เมนู

ปุพพปโยคกถา


แลปุพพปโยคนั้น ว่าด้วยบุพพกุศลการแห่งท่านทั้ง 2 คือ พระเจ้ามิลินท์กับพระนาค-
เสนได้สั่งสอนอบรมมาแต่ปางก่อน ด้วยวาระพระบาลีว่า อตีเต กสฺสปสฺส ภควโต สาสเน วิชิตาวี
นาม อโหสิ
เมื่อในอดีตภพล่วงลับไป ในศาสนาสมเด็จพระกัสสปทศพลญาณเจ้านั้น ว่ายัง
มีบรมกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามชื่อว่าวิชิตาวีบรมกษัตราธิราช พระบาทครองราชสม
บัติเป็นใหญ่ในสาคลราชธานี สงเคราะห์แก่อาณาประชากรชาวพระนคร ด้วยสังคหวัตถุ 4 ประการ
ทรงพระราชศรัทธา สร้างพระอารามสร้างวิหารลงแทบใกล้ฝั่งคงคาแล้ว ก็อาราธนานิมนต์พระ
มหาเถระอันรู้พระไตรปิฎกมาให้อยู่ที่วิหาร แล้วพระราชทานจตุปัจจัยทั้ง 4 มีพระราชาศรัทธา
ปรนนิบัติตราบเท่าสิ้นพระชนม์ ก็ได้ขึ้นไปบังเกิดในชั้นดาวดึงสาได้เป็นสมเด็จอมรินทร์ปิ่นพิภพ
เจ้าฟ้าสุราลัย แวดล้อมแห่ห้อมไปด้วยแสนสุรางค์นางฟ้า เป็นมโหฬาริกภาพ ด้วยอานิสงส์ที่
พระองค์สร้างวิหารและได้ถวายจตุปัจจัยทั้ง 4 และอารามที่พระเจ้าวิชิตาวีสร้างไว้ ถึงพระองค์
สิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ดี ก็มีพระภิกษุอาศัยอยู่เป็นอันมากเหมือนแต่ก่อน
ครั้งนั้นยังมีพระภิกษุองค์หนึ่งทรงศีลสังวร เวลารุ่งเช้าจับสัมมัชชนีคันยาวได้ก็คมนาการ
ไปสู่สถานลานพระเจดีย์ ทำอัญชลีกรนมัสการแล้ว ก็ระลึกถึงพระพุทธคุณพลางกวาดลานพระ
เจดีย์พลาง ด้วยจิตศรัทธาเลื่อมใส จึงกวาดหยากเยื่อนั้นมามั่วสุมไว้เป็นกอง ๆ แล้วก็ร้องเรียก
สามเณรน้อยศิษย์ใช้สอยของอาตมา ให้ขนเอาหยากเยื่อไปทิ้งเสียจากกลายพระเจดีย์นอกบริเวณ
ส่วนว่าสามเณรนั้นพานจะอยู่ข้างเกียจคร้าน พระอาจารย์เรียกถึง 3 ครั้งก็นิ่งเฉยอยู่ ทำไม่ได้ยิน
พระภิกษุชีต้นจึงตีด้วยคันกราดแล้วด่าว่า ทุพฺพโจ ดูกรสามเณรใจกระด้างว่ายากสอนยาก
ส่วนว่าสามเณรนั้นก็ร้องไห้วิ่งไปด้วยเร็วพลัน ขนเอาหยากเยื่อนั้นไปเทเสียด้วยกลัว
อาจารย์ แล้วก็ตั้งปณิธานความปรารถนาว่าข้าพเจ้าได้ขนหยากเยื่อมาให้พ้นลานพระเจดีย์ ขอ
ผลบุญนี้แม้นข้าพเจ้าจะไปเกิดในภพใด ๆ ก็ดี ขอให้ข้าพเจ้านี้มีมเหศักดาเดช อันแกล้วกล้า
มชฺฌนฺติสุริโย วิย มีครุวนาดุจแสงพระสุริโยทัยเมื่อเพลาตะวันเที่ยง ทุก ๆ ชาติไปกว่าจะ
สำเร็จแก่พระนิพพาน ตั้งปณิธานความปรารถนาฉะนี้แล้วก็ลงไปสรงน้ำชำระกาย ดำผุดดำว่าย
ค่อยสบายใจ แลเห็นลูกระลอกในท้องชลาลัยนี้มากมายนักหนา ก็ยินดีปรีดาจะใคร่มีปัญญา
เฉลียวฉลาดไม่รู้สุดรู้สิ้น ดุจชลาสินธุธาราระลอกนั้น สามเณรก็อภิวันท์ขึ้นเหนือเกศ ตั้งปณิธาน
ปรารถนาอีกว่า เดชะที่ข้าพเจ้ากระทำตามคำพระชีต้น ท่านจะสงเคราะห์อาตมาให้ได้กองกุศล
จึงบังคับอาตมา เดชะผลานิสงส์นี้ข้าพเจ้ายังไม่ได้พระนิพพานตราบใด ยตฺถ กตฺถจิ อุปฺปชฺ-
ชามิ
ข้าพเจ้าจะเกิดไปในชาติใด ๆ ขอให้ข้าพเจ้านี้มีปัญญาดุจหนึ่งว่ากระแสดลูกคลื่นลูกระลอก

ในกระแสชลาโลก อขยปฏิภาโณ ขออย่าให้ปัญญารู้สิ้นรู้สุดเลย ตราบเท่าข้าพเจ้าได้สำเร็จ
แก่พระนิพพานเถิด
โสปิ ภิกฺขุ ฝ่ายว่าพระภิกษุที่เป็นอาจารย์เอากราดมาพาดไว้ยังที่ แล้วก็คมนาการ
ไปสู่ตีนท่าเพื่อจะสรงซึ่งอุทกัง ได้ฟังสามเณรตั้งปณิธานความปรารถนาดังนั้น จึงมาดำริว่า
ความปรารถนาของสามเณรนี้จะสำเร็จดังใจคิด อธิกิจฺจํ เหตุอาศัยอานุภาพพระพุทธคุณ
ควรที่อาตมาจะปรารถนาบ้าง ดำริแล้วก็ยิ้มแย้มด้วยวิตกว่าสามเณรนี้ได้ปรารถนา ทั้งนี้ก็อาศัย
แก่อาตมาใช้ พระภิกษุนั้นจึงยอกรนมัสการไหว้พระพุทะคุณแล้ว จึงตั้งปณิธานความปรารถนา
ว่าข้าพเจ้ายังมิได้สำเร็จแก่พระนิพพานตราบใด จะไปเกิดในภพอันใด ๆ ก็ดี สามเณรนี้ขอให้มี
ปัญญาเหมือนอุทกธาราระลอกในท้องนที ข้าพเจ้านี้จะขอให้มีปัญญาหาที่สุดมิได้ แม้สามเณร
นี้ไปปะกนข้าพเจ้าในภพใด ๆ จะไต่ถามซึ่งอรรถปัญหา ถึงว่าจะมีอรรถอันลึกซึ้งคัมภีรภาพ
ยากที่จะแก้ไขประการใดก็ดี ขอให้ข้าพเจ้าแก้ซึ่งปัญหาของสามเณรนี้ให้จงได้ ยถา มีครุวนา
ฉันใด วุฑฺฒิมนฺโต ปุริโส วิย ประดุจบุรุษอันมีปัญญาอันเจริญสางด้วยด้ายอันยุ่งให้รู้ว่าข้างปลาย
สางด้ายยุ่งออกได้ อย่าให้รู้จนในทางที่จะแก้ปัญหานี้เป็นอันขาด ด้วยอานิสงส์ที่ข้าพเจ้ากวาด
และใช้สามเณรนี้ ให้เอาหยากเยื่อมาทิ้งเทเสียให้พ้นลานพระเจดีย์ในกาลครั้งนี้
เต อุโภปิ แม้นอันว่าพระภิกษุกับสามเณรทั้งสองนั้น สํสรนฺตา ท่องเที่ยวตายเกิดอยู่
ในมนุษย์และสวรรค์ประมาณสิ้นพุทธันดรหนึ่ง ล่วงมาก็พอถึงพระพุทธุบาทศาสนาสมเด็จ
พระบรมนายกโลกนาถเจ้าของเรา เมื่อจะเข้าสู่พระนิพพานล่วงลับไป จึงตรัสพยากรณ์นิเทศ
ทำนายไว้ว่า เมื่อศาสนาตถาคตล่วงไปได้ 50 ปี จะมีพระภิกษุองค์หนึ่งมีนามชื่อว่าพระนาคเสน
จะมาแก้ปัญหาของพระยามิลินท์ จะแก้ไขซึ่งธรรมวินัยพระไตรปิฎกที่ตถาคตตรัสเทศนาไว้ โดย
สุขุมคัมภีรภาพลึกล้ำฟั่นเฝืออยู่นั้น ให้กระจ่างแจ้งแจ่มใจรุ่งเรืองตั้งมั่นไปให้ถ้วน 5,000 พระ
วรรษาและเนื้อความนี้ก็วิสัชนามาแล้ว
ครั้นศาสนาสมเด็จพระบรมครูเจ้าล่วงมาตามพุทธทำนาย ฝ่ายเจ้าสามเณรนั้น ก็ได้มา
เป็นบรมกษัตริย์ทรงพระนามบัญญัติ ชื่อว่า สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชาชาวสาคลราชธานี
ปณฺฑิโต วิยตฺโต มีปัญญาเฉลียดฉลาด เมธาวี เป็นนักปราชญ์ ปฏิพโล องอาจที่จะ
พิจารณาเหตุการณ์ อันเป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน รู้สารพัดในพิธีที่จะประกอบการทั้งปวงและรู้
ซึ่งศิลปศาสตร์ 18 ประการ และรู้ทั้งพระพุทธวจนะด้วยเป็น 19 ประการ
แลศิลปศาสตร์ 18 ประการนั้น เสยฺยถีทํ คือสิ่งไรบ้าง อ้อ ศิลปศาสตร์ที่เป็นของ
สำหรับโลก 18 ประการนั้น สูติ คือรู้จักภาษาเสียงสัตว์มีนกร้องเป็นต้นว่าร้ายดี ประการ 1
สมฺมติ รู้จักกำเนิดเขาและไม้เป็นต้นว่าชื่อนั้น ๆ ประการ 1 สงฺขฺยา รู้คัมภีร์เลขประการ 1 โยโค

รู้การที่จะเป็นช่างประการ 1 นีติ รู้ที่จะเป็นครูสั่งสอนท้าวพระยาทั้งปวงประการ 1 วิเสสิกา
รู้คัมภีร์จะเลี้ยงฝูงชนให้เป็นสิริมงคลประการ 1 คณิกา รู้นับนักขัตกฤษ์ รู้ตำราดาวประการ 1
คนฺธพฺพา รู้เพลงขับประการ 1 ติกิจฺฉา รู้คัมภรีแพทย์ประการ 1 ธนุพฺเพธา รู้ศิลปศาสตร์
ยิงธนูประการ 1 ปุราณา* รู้จักว่าที่นี้เป็นที่บ้านเก่าเมืองเก่าประการ 1 อิติหาสา รู้
จักว่าทิศนั้นกินข้าวเป็นมงคลประการ 1 โชติสา รู้จักคัมภีร์พยากรณ์ รู้ทายว่าคนปีเดือนวันคืน
อย่างนั้นจะดีแล้วร้ายประาร 1 มายา รู้ว่าเป็นแก้วนี่มิใช่แก้วประการ 1 เหตุ คือรู้จักเหตุรู้จัก
ผลจะบังเกิดประการ 1 วนฺตา รู้จักที่จะเลี้ยงโคกระบือ รู้การที่จะหว่านพืชลงในนาไร่ให้เกิด
ผลประการ 1 ยุทฺธสา รู้คัมภีร์พิชัยสงครามประการ 1 ปาสณฺฑา รู้คัมภีร์โลกโวหารประการ 1
ฉนฺทสา รู้จักคัมภีร์ผูกบทกลอนพกาพย์โคลงประการ 1 สิริเป็นศิลปศาสตร์ 18 ประการดังนี้
วาทีทรุาสทฺโท อนึ่งเล่าสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีถ้อยคำสนทนาไพเราะดีนักหนา
ืลือชาปรากฏไปในชนบทประเทศทุกถิ่นฐาน ทุปฺปสโห หาผู้จะต้านทานมิได้ อคฺคมกฺขายติ
ปรากฏว่าเป็นใหญ่กว่า เดียรถีย์นิครนถ์ชนทั้งปวงบรรดาอยู่ในชมพูทวีป หาผู้จะเสมอในทางที่
จะแก้จะถามปัญหามิได้มี
อนึ่ง พระองค์ประกอบไปด้วยองค์ 3 ประการ คือ ประกอบไปด้วยปรีชาญาณประการ 1
ประกอบด้วยกำลังรี้พลพหลโยธานั้นประการ 1 ประกอบด้วยโภไคศวริยสมบัติเป็นอันมากที่จะ
คณนานับมิได้ประการ 1 เอกสฺมึ กาเล อยู่มาในกาลวันหนึ่ง พระองค์มีจตุรงคเสนาพยุหะ
แวดล้อมแห่ห้อมซ้ายขวา นครมฺหา นิกฺขมิตฺวา เสด็จพระราชลิลาออกภายนอกพระนคร เพื่อจะ
ประพาสภายนอกราชธานีให้เป็นที่สบายพระราชหฤทัย จึงให้หยุดพลนิกรจตุรงคเสนาลงไว้
เสด็จประทับอยู่ในที่แห่งหนึ่งอันเป็นที่สบายทอดพระเนตรดูท้องฟ้าเวหาฤกษ์บน เห็นพระสุริยน
ผ่องแผ้วเป็นฤกษ์ดีอยู่แล้ว จึงมีพระราชโองการตรัสประภาษ เรียกมหาอำมาตย์เข้ามาที่หน้าฉาน
มีพระราชโองการตรัสว่า ดูรานะอำมาตย์ เราจะด่วนยาตราเข้าไปในราชธานีทำไมเล่า เราจะ
สำราญเล่นให้เย็นสบาย ท่านทั้งหลายจงพินิจพิศดู ใครจะหยั่งรู้เห็นบ้างว่า สมณพราหมณา-
จารย์ พระอรหันตาขีณาสพผู้ใดที่จะรู้ธรรมปรีชาญาณ อันสามารถอาจจะตัดเสียซึ่งข้อกังขา
ของเราได้ในกาลบัดนี้
เอวํ วุตฺเต เมื่อมีพระโองการถามดังนี้ ปญฺจสตา โยนกา ข้าราชการชาวโยนกทั้ง
ห้าร้อยจึงทูลว่า อตฺถิ มหาราช ข้าแด่พระองค์ผู้ประเสริฐ มีอยู่แต่ครูทั้ง 6 คือ ปูรณกัสสป
คน 1 มักขลิโคสาลคน 1 นิคัณฐนาฏบุตรคน 1 สัญชัยเวลัฏฐบุตรคน 1 อชิตเกสกัมพลคน 1
ปกุทธกัจจายนคน 1 เป็น 6 คนด้วยกัน ครูทั้ง 6 นั้นไม่ชั่ว ล้วนแต่ตัวดีนักหนา เป็นครูบา-

* เกินเข้ามา ควรรวมอยู่ในอิติหาสาซึ่งหมายถึงประวัติศาสตร์และโบราณคดี

อาจารย์ ประกอบด้วยปรีชาญาณ พร้อมด้วยบริวารยศปรากฏเป็นที่สักการบูชาแห่งมหาชน คน
ทั้งหลายย่อมนับถือระบือลือชา ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงเห็นว่าจะแก้ไขข้อกังขาของพระองค์ได้
ขอเชิญเสด็จไปยังสำนักครูโน้นเถิด
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ได้ทรฟังข้าราชการกราบทูลดังนั้นก้นทรงราชรถมีข้าราชการห้าร้อย
และรี้พลแวดล้อมเสด็จมายังสำนักครูปูรณกัสสป ปรารภที่จะถามปัญหา ถ้อยทีถ้อยสนทนา
เป็นสุนทรกถา ควรที่จะชื่นชมโสมนัสแล้ว พระเจ้ามิลินท์จึงถามซึ่งปัญหาว่า ภนฺเต กสฺสป ข้า
แต่พระผู้เป็นเจ้ากัสสป สิ่งไรที่เลี้ยงไว้ซึ่งสัตว์โลก
ปูรณกัสสปจึงแก้ว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร พระองค์ผู้ประ-
เสริฐ ปฐวี โลกํ ปาเลติ แผ่นปถพีนี้แหละเลี้ยงไว้ซึ่งสัตว์โลก
พระเจ้ามิลินท์จึงมีพระราชโองการตรัสซักว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าสิว่า
มหาปถพีเลี้ยงสัตว์โลก ทรงไว้รับไว้ซึ่งสัตว์โลก แล้วก็เหตุไฉนจึงให้สัตว์โลกไปตกนรกอเวจี
มหาปถพีจึงไม่รับไว้ไม่ทรงไว้ นี้เป็นเหตุไฉน.
ตุณฺหีภูโต ว ส่วนว่าท่านครูปูรณกัสสปก็จนใจไม่รู้ที่จะแก้ไข ก็นั่งนิ่งอยู่ในสถานที่นั้น
ส่วนสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ก็เสด็จไปยังสำนักมักขลิโคสาล จึงมีพระราชโองการถามว่า
ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มนุษย์บุรุษสตรีหญิงชายโลกนี้ จะกระทำกุศลและอกุศล จะมี
ผลจะมีประโยชน์หรือหามิได้
ครูมักขลิโคสาลถวายพระพรว่า ข้าแต่บพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ผลบุญผลกรรม
ไม่มี ท่านที่เป็นกษัตริย์ขัตติยมหาศาลทั้งปวง ครั้นถึงแก่ทิวงคตล่วงไปแล้ว จะเกิดมาในโลกเล่า
เคยเป็นกษัตริย์ก็ได้เป็นกษัตริย์อยู่อย่างนั้น ที่เป็นพราหมณ์ก็ดี เป็นเศรษฐีคหบดี พ่อค้าชาวนา
พ่อครัว คนอนาถา คนจัณฑาลก็ดี ตายจากโลกนี้จะเกิดมาอีกเล่า เคยเป็นอย่างไรก็เกิดเป็นอย่างนั้น
เหตุฉะนี้ จึงว่าผลบุญผลกรรมที่กระทำชั่ว กระทำดีนั้น ไม่มีสิ้นทั้งนั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์จึงมีพระราชโองการตรัสโต้ว่า พระผู้เป็นเจ้าสิว่าผลกรรมไม่มี
ใครเคยเป็นเศรษฐีคหบดีและเพศต่าง ๆ นั้น ครั้นตายไปเกิดมาใหม่เล่า ผู้นั้นก็เป็นตามเพศ
เก่าของตน ถ้ากระนั้นก็คนโทษที่ต้องตัดตีนสินมือนั้น ไปชาติหน้าก็จะเกิดเป็นคนโทษต้องตัด
ตีนสินมืออีกหรือ
เอวํ มหาราช ครูมักขลิโคสาลก็ถวายพระพรว่า กระนั้นแหละซิพระราชสมภาร คน
โทษที่ตัดตีนสินมือนี้ไปชาติหน้าก็เกิดสำหรับที่เขาจะฆ่าตี ต้องตัดตีนสินมือไปทุกชาติ ๆ จะได้รู้
สิ้นหามิได้

พระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์จึงมีพระราชโองการตรัสว่า น สทฺทหามิ โยมจะได้เชื่อหามิได้
ครูมักขลิโคสาลก็จนใจไม่รู้ที่จะอุปมาอุปไมยให้เห็นได้ด้วยปัญญาเป็นมิจฉาทิฐิลัทธิเดียรถีย์
อถ โข มิลินฺทรญฺโญ เอตทโหสิ ลกฺขณญฺญา วต โภ โทสินา รตฺติ กินฺนุ อุชุสมณํ วา
พฺราหฺมณํ วา สงฺฆํ วา คณํ วา คณาจริยํ อรหนฺตํ สมฺสมาสมฺพุทฺธํ ปฏิชานมาโน อุปสงฺกเมยฺยามิ
โยมยา สทฺยึ สมุลฺลปิตุํ กงฺขา ปฏิวิโนเทตุนฺติ. เอตํ ปริวิตกฺกํ
ความวิตกที่จะถามปัญหานั้นก็
บังเกิดในพระราชสันดาน พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมิบาลเมื่อถามมักขลิโคสาลแล้ว เสด็จกลับไปสู่
พระราชวัง วันหนึ่งนั้นท้าวเธอวิตกไปในพระราชสันดานว่า วต ดังเรามาวิตกแท้จริง ด้วยเพลา
ราตรีวันนี้ห่อนจะมีมลทิน ดวงศศิธรส่องท้องฟ้าไม่มีราคี อาตมามานี้ควรที่จะเที่ยวไปถามซึ่ง
อรรถปัญหา ครูบาอาจารย์ท่านเจ้าคณะและหมู่สงฆ์สมณะผู้ใด อันรู้ธรรมวินัย ได้เล่าเรียน
ธรรมวินัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสัมมาสัมพุทธบพิตรเจ้าประทานไว้ ใครหนออาจจะ
ต้านต่อพูดจาปรากศรัยกับด้วยอาตมา ใครผู้ใดหนอจะตัดเสียซึ่งข้อกังขา อันมีในสันดานของ
อาตมาได้ อุปสงฺกเมยฺยามิ อาตมาก็จะเข้าไปใกล้ไต่ถามซึ่งอรรถปัญหาแก่บุคคลผู้นั้น ครั้น
ทรงพระวิตกดำริฉะนี้แล้ว จึงมีพระราชโองการตรัสแก่หมู่เสวกามาตย์โยนกข้าหลวง อันหมอบ
เฝ้าเดียรดาษอยู่เบื้องซ้ายเบื้องขวาเหมือนดังทรงพระดำริฉะนี้
ส่วนว่าเสวกามาตย์ราชโยนกทั้งปวง จึงกราบทูลสนองพระราชโองการว่า มหาราช
ข้าแต่สมเด็จพระบรมบพิตรผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ จะได้ทราบเกล้าทราบกระหม่อมหามิได้
กราบทูลแล้วก็พากันก็นิ่งอยู่ จะได้มีผู้ใดทูลอีกหามิได้
สาคลนครํ ทฺวาทสวสฺสานิ สุญฺญํ จำเดิมแต่สมัยนั้นมา กรุงสาคลนครไม่มี
สมณพราหมณาจารย์ ว่างเปล่ามาถึง 12 ปี ด้วยเหตุว่าพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตราธิบดี รู้
ว่าสมณพราหมณาจารย์ผู้ใดมีปัญญาก็ไปสู่มาหาถามอรรถปัญหาสมณพราหมณ์ สมพราหมณ์
ที่มีปัญญาน้อยมิอาจจะแก้ได้ ก็แตกกันไปจากสาคลนคร สาคลนครไม่มีสมณะ ว่างเปล่าทีเดียว
ที่ไปสู่บ้านอื่นเมืองอื่นก็ดี ที่ไปสู่ป่าหิมพานต์นั้นก็มี เยภุยฺเยน โดยมากครามครัน ดังจะรู้
มาว่าครั้งนั้นพระอรหันต์ที่อยู่ในป่าหิมพานต์นั้นอาศัยอยู่ที่ภูเขา ณ ถ้ำรักขิตเลณะนั้นโสด ประ
มาณถึง 100 โกฏิโดยคณนา
เอโก เถโร ยังมีพระมหาเถระองค์หนึ่งชื่อว่าพระอัสสคุตเป็นอรหันต์ผู้เฒ่า พระผู้เป็น
เจ้ารู้เหตุที่พระเจ้ามิลินท์กระทำนี้ด้วยทิพโสตทรงทราบสิ้นสุด เห็นว่าพระศาสนาจะเสื่อมทรุด
เศร้าหมอง พระอัสสคุตเถระพระผู้เป็นเจ้า จึงอปโลกน์บอกกล่าวชาวพระอรหันต์ ให้ประชุม
พร้อมกันที่เขารักขิตเลณะ พระอัสสคุตเถระจึงมีวาจาประกาศพระอรหันต์ทั้ง 100 โกฏิ ว่า

พระอรหันต์ผู้ใดโสดอาจสามารถจะแก้ปัญหาของพระยามิลินท์ได้ และจะให้พระยามิลินท์เลื่อม
ใสด้วยสติปัญญา กู้พระศาสนาขึ้นไว้ จะมีพระอรหันต์องค์ใดรับอาสาได้บ้าง พระอัสสคุตว่าถึง
สองสามครั้งดังนั้น พระอรหันต์ทั้งหลายก็นิ่งไป ไม่มีพระอรหันต์ผู้ใดที่จะรับวาจา อถโข อายสฺมา
อสฺสคุตฺโต
พระอัสสคุตจึงว่า อย่ากระนั้นเลย ท่านทั้งปวงเอ่ย ยังมีเทวบุตรผู้หนึ่งเสวยซึ่ง
ทิพยสมบัติอยู่ในเกตุมดีพิมาน ด้านข้างปัจฉิมทิศตะวันตกตรงกันกับเวชยันต์วิมานเมือง
ดาวดึงสา และชื่อของเทวบุตรนั้นชื่อว่ามหาเสนเทวบุตร และมหาเสนเทพบุตรองค์นี้มีสติปัญญา
อาจสามารถที่จะแก้ปัญหาของพระยามิลินท์ได้ ท่านทั้งปวงอย่าอยู่ช้า เราจงชวนกันขึ้นไป
อาราธนามหาเสนเทวบุตร ให้จุติลงมาเกิดในมนุษย์โลกนี้เถิด พระอัสสคุตเถระผู้ประเสริฐก็พา
พระอรหันต์ 100 โกฏิออกจากยอดสิงขรยุคันธรบรรพต ปรากฏในพิภพแห่งสมเด็จอมรินทรา-
ธิราช อันเป็นใหญ่ในดาวดึงสาสวรรค์นั้น
สกฺโก เทวานมินฺโท ส่วนว่าสมเด็จอมรินทร์อันเป็นปิ่นฝูงอมรคณา อทฺทส โข
ทอดพระเนตรเห็นพระอรหันต์อันมาแต่ไกล พระอัสสคุตผู้มีอายุกว่าพระอรหันต์อยู่ในที่ใด
สมเด็จพระอมรินทร์ปิ่นสุราลัยก็เข้าไปสู่สถานที่นั้น อภิวันท์นอบนบเคารพด้วยจิตศรัทธา จึงมี
เทวบัญชาสนทนาปราศรัยไปกับพระอัสสคุตสังฆเถระผู้เฒ่าว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าพระผู้
เป็นเจ้าพาพระภิกษุสงฆ์มานี้มากถึง 100 โกฏิ เพื่อประโยชน์จะปรารภนาวัตถุสิ่งไร จึงมานี่
มากมายนักหนา
พระอัสสคุตตอบเทวบัญชาว่า มหาราช ดูกรมหาบพิตร อาตมภาพมาด้วยกิจธุระใน
พระพุทธศาสนา ยังมีบรมกษัตราธิราชองค์หนึ่งทรงพระนามชื่อว่าพระเจ้ามิลินท์ เป็นปิ่นทวีป
เกาะชมพูรู้เจนจบศิลปศาสตร์ฉลาดที่จะสนทนาพาทีมีพระเกียรติระบือลือชาหาผู้ใดที่จะต่อต้าน
มิได้ ออกไปไถ่ถามปัญหาแก่พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ด้วยติตถิยวาทวาจาเดียรถีย์
บัดนี้เบียดเบียนภิกษุสงฆ์มิให้สบาย ขอถวายพระพร
อถโข สกฺโก เทวานมินฺโท อันดับนั้นสมเด็จอมรินทราธิราชจึงถามพระอัสสคุตว่า
พระยามิลินท์ที่จุติไปแต่เทวโลกนี้หรือพระผู้เป็นเจ้า
พระอัสสคุตก็ถวายพระพรว่า เอวํ มหาราช ดูกรมหาบพิตร คือพระยามิลินท์องค์
นี้แหละ
สมเด็จอมรินทร์จึงมีเทวบัญชาว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมนี้ก็เห็นแต่มหาเสน
เทวบุตรอันอยู่ในวิมานเกตุมดีนั้น ปฏิพโล อาจจะสั่งสนทนาแก้กังขาของพระยามิลินท์ได้
โยมจะไปช่วยว่าวิงวอนอาราธนามหาเสนเทวบุตร ให้จุติจากวิมานไปเกิดในมนุษย์โลกนี้ให้จงได้

ตรัสเท่านั้นแล้วสมเด็จท้าวโกสีย์เทวราช ก็ทรงเทวลีลาศโดยประเทศอากาศนำหน้าสงฆ์ตรง
เข้าสู่ประตูเกตุมดีวิมาน คมนาการเข้าไปถึงสำนักมหาเสนเทวบุตรผู้ปรีชา อาลิงฺคิตฺวา สมเด็จ
อมรินทร์เจ้าฟ้าก็สวมกอดมหาเสนเทวบุตรเข้าแล้ว จึงมีเทวบัญชาตรัสว่า มาริส ดูกรท่านผู้
นิรทุกข์พ่อเอ่ย บัดนี้พระภิกษุสงฆ์ขึ้นมาแต่ทวีปชมพูมนุษยโลก เพื่อจะอ้อนวอนให้เจ้าจุติไป
บังเกิดในทวีปชมพู เจ้าจงเอ็นดูจุติลงไปในกาลนี้
ฝ่ายว่ามหาเสนเทวบุตรผู้ประกอบด้วยปรีชา จึงว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เห็นจะ
ไม่ได้ ด้วยไปบังเกิดในมนุษย์นี้ต้องประกอบกรรมการงานที่จะเลี้ยงชีวิต ต้องกระทำการอันเป็น
ทุจริตวุ่นวาย ข้าพระพุทธเจ้านี้เหนื่อยหน่ายนักหนา มีความปรารถนาเพื่อจะขึ้นไปเกิดในห้อง
เทวโลกชั้นบน คือชั้นอกนิษฐ์อันเป็นสุขเกษมศานต์ แล้วข้าพระพุทธเจ้าจะเจ้านิพพานเสียที่ชั้น
อกนิษฐ์นั้น
พระอัสสคุตได้ฟังจึงมีเถรวาจาอ้อนวอนว่า มาริส ดูกรท่านผู้นิรทุกข์อันมีแต่ความสุข
เป็นเบื้องหน้า อนุโลกยมานา เมื่ออาตามาภาพทั้งปวงนี้มาพิจารณาดูซึ่งนักปราชญ์อันประกอบ
ด้วยปัญญาปรีชาทั่วทั้งมนุษยโลกกับทั้งเทวโลก น ปสฺสามิ ไม่เห็นใครที่จะองอาจยกย่อง
พระพุทธศาสนา ย่ำยีถ้อยคำพระยามิลินท์เสียได้ ดูกรมหาเสนเทวบุตรเอ๋ย อาตมานี้เห็นอยู่ก็
แต่ท่านผู้เดียวจะเชิดชูพระศาสนา ท่านจงรับคำรับวาจาให้ปฏิญาณที่จะจุติจากวิมานลงไป
บังเกิดในมนุษยโลกเถิด
มหาเสนเทวบุตรผู้ประเสริฐ เมื่อพระอรหันต์ท่านว่ากล่าวอ้อนวอนถึง 2 ครั้ง 3 ครั้งก็
มิอาจจะขัดได้ จึงขอพรพระอรหันต์ว่า ขอให้ข้าพเจ้าเมื่อไปบังเกิดในมนุษย์นั้นอาจสามารถที่จะ
แก้ปัญหาพระยามิลินท์ให้สิ้นสงสัย ทำลายเสียซึ่งถ้อยคำมิให้เป็นเสี้ยนหนามในพระพุทธศาสนา
มหาเสนเทวบุตรขอพรพระอรหันต์ได้แล้ว หฏฺฐตุฏฺโฐ มีมโนน้ำใจนั้นชื่นบาน ก็ถวายซึ่ง
ปฏิญาณแก่พระอรหันต์ว่าจะจุติลงมาเกิดในมนุษยโลกนี้ แล้วก็ดุษณีภาพนิ่งอยู่
ฝ่ายพระอรหันต์ทั้งหลายรู้ว่ามหาเสนเทวบุตรรับปฏิญาณแล้ว ก็อันตรธานจากทิพย-
สถานวิมานฟ้า ลงมาปรากฏในหิมวันตบรรพตสถิตถ้ำรักขิตเลณะ พระอัสสคุตสังเถระผู้เฒ่า
จึงถามสงฆ์ทั้งปวงว่า เมื่อเราให้ประชุมสงฆ์นั้น พระภิกษุรูปใดไม่มาบ้างหรือว่ามาสิ้นด้วยกัน
อญฺญตโร ภิกฺขุ ยังมีพระภิกษุรูปหนึ่งมีนามมิได้ปรากฏในวาระพระบาลี จึงเผดียงบอก
แก่พระอัสสคุตว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มีอยู่องค์หนึ่งคือพระโรหณะผู้มีอายุไปเข้า
ปฐมฌาน อยู่หิมวันตบรรพต กำหนดได้ 7 วันแล้ว จำเราจะใช้ทูตให้ไปนิมนต์มาเถิด
เตน โข ปน สมเยน ส่วนว่าพระโรหณเถระผู้ประเสริฐ รู้น้ำใจพระอรหันต์ว่าสงฆ์ให้


หาด้วยทิพโสต ตํ ขณญฺเญว นิโรธา วุฏฺฐาย ออกจากนิโรธสมาบัติมินานก็อันตรธานหายจาก
หิมวันตบรรพต มาปรากฏขึ้นในรักขิตเลณะ นั่งอยู่ตรงหน้าพระอรหันต์ 100 โกฏิ
พระอรหันต์ 100 โกฏิจึงตั้งกระทู้ซักพระโรหณะว่า ดูกรพระโรหณะ พระศาสนาของ
สมเด็จพระทศพลเจ้าโทรมทรุดร้าวฉานไป ทำไมท่านจึงไม่เอาใจใส่ตามกิจสงฆ์ พระโรหณะก็
สารภาพว่าข้าพเจ้าหาได้เอาใจใส่ไม่
พระอรหันต์ทั้งหลายได้ฟังพระโรหณะสารภาพดังนั้นจึงมีวาจาว่า เราจะลงพรหมทัณฑ์
ให้ท่านกระทำทัณฑกรรมเสีย ด้วยโทษท่านผิดหาได้มากระทำสังฆกรรมไม่ ไม่เอาหูนาตาใส่
พระศาสนา
พระโรหณะจึงมีวาจาว่าท่านทั้งปวงจะลงพรหมทัณฑ์แก่ข้าพเจ้าเป็นประการใดข้าพเจ้า
ก็จะกระทำมิได้ขัด
พระอรหันต์ทั้งหลายจึงแจ้งความว่า ดูกรพระโรหณะยังมีบ้านพราหมณ์ชื่อว่าชังคลคาม
สถิตแทบใกล้ข้างเขาหิมพานต์ พราหมณ์ผู้นั้นเป็นนายบ้านชื่อโสณุตรพราหมณ์ โสณุตรพราหมณ์
นั้นจะมีบุตรคนหนึ่งชื่อนาคเสนกุมาร เราจะลงพรหมทัณฑ์แก่ท่าน ท่านจงไปบิณฑบาตที่บ้าน
เรือนพราหมณ์ทุก ๆ วันโดยนิยมดังนี้ กว่าจะได้ 7 ปี กับ 10 เดือน คิดอ่านเอาเจ้านายนาคเสน
กุมารมาจากเรือนพราหมณ์ พามาบวชเสียได้แล้วกาลใด ท่านก็ผ่องแผ้วพ้นจากอาชญา
โทษพรหมทัณฑ์ในกาลเมื่อนั้น พระโรหณะก็รับคำพระอรหันต์ 100 โกฏิในกาลนั้น
โสปิ เทวปุตฺโต เทวโลกา จวิตฺวา ฝ่ายว่ามหาเสนเทวบุตรก็จุติจากพิภพเทวโลก
ลงมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาของโสณุตรพราหมณ์อันเป็นนายบ้านขังคลคามนั้น อัศจรรย์ 3
ประการก็บันดาลมีในเรือนพราหมณ์คืออาวุธศัสตรามีฝักอันงามสวมใส่ไว้ก็รุ่งเรืองเป็นแสงสว่างไป
ประการหนึ่ง ฝนใช่ฤดูกาลก็ตกลงมา ประการหนึ่ง อากาศก็ฟูมฟองร้องก้องไปมา ในกาล
เมื่อมหาเสนเทวบุตรมาปฏิสนธิในมาตุคัพโภทรมารดานั้น อัศจรรย์ทั้งนี้ด้วยบารมีของมหาเสน
เทวบุตรได้กระทำมา บอกเหตุที่เกิดมานี้จะได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองไปถ้วน
5,000 พระวรรษา
อายสฺมา โรหณตฺเถโร ฝ่ายพระโรหณะผู้มีอายุก็คมนาการมาเที่ยวภิกขาจารที่บ้าน
พราหมณ์จำเพาะสกุลนั้นทุก ๆ วัน ถึง 7 ปีกับ 10 เดือนโดยนิยมดังนี้ มิได้ขาดเลยแต่สักวัน
จะได้ซึ่งอภิวาทกรรมและสามีจิกรรมที่พราหมณ์จะคำนับนบไหว้นี้ไม่มีเลย ได้แต่คำหยาบหยาม
พราหมณ์แช่งด่าเสียดสี กำหนดแต่วันมหาเสนเกิดในครรภ์ นับแต่นั้นมาได้ถึง 7 ปีแล้ว จะได้

จังหันในตระกูลนั้นทัพพีหนึ่งเป็นจังหันเสวย จะได้ยาคูสักกระบวยหนึ่งก็มิได้ แสะโสณุตร-
พราหมณ์จะได้เจรจาปราศรัยด้วยมาตรว่าแต่สักคำหนึ่งก็หามิได้ สตฺตนฺนํ วสฺสานํ อจฺจเยน
ต่อกำหนด 7 ปีสิ้นไปล่วงไป จึงได้ฟังถ้อยคำพราหมณ์นั้นพูดด้วยว่า อติจฺฉถ ภนฺเต ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจงหลีกออกไป นี่แหละพระผู้เป็นเจ้าโรหณะได้ฟังถ้อยคำเท่านี้ก็
ตะพายบาตรเปล่าไปจากสถานที่นั้น พหิกมฺมนฺตา วันหนึ่งโสณุตรพราหมณ์นั้นไปทำงาย
การอยู่นอกบ้าน ครั้นเห็นพระโรหณะเดินมากลางทางจึงถามว่า ดูรานะบรรพชิต ท่านได้สิ่ง
อันใดอันหนึ่งบ้างหรือว่าหามิได้
พระโรหณะจึงบอกว่า เออพราหมณ์ รูปได้หน่อยหนึ่ง
พราหมณ์นั้นใจเป็นมิจฉา ก็ขึ้งโกรธพิโรธนักหนา จึงไปถามคนที่อยู่บ้านว่า วันนี้ท่าน
ใส่บาตรบรรพชิตหรือ เจ้ากูบอกข้าว่าเจ้ากูได้หน่อยหนึ่ง คนทั้งหลายบอกว่าข้าพเจ้าจะได้ให้
วัตถุอันใดอันหนึ่งแก่บรรพชิตนั้นหามิได้ โสณุตรพราหมณ์ได้ฟังดังนั้นก็ขัดใจดูรึบรรพชิตนี้
เจรจามุสา ข้าได้ให้เมื่อไร ข้าขับไปเสียอีก ดูรึสมณะนี้โยโสโป้ปดได้สด ๆ ร้อน ๆ ช่างพูดได้ จะ
เป็นไรมี พรุ่งนี้แหละเจ้ากูเข้ามาจะได้ต่อว่ากัน
เถโรปิ ทุติยมฺปิ ทิวสํ ฝ่ายพระโรหณเถระ ครั้นรุ่งขึ้นเป็นวันคำรบ 2 ก็ครองจีวร
พระกรกุมาบาตร ลีลาศเข้าสู่ชังคลคาม จึงไปยืนอยู่ที่ประตูเรือนพราหมณ์นั้น ส่วนว่า
โสณุตรพราหมณ์ครั้นได้ทัศนาการเห็นจึงมีวาจาถามว่า วานนี้ท่านไม่ได้วัตถุสิ่งใดไปจากสำนัก
ข้าพเจ้า ทำไมจึงบอกว่าได้ เมื่อข้าพเจ้าไม่ได้ให้วัตถุสิ่งไร เออก็เหตุไฉนจึงเจจามุสา

พระโรหณะจึงตอบไปว่า นี่แนะพราหมณ์ แต่รูปอุตส่าห์พยายามมาบิณฑบาตที่ประตู
เรือนของท่านนี้ ก็กำหนดกาลนานประมาณถึง 7 ปีสิ้นไปแล้ว จะเป็นจังหันทัพพีหนึ่ง
โดยต่ำลงมาแต่ข้าวยาคูกระบวยหนึ่ง รูปก็ยังไม่ได้เลย โดยต่ำลงไปคำหนึ่งของท่าน
รูปก็ยังไม่ได้ ท่านเห็นเราเข้าแล้วก็มึนตึบขึงไปไม่ดูแล แต่วานนี้แลท่าานมาเจรจาด้วยเราว่า
อติจฺฉถ ท่านจงหลีกออกไป รูปได้ถ้อยคำของท่านแต่เท่านั้น รูปก็ดีเนื้อดีใจ รูปจึงบอกกับท่าน
และคนอื่นว่ารูปได้ คือได้ซึ่งถ้อยคำของท่านพูดด้วยรูปวานนี้ รูปจะได้เจรจามุสาหามิได้
พฺราหฺมโณ โสมนสฺสปฺปตฺโต พราหมณ์ได้ฟังก็เลื่อมใสด้วยมาคิดเข้าใจว่า น้อยไป
หรือสมณะผู้นี้ได้แต่คำปราศรัยเป็นคำบันไล่ให้หลีกออกไป ยังเสื่อมใสยินดีเป็นนักเป็นหนา
เที่ยวบอกเขาอวดเขาว่าเราได้ เที่ยวเล่าให้เขาฟัง กิญฺจิ โสภณํ ถ้าฉวยได้ข้าวปลาอาหารสิ่งใดที่
ดี ๆ เจ้ากูจะสรรเสริญมากกว่านี้ พราหมณ์คิดแล้วก็ยินดีนักหนา จึงร้องเรียกภรรยาให้เอา
จังหันมาใส่บาตรลงทัพพีหนึ่ง แล้วพราหมณ์ยิ่งโสมนัสปรีดาในอิริยาบถแห่งพระผู้เป็นเจ้า

สำรวมอินทรีย์ ดูนี่น่ารักนักหนา พราหมณ์จึงอาราธนาว่า โยมนี้มีศรัทธาเลื่อมใส ตั้งแต่วันนี้
ไปนิมนต์พระผู้เป็นเจ้ามาฉันทุกวัน ๆ ที่เรือนโยมนี้เถิด ส่วนพระโรหระก็รับนิมนต์ด้วยดุษณี
ภาพนิ่งอยู่ ส่วนพราหมณ์ก็ปูอาสนะนิมนต์ให้นั่งเหนืออาสนะแล้วก็อังคาสด้วยขาทนียะโภชนียะ
อันประณีตบรรจงใส่ลงในบาตร อาราธนาให้ฉัน
ส่วนพระโรหณะนั้น ครั้นฉันแล้วพระผู้เป็นเจ้าก็เอามือจับบาตรไว้ สวดพระพุทธวจนะ
บทใดบทหนึ่ง ให้พราหมณ์ฟังพอควรแก่อัชฌาสัยแล้วก็ลุกไปจากเรือนพราหมณ์ ไปสู่อาราม
ของอาตมาในกาลครั้งนั้น
แต่นี้จะได้วิสัชนาด้วยนาคเสนกุมาแต่แรกลงปฏิสนธิไปเป็นใจความว่า เมื่อมหาเสน
เทวบุตรจุติจากสวรรค์มาบังเกิดในครรภ์ภรรยาพราหมณ์ ฝ่ายภรรยาพราหมณ์นั้นก็เป็น
นางพราหมณี เผ่าพันธุ์พราหมณ์ด้วยกัน ส่วนนางพราหมณีนั้นทรงครรภ์ถ้วน 10 เดือน
แล้วก็คลอดบุตรงามบริสุทธิ์โสภา บิดามารดาจึงให้ชื่อว่านาคเสนกุมาร ครั้นเจ้านาคเสนกุมาร
ค่อยวัฒนาการจำเริญวัยได้ 7 ปี บิดามารดาจึงว่ากับนาคเสนกุมารบุตรของอาตมา ให้ร่ำเรียน
ศิลปศาสตร์นั้นมีกี่ประการ บิดามารดาจึงว่า ดูรานะกุมาร ไตรเพทนั้นมี 3 ประการ และ
วิชาที่อาจารย์บอกนอกคัมภีร์ไตรเพทนั้นเรียกว่าศิลปศาสตร์ นี่แหละมีสำหรับสกุลพราหมณ์
ร่ำเรียนสืบ ๆ กันมา นาคเสนกุมารให้ปฏิญาณว่าจะเรียนเอาให้ได้ ส่วนว่าโสณุตรพราหมณ์ผู้
เป็นบิดา จึงให้เชื้อเชิญพราหมณ์อันเป็นอาจารย์มาที่เรือนแล้ว ก็ให้ทรัพย์ประมาณพันกหาปณะ
เป็นค่าจ้างบอกวิชาของอาจารย์ หวังจะให้บอกซึ่งไตรเพทวิชารการแก่เจ้านาคเสนกุมาร จึง
แต่งที่ไว้ในเรือน ตั้งซึ่งเตียงและตั่งลาดปูไปด้วยบรรจถรณ์เครื่องลาดอันดีในที่ริมฝาเรือน จึงมี
วาจาว่ากับเข้านาคเสนกุมารว่าให้เชื้อเชิญพราหมณาจารย์ขึ้นสังวังธยายไตรเพทให้เจ้านาคเสนนั่งฟัง
พราหมณ์สังวัธยายมนต์ดลคาถาไปตามภาษาข้างไสย ส่วนเจ้านาคเสนฟังครั้งเดียวก็จำได้จบ
ครบทุกประการ ด้วยไวปัญญาสอดปัญญาจักขุเห็นประจักษ์แจ้งไป ตีสุ เวเทสุ ในไตรเพท 3
มิได้ว่างเว้นหลงใหล และไตรเพทนั้นเป็นลักขณะต่างกัน ฟั่นเฝือโดยวิเศษมีประเภทต่างกัน
ด้วยอักขรอักษรอันเป็นแก่นสาร สำหรับสกุลพราหมณ์นับถือมา
อนึ่งเจ้านาคเสนกุมารมีปัญญาสอดส่องไปในคัมภีร์ปทกะ 1 คัมภีร์พยากรณ์ 1 คัมภีร์
โลกายตะ 1 คัมภีร์มหาสุบินลักขณะ 1 อนฺวโย เมาะ อปริหีโน ปัญญาจักขุเห็น
ปรุโปร่งตลอดไปไม่เสื่อมทรุด เห็นไปในศิลปศาสตร์ทั้งสิ้น และคัมภีร์ทั้ง 4 ที่ว่ามานี้ มีคัมภีร์
ิอิติหาสะเป็นคัมภีร์คำรบ 5 คัมภีร์ปทกะนั้นเป็นบทที่จะสวดพิธีเป็นต้น ชื่อว่าปทกะ และ คัม
ภีร์ไวยากรณ์คือคัมภีร์พยากรณ์ ดูฤกษ์และทำนายฤกษ์ปีเดือนวันคืน คัมภีร์โลกายตะนั้น

ว่าด้วยโลกพระอิศวรท้างมหาพรหมท่านสาปไว้ให้เป็นภูเขาและต้นไม้ และน้ำในทะเลให้เค็ม
ด้วยเหตุเดิมอย่างนั้น ๆ จึงได้สาปไว้ให้ชื่อว่าโลกายตะ และคัมภีร์มหาสุบินลักขณะว่าด้วยทำ
นายฝัน และคัมภีร์อิติหาสปัญจมะนั้น ว่าด้วยจะล้างหน้าและจะอาบน้ำ และบริโภคอาหารและ
จะถ่ายอุจจาระปัสสาวะนั้นก็ดี โดยสังขารเป็นอาทิฉะนี้ คือให้นั่งทิศนั้น ๆ ดีเรียกว่า อิติหาสะ
ตกว่าไตรเพทก็ดี ศิลปศาสตร์ก็ดี ที่พราหมณาจารย์อ่านสังวัธยายให้ฟังนั้น เจ้านาคเสนกุมาร
ฟังครั้งเดียวจำได้เห็นตลอดไปด้วยปัญญาจักขุปรุโปร่งเป็นอันดี ราวกะว่าเล่าท่องไว้ได้ 100 ที
1,000 ที จำได้สิ้นครบจบเจน เจ้านาคเสนกุมารจึงมีวาจาถามว่า ข้าแต่บิดา สิกขาสำหรับ
สกุลพราหมณ์สิ้นสุดเท่านี้หรือ หรือว่ายังมีอื่นอีกประการใดเล่า พราหมณ์ผู้เป็นบิดาจึงว่า ดูกร
เจ้าสิกขา สำหรับพราหมณ์มาแต่ก่อนเก่านั้นก็จบเท่านี้
อถ โข นาคเสโน นาม ทารโก อันดับนั้นนาคเสนทารกร่ำเรียนศึกษาแต่สำนัก
พราหมณาจารย์ แล้วก็ให้ทรัพย์ค่าจ้างบอกวิชาแล้ว ก็รับเอาซึ่งกำใบลานอาจารย์ให้ เป็นกำใบ
ลานหนังสือพราหมณ์ สำหรับที่จะได้ดูและอ่านการไตรเพทและศิลปศาสตร์ทุกสิ่งอัน เจ้านาค-
เสนได้กำใบลานหนังสือพราหมณ์นั้นแล้วก็ลีลาศลงจากปราสาทแล้วก็เดินมานั่งอยู่ที่ประตูศาลา
คือประตูโรงที่ในรั้วบ้านของอาตมา ปุพพวาสนาหนหลังมาตักเตือนน้ำใจให้ร้อนรน รำพึงอยู่ที่
ประตูศาลาอันเป็นที่รโหฐานที่สงัดไม่อื้ออึง เวียนไปนั่งรำพึงอยู่ที่นั่นถึง 7 วัน เฝ้าพินิจพิจารณา
ดูไตรเพทศิลปศาสตร์นั้นแต่ต้นจนปลาย ก็เบื่อหน่ายไม่เห็นที่จะเป็นแก่นสาร ก็วิปปฏิสารีเดือด
ร้อนรำคาญใจมิได้เห็นเป็นผลเป็นประโยชน์ จึงว่ากับปากของตนเองว่า โภ ดูกรชาวเรา ศิลป-
ศาสตร์ไตรเพทที่เราร่ำเรียนมา ปลาสานิ เหมือนลอมฟาง ตุจฺฉานิ เห็นเปล่าไม่เป็นแก่น
เป็นสาร เมื่อเจ้านาคเสนกุมารรำพึงอยู่ในที่รโหฐานดังนี้
อายสฺมา โรหโณ พระโรหณเถระผู้มีอายุนั่งอยู่ ณ วัตตนิยเสนาสนะ รู้วาระน้ำจิตของ
เจ้านาคเสนกุมารจะยินดีมาในพระบวรพุทธศาสนา ปตฺตจีวรมาทาย พระผู้เป็นเจ้าลุก
จากอาสนะมุ่งสบงทรงจีวรกรจับบาตร ก็อันตรธรหายจากวัตตนิยเสนาสนะด้วยกำลังฌาน
ปาตุรโหสิ เสด็จมาปรากฏที่ชังคลคามอันเป็นบ้านของพราหมณ์นั้น
ฝ่ายเจ้านาคเสนกุมารสถิตอยู่ที่ประตูศาลา ได้ทัศนาการเห็นพระโรหณเถรเจ้าก็มีจิต
หรรษา จะใคร่ถามหาธรรมที่เป็นแก่นสาร จึงคมนาการมาสู่สำนักมีวาจาถามว่า มุณฺฑ มาริส
ข้าแต่ท่านผู้มีศีรษะโล้นปราศจากทุกข์ภัย เป็นไฉนท่านจึงนุ่งผ้ากาสาวะอันย้อมด้วยน้ำฝาด พระ
โรหณะจึงบอกว่า อาตมากระทำฉะนี้เรียกว่าเป็นบรรพชิต เจ้านาคเสนจึงถามว่า บรรพชิต ๆนี้
แปลว่าอย่างไร พระโรหณะจึงแก้ไขว่า เรียกว่าบรรพชิตนี้โสดเหตุปราศจากบาป เจ้านาคเสน
กุมารจึงถามพระโรหณะว่าท่านรู้ศิลปศาสตร์อยู่หรือ พระโรหณะจึงบอกว่าอาตมารู้อยู่ ศิลป-

ศาสตร์ของเรานี้อุดมล้ำเลิศกว่าศิลปศาสตร์อื่น ๆ อันมีในโลก เจ้าจะเรียนหรือ เจ้านาคเสนจึงว่า
ข้าพเจ้าจะเรียนแล แต่ทว่า จะถามปัญหาท่านก่อน ท่านจะแก้ได้หรือ พระโรหณะจึงมีวาจาว่า
ท่านจะถามปัญหาก็ถามเถิด อาตมาอาจจะแก้ไม่เป็นเหมือนคนทั้งหลาย ท่านได้อุบายเห็นว่าคุณ
และโทษประการใด จึงโกนเกศาและหนวดเสีย
พระโรหณะจึงวิสัชนาแก้ไขว่า ดูกรทารก อาตมาละเสียซึ่งปลิโพธกังวล 16 ประการ
อาภรณปลิโพธํ คือปลิโพธกังวลด้วยอาภรณ์ผ้านุ่งห่มประการ 1 อลงฺการปลิโพธํ คือ
ปลิโพธกังวลด้วยเครื่องประดับประการ 1 กมฺมารปลิโพธํ คือปลิโพธกังวลด้วยไปสู่มา
หาช่างทองทำของแต่งตัวประการ 1 มชฺชนปลิโพธํ คือปลิโพธกังวลด้วยขัดสีประการ 1 นิกฺ-
ขิปปลิโพธํ
คือปลิโพธกังวลด้วยต้องเก็บสิ่งของทั้งปวงไว้ประการ 1 โธวนปลิโพธํ คือ กังวล
ด้วยล้างซักประการ 1 มาลาปลิโพธํ คือกังวลด้วยจะหาดอกไม้มาแซมเกศาและประดับ
ต่าง ๆ ประการ 1 คนฺธปลิโพธํ คือกังวลด้วยหาของหอมประการ 1 วาสนปลิโพธํ คือกังวล
ด้วยหาของอบรมนั้นประการ 1 หรีตกปลิโพธํ คือกังวลด้วยสมองประการ 1 อามลกปลิโพธํ
คือปลิโพธกังวลด้วยมะขามป้อมประการ 1 มตฺติกาปลิโพธํ คือกังวลอยู่ด้วยดินประการ 1
สมอมะขามป้อมและดิน 3 ประการนี้เป็นยาประสระผม สูจิปลิโพธํ คือปลิโพธกังวลด้วย
ไม้กลัดผมประการ 1 พนฺธกปลิโพธํ คือกังวลด้วยมุ่นผมเกล้าผมประการ 1 โกจฺฉปลิโพธิ
คือกังวลด้วยหวีผมประการ 1 กปฺปกปลิโพธํ คือกังวลด้วยหาช่างกัลบกทำผมประการ 1
นฺหาปกปลิโพธํ คือกังวลด้วยอาบน้ำดำลงไปเหม็นสาบผมประการ 1 ผสมเป็นกังวล 16
ประการดังนี้ ประการหนึ่งเล่ากิมิชาติหมู่หนอนทั้งหลายมากมายกินอยู่ทุก ๆ รากเกศา กินไป
จนหงอกเสียสีคนทั้งหลายเห็นผมของตัวไม่ดีก็เกิดเศร้าโศกสองค่อนทรวงเข้าเฝ้าแต่ว่าเสียใจ
กนฺทนฺติ ก็ร้องไห้ร่ำไรรักผมของอาตมา นี่แหละดูกรกุมาร เมื่อผู้ใดประกอบอยู่ในปลิโพธ 16
ประการนี้ มิอาจที่จะเรียนวิชาการศิลปศาสตร์อย่างดีได้
เจ้านาคเสนกุมารได้ฟงัพระโรหณะแก้ไขก็อัศจรรย์ใจ จึงถามพระโรหณะว่า พระผู้เป็นเจ้า
นุ่งห่มแปลกเขาเป็นเหตุไฉน พระโรหณะถึงว่า ดูกรกุมาร ฟ้านุ่งผ้าห่มของชาวบ้านบริโภค
กามคุณ ผ้านุ่งผ่าห่มนั้นก็เป็นนิมิตของฆราสวาส ยังภัยอันตรายต่าง ๆ ให้บังเกิด เพราะเหตุ
ผ้านุ่งห่มนั้นไม่ประเสริฐเลย ดูกรนาคเสนกุมาร เหตุดังนี้ผ้านุ่งผ้าของอาตมา น ยถา อญฺ-
เญสํ
จึงไม่เหมือนคนทั้งหลาย ภัยอันตรายจึงมิได้แผ้วพาน นาคเสนกุมารก็ชื่นบานหรรษา
ถามพระโรหณะว่า มาริส ข้าแต่ท่านผู้เนียรทุกข์ สำราญซึ่งสุขนิราศภัย ท่านอาจสามารถที่จะ
บอกศิลปศาสตร์ให้แก่ข้าพเจ้าได้หรือ พระโรหณะก็รับคำเจ้านาคเสนว่า อาตมาจะบอกให้เจ้านาค-

เสนเป็นทารกยังไม่มีอัชฌาสัยจึงว่า ถ้ากระนั้นจงบอกให้ข้าพเจ้าบัดเดี๋ยวนี้เถิด พระโรหณะจึงว่า
ดูรานะกุมาร ที่ท่านจะให้อาตมาบอกบัดเดี๋ยวนี้ยังไม่ได้ อาตมาจะไปบิณฑบาตในละแวกบ้าน
ฝ่ายเจ้านาคเสนกุมาร ก็รับเอาบาตรคมนาการลีลาศไปเรือนบิดามารดาที่พระโรหณะเคยมา
นั่งฉันอยู่ทุกวัน จึงอังคาสด้วยขาทนียะโภชนียะอันประณีตบรรจง กระทำด้วยมือของอาตมาแล้ว
ก็อาราธนานิมนต์พระโรหณะมาฉัน ส่วนพระโรณะนั้นครั้นกระทำภัตกิจฉันจังหันเสด็จแล้ว
โอนีตปตฺตปณี มีพระกรกุมบาตรอยู่ เจ้านาคเสนทารกรับว่าจะเรียนความรู้ พระโรหณะผู้เป็น
เจ้าจึงกล่าววาจาว่า ดูกรทารก รูปจะบอกให้แล แต่ทว่าต่อเมื่อไรท่านสละเสียซึ่งปลิโพธกังวล 16
ประการ อำลาบิดามารดา บิดามารดาให้อนุญาตแล้วก็ไปอยู่กับอาตมา กระทำเพศให้
เป็นบรรพชิตเหมือนอาตมา อาตมาก็จะบอกความรู้วิชาให้แก่เจ้าในกาลนั้น
อถ โข นาคเสนทารโก อันดับนั้น นาคเสนทารกได้สวนาการฟัง วจนํ ซึ่งถ้อยคำ
พระโรหณเถระผู้มีอายุ จึงกระทำเป็นไม่กินข้างปลาหน้าตาโศกเศร้า เฝ้าวิงวอนจะให้บิดามารดา
อนุญาตให้บรรพชา ฝ่ายว่าบิดามารดาก็มาคิดว่า กุมารลูกของเรานี้จะไปเรียนความรู้วิชาเรียน
ได้แล้วก็จะกลับมา ไม่ควรที่จะห้ามไว้ จึงให้อนุญาตว่าอย่าทุกข์อย่าโศกไปเลย จง
กินข้าวปลาอาหาร จะไปเรียนความรู้วิชาการก็ตามใจ ส่วนนาคเสนกุมารได้ฟังดังนั้นก็ชื่นชม
อภิรมย์หรรษาบริโภคโภชนาหารแล้วก็ลาบิดามาราดไปด้วยพระโรหณะ พระโรหณะก็พา
นาคเสนกุมารไปสู่วัตตนิยเสนาสนะ แล้วก็ไปสู่วิชัมพุวัตถุเสนาสนะ
จะแก้ไขด้วยเสนาสนะที่อยู่อันชื่อว่าวัตตนิยะและวิชัมพุวัตถุให้แจ้งชัด วัตตนิยะนั้น
แปลว่าประเทศควรแก่จะอยู่กระทำปรนนิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน วิชัมพุวัตถุ
เสนาสนะนั้น แปลว่าเสนาสนะที่อยู่อันปราศจากลามกมลทินสะอาดผ่องแผ้วนี้แล
พระโรหณะยับยั้งอยู่ที่นั้นคืนหนึ่งแล้ว ก็พาเจ้าาคเสนกุมารอันครธานหาไปปรากฏ
ที่ถ้ำรักขิตเลณะ ตรงหน้าพระอรหันต์ 100 โกฏิอันลงโทษพรหมทัณฑ์แก่อาตมา ด้วยประการ
ดังนี้
เตน โข ปน สมเยน โกฏิสตา อรหนฺตา นาคเสนทารกํ ปพฺพาเชนฺติ ปพฺพชิโต โข
ปนายสฺมา นาคเสโน อายสฺมนฺตํ โรหณํ เอตทโวจ คหิโต มยา ตุวํ เอโส มํ สิปฺปานิ สิกฺขาเปตูติ.
เตนโข ปน สมเยน
ในกาลปางนั้น พระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย โกฏิสตา มากมายกำหนดได้
100 โกฏิ ก็ยังเจ้านาคเสนกุมารนั้นให้บวชเป็นสามเณรที่ถ้ำคูหาอันชื่อรักขิตเลณะ เมื่อเจ้า
นาคเสนบวชเป็นสามเณรแล้ว จึงมีวาจาว่ากับพระโรหณะว่า ภนิเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า บัดนี้
้ข้าพเจ้ากระทำเพศให้เหมือนพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจงบอกศิลปศาสตร์ให้ข้าพเจ้า

ส่วนว่าพระโรหณะจึงจินตนาคำนึงรำพึงว่า ปรฺฑิโต เจ้าสามเณรนาคเสนมีปัญญาฉลาด
อาตมาจะบอกให้เรียนพระสูตรพระวินัย พระสูตรพระวินัยตื้นไม่ลึกล้ำเหมือนพระปรมัตถธรรม
จำอาตมาจะบอกพระอภิธรรมให้เถิด ดำริแล้วก็บอกพระอภิธัมมัตถะอันประเสริฐให้ทั้ง 7 พระ
คัมภีร์ คือ พระสังคณี 1 พระวิภังค์ 1 พระธาตุกถา 1 พระปุคคลบัญญัติ 1 พระกถาวัตถุ 1
พระยมก 1 พระสมันตมหาปัฏฐาน 1 ประสมเป็น 7 ประคัมภีร์ด้วยกัน นาคเสนาสามเณรนั้น
มีปัญญาจักษุเห็นปรุโปร่งไม่กังขา สกึ แต่บอกให้วาระเดียว ในพระสัตตัปปกรณาภิธรรมทั้ง 7
คัมภีร์ว่า สมเด็จพระชินสีห์เจ้าตรัสเทศนาอาศัยแก่ 3 บท คือ กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา
อพฺยากตา ธมฺมา
เท่านี้ แตกออกไปเป็นสัตตัปปกรณาภิธรรมทั้ง 7 พระคัมภีร์ ประการหนึ่ง
พระอภิธัมมสังคณีตั้งเป็นต้นคือ กุสลส ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา ประดับประดา
ไปด้วยทุกมาติกาและติกมาติกาเท่านี้แล ในคัมภีร์พระวิภังค์นั้นประดับด้วยอัฏฐารสวิภังค์มี
ขันธวิภังค์เป็นต้นเป็นประธานมา ในคัมภีร์พระธาตุกถานั้น มีวิภัติแจกจำแนกไปได้ 14 บท
เป็นต้นว่า สงฺคโร อสงฺคโห นี้ และในคัมภีร์พระปุคคลบัญญัติ มีวิภัติจำแนกเป็นฉัพพิธบท 6 บท
มีขันธบัญญัติและอายตนบัญญัติเป็นประธานมา และในคัมภีร์พระกถาวัตถุนั้น สุตฺตสหสฺสํ
ประชุมสูตรไว้พันหนึ่งมิได้น้อย เป็นสักวาทีห้าร้อย เป็นปรวาทีห้าร้อย จึงสิริเป็นพันหนึ่งด้วยกัน
ในคัมภีร์พระยมกนั้นวิภัชนากรจำแนกแจกเป็นทศพิธบทได้ 10 บท มีมูลยมกและขันธยมก
เป็นประธานมา ในคัมภีร์พระสมันตมหาปัฏฐานนั้น วิภัชนาการจำแนกแจกไปเป็นจตุวีสติปัจจัย
ได้ 24 มี เหตุปจฺจโย อารมฺมณปจฺจโย เป็นประธานดังนี้ สิริเป็นพระสัตติปปกรณาภิธรรมทั้ง 7
พระคัมภีร์ด้วยกัน นาคเสนสามเณรนั้นเล่าหนเดียวก็จำได้ขึ้นใจ จึงมีวาจาห้ามพระโรหณะผู้
เป็นพระอุปัชฌาย์ไว้ว่า ติฏฺฐตุ ได้โปรดงดข้าพเจ้า บอกแต่เท่านี้ก่อนเถิด เมื่อข้าพเจ้าท่องได้
สังวัธยายได้ถนัดจริงแล้ว อุตฺตรึ วเทหิ จงบอกให้มากยิ่งขึ้นไป จะขอรออยู่ปรนนิบัติสอดส่องให้
ชัดเจน ว่าแล้วนาคเสนาสามเณรก็ลาพระอาจารย์ปวิสนาการเข้ามณฑลมาลกะ แปลว่า
ศาลาสนามธรรม จึงจำเริญมนสิการในใจว่า นุ โข ดังอาตมารำพึงไปแล้วจริง กุหึ จะได้อรรถ
แปลว่ากระไร ในบทว่า กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา และ อพฺายากตา ธมฺมา นาคเสนสามเณร
จำเริญมนสิการพิจารณา สกึ หนเดียวก็คิดเห็นเป็นอรรถกรรมฐานว่า บท กุสลา ธมฺมา จะมี
อรรถกถาอย่างนี้ ด้วยปัญญาบารมีกระทำไว้แต่ชาติโพ้น
พระอรหันต์ 100 โกฏิสถิต ณ ด้าวแดนใด นาคเสนสามเณรก็เข้าไปในสถานที่นั้น
ครั้นถึงจึงอภิวันท์ไหว้ ดูนี่งามผ่องใสไปทั่วอินทรีย์ อายุพอได้ 7 ปีเป็นเณรน้อยกระจ้อยร่อย
รูปงามประฌมกรประณามนบนอบเหนือศิโรตม์ อรหนฺตานํ เอตทโวจ จึงบอกพระอรหันต์
100 โกฏิว่า ข้าพเจ้าจะสำแดงพระสัตตัปปกรณาภิธรรมที่พระอุปัชฌาย์บอกนี้ให้มีอรรถวิตถาร

ออกไป พระอรหันต์ทั้งหลายก็ดีใจ จึงนิมนต์ให้สามเณรนาคเสนสำแดงโดยวิตถาร สามเณร
นาคเสนก็วิสัชนาอยู่ประมาณ 7 เดือนจึงจบ ขณะนั้นเกิดอัศจรรย์ทั่วพิภพ อินทร์พรหมบรม
เทวราช ปฐวี อุนฺนาทิ ก็หวาดไหวไปทั่วปถพี ที่ก้องบันลือลั่น เทวา หสนฺติ ฝ่ายฝูงอมรคณา
นิกรสุรางค์ นางเทพอัปสรสาวสวรรค์ในชั้นฉกามาวจร ก็ร้องซ้องสาธุการยินดีด้วยปัญญา
บารมีสามเณร พฺรหฺมา อปฺโผเฏนฺติ ใช่แต่เท่านั้น ท่านท้าวมหาพรหมเป็นบรมจอมพิภพก็
ตบพระหัตถ์ตรัสสรรเสริญศีลปัญญาคุณ อันว่าห่าฝนปุบผามณฑาทิพยจันทน์จุณสารภียี่สุ่น
พิกุลโยทะกามหาหงส์ ทรงกลิ่นอันหอมนั้น อภิปวสฺสนฺติ บ้างก็เลื่อนลอยบ้างก็ปรอย ๆ เป็น
ฝอยฝนตกลงมาเหมือน หนึ่งจะมีวิญญาณลงมาสาธุการ บ้างบานบ้างตูมหุ้มห่มเกสร หอมฟุ้ง
ขจรขจายในที่พระนาคเสนสามเณรสังวัธยายพระสัตตัปปกรณาภิธรรม 7 คัมภีร์จบโดยวิตถาร
พระอรหันต์ 100 โกฏิ ท่านก็ซ้องสาธุการชื่นบานหรรษาโสมนัสยินดี ว่าแต่นี้แลศาสนาของ
สมเด็จพระโลกนายกเจ้า จะรุ่งโรจน์โชตนาการไปในกาลนี้
อถ โข โกฏิสตา อรหนฺตา ลำดับนั้นครั้นเจ้านาคเสนสามเณรอยู่มามีพระวรรษายี่สิบ
ถ้วยกำหนด พระอรหันต์ 100 โกฏิ ก็ให้อุปสมบทเป็นภิกษุภาวะในพระศาสนา ตสฺสา รตฺติยา
อจฺจเยน
ครั้นนาคเสนาสามเณรเป็นภิกษุภาวะแล้ว นิมิตรุ่งรางสว่างแผ้วอรุณขึ้นมา ปตฺตจีวร-
มาทาย
พระผู้เป็นเจ้านุ่งสบงทรงจีวร พระกรจับบาตรลีลาศตามพระอุปัชฌาย์ คามํ ปิณฺฑาย
เข้าไปสู่บ้านเพื่อจะเที่ยวภิกขาจารโคจรบิณฑบาต พระนาคเสนจึงปริวิตกว่า พระอุปัชฌาย์ของ
อาตมานี้ ตุจฺโฉ เปล่าเขลานักหนา รู้แต่พระสัตตัปปรณาภิธรรมเท่านี้ จะได้รู้พระคาถาบาลี
พระพุทธวจนะอื่น ๆ หามิได้ ส่วนพระโรหณะผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ก็รู้วาระน้ำในจึงมีเถรวาจา ว่า
ดูกรอาวุโส ท่านวิตกดังนี้มิควรแก่ตัวท่าน มิควรแก่ตัวเรา
ฝ่ายพระนาคเสนได้ฟังดังนั้น ก็ดำริว่า โอหนอ ควรจะเป็นอัศจรรย์ เมื่ออาตมาคิดในใจ
ไฉนเล่าพระอุปัชฌาย์เจ้าจึงรู้จิตของอาตมา ปณฺฑิโต โข พระอุปัชฌาย์ของอาตมามีปัญญา
แท้จริง ก็ควรที่จะให้พระอุปัชฌาย์งดโทษ คิดแล้วจึงน้อยศิโรตม์ลงอภิวันท์ว่า ภนฺเต ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้าได้โปรดจงงดโทษแก่ข้าพเจ้า แต่นี้ไปเบื้องหน้าข้าพเจ้ามิได้วิตกต่อไป
พระโรหณะจึงว่าเรายังงดโทษให้ไม่ได้ก่อน ยังมีกษัตริย์เจ้าเมืองสาคลนครทรงพระ
นามกรชื่อว่ามิลินทบรมราช ถ้าท่านยังพระยามิลินท์นั้นให้เธอทรงพระประสาทเลื่อมใส
ด้วยท่านได้เมื่อใด อาตมาก็จะงดโทษให้ท่านในกาลเมื่อนั้น
พระนาคเสนจึงว่า ข้าแต่พระอุปัชฌาย์ อย่าว่าแต่พระเจ้ามิลินท์เลย ถึงว่าพระยา
ทั้งหลายอันเสวยสมบัติอยู่ในสกลชมพูทวีป ให้รีบกันซ้อนศีรษะซ้อนตัวกันมาถามปัญหาเถิด

ข้าพเจ้าก็อาจสามารถที่จะให้ยินดีได้ พระผู้เป็นเจ้าจงงดโทษแก่ข้าพเจ้าเถิด
พระโรหณะจึงว่า ท่านอย่าว่าอย่างนี้ เราจะว่ากับท่านอีกทีเป็นคำรบสองครั้ง ถ้าท่าน
ยังกรุงมิลินทราธิบดีให้เลื่อมใสได้แล้วเมื่อใด อาตมาก็จะงดโทษให้เมื่อนั้น
ส่วนพระนาคเสนครั้นพระอุปัชฌาย์ว่ากระนั้น ก็รับคำพระอุปัชฌาย์แล้วจึงถามว่า ใน
ไตรมาสนี้พระอุปัชฌาย์จะให้ข้าพเจ้าอยู่ที่สำนักพระอุปัชฌาย์นี้หรือ หรือว่าจะให้ข้าพเจ้าไปอยู่
ในสำนักผู้ใดเล่า
ส่วนพระโรหณะผู้เป็นเจ้าจึงว่า ดูกรอาวุโส ยังมีพระมหาเถระองค์หนึ่ง มีนามกรชื่อ อัสสคุต
ท่านอยู่ที่วัตตนิยะเสนาสนะ อาวุโสจงไปไหว้นบเคารพท่านแล้ว บอกว่าอาตมานี้เป็นอุปัชฌา-
ยาจารย์ จงบอกกันท่านว่าอาตมาให้ถามท่านว่ายังค่อยสำราญเป็นสุขหาทุกข์มิได้หรือประการ
ใด อาวุโสถามไถ่แล้วจงขอจำวรรษาอยู่ด้วยท่าน
พระนาคเสนภิกษุได้ฟังอาจารย์ก็ชื่นบานหรรษา กระทำประทักษิณพระอุปัชฌาย์แล้วมา
ยังสำนักพระมหาเถระอัสสคุตเคารพนบนอบหมอบกราบเล่าบอกแก่ท่านทุกสิ่งทุกประการเหมือน
คำพระอุปัชฌาย์สั่งไป แล้วก็ของอาศัยจำวรรษาอยู่ พระอัสสคุตไม่รู้จักชื่อ จึงถามว่า ดูกรอาวุโส
ท่านชื่อไรเล่า พระนาคเสนจึงบอกว่าข้าพเจ้าชื่อนาคเสน พระอัสสคุตจะลองปัญญาจึงถามว่า
ชื่อของอาตมานี้ชื่อไร พระนาคเสนจึงว่า ชื่อของพระผู้เป็นเจ้านี้ พระอุปัชฌาย์ข้าพเจ้ารูปจักอยู่
พระอัสสคุตจึงถามว่า อุปัชฌาย์ของท่านชื่อไร พระนาคเสนจึงบอกว่าชื่อพระอุปัชฌาย์ของข้าพ-
เจ้าพระผู้เป็นเจ้าก็รู้จักอยู่ พระอัสสคุตจึงรู้ว่าพระภิกษุองค์นี้มีปัญญา จึงดำริว่า สิกฺขากาโม
ภิกษุองค์นี้ปรารภนาจะเรียนพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกนี้อาตมาหารู้สันทัดแท้ไม่ ได้สำเร็จ
มรรคผลก็จริงแล แต่ทว่าฝ่ายพระไตรปิฎกรู้เป็นกลาง ๆ จะบอกเจ้ากูไม่ตลอด ก็อย่างเลย
อาตมาจะกระทำกิริยาไม่เจรจาด้วยภิกษุรูปนี้ ทำเป็นทีเหมือนจะลงพรหมทัณฑ์เถิด พระอัสสคุต
ดำริแล้ว ก็กระทำพรหมทัณฑ์ คือนิ่งไปไม่พูดกับพระนาคเสนตลอดปวารณาพระวรรษา ฝ่าย
พระนาคเสนก็ปรนนิบัติพระอัสสคุตเถระ กวาดบริเวณที่อยู่ทั้งหลาย เอาอุทกังบ้วนปากกับไม้สี
ฟันมาตั้งวางถวายไว้ ฝ่ายพระอัสสคุตก็มิได้เอาอุทกังและไม่สีฟันนั้นมาชำระกิจ บริเวณที่พระ
นาคเสนกวาดนั้นก็กลับกวาดใหม่ แต่อย่างนี้ตลอดไตรมาสปวารณาพระวรรษา
อถ โข ในกาลครั้งนั้น ยังมีอุบาสิกาผู้หนึ่งเป็นผู้เม่า ปรนนิบัติพระผู้เป็นเจ้ามา
ตึสมตฺตานิ ประมาณ 30 พระวรรษา จึงไปสู่อาวาสอาราธนาพระอัสสคุตแล้ว จึงถามว่า
พระวรรษานี้มีพระภิกษุมาอยู่ด้วยพระผู้เป็นเจ้าเท่าไร พระอัสสคุตจึงบอกว่า ดูกรอุบาสิกา เจ้ากู
มาอาศัยอยู่รูปหนึ่ง อุบาสิกจึงว่า ถ้ากระนั้นนิมนต์พระผู้เป็นเจ้าไปฉัน นิมนต์พาพระภิกษุ

รูปนั้นไปด้วย ส่วนอุบาสิกากลับมา ตสฺสาร รตฺติยา อจฺจเยน นิมิตสิ้นราตรีนั้นนครั้นอรุณรุ่งราวสว่างฟ้า
พระอัสสคุตมหาเถรเจ้าแต่นิ่งมามิได้สนทนากับด้วยพระนาคเสนนั้น กำหนดถึงปวารณาออก
พระวรรษา ตกว่าพระอัสสคุตต้องเจรจากับพระนาคเสนวันนั้น บอกว่าอุบาสิกาเขามานิมนต์ข้า
ให้พาเธอเข้าไปฉัน ว่าเท่านั้นก็นุ่งสบงทรงจีวรคลุมบาตรแล้วก็พานาคเสนออกจากอาวาส
ลีลาศมาสู่เคหสถานของอุบาสิกา แล้วก็นิสัชนาการนั่งเหนือที่อาสนะลาดปูไว้ ส่วนอุบาสิกาก็มี
ศรัทธาเลื่อมใสใจผ่องแผ้ว จัดแจงขาทนียะโภชนียะแล้วก็ถวายให้ฉัน ส่วนพระอัสสคุตนั้นกระทำ
ภัตกิจแล้ว โอนีตปตฺตปาณี มีกรจับบาตรไว้ จึงให้อุบาสิกาตามประทีปที่บูชา แล้วสั่งให้พระ
นาคเสนภิกษุอยู่สำแดงคาถาอนุโมทนา ส่วนพระอัสสคุตก็อุฏฐาการจากอาสน์ ไปสู่อาวาส
ของอาตมาในกาลนั้น
อถ โข อุปาสิกา ลำดับนั้น อุบาสิกจึงว่ากับพระนาคเสนว่า ภนเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
โยมนี้เป็นคนเฒ่าชรา จะใคร่ฟังซึ่งคาถาอันคัมภีรภาพ จะได้จำเริญสติปัญญา นิมนต์พระผู้เป็น
เจ้าอนุโมทนาด้วยคาถาอันคัมภีรภาพนั้น ส่วนว่าพระนาคเสนก็กระทำอนุโมทนา ด้วยคัมภีร-
คาถาให้สมควรกับสติปัญญาของอุบาสิกา ฝ่ายว่าอุบาสิกาได้ฟังพระคาถานั้น ก็ได้ธรรมจักขุ
วิรชํ ปราศจากธุลีกล่าวคือราคะดำฤษณา วีตมลํ มามลทินมิได้ ธมฺมจกฺขุํ คือเห็นไปใน
กระแสธรรมที่พระผู้เป็นเจ้ากระทำอนุโมทนานั้นว่า ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
ปัญญาเห็นว่ากองแห่งสมุทยธรรม มีอวิชชาปัจจยาเป็นต้นนี้ มีในสันดานสัตว์ผู้ใดแล้ว จะบัง
ปัญญาไว้มิให้เห็นเป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา แล้วมีแต่ว่าจะเวียนตายเวียนเกิดอยู่ไม่รู้แล้ว
เหลือที่จะพรรณา สพฺพนฺตํ อันว่าสมุทยธรรมนั้น มีสภาวะเป็นนิโรธรรมดับสูญสิ้นแล้วจะ
ปราศจากมลทินสิ้นราคาทิกิเลส เข้าสู่พระนิเวศสถานนิพพานเมืองแก้วอันแผ้วจากทุกข์เกษมสุข
หาสิ่งจะปานปูนเปรียบเทียบมิได้ เมื่อมหาอุบาสิกาได้ธรรมจักขุพิจารณาเห็นไปดังวิสัชนามา
ฟังพระนาคเสนกระทำอนุโมทนาคาถาต่อไป ครั้นจบลงแห่งคาถาอนุโมทนา มหาอุบาสิกาก็
สำเร็จพระโสดาปัตติผล
ส่วนพระอัสสคุตเถรเจ้าเข้าไปสู่โรงมณฑลธรรม รำพึงไปก็เห็นด้วยจักษุเป็นทิพย์ ก็สาธุ
การพระนาคเสนว่า สาธุ ๆ พระนาคเสนนี้มีสติปัญญา เทฺว มหากายา ประชุมชนทั้งสองคือ
มนุษย์และเทวดา ปทาลิตา ท่านจะมาทำลายให้คลายจากความสงสัย เอเกน กณฺฑปฺปหาเรน
ด้วยยิงไปซึ่งลูกธนูกล่าวคือสำแดงธรรมให้ฟังครั้นหนึ่ง เหมือนอุบาสิกากระนั้น ได้ฟังธรรม
ของท่านครั้งเดียว ก็ทำลายเสียซึ่งสักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสได้มรรคได้มรรคได้ผล สาธุ
ดังเราชมสติปัญญาท่านนี้ประเสริฐนักหนา พระอัสสคุตก็สรรเสริฐเยินยอไปมา เทวดามากกว่า
แสนก็ตบมือชื่นชมอภิรมย์สาธุการว่า ท่านทั้งปวงเอ๋ย อัศจรรย์นักหนา ด้วยพระนาคเสน

เจ้าอนุโมทนาด้วยคาถาคัมภีรภาพควรจะอนุโมทนา ว่าแล้วก็ยิ่งยินดีปรีดา ทิพฺพจุณฺณานิ ก็
โปรยลงมาซึ่งจุณสุคนธาทิพย์สักการบูชา ขณะเมื่อจบลงแห่งพระสัทธรรมเทศนา ก็มีในกาลนั้น
อายสฺมา นาคเสโน ฝ่ายว่าพระนาคเสนผู้มีอายุกระทำภัตตานุโมทนาด้วยคัมภีร์คาถา
จบแล้ว ก็อุฏฐาการลุกจากอาสน์มาสู่อาวาสที่สำนักพระอัสสคุต แล้วก็เคารพนอบนบนมัสการ
พระอัสสคุตจึงว่ากับพระนาคเสนว่า ตัวท่านมาอยู่นี้ก็นานช้า นี่แน่ะข้าจะบอกให้รู้ก่อน ยังมี
เมืองหนึ่งชื่อปาตลีบุตรนคร มีอโสการามข้างทิศอุดร มีท่านผู้ทรงศีลสังวรมีนามกรชื่อธรรม-
รักขิตสถิตอยู่ที่อโสการามวิหาร อาวุโสจงไปสู่สำนักท่านเล่าเรียนพระไตรปิฎกตามอัชฌาสัย
พระนาคเสนจึงถามว่าใกล้หรือไกลสักเท่าไรเล่าพระเจ้าขา พระอัสสคุตจึงบอกว่ามรรคาไกล
ได้ร้อยโยชน์ พระนาคเสนจึงว่าได้โปรดเถิด ข้าพเจ้านี้เห็นว่าจะประดักประเดิดทางลำบากบ้างที่จะ
บิณฑบาตจะมีหรือประการใด พระอัสสคุตจึงว่าไปเถิด จะได้ประดับประเดิดหามิได้ เออท่านไป
ในระหว่างมรคาที่ลีลาศ จะได้บิณฑบาตทั้งจะได้จังหันสาลีอันประกอบด้วยกัปปีย์ต้มแกงทุก
ประการ จะได้กันดารหามิได้ พระนาคเสนได้ฟังก็ดีใจว่าทีนี้จะได้ไปเล่าเรียน ดำริแล้วก็กระทำ
ประทักษิณสิ้นตติยวารเวียนเป็นสามรอบ นอบนบอำลามาไปตามมรรคาประเทศทางไกล
ขณะนั้น ยังมีเศรษฐีอยู่ในเมืองปาตลีบุตรนคร สัญจรไปค้าขายในชนบททั้งหลาย ครั้นขายของ
แล้วก็บรรจุสินค้าใหญ่น้อยบรรทุกเกวียน 500 แล้วเข็นขับกลับมา ได้ทัศนาการเห็นพระนาค-
เสนแต่ไหล จึงให้หยุดเวียนไว้แล้วจึงถวายอภิวันท์ไหว้ไต่ถามว่า พระผู้เป็นเจ้าจักไปสู่ประเทศ
อารามไหน พระนาคเสนก็บอกว่าอาตมานี้จะไปสู่ปาตลีบุตรนคร เศรษฐีได้ฟังก็ชื่นชมอภิรมย์
สโมสรจึงมีสุนทรวาจาว่า ถ้ากระนั้นนิมนต์ไปด้วยกัน ส่วนพระนาคเสนจึงว่า คำอันท่านว่านี้
เป็นกุศลอันดี ส่วนเศรษฐีดูอิริยาบถของพระผู้เป็นเจ้านี้เล่า ก็ละม่อมละไมมีน้ำใจศรัทธา จึง
ตกแต่งขาทนียะโภชนียะกับด้วยมือของตน นิมนต์ให้ฉันแล้วปวารณาไว้ว่า พระผู้เป็นเจ้า
ต้องประสงค์สิ่งไร ก็บอกเล่าแก่ข้าพเจ้าเถิด เมื่อพระนาคเสนกระทำภัตกิจแล้ว เศรษฐีนั่งอยู่ที่
อาสนะอันต่ำมีน้ำจิตจะใคร่รู้นาม จึงไต่ถามนามพระนาคเสน พระนาคเสนบอกนามชื่อนี้ ชื่อนี้
เศรษฐีจึงถามว่าพระผู้เป็นเจ้ารู้พระพุทธวจนะอยู่หรือ พระนาคเสนก็บอกว่า อาตมานี้รู้แต่พระ
อภิธรรมเศรษฐีกล่าวถ้อยคำว่าข้าพเจ้าก็รู้พระอภิธรรม เราทั้งสองจะได้ท่องทานสังวัธยายด้วยกัน
ถ้ากระนั้นขออาราธนาเทศนาให้ข้าพเจ้าฟังสักหน่อย ครั้งนั้นพระนาคเสนก็สำแดงพระธรรมเทศนา
เศรษฐีได้ฟังก็ชื่นบานหรรษาได้ธรรมจักขุ คือ ปัญญาจักขุอันหามลทินธุลีราคีมิได้ อุทปาทิ ก็
บังเกิดเห็นแจ้งประจักษ์ในสมุทยธรรมและนิโรธรรมเหมือนอุบาสิกาที่วิสัชนามาแต่หลัง ครั้น
จบพระสัทธรรมเทศนา เศรษฐีก็ให้ทาสกรรมกรของอาตมาเทียมเกวียน 500 เข้าแล้ว ก็ขับไป
ตามมรรคาพาพระนครเสนไป ครั้นจะใกล้ถึงปาตลีบุตรนครเข้า เศรษฐีจึงว่า ภนฺเต ข้าแต่พระ

ผู้เป็นเจ้า ทางนั้นแน่เป็นทางไปสู่อโสการาม พระผู้เป็นเจ้าจงไปตามทางนี้แล แต่ทว่า อย่าเพ่อ
ไปก่อน นิมนต์ให้พรแก่ข้าพเจ้า พระนาคเสนจึงตอบเล่าว่า อาตมาเป็นภิกษุจะให้พรสิ่งไร
เศรษฐีจึงว่าพรอันใดที่ควรแก่พระผู้เป็นเจ้าจะให้ได้ ข้าพเจ้าจะรับประทานไว้ พระนาคเสนจึงว่า
กระนั้นท่านจงรับเอาพรคือการกุศล อย่าประมาทลืมตนในการกุศล พรอันนี้มีผลโดยสุจริต
รูปประสิทธิ์ให้แก่อุบาสก ขณะนั้นเศรษฐีจึงถวายผ้ากัมพลแดงผืนหนึ่งยาว 16 ศอก กว้าง
8 ศอกแก่พระนาคเสน พระนาคเสนก็รับเอาผ้า ส่วนว่าเศรษฐีมีกรประณมเหนือศิโรตม์
โสมนัสสาปราโมทย์ แล้วก็ถวายปฏิญาณ แล้วก็ถวายนมัสการกระทำประทักษิณแล้วลามาสู่
ปาตลีบุตรนคร
ส่วนพระนาคเสนก็สัญจรมาสู่อโสการาม อันเป็นที่อยู่แห่งพระธรรมรักขิตนั้น ครั้นถึง
ึจึงก้มเกล้านมัสการพระมหาเถระว่า ขอพระคุณเจ้าจงกรุณาบอกพระพุทธวจนะให้แก่ข้าพเจ้า
ในกาลบัดนี้
ตทา ในกาลนั้นยังมีพระติสสทัตตภิกขุรูปหนึ่งไปเรียนพระพุทธวจนะเป็นสิงหลภาษา
ในเมืองลังกาจบแล้ว ปรารถนาจะเรียนพระพุทธวจนะอันเป็นมคธภาษา จึงโดยสารสำเภามาสู่
ชมพูทวีปนี้ จึงไปสู่สำนักพระธรรมรักขิต นมัสการแล้วก็ประดิษฐานอยู่ที่นั้น ได้ยินคำพระ
นาคเสนว่าจะขอเรียนพระพุทธวจนะดังนั้น จึงว่าขึ้นบ้างว่า ข้าพเจ้าอุตส่าห์มาแต่ลังกาก็ปรารถนา
ว่าจะเรียนพระพุทธวจนะ ขอพระคุณเจ้าจงบอกพระพุทธวจนะให้แก่ข้าพเจ้าเถิด ฝ่ายว่าพระ
ธรรมรักขิตนั้นจึงว่ากับพระนาคเสนว่า อาวุโส ดูกรท่านผู้มีอายุ ท่านจงเรียนพระพุทธวจนะ
ให้พร้อมกันด้วยเจ้ากูติสสทัตตะ จงสังวัธยายให้พร้อมกันทีเดียวอย่าร้อนรนเลย เราจะบอกให้
แก่ท่านพร้อมกันทีเดียวในกาลบัดนี้ พระนาคเสนจึงว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้ามิอาจที่จะ
เรียนพระพุทธวจนะพร้อมกันด้วยคำสิงหลภาษาได้ ด้วยพระติสสทัตตะนี้เจรจาเป็นสิงหลภาษา
ด้วยประการดังนี้
ตํ กิสฺส เหตุ เป็นคำปุจฉาว่า เหตุไฉนเมื่อพระอาจารย์ว่า จะให้พระติสสทัตกับพระ
นาคเสนเรียนพระพุทธวจนะพร้อมกัน พระนาคเสนนั้นว่าไม่เรียนพร้อมกัน ด้วยพระติสสทัต
กล่าวคำสิงหลภาษา
วิสัชนาว่า พระนาคเสนสำคัญว่า อาจารย์จะบอกพระพุทธพจน์เป็นคำสิงหลภาษา
สิงหลภาษานี้เป็นคำวิเศษ คนชาวประเทศสาคลราชธานีจะได้เข้าใจหามิได้ พระนาคเสนนั้น
ตั้งใจ จะเรียนพระพุทธวจนะที่จะให้เข้าใจชาวสาคลนคร มีกรุงมิลินท์นรินทรเป็นประธาน เหตุ
ฉะนี้จึงขัดอาจารย์ อาจารย์ว่าให้เรียนด้วยกันถ้วนถึง 3 ครั้ง พระนาคเสนถอยหลังคิดไว้ว่า

อาจารย์ไม่บอกโดยสิงหลภาษาดอก จะบอกเป็นมคธภาษา แล้วพระนาคเสนมาดำริว่า อาตมา
กล่าวถ้อยคำว่าไม่เรียนด้วยชีต้น สิงหลภาษานี้เป็นคำไม่ดี ดูหยาบช้าเป็นภาริยกรรมเกินนักหนา
พระนาคเสนคิดแล้วจึงขอขมาพระติสสทัต พระติสสทัตก็รับขมาว่าสาธุ แต่นั้นมา พระนาคเสน
ก็เรียนพระพุทธวจนะในสำนักพระธรรมรักขิตพร้อมด้วยพระติสสทัตตเถระ ท่องสังวัธยายทีฆ-
นิกายด้วยนิเทศสำแดงเหมือนกันอันเดียวกัน ก็เรียนพระพุทธวจนะเป็นพยัญชนะนั้น 3 เดือน
เรียนพระพุทธวจนะเป็นอรรถกถา 3 เดือน สิริเป็น 6 เดือนด้วยกัน จงจบพระไตรปิฎกทั้งตัว
และอรรถกถา พระธรรมรักขิตเห็นพระนาคเสนเป็นปุถุชนอยู่ จึงมีเถรวาจาเป็นทางจะให้รู้
โดยคำอุปมาว่า ดูกรนาคเสนภิกษุ ธรรมดาว่านายโคบาลเลี้ยงโคไม่รู้จักรสนมโค ผู้อื่นได้ซึ่ง
น้ำนมโคกินรู้จักรสน้ำนมโคว่ามันหวาน เสยฺยถาปิ แม้เปรียบปานฉันใด บุคคลที่เป็นปุถุชนหนา
ไปด้วยราคาทิกิเลส จะทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกอันวิเศษนี้ มิได้รู้รสแห่งสามัญภาคี คือมรรคผล
อันเป็นส่วนควรแก่สมณะ เปรียบปานเหมือนยายโคบาลรับจ้างท่านเลี้ยงโค และรีดนมโคขาย
มิได้ซิมลิ้มเลียรสนมโคฉันใด ท่านจงรู้ด้วยประการดังนี้ พระนาคเสนได้ฟังคาถาอุปมา จึงมีวาจา
ว่า ภนเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดงดพระพุทธวจนะก่อน อนุสาสิตํ ที่พระผู้เป็นเจ้าสั่งสอน
เอตฺตกํ กำหนดเท่านั้น ข้าพเจ้าจะผ่อนผันพิจารณาดูให้รู้รสสามัญภาคี พระนาคเสนว่าเท่านี้
แล้วก็ลามาสู่อาวาส ปัญญาฉลาดปลงลงในวิปัสสนากรรมฐาน ส่องปัญญาญาณไป ก็ได้
สำเร็จในพระจตุราริยสัจ ก็ได้พระอรหัตตปฏิสัมภิทา เตเนว รตฺติภาเคน โดยภาคราตรีวัน
พระธรรมรักขิตเถระให้นัยนั้นแท้จริง ปฐวี อุนนาทิ ขณะนั้นเกิดอัศจจรย์ แผ่นดินบันลือลั่นหวั่น
ไหวไปมา เหตุฉะนี้ พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวพระคาถาว่า
อติจลติ ปฐติ อุจฺฉุยนฺตํว ปีฬิตํ
เตลยนฺตํ ยถาจกฺกํ เอวํ กมฺปิ จ เมทนี ฯ
สงฺขุภิ สมุทฺโท จ คิรินฺโท ตตฺถ โอนมิ
โอนมิตฺวา สิเนรุมฺหิ หึหึสทฺโท ปวตฺตตีติ ฯ

แปลความในพระคาถาว่า อุจฺฉุยนฺตํ อันว่าหีบอันบีบน้ำอ้อยเสียงสนั่นฉันใด แผ่นดิน
ก็กึกก้องร้องหวั่นไหวไปมีอุปไมยเหมือนดังนั้น เตลยนฺตํ อันว่าหีบบีบน้ำมัน ทุบตีน้ำมันด้วย
กงจักรหันผัดผันไป ยถา มีครุวนาฉันใด เมทนีไหวหวั่นเวียนไปก็ปานกัน สมุทฺโท สาครก็สนั่น
เป็นระลอกชลาสินธุ์ คิรินฺโท อันว่าพระยาเขาเมรุมาศ โอนมิ ก็โน้นยอดเอนเอียง หึหึสทฺโท
อันว่าสัททะสำเนียงเสียงกระหึ่มหึ่งหึ่ง ปวตฺตติ ก็ระดมดังอึงไปเกลื่อนกลุ้ม สิเนรุมฺหิ ใน
สิเนรุราชสิขรเขาหลวงหลักโลกเลิศกว่าเขาทั้งปวง ปางนั้นชั้นฉกามาพจรหมู่อมรสุรางคนิกรก็

สโมสรสาธุการเชยชม พรหมเจ้าฟ้าในมหาโสฬส เสียงตบพระหัตถ์ตรัสสรรเสริญซึ่งศีลคุณ
ห่าฝนทิพยจันทน์จุณมณฑาทิพบุปผา ในช่อชั้นฟ้าทุกเภทพรรณ อภิปวสฺสนฺติ ยิ่งตกลงมา
ประหนึ่งว่าจะมีวิญญาณบูชาขณะเมื่อพระผู้เป็นเจ้าได้บรรลุพระอรหัตตาภิเษกเป็นอริยเอกอรหันต์
ในกาลนั้น
เตน โข ปน สมเยน ปญฺจโกฏิสตา อรหนฺตา แท้จริงสมัยปางนั้นโสด พระอรหันต์เจ้า
100 โกฏิอันสถิต ณ ถ้ำรักขิตเลณะทราบว่าพระนาคเสนสำเร็จอภินิหาร ก็ใช้พระขีณาสวทูต
นำข่าวสารบัญชาการให้หาพระนาคเสน พระนาคเสนก็เข้าฌานบัดเดี๋ยวก็อันตรธานหายมา
ปรากฏขึ้นที่บรรพคูหาหิมพานต์ แล้วนมัสการถามว่า ข้าแต่พระสงฆ์เถระ ท่านทั้งปวงให้หา
ข้าพเจ้ามาด้วยกิจเป็นประการใด ฝ่ายว่าพระสงฆ์เถรเจ้าทั้งปวงนั้นจึงมีเถรวาจาบอกว่า ดูกร
อาวุโส บัดนี้สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นสาคลนครนั้นเบียดเบียนพระอรหันต์และพระภิกษุ
ทั้งหลายนัก ตั้งแต่จะเที่ยวซักถามปริศนา และหาบุคคลผู้ใดจะพยากรณ์กล่าวแก้ไม่ได้ ก็อาวุโส
จงไปแก้ไขปริศนา ทรมานพระยามิลินท์ให้เสียพยศอันร้าย
พระนาคเสนจึงว่า อย่าว่าแต่พระยามิลินท์เลย บรรดาพระยาอยู่ในชมพูทวีปที่มีปัญหา
เหมือนพระยามิลินท์ ถึงจะซ้อนตัวต่อศีรษะกันเข้ามาซักถามปัญหาตื้นลึกประการใด ข้าพ-
เจ้าจะแก้ให้สิ้นสงสัยให้มีพระทัยยินดี นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงนี้อย่าช้า จงไปสู่สำนักพระเจ้า
มิลินท์ ณ เมืองสาคลนคร อย่างได้ปรารมภ์สะดุ้งหวั่นไหว จงมาไปกับข้าพเจ้าในกาลบัดนี้
อถ โข เถรา ฝ่ายว่าพระมหาเถรเจ้าทั้งหลายก็กระทำกาสาวปโชติ ครั้นย้อมตากลำดับ
พับจีบแล้วก็จับบาตรบริขารที่จะคมนาการมากับพระนาคเสน
เตน โข ปน สมเยน แม้ในสมัยปางนั้น ยังมีพระมหาเถระผู้หนึ่งมีนามกรชื่อว่าพระ
อายุบาล ปญฺจนิกายิโก ชำนาญในนิกาย 5 พระผู้เป็นเจ้าอาศัยอยู่ในอสงไขยบริเวณ ตทา
ในกาลนั้น ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์นรินทร์บรมกษัตริย์ทรงพระดำริในพระทัยว่า แท้จริง
สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายนั้นพระอรหันต์ก็ดี แต่บรรดาที่เป็นเจ้าคณะเจ้าหมู่ ใครผู้ใด
หนอที่จะรู้พระพุทธวจนะ แก้ไขวิมติสงสัยของอาตมา อาตมาจะเข้าไปสู่หาผู้นั้น โทสินา รตฺติ
ราตรีวันนี้งามด้วยรัศมีพระจันทร์แจ้งกระจ่างปราศมลทินโทษ ทรงพระดำริแล้วก็โปรดมี
พระราชโองการตรัสถามราชเสวกโยนก 500 เหมือนทรงพระราชดำรินี้ ข้าราชการก็ทูลว่ายังมี
พระโองการประภาษให้อำมาตย์คนหนึ่ง ออกไปบอกพระอายุบาลว่า พระโองการประภาษจะ
ออกมาหาสนทนากัน ส่วนพระอายุบาลนั้นก็ว่าจะเสด็จมาก็เสด็จเถิด อำมาตย์จึงเอาถ้อยคำพระ

อายุบาลนี้ไปกราบทูล สมเด็จพระเจ้าธรณีบดินทร์มิลินท์บรมกษัตริย์ได้ทรงฟังก็หรรษา มีหมู่
โยนกเสนา 500 แวดล้อมแห่ห้อมเป็นยศบริวร ส่วนสมเด็จพระภูมิบาลเสด็จด้วยรถทรง
เทียมด้วยสินธพงามบรรจง พร้อมด้วยจตุรงคนิกรโยธีเสนีเสนามิข้าก็ถึงบริเวณจังหวัด สมเด็จ
พระเจ้ามิลินทร์ปิ่นกษัตริย์มีพระราชโองการตรัสให้หยุดพิชัยราชรถทรงไว้ เสด็จไปด้วยบวร
เบื้องบาทเปล่า เข้าสู่สำนักพระอายุบาล นมัสการแล้วกระทำปฏิสันถารโอภาษปราศรัยกันไปมา
จึงมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ปพฺพชฺชา อันว่าบรรพชาของ
พระผู้เป็นเจ้านี้ โก ปรมตฺโถ เป็นอรรถอันอุดมอย่างไร
พระอายุบาลแก้ไขวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตร อันว่าบรรพชานี้ จัดว่าเป็น
ธรรมจริยาและสมจริยา ประพฤติจะให้เป็นประโยชน์เป็นผลแก่ฝูงเทวดาและมหาชน ฉะนี้เหมือน
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์นริทรจอมกษัตริย์คัดข้อซักถามว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
คิหี ธมฺมจารี ถ้าว่าเป็นฆราวาสเล่าเป็นธรรรมจารี ประพฤติในธรรมเสมอในธรรมเป็นอันดี
โกจิ อตฺถิ จะมีวิเศษข้างหรือหามิได้
พระอายุบาลแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ฆราวาสที่ประกอบการ
เป็นธรรมจารีสมจารี ยินดีเลื่อมใสเชื่อคูรพระรัตนตรัย สมาทานถือไว้มั่นคงทรงศีล 5 ประการ
8 ประการ ให้ทานภาวนาอุตส่าห์ฟังธรรม ชื่อว่าเป็นธรรมจารีสมาจารี ก็จัดว่าประพฤติให้
เป็นประโยชน์เป็นผลแก่อมรคณานิกรมหาชน ครั้งเมื่อสมเด็จพระทศพลยังมีพระชนมายุอยู่นั้น
โสดเสด็จยังพาราณสีนคร โปรดประทานธรรมเทศนาพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์
ภิกขุในป่าอิสิปตนมิคทายวัน ครั้นจบลงแล้ว พรหมทั้งหลาย 18 โกฏิได้ฟังก็สำเร็จประโยชน์
ได้มรรคผลเป็นอริยบุคคลอันอุดม พรหมทั้งหลายย่อมเป็นคฤหัสถ์อยู่หมด จะได้อุปสมบท
บรรพชาหามิได้ ครั้งสมเด็จพระบรมโลกนาถโปรดประทานพระสัทธรรมเทศนามหาเวสสัน-
ตรปริยาย และขทิรังคารปริยาย ราหุโลวาทปริยาย แทบประตูเมืองสังกัส ฝูงบริษัท 20 โกฏิ
สำเร็จประโยชน์ได้มรรคผล คนทั้งหลายนั้นกับทั้งเทพดาทุกชั้นฉกามาพจรพรหมคณาในห้อง
โสฬส เป็นคฤหัสถ์หมด จะได้อุปสมบทบรรพชาหามิได้
เมื่อพระอายุบาลแก้ไขดังนี้ กรุงมิลินทราธิบดีมีพระโองการตรัสว่า ภนฺเต อายุปาล
ข้าแต่พระอายุบาลผู้เป็นเจ้า คฤหัสถ์เหล่านั้นกับบรรพชาของพระผู้เป็นเจ้านี้ก็เสมอกัน สุดแท้
แต่ว่าใครปรนนิบัติดีแล้วก็ได้มรรคผลเสมอกัน ที่ถือบรรพชาดุจสมณะทั้งหลายอันเป็นสากยบุตร
พุทธชิโนรสของสมเด็จพระทศพลเจ้าอันทรงธุดงค์ต่าง ๆ นั้น ชะรอยว่ากรรมได้สร้างแต่ปาง

หลังถือเอกาฉันจังหันหนเดียว แต่ชาติก่อนเป็นโจรเที่ยวปล้นชาวบ้านไปตีชิงอาหารเขา ครั้น
ชาตินี้เล่าผลกรรมนั้นดลจิตให้ฉันหนเดียว ดูบรรพชานี้ไม่มีผล ถึงจะรักษาศีลสังวรวินัยก็ไม่มีผล
และที่ว่าจะรักษาตบะฌานก็ไม่มีผล จะรักษาซึ่งพรหมจรรย์ก็ไม่มีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ประการ
หนึ่งเล่า ที่ท่านถือธุดงค์อัพโภกาสมิได้อยู่ในเสนาสนะ แต่ปุพพชาติก่อนนั้นเป็นโจรเที่ยวปล้น
กระทำอกุศลทุจริตร้ายทำลายบ้านเรือนท่าน ให้เจ้าของต้องทรมานกินกลางดอนนอนอนาถา
หาอาสนะมิได้ ผลอกุศลก็ดลใจ ให้ถืออัพโภกาสหาอาสนะนั่งนอนมิได้ ธุดงคคุณที่รักษาไว้จะ
ได้ชื่อว่าศีลก็หามิได้ จะเป็นตบะหามิได้ จะเป็นพรหมจรรย์ก็หามิได้สูญเปล่า ประการหนึ่งเล่า
ที่ท่านถือธุดงค์อันชื่อว่าเนสัชชิกนั่งลืมจักษุอยู่ไม่จำวัดนั้น ชะรอยชาติก่อนจะเป็นโจรหยาบช้า
เป็นโจรใจร้ายมาคอยปล้นที่หนทางตีต่างตีเกวียนเบียนบุกบั่นเข้าตีรัน ครั้นจับเข้าของได้ก็
ผูกมัดรัดมือไว้เก็บเอาข้าวของโคกระบือไป ได้กระทำไว้แต่ชาติหลังนั้น จึงเผอิญให้สำคัญผูกพัน
เอาเนสัชชิกธุดงค์ จะนอนลงมิได้นั่งลำบากตากตาอยู่ โยมคิดดูซึ่งธุดงค์นี้ไม่มีผลจะเป็นศีลก็หา
มิได้ จะเป็นตบะก็หามิได้ จะเป็นพรหมจรรย์ก็หามิได้ ก็จะบรรพชารักษาธุดงค์ไปต้องการอะไร
ปรนนิบัติในคฤหัสถ์ก็ได้มรรคผลเหมือนกันแล้วนี้ เป็นคฤหัสถ์อยู่มิดีกว่าหรือนะพระผู้เป็นเจ้า
เมื่อบรมปิ่นกษัตริย์ตรัสเท่านี้ พระอายุบาลขี้คร้านที่จะตอบกระแสพระโองการก็ดุษณีภาพนิ่ง
ไปมิได้ถวายพระพรโต้ตอบต่อข้าปัญหา ปญฺจสตา โยนกข้าหลวงทั้งปวง 500 นั้นก็อภิวันท์
ทูลว่า มหาราช ข้าแต่บพิตรผู้สถิดในสังคหวัตถุการ พระอายุบาลนี้ท่านชำนาญนิกาย 5 อวิ-
สารโท
ไม่แกล้วกล้าที่จะวิสัชนา น กิญฺจิ ปฏิภาสติ จึงมิได้โต้ตอบพจนารถพระราชปุจฉา ใน
กาลบัดนี้ อถ โข มิลินฺโท ราชา อันดับนั้น สมเด็จพระเจ้ามิลินท์นริทรราชเรืองเดช จะได้ทรง
สังเกตนับถือถ้อยคำข้าราชการทูลเฉลยนั้นหามิได้ เห็นพระอายุบาลนิ่งไปก็ตบพระหัตถ์
ตรัสเย้ยว่า ดูกรโยนกทั้งปวงเอ๋ย อาตมาคิดดูทวีปชมพูนี้สิ้นสุด ตุจฺโฉ วต โอ้ มาสูญแล้วแท้จริง
จากบุคคลที่มีปัญญายอดยิ่งปรีชาชาญ หรือว่าสมณพรหมณาจารย์ผู้ใดที่ปรีชาเชี่ยวชาญเป็น
อาจารย์เจ้าหมู่เจ้าคณะ และหมู่สงฆ์อันได้เรียนรู้ธรรมะของสมเด็จพระพุทธองค์ อาจจะแก้วิมติ
สงสัยของอาตมานี้ได้ เห็นทีจะสิ้นสุดเสียครั้งนี้แล้วหนอ ฝ่ายโยนกได้ฟังก็มิได้ตอบต่อสนองทูล
ฉลองพระโองการ ส่วนพระอายุบาลเห็นอาการดังนั้นจึงดำริว่า มยํ สมณา นาม แท้จริงเรา
เป็นสมณะไม่ควรที่จะทุ่มเถียงไปมา ที่จริงปัญหานี้จะวิสัชนาให้ฟังอีกก็มิได้ตอบต่อสนองทูล
จะทะเลาะวิวาท ข้อซึ่งอาตมาไม่แก้ปัญหา เนว สาสนสฺส อุลฺลุลิกา จะพาพระพุทธศาสนาให้
เสื่อมเศร้าไปเป็นว่าหามิได้ ดำริในใจฉะนี้แล้วพลางทางอุฏฐาการไปจากสถานที่นั้น ส่วนสมเด็จ
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นทวีปชมพูก็เข้าสู่พระนคร ตั้งแต่จะทรงพระอนุสรณ์รำพึงที่จะถามปัญหา
จึงตรัสถามโยนกข้าหลวงทั้งปวงว่า ยังจะมีพระภิกษุรูปใดที่ปรีชาฉลาด อาจจะแก้ปัญหาพาให้
เราสิ้นสงสัยมีที่ไหนบ้าง โยนกข้าหลวงทั้งปวงได้ฟังก็ถวายบังคมและก้มหน้านิ่งไป จึงมีพระโองการ


ถามไถ่เนมิตติยอำมาตย์ผู้ฉลาดอีกเล่า
วันนั้นพอเนมิตติยอำมาตย์ได้ฟังเขาเล่าลือมาว่า นาคเสโน พระนาคเสนเจ้าพระองค์หนึ่ง
อายสฺมา ผู้มีอายุมิ่งมงกุฎวิสุทธิสงฆ์องค์เอกอเสกขบุคคล รู้มนตราไตรเพทวิเศษในไสยศาสตร์
รู้พุทธโอวาทเจนจัด พระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ ปริยัติไตรเพทสุตตันตะไตรเพท รู้
ปฏิเวธธรรมาคมอุดมกว่าธีราธีรชาติ มีราคาทิกิเลสขาดสูญแล้วจากสันดาน ควรแก่เครื่อง
สักการ อันมนุษย์อินทร์พรหมยักษ์หมู่นาคหากจะบูชา มีปัญญาดุจหนึ่งมหาสมุทรสาคร
อันขจร ด้วยระลอกชลธี อาจจะกำจัดเสียซึ่งคำเดียรถีย์อันกล่าวติเตียนเป็นเสี้ยนหนามความ
มิดี เมื่อจะแปลบาลีก็รุ่งโรจน์ไพเราะแก่โสตประสาท เมื่อจะประกาศซึ่งคำสั่งสอน 9 ประการ
แห่งสมเด็จพระชินวร ก็มีพระกรกุมแก้วกล่าวแล้วคือพระศาสนา ยกขึ้นเชิดชูแก่หมู่ประชาให้เห็น
แสง เมื่อจัดแจงยกขึ้นซึ่งเครื่องบูชาสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ เมื่อจะตั้งซึ่งเสาเตว็ดปักซึ่งธรรมให้
รอบโลกเลิศล้ำไตรภพพื้นธรณี เมื่อจะประโคมธรรมดนตรีตีสังขเภรี ดีดกระจับปี่ และสีซอโทน
รำมะนา ดนตรี อันนับได้ 4 กล่าวคือปรีชาจะชี้แจงให้เห็นในพระจตุราริยสังธรรมทั้ง 4
ตามพุทโธวาท เมื่อจะเปล่งออกซึ่งธรรมคเวนทรอุสุเภนทรนาทสิงหประกาศอันไพเราะโสตประสาท
เมื่อจะยังอากาศให้พิลึกกึกก้องเรืองรองด้วยสายฟ้า คือปรีชาคะนองและเสียงเมฆสนั่นก้อง
โกลาหล ยังห่าฝนให้ตกพรมพรำลงมาเย็นเกศาสกลโลกธาตุทวีปชมพู ประกอบด้วยหมู่
สงฆ์ล้อมซ้ายขวา ก็อัญชลีลาพระขีณาสพ 100 โกฏิ น้อมศิโรตม์นบนอบประทักษิณ สิ้นตติย
วารเวียนสามรอบ แล้วลีลาจากคูหาห้องหิมพานต์ เที่ยวสำราญจาริกมาตามคามชนบท
นิคมปัจจันตราชธานี บันลือซึ่งธรรมเภรีเสียงกลองกล่าวคือธรรมอันวิเศษ เทศนาโปรดฝูง
ประชาชนในตำบล บ้านน้อย เมืองใหญ่กรุงกษัตริย์สามนต์มา อนุปุพฺเพน โดยลำดับดังนี้ ก็ถึง
กรุงสาคลราชธานี อันเป็นที่อยู่แห่งกรุงมิลินท์ปิ่นทวีปเวียงชัย พระผู้เป็นเจ้าเข้าอาศัยอยู่ใน
อสงไขยบริเวณ อันเป็นที่อยู่แห่งพระอายุบาลก็มีในกาลนั้น
นี่แหละเนมิตติยอำมาตย์ เมื่อสมเด็จพระเจ้ามิลินท์นรินทรราช ประภาษถาม
ทราบความฉะนี้ จึงกราบทูล มหราช ข้าแต่สมเด็จบรมบพิตรผู้ท่านพิภพเวียงชัย อย่า
ได้ทรงพระดำริเร่าร้อนพระทัยเลย บัดนี้ยังมีพระภิกษุองค์หนึ่งยิ่งยอดปรีชาโฉมงามมีนามชื่อว่า
นาคเสนแสนฉลาดชาติพหุสูต ทรงสุตตันตะไตรปิฎก เป็นสงฆปริณายกอันวิเศษสำเร็จ
ปฏิเวธธรรมมรรคผล เป็นอัครบุคคลเลิศล้ำ ได้ปฏิสัมภิทาธรรม ชำนาญฌานวสีบารมีธรรม
ถ้วนกำหนดเป็นอัครชิโนรสเรืองชำนาญปรีชา ทุกเทพชั้นฉ้อกามาองค์อมรินทร์ดาวดึงสา สุ-
ยามยมวรุณกุเวรเสสวัณธตรฐ หมดทั้งท้าวมหาพรหมเป็นบรมบิดามหาแห่งโลกเลิศประเสริฐกว่า
สรวงสวรรค์ย่อมมาถามซึ่งปัญหา น้อมเกศาเศียรระเนนแทบเบื้องบาทพระนาคเสนสิ้น ประสา

อะไรกับมนุษย์เดินดินจะอวดดี ตั้งแต่นี้อย่าได้ทรงพระดำริวิตกวิจารณ์ ล้นเกล้าล้นกระหม่อม
จงทราบในพระบวรปรีชาญาณด้วยประการดังนี้
อถ โข มิลินฺโท ราชา ลำดับกาลปางนั้นแท้จริง สมเด็จบรมมิ่งมงกุฎกษัตริย์ขัตติย-
ภูมินทร์มิลินทราช ทรงฟังเนมิตติยอำมาตย์ออกนามว่าพระนาคเสน ขณะนั้นพระทัยเธอ
ไหวหวั่นพระโลมาพองสยองพระเกศ กลัวเดชพระนาคเสนผู้วิเศษนี้ครัน ๆ มีราชโองการ
สั่งเทวมันติย อำมาตย์เร็วพลันว่า ดูกรเทวมันติยอำมาตย์เอ๋ย อย่าอยู่ช้าเลย สูชาวเจ้าจงออก
ไปยังอสงไขยบริเวณ นิมนต์พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าเข้ามายังราชฐานในกาลบัดนี้
ส่วนเทวมันติยอำมาตย์รับพระราชโองการแล้ว ถอยหลังคลานออกมาจากราชฐาน ขมี
ขมันให้ท้นพระราชหฤทัยจึงใช้มหาดเล็กลูกเวรเป็นทูตไปนิมนต์พระนาคเสนว่า พระโองการให้
อาราธนาเข้ามาสู่พระราชฐาน ส่วนพระนาคเสนได้ฟังอาการจึงมีเถรวาจาว่า ดูกรทูต ท่าน
จงกลับไปทูลเถิดว่า อาตมาให้เชิญบรมกษัตริย์ผู้ประเสริฐเสด็จมายังสำนักแห่งอาตมา ส่วน
ทูตฟังเถรวาจารก็นมัสการลามาขมีขมันเรียนแก่เทวมันติยอำมาตย์ เทวมันติยอำมาตย์ก็เข้าสู่
ราชฐานกราบทูลอาการว่า บัดนี้พระนาคเสนจะเข้ามาสู่ราชฐานหามิได้ สั่งให้เชิญเสด็จออกไป
ที่อสงไขยบริเวณ พระนาคสนถวายพระพรเข้ามาอย่างนี้
ส่วนสมเด็จพระเจ้ามิลินท์นรินทราธิบดี ได้สวนาการทรงฟังก็เสด็จยังพระบวรสุวรรณ
วิชัยบุษบก พระที่นั่งรถยานอันเทียมด้วยสินธพอาชาชาญ ดูเห็นงามอร่ามเรือง ประเทือง
ด้วยธงปักงอนรถงามระหง ในธงระบุระบัดพระพายพัดต้องแสงทอง แสงแก้วเรืองรองแวววาว
เสนาธนูน้าวเกาทัณฑ์ พลขันธ์แห่หน้าพร้อมด้วยโยธาจตุรงค์ องค์เสนีมี่ก้อง โห่ร้องแห่แหน
พลเสนีนับแสนแห่ห้อมล้อมมา มีอานุภาพนี้นักหนา ดุจพระสุริยาเยื้องรถบทจรเร่งรีบส่องทวีป
เมื่อเวลามัชฌันติกสมัย มิทันใดก็ถึงประตูอสงไขยบริเวณพลัน จึงสั่งให้ประทับที่นั้น จึงส่งพระ
ขรรค์ให้มหาดเล็กเสด็จลงจากรถยานุมาศ ก็เสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า เข้าสู่พระ
ทวารประตูอสงไขยบริเวณ ขณะนั้นพระนาคเสนวิสุทธิสงฆ์องค์เอกอเสกขบุคคลเสด็จอยู่ใน
มณฑลมาลกะอันงามพรรณราย อธิบายว่าโรงธรรมการบุเรียนใหญ่ มีในกลาอสงไขยบริเวณนั้น
มีพระภิกษุแปดสิบพันแวดล้อมหน้าหลัง ดูนี้งามดังท้าวธตรฐมหาหงส์อันลงจับอยู่ที่กลางสระ
ศรีสาโรธ ปราโมทย์ด้วยสกุณหงส์แปดสิบพันเป็นบริวาร ดูนี้งามปานกัน ปรสํ ทูรโตว ทิสฺวา
ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ขัตติยะเรืองเดช ทอดพระเนตรเห็นแต่บริษัทสงฆ์ มิได้รู้
จักองค์พระนาคเสนแต่ไกล มีพระโองการไถ่ถามเทวมันติยอำมาตย์ว่า พระนาคเสนผู้ฉลาดองค์
ใดนั่งอยู่ที่ไหน เทวมันติยอำมาจย์ผู้ไวปัญญาจึงกราบทูลว่า ขอรับพระราชทาน พระนาคเสน
นิสัชนาการนั่งอยู่กลางสงฆ์คือองค์นั้น ครั้นท้าวเธอได้ทัสนาการเห็นพระนาคเสนก็ตกพระทัย

ภยโลมหํสนํ บังเกิดพระโลมาพองสยดสยองพระเศียร พระทัยนี้เปลี่ยน ๆ ปิ่มประหนึ่งจะทะลึ่ง
ประลาตหนีไป เสยฺยถา จะมีครุวนาฉันใด อุปไมยเหมือนมนุษย์อันเห็นยักขินีผีเสื้อ เหมือน
กวางเห็นเสือ เหมือนมฤคีหมู่เนื้ออันเห็ฯสีหราชชาติไกรสร เหมือนพระจันทร์ล้อมด้วยดาวดา-
รากรเยื้องรถพิมานจรจะพบอสุรินทราชราหู เหมือนวิฬาร์กับหนูเหมือนทีฆชาตินาคงูแลเห็นครุฑ
สุดที่จะกลัวตัวสั่นฉันใด พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นพิภพเวียงชัย ทอดพระเนตรเห็นพระนาคเสนแต่
ไกลวันนั้นก็กลัวปานกัน น้ำพระทัยนี้ครั่น ๆ จิตฺตํ น สณฺฐติ พระทัยนี้ไหวหวั่นตั้งมั่นลงมิได้
น้ำพระทัยดำริว่า โอ้อาตมานี้แต่อวดดีมานี้ก็นาน หาผู้จะต่อต้านมิได้ ปราชโย อาตมานี้จะถึง
ปราชัยหักลงไปวันนี้เป็นมั่นคง เตนาหุ โปราณา เหตุดังนั้นพระอาจารย์ผู้ประเสริฐเกิดในก่อน
จึงกล่าวเป็นนิคมคาถาไว้ว่า
จรเณนปิ สมฺปนฺนํ สุทนฺตํ อุตฺตเม ทเม
ทิสฺวา ราชา นาคเสนํ อิทํ วจนมพฺรวิ
กถิกา มนา หพู ทิฏฺฐา สากจฺฉา โอสฏฺฐา พหู
น ตาทิสํ ภยํ โหติ อชฺช ตาโส ยถา มม
นิสฺสํสยํ ปราชโย มม อชฺช ภวิสฺสติ
ชโย จ นาคเสนสฺส ยถา จิตฺตํ น สณฺฐิตนฺติ

ใจความในพระคาถาเหมือนที่วิสัชนามาแล้ว พาหิราจริยากถา วิสัชนาด้วยพระเจ้า
มิลินท์ถามอาจารย์ทั้งปวงภายนอกมีอาจารย์ปูรณกัสสปเป็นต้นมีพระอายุบาลเป็นปริโยสานที่สุด
ยุติแต่เท่านี้

วัญจนปัญหา


อถ โข กาเล

ในกาลนั้นแท้จริง อายสฺมา นาคเสโน พระนาคเสนผู้มีอายุนั่งอยู่ในที่ใด
พระยามิลินท์ก็เข้าสู่สถานที่นั้น อุปสงฺกมิตฺวา ครั้นเข้าไปใกล้แล้ว บพิตรเจ้าจึงกล่าวซึ่งสัมโมท-
นียกถา ควรจะลึกสิ้นกาลช้านาน นิสีทิ แล้วก็ทรงนิสัชนาการนั่งในที่สมควรข้างหนึ่ง
ฝ่ายพระนาคเสนผู้มีอายุ ก็สนทนาด้วยถ้อยคำเป็นที่ยังจิตแห่งพระยามิลินท์ให้ชื่นชม
โสมนัสปสันนาการ
สมเด็จบรมกษัตริย์พระเจ้ามิลินท์ จึงทรงปุจฉาซึ่งอรรถปัญหาประถมว่า ภนฺเต