เมนู

อรรถกถาและอรรถกถาจารย์


โดย รังษี สุทนต์1
บทนำ
คัมภีร์ที่บันทึกหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่พระสาวกทั้งหลายได้รวบรวม
ทรงจำสั่งสอนสืบต่อ คือ พระไตรปิฎก และได้อธิบายขยายความพระไตรปิฎก คือ
อรรถกถา ต่อมาพระสาวกทั้งหลายเห็นว่า " ข้อความที่อรรถกถาอธิบายพระไตรปิฎกนั้น
ยังอธิบายไม่บริบูรณ์สิ้นเชิงและในอรรถกถาเองก็มีเนื้อหาบางตอนที่ยังเข้าใจยาก " จึงแต่ง
หนังสืออธิบายพระไตรปิฎกส่วนที่ยังไม่บริบูรณ์และอธิบายอรรถกถาส่วนที่เข้าใจยาก เรียกว่า
ฎีกา
พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ของพระสาวกทั้งหลาย
ของพระโพธิสัตว์ ของฤาษี และของเทวดา อรรถกถาเป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำอธิบาย
พระไตรปิฎก ฎีกาเป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำอธิบายพระไตรปิฎกและอรรถกถา สรุปแล้วคัมภีร์
ที่สำคัญมี 3 ระดับ คือ
1. พระไตรปิฎก2
2. อรรถกถา3
3. ฎีกา4
แต่เดิมในสมัยพุทธกาล พระไตรปิฎกและอรรถกถามิได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
พระสาวกทั้งหลายได้ทรงจำนำสืบต่อกันมาด้วยวิธีมุขปาฐะ5

1 ป.ธ. 9, พธ.ม. ( พระพุทธศาสนา ), หัวหน้าฝ่ายวางแผนและวิชาการ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย.
2 พระไตรปิฎก แบ่งจัดพิมพ์เป็น พระวินัยปิฎก 8 เล่ม พระสุตตันตปิฎก 25 เล่ม พระอภิธรรมปิฎก 12 เล่ม.
3 อรรถกถา หนังสือที่อธิบายพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬา ฯ จัดพิมพ์เร็จแล้วจำนวน 47 เล่ม ( ขาดเฉพาะ ธมฺมปทฏฺฐกถา )
ฉบับมหามกุฏ ฯ จัดพิมพ์ครบทั้งหมด และยังมี ธมฺมปทฏฺฐกถา 8 ภาค ฉบับที่ใช่เรียนด้วย.
4 ฎีกา ที่อธิบายอรรถกถา ฉบับมหาจุฬาจัดพิมพ์ครบทั้งหมด จำนวน 23 เล่ม ( เฉพาะที่อธิบายสายพระไตรปิฎก ).
5 มุขปาฐะ หรือมุขปาฐ คือ คำที่ออกจากปาก, ข้อความที่ท่องจำกันมาด้วยปากเปล่า ไม่ได้เขียนไว้, ต่อปากกันมา, พระ
ธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย, 2543), หน้า 235.

เมื่อสังคายนาครั้งที่ 1 เสร็จเรียบร้อย พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย ได้มอบหมาย
พระวินัยปิฎกให้ท่านพระอุบาลีรับไปบอกสั่งสอนนิสิตของตนให้ศึกษาทรงจำสืบต่อ
มอบหมายพระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายให้ท่านพระอานนท์ รับไปบอกนิสิตของตน
ให้ศึกษาทรงจำสืบต่อ
มอบหมายพระสุตตันตปิฎกมัชฌิมนิกายให้นิสิตของท่านพระสารีบุตรรับไปศึกษา
ทรงจำสืบต่อ
มอบหมายพระสุตตันตปิฎกอังคุตตรนิกายให้ท่านพระอนุรุทธะรับไปบอกให้นิสิต
ของตนศึกษาทรงจำสืบต่อ6
พระสาวกเหล่านั้นซึ่งรับหน้าที่ทรงจำพระธรรมวินัย จะละทิ้งส่วนที่เป็นภาระหน้าที่
ของตนไปศึกษาเล่าเรียนส่วนอื่นไม่ได้ นอกจากจะมีความสามารถศึกษาได้7
อรรถกถาคืออะไร
ในส่วนพระไตรปิฎกนั้น เพียงยกขึ้นกล่าวเท่านั้นจะไม่ขอขยายความ ผู้เขียนมุ่งกล่าว
เฉพาะเรื่องอรรถกถาและอรรถกถาจารย์ อรรถกถา8 คือถ้อยคำที่ท่านใช้อธิบายความหมาย
หมายถึงหนังสือภาษาบาลีที่อธิบายพระไตรปิฎก อธิบายถ้อยคำที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
ซึ่งพระสาวกทั้งหลายได้รวบรวมรักษากันต่อมา
เมื่อพูดถึงอรรถกถา ผู้ศึกษาภาษาลาลีในปัจจุบัน ก็เข้าใจว่าหมายถึงคัมภีร์ที่พระ
อรรถกถาจารย์ทั้งหลายแต่งอธิบายความในภายหลัง ก็จะขอพูดถึงอรรถกถาที่รู้จักกันคือ

6 ตํ ( วินยปิฎกํ ) อายสฺมนฺตํ อุปาลิตฺเถรํ ปฏิจฺฉาเปสุํ " อาวุโส อิมํ ตุยฺหํ นิสฺสิตเก วาเจหี" ติ ... (ตํ ทีฆนิกายํ)
อายสฺมนฺตํ อานนฺทติเถรํ ปฏิจฺฉาเปสุํ " อาวุโส อิมํ ตุยฺหํ นิสฺสิตเก วาเจหี " ติ ... มชฺฌิมนิกายํ สงฺคายิตฺวา
ธมฺมเสนาปติสารีปุตฺตตฺเถรสฺส นิสฺสิตเก ปฏิจฺฉาเปสุํ " อิมํ ตุเมฺห ปริหรถา " ติ ... สํยุตฺตนิกายํ สงฺคายิตฺวา
มหากสฺสปตฺเถรํ ปฏิจฺฉาเปสุํ " ภนฺเต อิมํ ตุมฺหากํ นิสฺสิตเก วาเจถา " ติ ... องฺคุตฺตรนิกายํ สงฺคายิตฺวา อนุรุทฺธตฺเถรํ
ปฏิจฺฉาเปสุํ " อิมํ ตุมฺหากํ นิสฺสิตเก วาเจถา " ติ (สารตฺถ. ฏีกา 1/75-78 ฉบับมหาจุฬา.).
7 ปุพฺเพ กิรมหาเถรา ปริยตฺติอนนฺตรธานาย เอเกกสฺส คณสฺส ทีฆนิกายาทิเอเกกธมฺมโกฏฺฐาสํ นิยฺยาเตนฺตา " ตุเมฺห
เอตํ ปาฬิโต จ อฏฺฐกถาโต จ ปริหรถ, สกฺโกนฺตา อุตฺตริปิ อุคฺคณฺหถา " ติ เอวํ สกลธมฺมํ คนฺถวเสน นิยฺยาเตนฺติ
(วิมติ. ฏีกา 2/27 ฉบับมหาจุฬา).
8 อรรถกถา บาลีเขียน อฏฺฐกถา วิเคราะห์ว่า อตฺโถ กถิยติ เอตายาติ อตฺถกถา, สา เอว อฏฺฐกถา ตฺถการสฺส
ฏฺฐการํ กตฺวา (สารตถ. ฏีกา 1/25, ที.สี.ฏีกา 1/18, สํ.ส.ฏีกา 1/6/17, องฺ.เอกก.ฏีกา 1/6/23 ฉบับมหาจุฬา) แปลว่า
คำอธิบาย อันท่านย่อมกล่าว ด้วยวาจานั่น เหตุนั้น วาจานั้น ชื่อว่า อัฏฐกถา (คำอธิบาย) แปลง ฏฺฐอักษร เป็นตฺถอักษร
จึงได้รูปเป็น อฏฺฐกถา.