา ภนฺเต อิโต เตสํ เปตานํ
ทิพฺพนฺนปานํ สมฺปชฺชตูติ ปตฺตึ อทาสิ ฯ เตสํ ตเถว นิพฺพตฺติ ฯ ปุนทิวเส นคฺคา หุตฺวา
อุตฺตานํ ทสฺเสสุํ ฯ ราชา อชฺช ภนฺเต นคฺคา หุตฺวา อตฺตานํ ทสฺเสสุนฺติ อาโรเจสิ ฯ วตฺถานิ
เต น ทินินานิ มหาราชาติ ฯ ปุนทิวเส พุทฺธปฺปมุขสฺส ภิกฺขุสงฺฆสฺส จีวรานิ ทตฺวา อิโต เตสํ
ทิพฺพวตฺถานิ โหนฺตูติ ปาเปสิ ฯ ตํขณญฺเญว เตสํ ทิพฺพวตฺถานิ อุปฺปชฺชึสุ ฯ เต เปตตฺตภาวํ
วิชหิตฺวา ทิพฺพตฺภาเวน สณฺฐหึสุ ฯ
2. ตโต ภตฺตกิจฺจํ กตฺวา นิสินฺเน สตฺถริ, สพฺเพ อนฺเตวาสิเก ปกฺโกสิตฺวา สตฺถุ
สนฺติเก สาราณียกถํ กเถนฺโต นิสีทิ ฯ สตฺถา เทฺว อคฺสาวกา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ อาคจฺฉนฺตูติ
จินฺเตสิ ฯ เต สตฺถุ จิตฺตํ ญตฺวา สตสหสฺสขีณาสวปริวารา อาคนฺตฺวา สตฺถารํ วนฺตินฺวา

เอกมนฺตํ อฏฺฐํสุ ฯ ตโต สรทตาปโส อนฺเตวาสิเก อามนฺเตสิ ตาตา พุทฺธานํ นิสินฺนาสนมฺปิ
นีจํล สมณสตสหสฺสสฺสาปิ อาสนํ นตฺถิ, ตุมฺเหหิ อชิช อุฬารํ พุทฺธสกฺการํ กาตุํ วุฏฺฏติ,
ปพฺพตปาทโต วณฺณคนฺธสมฺปนฺนานิ ปุปฺผานิ อาหรถาติ ฯ กถนกาโล ปปญฺโจ วิย โหติ,
อิทฺธิมโต ปน อิทฺธิวิสโย อจินฺเตยฺโยติ ฯ มุหุตฺตมตฺเตเนว เต ตาปสา วณฺณคนฺธสมฺปนฺนานิ
ปุปฺผานิ อาหริตฺวา พุทฺธานํ โยชนปฺปมาณํ ปุปฺผาสนํ ปญฺญาเปสุํ อุภินฺนํ อคฺคสาวกานํ
ติคาวุตํ, เสสานํ ภิกฺขูนํ อฑฺฒโยชนิกาทเภทํ, สงฺฆนวกสฺส อุสภมตฺตํ อโหสิ ฯ กถํ เอกสฺมึ
อสฺสมปเท ตาวมหนฺตานิ อาสนานิ ปญฺญตฺตานีติ น จินฺเตตพฺพํ ฯ อิทฺธิวิสโย เหส ฯ

ประโยค ป.ธ. 4
วิชาแปลมคธเป็นไทย
สอบ วันที่ 1 มีนาคม 2543

1. ตตฺถ ธมฺมานุธมฺมปฏิปทา นาม นววิธสฺส โลกุตฺตรธมฺมสฺส อนุธมฺมภูตา ปุพฺพ
ภาคปฏิปทา ฯ สา อตฺถโต สีลอาจารปฺปณฺณตฺติธูตงฺคสมาทานํ ยาว โคตฺรภุโต สมฺมาปฏิปทา ว
ฯ สาเยว อนุจฺฉวิกตฺตา สามีจีติ วุจฺจติ ฯ โย ตํ ปฏิปชฺชติ จรติ ปริปูเรติ โส
ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน สามีจิปฏิปนฺโน อนุธมฺมจารีติ วุจฺจติ ฯ ตสฺมา ฉสุ อคารเวสุ ปติฏฺฐาย
ปญฺญตฺตึ อติกฺกมฺม อเนสนาย ชีวิตํ กปฺเปนฺโต ปพฺพชิโต น ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน นาม ฯ ตํ
สพฺพํ อตฺตโน ปญฺญตฺตสิกฺขาปทํ อนุมตฺตํปิ อนติกฺกมิตฺวา ธมฺเมน ชีวนฺโต ธมฺมานุธมฺม
ปฏิปนฺโน นาม คหฏฺโฐ ปน ปญฺจเวรทสอกุสลกมฺมปเถ กโรนฺโต น ธมฺมานุธมิมปฏิปนฺโน นาม
ฯ โย ปน สรณสีเลสุ ปริปูริการี โหติ มาสสฺส อฏฺฐ อุโปสเถ กโรติ ทานํ เทติ คนฺธปูชํ
มาลาปูชญฺจ กโรติ มาตาปิตโร ธมฺมิกสมณพฺราหฺมเณ จ อุปฏฺฐหติ อยํ ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน
นาม น ปรมาย ปูชายาติ จ วทนฺโต อิมํ ทสฺเสติ นิรามิสปูชา นาม สกฺโกติ มม สาสนํ
สนฺธาเรตุํ ยาว หิ อิมา จตสฺโส ปริสา มํ อิมาย ปฏิปตฺติปูชาย ปูเชสฺสนฺติ ตาว มม สาสนั
นภมชฺเฌ ปุณฺณจนฺโท วิย วิโรจิสิสตีติ มหาปรินิพฺพานสุตฺตวณฺณนานโย ฯ
2. [193] วุตฺตญฺจฏฺฐกถาสุ จีวรํ บริโภเค ปริโภเค ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ ปิณฺฑปาโต
อาโลเป อาโลเป เสนาสนํ ปริโภเค ปริโภเคติ ฯ
วิสุทฺธิมคฺคฏีกายํ จีวรํ กายโต โมเจตฺวา ปริโภเค เสนาสนํ ปริโภเค ปริโภเค ปเวเส
ปเวเสติ วุตฺตํ ฯ รูปิยสิกฺขาปทวิมติวิโนทนิยนฺตุ ปริโภเคติ กายโต โมเจตฺวา ปริโภเค ฯ
ปริโภเคติ อุทกปตนฏฺฐานโต อนฺโต ปเวสเน นิสีทนสยเนสุ จาติ วุตฺตํ ฯ
[194] สเจ ปริโภคกาเล ปจฺจเวกฺขิตุํ น สกฺโกติ ปริโภคโต ปจฺฉากาเล อชฺช มยา
อปจฺจเวกฺขิตฺวา ยํ จีวรํ ปริภุตฺตนฺตายาทินา อตีตปจฺจเวกฺขเณน เอกฺขตฺตุมฺปิ ปจฺจเวกขิตพฺพํ ฯ
วุตฺตญฺจ วิสุทฺธิ มคฺคฏีกายํ ตถา อสกฺโกนฺเตน ยถาวุตฺตกาลวิเสสวเสน เอกสฺมึ ทิวเส จตุกฺขตฺตุํ
ติกฺขตฺตุํ ทฺวิกฺขตฺตุํ สกึเยว วา ปจฺจเวกฺขิตพฺพนฺติ ฯ
[195] ตตฺถ ตถาติ ปริโภคกาเล ปจฺจเวกฺขิตุนฺตฺยตฺโถ ฯ ยถาวุตฺกาลวิเสโส นาม
ปริโภคกาลโต ปรํ ปุเรภตฺตํ ปจฺฉาภตฺตํ รตฺติยา ยามตฺตยญฺจ ฯ อิทญฺจ เสสปจฺจเยสุ ยุชฺชติ
ฯ เภสชฺชนฺตุ ปฏิลาภกาเล ปจฺจเวกฺขิตฺวาปิ อปจฺจเวกฺขิตฺวาปิ ปริโภคกาเล ปจฺจเวกฺชิตพฺพเมว
ฯ เตน วุตฺตํ อฏิฐกถาสุ เภสชฺชสฺส ปฏิคฺคหเณปิ ปริโภเคปิ สติปจฺจยตา วฏฺฏติ ฯ เอวํ

สนฺเตปิ ปฏิคฺคหเณ สตึ กตฺวา ปริโภเค อกโรนฺตสฺเสว อาปตฺติ ปฏิคฺคหเณ ปน สตึ อกตฺวา
ปริโภเค กโรนฺตสฺส อนาปตฺตีติ ฯ
[196] สติปจฺจยตา วฏ.
จ ปริโภเค จ ปจฺจเวกฺขณสฺสติ อวสฺสํ ลทฺธพฺพาติ ทสฺเสติ ฯ เตนาห สตึ กตฺวาติอาทินฺติ
วิมติวิโนทนี ฯ

ให้เวลา 4 ชั่วโมง 15 นาที

เฉลย ประโยค ป. ธ. 4
แปล มคธเป็นไทย

1. นัยแห่งอรรถกถามหาปรินิพพานสูตรว่า บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในพุทธวจนะนั้น
(ดังต่อไปนี้) ปฏิปทาที่เป็นส่วนเบื้องต้น ซึ่งเป็นธรรมอันสมควรแก่โลกุตรธรรม 9 อย่าง ชื่อว่า ธรรมา
นุธรรมปฏิปทา ฯ ปฏิปทาที่เป็นส่วนเบื้องต้นนั้น โดยความได้แก่ พระบัญญัติทางศีลและอาจาระ
และการสมาทานธุดงค์ คือ สัมมาปฏิปทาจนถึงโคตรภูญาณมาเทียว ฯ ปฏิปทาที่เป็นส่วนเบื้อง
ต้นนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สามีจิ เพราะเป็นปฏิปทาที่สมควร ฯ ผู้ใดปฏิบัติประพฤติ
ยังปฏิปทาที่เป็นส่วนเบื้องต้นนั้นให้บริบูรณ์ ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง มีปกติประพฤติตามธรรม ฯ เพราะฉะนั้น บรรพชิตผู้ตั้งอยู่ในอคาร
วะ 6 ละเมิดพระบัญญัติ เลี้ยงชีวิตด้วยการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม ฯ บรรพชิตไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แก่ตนทุกข้อนั้นแม้เพียงเล็ก
น้อย เลี้ยงชีพโดยธรรม ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ฯ ฝ่ายคฤหัสถ์กระทำเวร 5 และ
อกุศลกรรมบถ 10 ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ฯ ส่วนผู้ใดเป็นผู้มีปกติกระทำให้
บริบูรณ์ในสรณะและศีล รักษาอุโบสถเดือนละ 8 ครั้งให้ทาน กระทำการบูชาด้วยของหอมและพวง
ดอกไม้ บำรุงพ่อแม่ และสมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรม ผู้นี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ฯ
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเมื่อจะตรัสว่า ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ชื่อว่าทรงแสดงการอธิบาย ความนี้ว่า
ธรรมดาว่า การบูชาที่ปราศจากอามิส (ปฏิบัติบูชา) อาจดำรงพระศาสนาของเราไว้ได้ ด้วยว่าบริษัททั้ง
4 นี้ จักบูชาเราด้วยปฏิบัติบูชานี้ ตราบใด ศาสนาของเราจักรุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์เพ็ญท่ากลาง
ฟ้า ตราบนั้น ฯ
2 อนึ่ง พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายวา จีวร ภิกษุต้องพิจารณาทุก
ขณะที่ใช้สอย บิณฑบาตต้องพิจารณาทุกคำกลืน เสนาสนะต้องพิจารณาทุกขณะที่ใช้สอย ฯ
พระฎีกาจารย์ท่านกล่าวไว้ในฎีกาวิสุทธิมรรคว่า จีวรภิกษุต้องพิจารณาทุกขณะที่เปลื้องจาก
กายแล้ว (นำกลับมา) ทุกขณะที่ใช้สอย เสนาสนะภิกษุต้องพิจารณาทุกขณะที่ใช้สอย คือ ทุกขณะที่
เข้าไป ฯ ส่วนในอนุฎีกาวิมติวิโนทนีแห่งรูปิยสิกขาบท ท่านกล่าวไว้ว่า บทว่า บริโภค ได้แก่ ทุกขณะ
ที่เปลื้องจากกายแล้วใช้สอย ฯ บทว่า บริโภค คือ ในขณะที่เข้าไปในภายในแต่ชายคา และในขณะ
ที่นั่งและนอน ฯ
ถ้าภิกษุไม่สามารถพิจารณาในกาลบริโภคได้ ในกาลภายหลังจากการบริโภค พึงพิจารณา
แม้ครั้งเดียวก็ได้ด้วยอตีตปัจจเวกขณะว่า วันนี้เรามิได้พิจารณา ได้ใช้สอยจีวรใดแล้ว ดังนี้เป็นต้น ฯ

และพระฎีกาจารย์กล่าวไว้ในฎีกาวิสุทธิมรรคว่า ภิกษุเมื่อไม่สามารถจะพิจารณาได้อย่างนั้น
พึงพิจารณาวันหนึ่ง 4 ครั้ง 3 ครั้ง 2 ครั้ง หรือครั้งเดียวก็ได้ ด้วยสามารถแห่งกาลวิเสสตามที่
กล่าวแล้ว ฯ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถา ความว่า เพื่อพิจารณาในกาลบริโภค ฯ ก่อนฉันก็ดี ภาย
หลังฉันก็ดี สามยามแห่งราตรีก็ดี ถัดจากการบริโภค ชื่อว่ากาลวิเสสตามที่กล่าวแล้ว ฯ ก็การพิจารณา
ในกาลวิเสสนี้ ย่อมควรในปัจจัยที่เหลือ ฯ ส่วนเภสัชในเวลาได้รับภิกษุจะพิจารณาก็ตาม ไม่พิจารณา
ก็ตาม (แต่) ในเวลาบริโภคต้องพิจารณาแท้ ฯ เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวไว้ใน
อรรถกถาทั้งหลายว่า ความเป็นผู้มีสติเป็นปัจจัย ย่อมควรทั้งในกาลรับ ทั้งในกาลบริโภคเภสัช น
แม้เมื่อความเป็นผู้มีสติเป็นปัจจัยในกาลรับมีอยู่ เมื่อภิกษุทำสติในกาลรับและไม่ทำในกาลบริโภคเลย
เป็นอาบัติ แต่เมื่อไม่ทำสติในกาลรับแล้วกระทำในกาลบริโภค (อีก) ไม่เป็นอาบัติ ฯ
อนุฎีกาวิมติวิโนทนีว่า คำว่า สติปจฺจยตา วฏฏติ ความว่า ภิกษุได้ความที่สติเป็นเครื่อง
พิจารณาเป็นปัจจัย ควรอยู่ ฯ พระอรรถกถาจารย์ แสดงว่า ในกาลรับก็ดี ในกาลบริโภคก็ดี ต้องได้
สติเป็นเครื่องพิจารณาแน่แท้ ฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำสติ ดังนี้เป็นต้น ฯ

พระเทพสุธี หาสธมฺโม วัดสามพระยา เฉลย
สนามหลวงแผนกบาลี ตรวจแก้

ประโยค ป.ธ. 5
แปลไทยเป็นมคธ
สอบวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543

1. ก็ธรรมดาว่าสิ่งที่จะพึงทำ (เนื่อง) ด้วยผู้แสดงหนทาง ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้ง
หลาย เพราะว่าหนทางทั้งหมดแจ่มแจ้งแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้วว่า หนทางนี้ไปนรก หนทางนี้
ไปกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หนทางนี้ไปเปรตวิสัย หนทางนี้ไปมนุษยโลก หนทางนี้ไปเทวโลก หนทางนี้
ไปอมตมหานิพพาน ในวันที่ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ ทรงยังหมื่นโลกธาตุให้หวั่นไหว ที่โคนต้น
โพธิ์นั่นแล ในหนทางแห่งสถานที่ทั้งหลายมีหมู่บ้านและนิคมเป็นต้น จึงไม่มีถ้อยคำที่จะต้องพูดถึง
เลย เพราะฉะนั้น พระบรมศาสดาจึงทรงถือบาตรและจีวร เสด็จไปยังประตูเรือนของอุบาสิกาแต่เข้า
ตรู ฯ อุบาสิกานั้นออกมาจากเรือน ถวายบังคมพระบรมศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์ อัญเชิญ
ให้เสด็จเข้าไปภายในเรือน ให้ประทับนั่ง ณ อาสนะแล้วถวายน้ำทักษิณา ยังคาสด้วยของเคี้ยว
ของบริโภคอย่างประณีตแล้ว ฯ อาบาสิกาประสงค์จะให้พระบรมศาสดา ผุ้ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว
ทรงทำอนุโมทนา จึงรับบาตรไว้แล้ว ฯ พระบรมศาสดาทรงเริ่มธรรมกถาอนุโมทนา ด้วยพระสุรเสียง
อันไพเราะแล้ว ฯ อุบาสิกาฟังธรรมพลางให้สาธุการว่า สาธุ สาธุ ดังนี้ ฯ อาชีวกนั่งอยู่ในห้องข้าง
หลังนั่นเอง ได้ยินเสียงอุบาสิกานั้น ฟังธรรมให้สาธุการอยู่แล้ว ไม่อาจอดทนอยู่ได้ จึงออกไปด้วย
คิดว่า บัดนี้แหละ นางไม่เป็นของเราเสียแล้ว ดังนี้แล้ว จึงด่าอุบาสิกาและพระบรมศาสดาโดยประ
การต่าง ๆ ว่า อีกาฬกัณณี มึงเป็นคนฉิบหายเสียแล้ว มึงจงทำสักการะนี้แก่สมณะนั่นเถิด ฯ อุบาสิกา
ละอายแล้ว เพราะถ้อยคำของอาชีวิกนั้น จึงไม่อาจจะส่งจิตที่ถึงความฟุ้งซ่านไปตามกระแสเทศนา
ได้ ฯ
2. การสนทนาของภิกษุทั้งหลายเกิดขึ้นโรงธรรมสภาว่า น่าอัศจรรย์หนอ ติสสสามเณร
ทำกรรมที่ทำได้ยาก จำเดิมแต่ถือปฏิสนธิ พวกญาติของเธอ ได้ถวายข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อยนั่นแหละ
แก่พระ 500 รูป ในมงคล 7 ครั้ง ในเวลาเธอบวชแล้ว ก็ได้ถวายข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อยเหมือนกัน
แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ภายในวิหาร ตลอด 7 วัน ครั้นบวชแล้ว ในวันที่ 8 เข้าไปยัง
หมู่บ้าน ได้บิณฑบาตหนึ่งพันกับผ้าสาฎกหนึ่งพัน โดยเพียง 2 วันเท่านั้น รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง ได้ผ้า
กัมพลหนึ่งพัน ในเวลาเธออยู่ในที่นี้ ลาภและสักการะมากมายเกิดขึ้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้ บัดนี้
เธอทิ้งลาภและสักการะแบบนี้เสีย แล้วเข้าไปสู่ป่า ยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารสำรวม สามเณร
ทำกรรมที่ทำได้ยากหนอ ฯ พระบรมศาสดาเสด็จมาตรัสว่า อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่าข้อ
ปฏิบัติอิงอาศัยลาภนี้เป็นอย่างหนึ่ง ข้อปฏิบัติยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพานก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ความจริง

อบายภูมิ 4 มีประตูเปิดอ้าไว้แล้วทีเดียว สำหรับภิกษุผู้รักษาข้อปฏิบัติอิงอาศัยลาภ ด้วยอำนาจการ
สมาทานธุดงค์มีการอยู่ป่าเป็นต้น ด้วยความหวังว่า เราจักได้ลาภด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ส่วนภิกษุ
ผู้ลาลาภและสักการะที่เกิดขึ้น ด้วยข้อปฏิบัติยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน แล้วเข้าไปสู่ป่า เพียรพยายามอยู่
ย่อมยึดเอาพระอรหัตไว้ได้ ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ก็ขอปฏิบัติอิงอาศัยลาภเป็นอย่างหนึ่ง ข้อปฏิบัติยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน
เป็นอีกอย่างหนึ่ง ภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้าทราบเนื้อความนั้นอย่างนี้แล้ว
ไม่พึงเพลิดเพลินสักการะ พึงเพิ่มพูนวิเวกเถิด ดังนี้ ฯ
ให้เวลา 4 ชั่วโมง 15 นาที

ประโยค ป.ธ. 5
เฉลย แปลไทยเป็นมคธ
1. พุทฺธานญฺจ มคฺคเทสเกน กิจฺจํ นาม นตฺถิ ; โพธิมูเล ทสสหสฺสี โลกธาตุํ กมฺเปตฺวา
สมฺโพธึ ปตฺตทิวเสเยว หิ เนสํ อยํ มคฺโค นิรยํ คจฺฉติ, อยํ ติรจฺฉานโยนี, อยํ เปตฺตวิสยํ,
อยํ มนุสฺสโลกํ, อยํ เทวโลกํ, อยํ อมตมหานิพฺพานนฺติ สพฺเพ มคฺคา อาวิภูตา, คมนิคมาทีนํ
มคฺเค วตฺตพฺพเมว นตฺถิ; ตสฺมา สตฺถา ปาโต ว ปตฺตจีวรมาทาย มหาอุปาสิกาย เคหทฺวารํ
คโต ฯ สา เคหา นิกฺขมิตฺวา สตฺถารํ ปญฺจปติฏฺฐิเตน วนฺทิตฺวา อนฺโตฆเร ปเวเสตฺวา อาสเน
นิสีทาเปติวา ทกฺขิโณทกํ ทตฺวา ปณีเตน ขาทนีเยน โภชนีเยน ปริวิสิ ฯ อุปาสิกา กตภตฺตกิจฺจสฺส
สตฺถุโน อนุโมทนํ กาเรตุกามา ปตฺตํ คณฺหิ ฯ สตฺา มธุรสฺสเรน อนุโมทนธมิมกถํ อารภิ ฯ
อุปาสิกา สาธุ สาธูติ สาธุการํ ททมานา ธมฺมํ สุณิ ฯ อาชีวโก ปจฺฉาคพฺเภ นิสินฺโน ว ตสฺสา
สาธุการํ ทตฺวา ธมฺมํ สุณนฺติยา สทฺทํ สุตฺวา สนฺธาเรตุํ นาสกฺขิ, น อิทาเนว สา มยฺหนฺติ
นิกฺขมิตฺวา นฏฺฐาสิ กาฬกณฺณิ, เอตสฺส เอตํ สกฺการํ กโรหีติ นานปฺปกาเรน อุปาสิกญฺจ
สตฺถารญฺจ อกฺโกสนฺโต ปลายิ ฯ อุปาสิกา ตสฺส กถาย ลชฺชิตา อญฺญถตฺตํ คตํ จิตฺตํ
เทสนานุสาเรน เปเสตุํ นาสกฺขิ ฯ
2. ภิกฺขูนํ ธมฺมสภายํ กถา อุทปาทิ อโห วต ติสฺสสามเณโร ทุกฺกรํ กโรติ ;

ปฏิสนฺธิคฺคหณโต ปฏฺฐายสฺส ญาตกา สตฺตสุ มงฺคเลสุ ปญฺจนฺนํ ภิกขุสตานํ อปฺโปทกมธุ
ปายาสเมว อทํสุ, ปพฺพชิตกาเล อนฺโตวิหาเร พุทฺธปฺปมุขสฺส ภกฺขุสงฺฆสฺส สตฺต ทิวสานิ
อปฺโปทกมธุปายาสเมว อทํสุ, ปพฺพชิตฺวา อฏฺฐเม ทิวเส คามํ ปวิสนฺโต ทฺวีเหว ทิวเสหิ
สาฏกสหสฺเสน สทฺธึ บิณฺฆปาตสหสฺสํ ลภิ, ปุเนกทิวสํ กมฺพลสหสฺสํ ลภิ, อิติสฺส อิธ
วสนกาเล มหาลาภสกฺกาโร อุปฺปชฺชิ, อิทานิ เอวรูปํ ลาภสกฺการํ ฉฑฺเฑตฺวา อรญฺญํ ปวิสิตฺวา
มิสฺสกาหาเรน ยาเปติ; ทุกฺกรการโก วต สามเณโรติ ฯ สตฺถา อาคนฺตวา กาย นุตฺถ ภิกฺขเว
เอตรหิ กถาย สนฺนิสินฺนาติ ปุจฺฉิตฺวา, อิมาย นามาติ วุตฺเต, อาม ภิกฺขเว ลาภูปนิสา นาเมสา
อญฺญา นิพฺพานคามินี ปฏิปทา อญฺญา; 'เอวํ ลาภํ ลภิสฺสามีติ หิ อารญฺญกาทิธูตงฺคสมาทาน
วเสน ลาภูปนิสํ รกฺขนฺตสฺส ภิกฺขุโน จตฺตาโร อปายา วิวฏทฺวาราเยว ติฏฺฐนฺติ, นิพฺพาน
คามินิยา ปน ปฏิปทาย อุปฺปนฺนํ ลาภสกฺการํ ปหาย อรญฺญํ ปวิสิตฺวา ฆเฏนฺโต วายมนฺโต
อรหตฺตํ คณฺหาตีติ อนุสนฺธึ ฆเฏตฺวา ธมฺมํ เทเสนฺโต อิมํ คาถมาห
อญฺญา หิ ลาภูปนิสา, อญฺญา นิพฺพานคามินี
เอวเมตํ อภิญฺญาย ภิกฺขุ พุทฺธสฺส สาวโก
สกฺการํ นาภินนฺเทยฺย วิเวกมนุพฺรูหเยติ ฯ

ประโยค ป.ธ. 5
วิชาแปลมคธเป็นไทย
สอบ วันที่ 1 มีนาคม 2543

1. (66) สมฺมา โสภนา วิญฺญุปฺปสตฺถา เอตสฺส ทิกฺฐีติ สมฺมาทิฏฺฐิโก กมฺมปถ
ปริยาปนฺนาย อตฺถิ ทินินนฺติอาทิกาย กมฺมสฺสกตาทิฏฺฐิยา สมนฺนาคโตติ อตฺโถติ สลฺเลขสุ
ตฺตวณฺณนานโย ฯ
นตฺถิ ทินฺนนฺติ ทานสฺส ผลาภาวํ สนฺธาย วทติ ฯ ยิฏฺฐํ วุจฺจติ มหายาโค ฯ หุตนฺติ
ปโหนกสกฺกาโร อธิปฺเปโต ฯ ตมฺปิ อุภยํ ผลาภาวเมว สนฺธาย ปฏิกฺขิปติ ฯ สุกตทุกฺกฏานนฺติ
สุกตทุกฺกฏานํ กุสลากุสลานนฺติ อตฺโถ ฯ ผลวิปาโกติ ยํ ผลนฺติ วา วิปาโกติ วา วุจฺจติ ตํ
นตฺถีติ วทติ ฯ นตฺถิ อยํ โลโกติ ปรโลเก ฐิตสฺส อยํ โลโก นตฺถิ ฯ นตฺถิ ปโร โลโกติ
อิธโลเก ฐิตสฺสาปิ ปรโลโก นตฺถิ ฯ สพฺเพ ตตฺถ ตตฺเถว อุจฺฉิชฺชนฺตีติ ทสฺเสติ ฯ นตฺถิ มาตา
นตฺถิ ปิตาติ เตสุ สมฺมาปฏิปตฺติมิจฺฉาปฏิปตฺตีนํ ผลาภาววเสน วทติ ฯ นตฺถิ สตฺตา
โอปปาติกาติ จวิติวา อุปปชฺชนกสตฺตา นาม นตฺถีติ วทตีติ สาเลยฺยกวณฺณนา ติกงฺคุตฺตเร
ตติยปณฺณาสกวณฺณนา จ ฯ
สมฺมคฺคตา สมฺมาปฏิปนฺนาติ อนุโลมปฺปฏิปทํ ปฏิปนฺนา ธมฺมิกสมณพฺราหฺมณาติ
นิกฺเขปกณฺฌฑ ทิฏฺฐุปาทานนิทฺฌทสวณฺณนา ฯ
สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวาติ เย อิมญฺจ โลกํ ปรญฺจ โลกํ อภิวิสิฏฺฐาย ปญฺญาย สพฺพํ
ปจฺจกฺขํ กตฺวา ปเวเทนฺติ เต นตฺถีติ สพฺพญฺญุพุทฺธานํ อภาวํ ทีเปตีติ สาเลยฺยกวณฺณนา ฯ
อตฺถิ ทินฺนนฺติอาทิ วุตฺตปฺปฏิปกฺขนเยน คเหตพฺพํ ฯ
2. (191) มชฺชปานาทีนโว ปน กุมฺภชาตเก เจว สิคาลสุตฺเต จ วิตฺถาเรน อาคโต
ฯ ตถา หิ ภควตา สิคาลสุตฺเต สุราเมรยมชฺชปฺปมาทฏฐานานุโยโค โข คหปติปุตฺต โภคานํ
อปายมุขนฺติ วติวา ตสฺสาทีนวํ ทสฺเสตุํ ฉ โขเม คหปติปุตฺต อาทีนวา สุราเมรยมชฺชปฺ
ปมาทฏฺฐานานุดยเค สนฺทิฏฐิกา ธนชานิ กลหปฺปวฑฺฒนี โรคานํ อายตนํ อกิตฺติสญฺชนนี
โกปินนิทฺทํสนี ปญฺญาย ทุพฺพลีกรณีเตฺวว ฉฏฺฐํ ปทํ ภวตีติ วุตฺตํ ฯ
(192) ตตฺถ อปายมุขนฺติ วินาสมุขํ ฯ อนุโยโคติ ตสฺส สุราเมรยมชฺชปฺ
ปมาทฏฺฐานสฺส อนุโยโค ปุนปฺปุนํ กรณํ ฯ ยสฺมา ปน เอตํ อนุยุตฺตสิส อุปฺปนฺนา เจว โภคา

ปริหายนฺติ อนุปฺปนฺนา จ นุปฺปชฺชนฺติ ตสฺมา โภคานํ อปายมุขนฺติ วุตฺตํ ฯ สนฺทิฏฺฐิกาติ สามํ
ปสฺสิตพฺพา อิธโลกภาวินี ฯ ธนชานีติ ธนหานิ ฯ กลหปฺปวฑฺฒนีติ วาจากลหสฺส เจว
หตฺถปรามาสาทิกลหสฺส จ วฑฺฒนี ฯ โรคานํ อายตนนฺติ เตสํ เตสํ อกฺขิโรคาทีนํ โรคานํ เขตฺตํ
ฯ อกิตฺติสญฺชนนีติ สุรํ ปิวิตฺวา หิ มาตรมฺปิ ปหรนฺติ ปิตรมฺปิ อญฺญํ พหุํ อวตฺตพฺพํ วทนฺติ
อกาตพฺพํ กุพฺพนฺติ เตน ครหํปิ ทณฺฑํปิ หตฺถปาทาทิจฺเฉทมฺปิ ปาปุณนฺติ อิธโลเกปิ
ปรโลเกปิ อกิตฺตึ ปาปุณนฺติ ฯ อิติ เตสํ สา สุรา อกิตฺติสญฺชนนี นาม โหติ ฯ โกปินนิทฺทํส
นีติ คุยฺหฏฺฐานญฺหิ วิวริยมานํ หิรึ โกเปติ ตสฺมา โกปินนฺติ วุจฺจติ ฯ สุรามทมตฺตา จ ตํ
องฺคํ วิวริตฺวา วิจรนฺติ เตน เนสํ สา สุรา โกปินสฺส นิทฺทํสนโต โกปินนิทฺทํสนีติ วุจิจติ ฯ
ปญฺญาย ทุพฺพลีกรณีติ สาคตตฺเถรสฺส วิย วมฺมสฺสกตปฺปญฺญํ ทุพฺพลํ กโรหีติ ตสฺมา
ปญฺญาย ทุพฺพลีกรณีติ วุจฺจติ ฯ มคฺคปฺปญฺญมฺปน ทุพฺพลํ กาตุํ น สกฺโกติ ฯ อธิคตมคฺคาน
ญฺหิ สา อนฺโตมุขเมว นปฺปวิสติ ฯ ฉฏฺฐํ ปทนฺติ ฉฏฺฐํ การณนฺติ ตพฺพณฺณนา ฯ
ให้เวลา 4 ชั่วโมง 15 นาที

เฉลย ประโยค ป.ธ. 5
แปล มคธเป็นไทย
1. นัยแห่งอรรถกถาสัลเลขสูตรว่า บุคคลผู้ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิก์ เพราะอรรถว่า มีความเห็น
ชอบ คืองาม ได้แก่ อันวิญญูชนสรรเสริญ มีอธิบายว่า ผู้ประกอบด้วยความเห็นว่าสัตว์มีกรรมเป็น
ของตน ซึ่งนับเข้าในกรรมบถ เป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ดังนี้ ฯ
อรรถกถาสาเลยยกสูตรและอรรถกถาตติยปัณณาสก์ ในติกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า มิจฉา
ทิฏฺฐิกบุคคล กล่าวว่า นตฺถิ ทินฺนํ ดังนี้ หมายถึง ทานไม่มีผล ฯ ยัญใหญ่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกว่า ยิฏฺฐํ ฯ ในบทว่า หุตํ ทรงพระประสงค์เอาเครื่องสักการะที่ทำเพื่อแขก ฯ มิจฉาทิฏฐิกบุคคล
ย่อมปฏิเสธ ยิกฺฐํ และ หุตํ ทั้ง 2 แม้นั้น หมายถึงความไม่มีผลนั่นเอง ฯ บทว่า สุกตทุกฺกฏานํ
ได้แก่ แห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่ว คือแห่งกุศลกรรมและอกุศลกรรม ฯ ด้วยบทว่า ผลวิปาโก มิจฉา
ทิฏฐิกบุคคล ย่อมกล่าวคุณชาติที่เรียกว่า ผล หรือวิกาลว่า ไม่มี ฯ หลายบทว่า นตฺถิ อยํ โลโก
ความว่า โลกนี้ ไม่มี แก่ผู้อยู่ในปรโลก ฯ หลายบทว่า นตฺถิ ปโร โลโก ความว่า ปรโลก ก็ไม่มี
แม้แก่ผู้อยู่ในโลกนี้ ฯ มิจฉาทิฏฐิกบุคคลแสดงว่า สรรพสัตว์ ย่อมขาดสูญในโลกนั้น ๆ นั้นเอง ฯ

ด้วยคำว่า นตฺถิ มาตา นตฺถิ ปิตา มิจฉาทิฏฐิกบุคคลย่อมกล่าว ด้วยอำนาจการปฏิบัติชอบและ
ปฏิบัติผิดในบิดามารดาเหล่านั้น ไม่มีผล ฯ ด้วยคำว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา ดังนี้ มิจฉาทิฏฐิก
บุคคลย่อมกล่าวว่า ธรรมดาสัตว์ผู้จุติแล้วไปเกิด ไม่มี ฯ
อรรถกถาทิฏฐุปาทานนิทเทส ในนิกเขปกัณฑ์ว่า สองบทว่า สมฺมคฺคตา สมฺมาปฏิ
ปฏิปนฺนา ความว่า สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้ปฏิบัติอนุโลมปฏิปทา ฯ
อรรถกถาสาเลยยกสูตรว่า ข้อว่า สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ความว่า มิจฉาทิฏฐิกบุคคล
แสดงความไม่มีพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายว่า สมณพราหมณ์ผู้ประกาศโลกนี้และปรโลกให้ประจักษ์
เอง ด้วยปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ไม่มี ฯ
คำว่า อตฺถิ ทินฺนํ ดังนี้เป็นต้น บัณฑิตพึงกำหนดรู้โดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้ว ฯ

2. ส่วนโทษของการดื่มน้ำเมา มาโดยพิสดาร ทั้งในกุมภชาดกทั้งในสิคาลสูตร ฯ จริง
อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในสิคาลสูตรว่า ดูกรคฤหบดีบุตร การประกอบเนือง ๆ เหตุ
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในเพราะน้ำเมาคือสุราและเมรัย เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลาย ดังนี้
แล้ว หวังจะทรงแสดงโทษของการประกอบเนือง ๆ เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในเพราะน้ำเมา
คือสุราและเมรัยนั้น จึงตรัสว่า ดูกรคฤหบดีบุตร ในการประกอบเนือง ๆ เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาทในเพราะน้ำเมาคือสุราและเมรัย มีโทษ 6 ประการเหล่านี้แล คือ เป็นเหตุเสื่อมทรัพย์ที่เห็น
ทันตา 1 เป็นเหตุก่อการทะเลาะ 1 เป็นบ่อเกิดแห่งโรคทั้งหลาย 1 เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสีย
ชื่อเสียง 1 เป็นเหตุเปิดเผยของลับที่ให้หิริกำเริบ 1 เป็นเหตุบั่นทอนปัญญาให้ถอยกำลัง นั่นแหละ
เป็นข้อที่ 6 1 ฯ
อรรถกถาสิคาลสูตรนั้นว่า บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปายมุขํ แปลว่า เป็นทางแห่งความ
พินาศ ฯ การประกอบเนือง ๆ คือการทำบ่อย ๆ ซึ่งเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ในเพราะน้ำ
เมาคือสุราและเมรัยนั้น ชื่อว่าอนุโยค ฯ ก็เพราะเมื่อบุคคลประกอบเนือง ๆ เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาทในเพราะน้ำเมาคือสุราและเมรัยนั่นแล้ว โภคะทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไปด้วย ที่ยัง
ไม่เกิด ก็ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โภคานํ อปายมุขํ ดังนี้ ฯ บทว่า
สนฺทิฏฺฐิกา คือพึงเห็นได้เอง ได้แก่ มีในโลกนี้ ฯ
บทว่า ธนชานิ แปลว่า เป็นเหตุเสื่อมทรัพย์ ฯ บทว่า กลหปฺปวฑฺฒนี แปลว่า เป็นเหตุก่อ
ความทะเลาะด้วยวาจาและความทะเลาะด้วยกายมีการทุบตีกัน เป็นต้น ฯ สองบทว่า โรคานํ อายต
นํ ได้แก่ เป็นแดนเกิดแห่งโรคเหล่านั้น ๆ มีโรคตาเป็นต้น ฯ บทว่า อกิตฺติสญฺชนนี ความว่า ก็เหล่า
ชนดื่มสุราแล้ว ย่อมทุบตีแม่ก็ได้ ทุบตีพ่อก็ได้ ย่อมพูดคำที่ไม่ควรพูดอย่างอื่นมาก ย่อมทำสิ่งที่ไม่


ควรทำก็ได้ เพราะการกระทำนั้น จึงถูกติเตียนบ้าง ถูกลงอาชญาบ้าง ถึงการตัดอวัยวะมีมือและเท้า
เป็นต้นบ้าง ชื่อว่าย่อมถึงความเสียชื่อเสียง ทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกหน้า ฯ สุรานั้นจึงชื่อว่า เป็นเหตุให้
เกิดความเสียชื่อเสียง แก่เหล่าชนเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ฯ บทว่า โกปินนิทฺทํสนี ความว่า เพราะ
ของลับเมื่อถูกเปิดเผย จะให้หิริกำเริบได้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โกปน ดังนี้ ฯ อนึ่ง
ผู้เมาเพราะเมาสุราทั้งหลาย ย่อมเที่ยวเปิดอวัยวะนั้น ด้วยเหตุนั้น สุรานั้น ของผู้เมาเพราะเมาสุรา
เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า โกปินนิทฺทํสนี เพราะเปิดเผยของลับที่ให้หิริกำเริบ ฯ สอบบท
ว่า ปญฺญาย ทุพฺพลีกรณี ความว่า สุรานั้นย่อมทำปัญญากำหนดรู้ว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตนให้ถอย
กำลัง เหมือนปัญญาของพระสาคตเถระ ฉะนั้น เพราะ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปญฺญาย
ทุพฺพลีกรณี ดังนี้ ฯ ต่อสุราหาสามารถที่จะบั่นทอนปัญญาในอริยมรรคให้ถอยกำลังได้ไม่ ฯ เพราะ
ท่านผู้บรรลุมรรคแล้วทั้งหลาย สุรานั้นย่อมไม่เข้าไปภายในปากได้เลย ฯ สองบทว่า ฉฏฺฐํ ปทํ ได้แก่
เหตุที่ 6 ฯ

พระธรรมปริยัติโสภณ ชวนปญฺโญ วัดไตรมิตรวิทยาราม เฉลย
สนามหลวงแผนกบาลี ตรวจแก้

ประโยคเก็งพิเศษ


สำนักเรียนวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ปี 2544
ประโยค 1-2 ธรรมบท ภาค 1-2-3-4
ภาค เรื่อง หน้า เริ่ม ถึง
1 ปณามคาถา 1-2. ปณามคาถา ฯเปฯ อตฺถธมฺมูปนิสฺสิตนฺติ ฯ
จกขุบาล 3-11 มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ฯเปฯ กิเลสา จ ปภิชฺขึสุ ฯ
14-20 มสุสฺสา เถรํ นิสีทาเปตฺวา ฯเปฯ จกฺกํว วหโตปทนฺติ ฯ
มฏฺฐกุณฺฑลี 24-26 ตํทิวสํ ภควา ฯเปฯ กหํ เอกปุตฺตกาติ ฯ
32-33 ทฺวีหิ ชเนหิ กถิตํ กถํ ฯเปฯ ฉายาว อนุปายินีติ ฯ
ติสฺส 37-41 อตีเต พาราณสิยํ ฯเปฯ เวรํ เตสูปสมฺมตีติ ฯ
กาลียกฺขินี 45-49 ตทา สา ยกฺขินี อุทกวารํ ฯเปฯ ยาวชฺชกาลา ทียนฺติเยว ฯ
โกสมฺพี 50-60 อเถโก ภิกขุ ตถาคตํ ฯเปฯ ตโต สมฺมนฺติ เมธคาติ ฯ
จุลฺลกาล 62-67 อเถกา สุสานโคปิก กาลี ฯเปฯ วาโต เสลํว ปพฺพตนฺติ ฯ
เทวทตฺต (1) 70-74 เอกสฺมึ หิ สมเย เทว ฯเปฯ ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารีติ ฯ
สัญชัย 80-89 อนุปฺปนฺเนเยว หิ พุทฺเธ ฯเปฯ ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารีติ ฯ
96-104 โส เอกทิวสํ ปจฺจูสกาเล ฯเปฯ สมฺมาสงฺกปฺปโคจโรติ ฯ
นันท 105-113 สตฺถา หิ ปวตฺติปวรธมฺมจ ฯเปฯ ราโค น สมติวิชฺฌตีติ ฯ
จุนทสูกริก 116-119 โส กิร ปญฺจปณฺณาส ฯเปฯ ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโนติ ฯ
ธมฺมิกอุบาสก 120-123 สาวตฺถิยํ กิร ปญฺจสตา ฯเปฯ ทิสฺวา กมฺมวิสุทฺธิมตฺตโนติ ฯ
เทวทตฺต (2) 124-133 สตฺถริ อนุปิยํ นาม มลฺลา ฯเปฯ ปาปมริเยหิ ทุกฺกรนฺติ ฯ
136-137เทวทตฺโตปิ โข นว มาเส ฯเปฯ ธมฺมปาลชาตกญฺจ กเถสิ ฯ
สุมนาเทวี 142-143 โส โสตาปนฺโนปิ สมาโน ฯเปฯ โน นนฺทติ สุคฺคตึ คโตติ ฯ
เทวสหาย 146-143 สตฺถา สาธุ สาธูติ ฯเปฯ เตน ทสนาย กูฏํ คณฺหีติ ฯ
2 สามาวดี 1-2 อปฺปมาโท อมตํ ปทนฺติ ฯเปฯ เต ตถา กรึสุ ฯ
ธ.ค.-56 เตรจฺฉานคตา นาเมเต ฯเปฯ โต เม ลทฺโธติ เคหํ เนสิ ฯ
17-27 เสฏฺฐิโน อิทญิจิทญฺจ กโร ฯเปฯ โฆสกเสฏฺฐิโน อุปฺปตฺติ ฯ
17-37 รญฺโญ ปน ปญฺจ วาหนา ฯเปฯ อิทํ มาคนฺทิยาย วุตฺถุ ฯ
38-41 อปรา นาม มาตนฺทิยา ฯเปฯ อิทํ มาคนฺทิยาย วตฺถุ ฯ
48-51 อเถกทิวสํ มาคนฺทิยา ฯเปฯ ภูมิ น ปวิสิสฺสามีติ อาห ฯ
56-59 มาคนฺทิยา ยมหํ กโรมิ ฯเปฯ จาเปตฺวา ตเมว ขาทาเปสิ ฯ
61-63 เอวํ วุตฺเต ภิกฺขู สตฺถารํ ฯเปฯ โยคกฺเขมํ อนุตฺตรนฺติ ฯ