เมนู

ตติยวรรค


อัทธานปัญหา ที่ 1


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นธรณี มีพระราชโองการถามพระนาคเสนว่า ภนฺเต
นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ธรรมสิ่งไรเล่าเป็นมูลแห่งกาลอันเป็นอดีต ธรรมสิ่งใด
เล่าเป็นมูลแห่งกาลอันเป็นปัจจุบัน ธรรมสิ่งไรเล่าเป็นมูลแห่งกาลอันเป็นอนาคต นิมนต์วิสัชนา
ให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะมหาบพิตรพระราชสมภาร ธรรมที่จะ
เป็นมูลแห่งกาลทั้ง 3 คือ อดีต อนาคต ปัจจุบันนั้น ได้แก่พระปฏิจจสมุปปาทธรรมคือบทว่า
อวิชฺชาปจฺจยา นี้ ตลอดจนจบ นี่แหละเป็นมูลแห่งกาลทั้ง 3 นั้น ปุริมโกฏิ ที่สุดเบื้องต้นแห่งกาล
ทั้ง 3 จะได้ปรากฏหามิได้ ก็ที่สุดเบื้องต้นแห่งมูลแห่งกาลทั้ง 3 ไม่ปรากฏนั้น ได้แก่เราท่าน
บังเกิดมานี้ก็อาศัยตัวอวิชชาตกแต่งด้วยกัน จะหาที่สุดเดิมนั้นว่า เป็นรูป เป็นกาย เป็นจิต
เป็นใจนี้แต่เมื่อไรมาก็ไม่ปรากฏ ถึงสมเด็จพระศรีสุคตทศพลญาณเจ้า เมื่อเปล่งพระญาณ
สอดส่องไปดูเวไนยสรรพสัตว์ทั้งปวง ว่าที่สุดเดิมเมื่อแรกจะตั้งเป็นรูปเป็นนามมานี้แต่ครั้งไรมา
จะเล็งเห็นที่สุดเดิมหามิได้ มาทรงทราบเข้าพระทัยแต่ว่า อิเม สพฺพสตฺตา บรรดาสัตว์ทั้งหลาย
เหล่านี้ คือเทพามนุษย์และสรรพสัตว์อื่น ๆ นอกกว่านั้นก็ดี บังเกิดมานี้อาศัยอวิชชาบังปัญญา
ไว้มิให้เห็นทางพระนิพพาน ที่จะหาเดิมว่าตั้งรูปตั้งนามตั้งสังขารมาช้านานเท่าใดนั้นก็สุดสำคัญ
ที่พระพุทธญาณจะกำหนดได้ เหตุดังนั้นพระองค์จึงตรัสพระธรรมเทศนาสอนไว้ว่า ที่สุดต้นเดิม
แห่งสังขารนานกว่านานเหลือที่จะพระญาณจะกำหนดได้ ขอบพิตรพระราชสมภารพึงสันนิฐาน
เข้าพระทัยด้วยประการดังนี้
ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์ ได้ทรงฟังพระนาคเสนถวายวิสัชนาว่า อวิชฺชา
ปจฺจยา
เป็นกาล 3 คืออดีต อนาคต ปัจจุบัน ปัจจุบันจะมีนั้นก็อาศัยแก่อวิชา เมื่อทรงทราบ
ด้วยพระปรีชาญาณดังนี้แล้วก็สาธุการแก่พระนาคเสนว่าพระผู้เป็นเจ้าพยากรณ์แก้ปัญหานี้สมควร
ในกาลบัดนี้
อัทธานปัญหา คำรบ 1 จบเท่านี้