เมนู

ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับบาลีสนามหลวง


การทำบัญชีบาลีสนามหลวง

1. บัญชี ศ. 2 และ ศ. 3 (บัญชีรายชื่อผู้ขอเข้าสอบความรู้ประโยคบาลี
และบัญชีเรียกชื่อนักเรียนเข้าสอบความรู้ประโยคบาลี) ให้เจ้าสำนักเรียนส่วนกลางและ
เจ้าคณะจังหวัดส่วนภูมิภาคขอเบิกได้ที่กรมการศาสนาโดยประมาณให้พอใช้แต่ละปี อย่าใช้
กระดาษอื่น เช่น กระดาษฟุลสแก๊ป เป็นต้น
2. สำนักเรียนส่วนกลาง และสำนักเรียนคณะจังหวัดเฉพาะที่สอบส่วนกลาง
ไม่ต้องทำบัญชี ศ. 3 ส่งไป
3. สำนักเรียนคณะจังหวัดที่สอบในส่วนภูมิภาค ต้องทำบัญชี ศ. 3 เอง
ถ้าสอบรวมกันหลายจังหวัด ให้จังหวัดที่เป็นสนามสอบเรียงเลขที่ไว้หน้า ส่วนจังหวัดที่
มาสมทบสอบเรียงเลขที่ต่อไป และการทำบัญชี ศ. 3 นั้น ต้องเรียงชื่อนักเรียนให้ตรงกับ
บัญชี ศ. 2 ที่ได้ส่งไปยังเจ้าคณะภาคแล้วนั้น ห้ามส่งนักเรียนที่มิได้สมัครขอเข้าสอบ
แทนที่นักเรียนที่ขาดสอบ และจะส่งเพิ่มเติมอีกไม่ได้
4. การทำบัญชี ศ. 2 และ ศ. 3 ให้พิมพ์แผ่นละหน้าเดียว
5. กำหนดส่งบัญชี ศ. 2 สำนักเรียนส่วนกลาง ส่งถึงกรมการศาสนา หรือ
กองบาลีสนามหลวงโดยตรงก่อนสิ้นเดือนอ้าย คณะจังหวัดส่วนภูมิภาคควรส่งถึงเจ้า
คณะภาคก่อนกลางเดือนอ้าย และเจ้าคณะภาครวบรวมส่งถึงกรมการศาสนาหรือกองบาลี
สนามหลวงก่อนสิ้นเดือนอ้ายเช่นเดียวกัน
6. เจ้าสำนักเรียนจะต้องตรวจดูหลักฐานของนักเรียนผู้สมัครของเข้าสอบ
คือประกาศนียบัตร หรือบัญชีรายชื่อผู้สอบประโยคบาลีได้ ที่ทางสนามหลวงแผนกบาลี
ส่งมาถวายให้เก็บไว้เป็นหลักฐานทุกปีแล้วนั้น การทำบัญชี ศ. 2 ในช่องประโยคเดิม ต้อง
ลงหมายเลขประกาศนียบัตร และ พ.ศ. ที่สอบได้ของนักเรียนให้แน่ชัดทุกรูป ตัวอย่าง
เช่น นักเรียนสอบประโยค 1-2 ได้ พ.ศ. 2524 วัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์ สมัครขอเข้า
สอบความรู้บาลีประโยค ป.ธ. 3 ต้องลงบัญชี ดังนี้
ประโยคเดิม
ชั้น เลขที่ใบประกาศนียบัตร วัด สำนักเรียน
ฯลฯ จังหวัด พ.ศ. หรือคณะจังหวัด หมายเหตุ
น.ธ. ตรี 1101/2523 ราชบุรณะฯ วัดราชบุรณะฯ
ป.ธ. 1 2 535/2524 กลาง คณะจังหวัดบุรีรัมย์

7. การทำบัญชี ศ. 2 ในช่องประโยคเดิม สำนักเรียนส่วนกลางให้ใช้คำว่า
"สำนักเรียน" เช่น สำนักเรียนวัดชนะสงคราม คณะจังหวัดส่วนภูมิภาคให้ใช้คำว่า "คณะ
จังหวัด" เช่น คณะจังหวัดสระบุรี
การรับสมัครนักเรียนขอเข้าสอบความรู้บาลีสนามหลวง
1. สำนักเรียนต้องให้ผู้สมัครนำหลักฐานมาแสดง และต้องตรวจชื่อ ฉายา และ
นามสกุล เป็นต้น ให้ถูกต้อง อย่ายอมให้นักเรียนเปลี่ยนชื่อและนามสกุลตามอำเภทใจ
2. อย่าส่งนักเรียนเข้าสอบ โดยเจ้าตัวมิได้มาสมัครสอบด้วยตนเอง เพราะอาจ
จะซ้ำกับสำนักเรียนอื่น เมื่อปรากฏว่ามีชื่อสมัครซ้ำกัน 2 แห่ง สนามหลวงจะตักสิทธิ์ใน
การสอบเป็นการเสียประโยชน์ของนักเรียนรูปนั้นโดยใช่เหตุ
การส่งรายชื่อกรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวง
1. สำนักเรียนส่วนกลาง สำนักเรียนคณะจังหวัดในส่วนภูมิภาค ต้องส่งรายชื่อ
กรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวงไปพร้อมกับบัญชี ศ. 2 โดยทำบัญชีตามแบบฟอร์ม
ที่เคยส่งไปทุกปี (ซึ่งพิมพ์แบบฟอร์มไว้ในหนังสือ "เรื่องสอบบาลี" แล้ว) และหมายเหตุ
ให้แน่ชัดว่าได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการแล้วหรือยัง การส่งรายชื่อกรรมการตรวจ ฯ ต้อง
ส่งทุกปี ทั้งนี้เพราะต้องการกรรมการที่มีความพร้อมและสถานภาพเป็นปัจจุบัน
2. กรรมการที่กรมการศาสนานิมนต์นั้น เป็นการเฉพาะตัว จะให้ใครไปตรวจแทน
ไม่ได้ ถ้ารูปใดลาสิกขา หรืออาพาธ ก็เป็นอันขาดไป และให้เจ้าสำนักเรียนส่งใบนิมนต์
นั้นคืนให้กรมการศาสนาทราบโดยด่วน
3. คุณวุฒิของกรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวงนั้น กำหนดไว้ตั้งแต่
ประโยค ป.ธ. 6 ขึ้นไป ถ้ามีวุฒิเป็นเปรียญธรรม 5 ประโยค ต้องเป็นพระราชาคณะ
หรือเป็นพระครูสัญญาบัตร
การจำกัดสิทธินักเรียน
ผู้สมัครขอเข้าสอบความรู้ประโยคบาลีสนามหลวง
1. ผู้สมัครขอเข้าสอบความรู้บาลีประโยค 1-2 ในบัญชี ศ.2 ต้องแจ้ง
ประโยคนักธรรมด้วย ถ้ากำลังสอบนักธรรมชั้นตรี ให้ลงไว้ในช่องหมายเหตุว่า "กำลัง
สอบ น.ธ. ตรี"
2. ผู้สมัครของเข้าสอบความรู้บาลีประโยค ป.ธ. 3 ให้ลงประโยคเดิม คือ ประโยค
1-2 และประโยคนักธรรมด้วย เพราะยังไม่ได้ประกาศยกเลิก
หรือเป็นพระครูสัญญาบัตร

3. ผู้สมัครขอเข้าสอบความรู้บาลีประโยค ป.ธ. 4 ให้ลงประโยคเดิม คือ ป.ธ.
3 และประโยคนักธรรมชั้นโท หรือเอกด้วย ถ้ากำลังสอบนักธรรมชั้นโท ให้ลงในช่อง
หมายเหตุว่า "กำลังสอบ น.ธ.โท"
4. ถ้าผู้สมัครขอเข้าสอบความรู้บาลีประโยค ป.ธ. 7 ต้องลงประโยคเดิม คือ
ป.ธ. 6 และประโยคนักธรรมชั้นเอกด้วย ถ้ากำลังสอบนักธรรมชั้นเอก ให้ลงในช่องหมาย
เหตุว่า "กำลังสอบ น.ธ. เอก"
5. สำหรับที่ลงหมายเหตุไว้ว่า "กำลังสอบ น.ธ. ตรี, โท, เอก" ตามข้อ 1, 2,
3 นั้น เมื่อทราบผลการสอบนักธรรมแล้ว ให้เจ้าสำนักเรียนหรือเจ้าคณะจังหวัด แล้วแต่
กรณี รีบแจ้งผลการสอบนักธรรมให้แม่กองบาลีสนามหลวงทราบโดยด่วน มิฉะนั้น แม้
สอบบาลีได้ก็เป็นอันหมดสิทธิ์ในการสอบได้นั้น
6. ผู้สมัครขอเข้าสอบความรู้บาลีประโยค ป.ธ. 5, 6, 8, 9 ให้ลงแต่ประโยค
เดิมเท่านั้น ไม่ต้องลงประโยคนักธรรม เพราะเปรียญแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ
1) เปรียญตรี คือ ประโยค ป.ธ. 3 ผู้ขอเข้าสอบต้องสอบนักธรรมชั้นตรี
ได้จึงมีสิทธิ์สอบ แม้ประโยค 1-2 ก็เช่นเดียวกัน
2) เปรียญโท คือ ประโยค ป.ธ. 4-5-6 ต้องสอบนักธรรมชั้นโทได้
จึงมีสิทธิ์สอบ
3) เปรียญเอก คือ ประโยค ป.ธ. 7-8-9 ต้องสอบนักธรรมชั้นเอกได้
จึงมีสิทธิ์สอบ ฉะนั้นผู้ขาเข้าสอบประโยค ป.ธ. 5, 6 ไม่ต้องลงประโยค
นักธรรม เพราะสอบนักธรรมชั้นโทได้แล้ว แม้ประโยค ป.ธ. 8, 9
ก็เช่นเดียวกัน เพราะสอบนักธรรมชั้นเอกได้แล้ว
การแสดงหนังสือสุทธิ
บัดนี้ ได้มีประกาศแม่กองบาลีสนามหลวง ให้นักเรียนมีหนังสือสุทธิไปแสดงใน
เวลาสอบบาลีสนามหลวงดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล ต้อง
ถ่ายเอกสารนำมาแสดงต่อคณะกรรมการผู้ควบคุมการสอบด้วย
การส่งบัญชีเรียกชื่อและบัญชีใบรับตอบของนักเรียน
1. เมื่อสอบเสร็จแล้ว ให้เจ้าสำนักสถานที่สอบส่งบัญชีเรียกชื่อของนักเรียน
(ศ. 3) ไปให้ครบทุกชั้น นักเรียนรูปใดขาดสอบในวันใด และในบัญชีรับใบตอบ ก็ต้อง
ปฏิบัติเช่นเดียวกัน และให้ใ่ส่ซองพิเศษไป โดยเขียนหน้าซองว่า บัญชี ศ. 3 ของสถานที่
สอบวัดไหน จังหวัดอะไร
2. บัญชีรับใบตอบของนักเรียนทุกชั้น ให้ใส่ไปในซองที่กองบาลีฯ จัดให้ หรือ

ใส่ซองพิเศษต่างหากโดยเขียนหน้าซองว่า บัญชีรับใบตองของสถานที่สอบ วัดไหน
จังหวัดอะไร
กระดาษใบตอบของนักเรียน
เนื่องจากมีประกาศของแม่กองธรรมและแม่กองบาลีสนามหลวง เรื่องมารยาทของ
นักเรียนในขณะสอบธรรม-บาลีสนามหลวง ข้อ 5 ว่า "ห้ามเขียนข้อความอื่นจากคำ
ตอบปัญหาลงในกระดาษสอบ"
ฉะนั้น ควรประกาศให้นักเรียนผู้เข้าสอบประโยคบาลี
สนามหลวงทราบว่า ในการสอบบาลีสนามหลวงถือเคร่งครัดมาก ห้ามนักเรียนเขียนขื่อ
และเลขประจำโต๊ะลงในกระดาษสอบ เพราะมีบัตรประจำวันอยู่แล้ว แม้เขียนลอกปัญหา
ลงในกระดาษสอบก็ผิดมารยาทด้วย ให้เขียนเฉพาะคำตอบปัญหาเท่านั้น กระดาษสอบ
ต้องเป็นกระดาษฟุลสแก๊ปธรรมดา ห้ามใช้กระดาษที่เป็นแบบฟอร์มของสถาบันศึกษา
ต่าง ๆ มาเขียนสอบ กรรมการปรับเป็นตกได้
การแจ้งผลการสอบบาลีสนามหลวง
เจ้าสำนักเรียนส่วนกลางและเจ้าคณะจังหวัด ควรไปรับแจ้งผลการสอบบาลีสนาม
หลวง ณ สำนักงานเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง หลังจากประกาศประโยคสูงแล้ว
โดยจะไปรับเอง หรือจะส่งผู้แทนไปรับก็ได้ และเก็บบัญชีรายชื่อผู้สอบประโยคบาลีได้ไว้
เป็นหลักฐานของนักเรียนให้ครบทุกปี
สำหรับการประกาศผลการสอบบาลี ทางสนามหลวงจะอ่านเฉพาะรายชื่อผู้สอบ
ได้เปรียญเอกเท่านั้น ส่วนประโยคอื่น ๆ ทางสนามหลวงจะปิดประกาศรายชื่อผู้สอบได้ไว้
สำหรับผู้ประสงค์จะดู
การขอแก้ชื่อ ฉายา นามสกุล เป็นต้น
การขอแก้ชื่อ ฉายา และนามสกุลเป็นต้น ที่คลาดเคลื่อนไม่ตรงกันหลักฐาน
จะขอแก้ได้หลังจากวันประกาศผลสอบเป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยเจ้าสำนักเรียนมีหนังสือ
ขอแก้ไปทางแม่กองบาลีสนามหลวง เพราะทางสนามหลวงแผนกบาลีจะพิมพ์บัญชี
ศ. 4 (บัญชีรายชื่อภิกษุสามเณรผู้สอบประโยคบาลีได้) ตามบัญชีรายชื่อผู้สอบประโยค
บาลีได้ที่ได้แจ้งมายังสำนักเรียนต่าง ๆ แล้ว ทั้งได้มีหมายเหตุท้ายบัญชีว่า "ถ้าชื่อ ฉายา
นามสกุล เป็นต้น ของผู้ใดคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับหลักฐานให้มีหนังสือขอแก้ภายในวัน
ที่........เดือน...................พ.ศ...................เพื่อออกประกาศนียบัตรให้ถูกต้องต่อไป" หลังจาก

พ้นกำหนด 1 เดือนแล้ว จะขอแก้ชื่อ ฉายา และนามสกุล เป็นต้น ทางสำนักเรียนหรือ
เจ้าคณะจังหวัดต้องมีหนังสือขอแก้ไขไปยังกรมการศาสนา พร้อมกับถ่ายเอกสารในอนุญาต
เปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลเป็นต้นไปด้วย
การออกใบรับรองเปรียญ
เมื่อประกาศผลการสอบประจำปีแล้ว ถ้าผู้สอบได้รูปใดต้องการประกาศนียบัตร
โดยเร็ว แต่ประกาศนียบัตรนั้น จะออกให้ได้ประมาณวันวิสาขบูชา ในกรณีเช่นนี้ แม่กอง
บาลีสนามหลวงจะออกใบรับรองวุฒิเปรียญให้แทน โดยเจ้าสำนักเรียนหรือเจ้าคณะจังหวัด
มีหนังสือถึงแม่กองบาลีสนามหลวง ขอใบรับรองวุฒิของนักเรียนของตนพร้อมกับมีรูปถ่าย
ของผู้ขอใบรับรองขนาด 2 นิ้ว คูณ 3 นิ้ว จำนวน 2 รูป มีลายเซ็นของเจ้าสำนักเรียน
หรือเจ้าคณะจังหวัดแล้วแต่กรณี รับรองว่าเป็นรูปของผู้สอบได้จริง และผู้ขอต้องนำไปยื่น
ด้วยตนเองจะให้ผู้อื่นยื่นแทนไม่ได้
หนังสือรับรองนี้ จะออกให้ใช้แทนได้ไม่เกินวันวิสาขบูชาเท่านั้น ต่อไปถือว่า
ประกาศนียบัตรได้ออกแล้ว ไม่จำเป็นต้องออกใบรับรองต่อไป
การย้ายสนามสอบ
จังหวัดใดมีความประสงค์จะย้ายสนามสอบ ให้เจ้าคณะจังหวัดทำเรื่องขอย้าย
สนามสอบจากที่เดิมไปยังที่แห่งใหม่ โดยแสดงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องย้าย เสนอ
ไปยังเจ้าคณะภาค เพื่อขอความเห็นชอบและเจ้าคณะภาคนำเสนอแม่กองบาลีสนามหลวง
เพื่อขออนุมัติก่อนสิ้นเดือนอ้าย
การเก็บวิชาที่สอบผ่านแล้วเป็นเวลา 2 ปี
นำร่องชั้นประโยค 1-2 ก่อน
สนามหลวงแผนกบาลี โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ได้อนุมัติให้มีการ
เก็บในวิชาที่สอบผ่านแล้วเป็นเวลา 2 ปี นำร่องชั้นประโยค 1-2 ก่อน โดยอาศัย
เค้าโครง รูปแบบ หลักสูตร และวิชาการเช่นเดิม เปลี่ยนแต่การเก็บวิชาที่สอบได้เท่านั้น
เมื่อสอบผ่านวิชาใดแล้ว สนามหลวงแผนกบาลีจะเก็บวิชานั้นไว้ในปีต่อไป (ภายใน 2 ปี)
ไม่ต้องสอบในวิชานั้นอีก คงสอบเฉพาะในวิชาที่ยังสอบไม่ผ่านเท่านั้น

ข้อกำหนดในการเก็บวิชาที่สอบผ่าน
1. ในเบื้องแรก ผู้สอบต้องสอบให้ครบทั้ง 2 วิชา ทำปัญหาข้อสอบครบถ้วน
ตั้งแต่ต้น จนจบในทุกวิชา
2. ต้องสอบได้ผ่านเกณฑ์ที่กองบาลีสนามหลวงกำหนดไว้ จึงจะเก็บวิชานั้น
3. ในวิชาที่สอบได้นั้นจะเก็บไว้ 2 ปี เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้เป็นอันยกเลิก
ทั้งหมด
4. เมื่อสอบได้ผ่านเกณฑ์ที่กองบาลีสนามหลวงกำหนดครบทั้ง 2 วิชา ภาย
ในเวลาที่ กำหนดนั้นจึงจะถือว่าสอบผ่านชั้นประโยค 1-2
เกณฑ์ในการเก็บวิชา
1. นักเรียนต้องสอบทั้ง 2 วิชา
2. ในทั้ง 2 วิชานั้น ถ้าสอบได้ตามเกณฑ์ที่กองบาลีสนามหลวงกำหนดไว้ใน
วิชาใด จะเก็บวิชานั้นไว้ในปีต่อไป สอบเฉพาะวิชาที่ยังสอบไม่ผ่าน ต้องลงบัญชีตามแบบ
ฟอร์มของกองบาลีสนามหลวง โดยให้พิมพ์สำนักศาสนศึกษาอำเภอเมองไว้ก่อนตามลำดับ
เขตปกครองในคณะจึงหวัดนั้น ทั้งนี้ เพื่อต้องการทราบสถิติสำนักศาสนศึกษาที่เปิดสอน
ในคณะจังหวัดนั้น ๆ
3. ในวิชาที่สอบผ่านแล้ว จะเก็บไว้เป็นเวลา 2 ปี นับจากปีที่มีสิทธิ์สำหรับ
"เก็บ" เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีแล้ว ให้เป็นอันยกเลิกทั้งหดม กล่าวคือ จะต้องเริ่มต้นใหม่
เช่น ในชั้นประโยค 1-2 นักเรียนสอบผ่านวิชาแปลมคธเป็นไทย ในปี พ.ศ. 254"
สนามหลวงแผนกบาลี จะเก็บวิชาแปลมคธเป็นไทยนั้น ไว้เป็นเวลา 2 ปี ในปีถัดไป
คือ ปี พ.ศ. 2542-2543 คงสอบเฉพาะวิชาบาลีไวยากรณ์เท่านั้น ถ้าสอบวิชาบาลี
ไวยากรณ์ผ่านภายใน 2 ปีนี้ ถือว่าเป็นอันสอบได้ประโยค 1-2 แต่ถ้าเมื่อพ้นจาก
กำหนด 2 ปีนี้แล้ว ยังสอบไม่ผ่านวิชาบาลีไวยากรณ์ ให้ถือเป็นอันยกเลิกทั้งหมด
กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2544 ต้องเริ่มต้นสอบใหม่ทั้ง 2 วิชา ฯ
สนามหลวงแผนกบาลี
7 มีนาคม 2541

ปฏิทินการศึกษา
ประจำปี พ.ศ. 2545
การสอบครั้งที่ 1 (ป.ธ. 6-7-8-9)
วันแรกตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
(ปีนี้ตรงกับวันที่ 15-18 มกราคม)
การสอบครั้งที่ 2 (ประโยค 1-2 ป.ธ. 3-4-5)
วันแรกตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
(ปีนี้ตรงกับวันที่ 7-8-9 กุมภาพันธ์)
การตรวจข้อสอบ
ตรงกับวันแรก 2 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี
(ปีนี้ตรงกับวันที่ 28 กุมภาพันธ์)

หลักการตรวจบาลีสนามหลวง


1. ตรวจบริบท

คือ ส่วนข้างเคียงคำตอบที่ผู้สอนทำไว้ในกระดาษคำตอบ เช่น
ความสะอาด การเว้นวรรคตอน การทำเครื่องหมายความตั้งใจในการตอบ ดูจากการเขียน
และอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับคำตอบของผู้ตอบ คือ ถ้าคำตอบส่วนใหญ่ไม่ถูก อยู่ในเกณฑ์เกือบ
จะตก แต่ถ้าพิจารณาบริบทดูแล้วเห็นว่าไม่เรียบร้อย ยังไม่สมควรให้ผ่าน จะตรวจให้ละเอียด
อีกครั้งเพื่อเก็บคะแนน หรือจะให้เป็นตกก็ไม่น่าเกลียดอะไร ฯลฯ
2. ตรวจภูมิ คือ ความรู้ที่ผู้สอบในแต่ละระดับชั้นจะต้องรู้ ภูมิจะสูงหรือต่ำอยู่
ที่ระดับชั้น เช่น ภูมิ ป.ธ. 6 ย่อมต่ำกว่าภูมิ ป.ธ. 7 ภูมินี้สำคัญมาก สมควรที่ผู้ตรวจจะ
ต้องพิถีพิถัน ละเอียดละออให้มาก เป็นการกลั่นกรองผู้ที่เหมาะสมจะเป็นครูอาจารย์และเป็น
ผู้สืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปในอนาคตส่วนหนึ่งด้วย ฯลฯ
ตรวจภูมินั้น คือ ตรวจหลักต่าง ๆ เช่น หลักการแปลไทยเป็นมคธ หรือ หลักการ
เรียงหลักไวยากรณ์ หลักการเขียนหนังสือ หลักการสะกดการันต์ หลักภาษา เป็นต้น
3 ตรวจเนื้อหา คือ คำตอบที่เป็นตัวหนังสือ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการตรวจ
การสอบได้หรือสอบตก อยู่ที่เนื้อหาคำตอบนี้ ถ้าผู้สอบทำได้เหมือนแบบหรือตรวจโดย
ละเอียดแล้วไม่พบข้อผิดพลาดมากเกินไป อยู่ในเกณฑ์ที่จะให้ผ่านได้ก็ต้องให้ผ่าน แม้ว่า
บางรายจะมีบริบทไม่ดี แต่เนื้อหาใช้ได้ก็ต้องยกผลประโยชน์ให้ผู้สอบนั้นไป
การตรวจเนื้อหาผู้ตรวจจะต้องเคร่งครัดในหลักเกณพ์วางใจเป็นอุเบกขา มีความ
ยุติธรรมเห็นแก่พระศาสนามากว่าเห็นแก่บุคคล ไม่มักง่าย ไม่สุกเอาเผากิน ไม่ฆ่าผู้สอบ
เพราะความรีบร้อนหรือสะเพร่า ไม่ช่วยผู้สอบด้วยอ้างว่ามีเมตตาธรรมสูง เพราะการกระทำ
เช่นนั้นมิใช่เมตตา ที่แท้จริง เป็นการขาดความรับผิดชอบเป็นการทำลายวงการบาลีและพระ
ศาสนาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คือจะทำให้ได้พระเปรียญที่มีภูมิปัญญาไม่สมกับระดับชั้นมาเป็น
ครูอาจารย์ หรือบริหารกิจการพระศาสนาต่อไป เป็นเรื่องที่พึงตระหนัก ขอให้เป็นไปตาม
หลักกรรม คือทำได้ก็สอบได้ ทำไม่ได้หรือทำไม่ดีก็สอบตก พึงตระหนักคุณภาพมากกว่า
ปริมาณ