เมนู

หลักการตรวจบาลี


1. ตรวจบริบท คือ ส่วนข้างเคียงคำตอบที่ผู้สอบทำไว้ในกระดาษคำตอบ เช่น ความ
สะอาด การเว้นวรรคตอน การทำเครื่องหมาย ความตั้งใจในการตอบดูจากการเขียนและ
อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับคำตอบของผู้ตอบ คือ ถ้าคำตอบส่วนใหญ่ไม่ถูกอยู่ในเกณฑ์เกือบจะตก
แต่ถ้าพิจารณาบริบทดูแล้วเห็นว่าไม่เรียบร้อย ยังไม่สมควรให้ผ่านจะตรวจให้ละเอียดอีกครั้ง
เพื่อเก็บคะแนนให้เป็นตกก็ไม่น่าเกลียดอะไร ฯ ล ฯ
2. ตรวจภูมิ คือ ความรู้ที่ผู้สอบในแต่ละระดับชั้นจะต้องรู้ ภูมิจะสูงหรือต่ำอยู่ที่
ระดับชั้น เช่น ภูมิ ป. ธ. 6 ย่อมต่ำกว่าภูมิ ป.ธ. 7 เป็นต้น ภูมินี้สำคัญมาก สมควรที่ผู้ตรวจ
จะต้องพิถีพิถันละเอียดละออให้มาก เป็นการกลั้นกรองผู้ที่เหมาะสมจะเป็นครูอาจารย์และ
เป็นผู้สืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปในอนาคตส่วนหนึ่งด้วย ฯลฯ
ตรวจภูมินั้น คือ ตรวจหลักต่าง ๆ เช่น หลักการแปลไทยเป็นมคธ หรือ หลักการ
เรียงหลักไวยากรณ์ หลักการเขียนหนังสือ หลักการสะกดการันต์ หลักภาษา เป็นต้น
3. ตรวจเนื้อหา คือ คำตอบที่เป็นตัวหนังสือ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการตรวจ
การสอบได้หรือสอบตกอยู่ที่เนื้อหาคำตอบนี้ ถ้าผู้สอบทำได้เหมือนแบบหรือตรวจโดยละเอียด
แล้วไม่พบข้อผิดพลาดมากเกินไป อยู่ในเกณฑ์ทีจะให้ผ่านได้ ก็ต้องให้ผ่านแม้ว่าบางรายจะ
มีบริบทไม่ดี แต่เนื้อหาใช้ได้ ก็ต้องยกผลประโยชน์ให้ผู้สอบนั้นไป
การตรวจเนื้อหาผู้ตรวจจะต้องเคร่งครัดในหลักเกณฑ์วางใจเป็นอุเบกขา มีความ
ยุติธรรม เห็นแก่พระศาสนามากกว่าเห็นแก่บุคคล ไม่มักง่าย ไม่สุกเอาเผากิน ไม่ฆ่าผู้สอบ
เพราะความรีบร้อนหรือสะเพร่า ไม่ช่วยผู้สอบด้วยอ้างว่ามีเมตตาธรรมสูง เพราะการกระ
ทำเช่นนั้นมิใช่เมตตาที่แท้จริง เป็นการขาดความรับผิดชอบ เป็นการทำลายวงการบาลีและ
พระศาสนาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คือจะทำให้ได้พระเปรียญที่มีภูมิปัญญาไม่สมกับระดับชั้น
มาเป็นครูอาจารย์ หรือบริหารกิจการพระศาสนาต่อไป เป็นเรื่องที่พึงตระหนัก ขอให้เป็น
ไปตามหลักกรรม คือทำได้ก็สอบได้ ทำไม่ได้หรือทำไม่ดีก็สอบตก พึงตระหนักคุณภาพมาก
กว่าปริมาณ
"ปริมาณแม้มีมาก แต่ไม่สามารถ ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จไม่ได้ ส่วนปริมาณที่มีน้อย
แต่มีความสามารถก็อาจยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ เหมือนหมู่คนโง่ไม่อาจทำการใหญ่ให้สำเร็จ
ได้ ส่วนบัณฑิตแม้เพียงคนเดียว ก็อาจทำการใหญ่ให้สำเร็จได้"