เมนู

ภาคผนวก


ภาคผนวก
มิลินทปัญหา เป็นปกรณ์มีมาเก่าแก่และสำคัญปกรณ์หนึ่งในพระพุทธศาสนา ไม่
ปรากฏว่าท่านผู้ใดเป็นผู้รจนา เชื่อกันว่ารจนาขึ้นในราวพุทธศักราช 500 ปรากฏตาม
มธุรัตถปกาสินี ฎีกาแห่งมิลินทปัญหาซึ่งรจนาโดยพระมหาติปิฎกจุฬาภัย(1) ว่าพระพุทธโฆษา-
จารย์ เป็นผู้แต่งนิทานกถาและนิคมกถาประกอบเข้า ส่วนตัวปัญหา ท่านหาได้กล่าวว่าผู้ใด
แต่งไม่(2)
มิลินทปัญหาแบ่งออกเป็น หกส่วน คือ บุพพโยค ว่าด้วยบุพพกรรมและประวัติ
ของพระนาคเสนและพระเจ้ามิลินท์ มิลินทปัญหาว่าด้วยปัญหาเงื่อนเดียว เมณฑกปัญหา ว่า
ด้วยปัญหาสองเงื่อน อนุมานปัญหา ว่าด้วยเรื่องที่รู้โดยอนุมาน ลักขณปัญหา ว่าด้วยลักษณะ
แห่งธรรมต่าง ๆ อนุมานกถาปัญหา ว่าด้วยเรื่องที่จะพึงทราบด้วยอุปมา ในหกส่วนนี้ บางส่วน
ยกเป็นมาติดา บางส่วนไม่ยกเป็นมาติกา จัดรวมไว้ในมาติกาอื่น คือ ลักขณปัญหารวมอยู่ใน
มิลินทปัญหา อนุมานปัญหารวมอยู่ในเมณฑกปัญหา เพราะฉะนั้น บุพพโยคซึ่งเรียกว่า พาหิรกถา
หนึ่ง มิลินทปัญหา หนึ่ง เมณฑกปัญหา หนึ่ง และอุปมากถาปัญหา หนึ่ง(2)
เกี่ยวกับระยะเวลาแห่งการจรจามิลินทปัญหาปกรณ์นี้ สมเด็จพระสังฆราช (อุฏฺฐายี-
มหาเถร) ทรงสันนิษฐานไว้ว่า ในพุทธโฆสัปปวัตติกถา ท้ายคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ กล่าวว่า
พระพุทธโฆษาจารย์เกิดเมื่อพระพุทธศาสนากาลล่วงแล้ว 965 พรรษา ในพาหิรกถาแห่ง
มิลินทปัญหากล่าวว่า พระเจ้ามิลินท์ทรงสมภพ เมื่อพุทธศักราช 500 ปี แต่ไม่ปรากฏว่า
พระเจ้ามิลินท์ทรงครองราชสมบัติในสาคลนคร เมื่อพระพุทธศักราชล่วงแล้วเท่าไร ปรากฏแต่
เพียงว่า พระเจ้ามิลินท์ทรงชอบรุกรานถามปัญหาธรรม จนไม่มีใครสามารถจะวิสัชนาได้
สมณพราหมณ์จึงต่างพากันหนีออกไปหมด สาคลนครว่างเปล่าจากสมณพราหมณ์ผู้เป็น
บัณฑิตอยู่ถึง 12 ปี พระนาคเสนจึงได้อุบัติขึ้น และบรรพชาเป็นสามเณะเมื่ออายุได้ 7 ขวบ

(1) ในคำนำ มิลินทปัญหา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุภาพ ว่า
พระปิฎกจุฬาภัย เป็นผู้รจนามิลินทปัญหา และในบัญชีคัมภีร์ภาษาบาลีและสันสกฤต ของหา
พระสมุดวชิรญาณ (หอสมุแห่งชาติ) ว่า พระติปาติเถระ เป็นผู้แต่งมธุรัตถปกาสินี แต่มธุรัตถปกาสินี
ฉบับอักษรโรมัน ก็ว่า รจนาโดย พระมหาติปิฎกจุฬาภัยเถระ
(2) พระนิพธ์คำนำ ของสมเด็จพระสังฆราช (อุฏฺฐายีมหาเถร) ในมิลินทปัญหาฉบับโรงพิมพ์ไท 2470

อุปสมบทเมื่ออายุ 20 ปีเต็ม บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว จึงไปเรียนพระพุทธวจนะในสำนัก
ของพระพุทธรักขิตเถระ ที่อโสการาม เมืองปาฏลีบุตร เรียนพระไตรปิฎกใช้เวลาในการเรียน 3
เดือน และพิจารณาอรรถแห่งพระพุทธวจนะที่เรียนแล้วอีก 3 เดือนจึงจบ พร้อมทั้งได้
บรรลุพระอรหัต แล้วจึงกลับสู่สังเขยยบริเวณ จนถึงได้พบกันพระเจ้ามิลินท์กระทำปุจฉา
วิสัชนากะกันและกัน ระยะกาลตั้งแต่พระนาคเสนอุปสมบทแล้ว ถึงวิสัชนาปัญหากับพระเจ้า
มิลินท์นี้ อนุมานดูไม่แน่ว่ากี่ปี แต่ก็คงได้ความว่า พระนาคเสนเกิดภายหลังพระเจ้ามิลินท์
หลายสิบปี คงในราวพระพุทธศักราช 530 ปี จะอ่อนแก่ไปบ้านก็คงไม่มากนัก มิลินทปัญหานี้
คงเกิดขึ้นในราวพุทธศักราช 550 ปีขึ้นไป เพราะฉะนั้น เมื่อประมวลหลักฐานที่มาทั้งสาม
สถานประกอบด้วยเข้าแล้วคงได้ความว่า ตัวมิลินท์ปัญหาเกิดขึ้นราวพุทธศักราช 550 ปี และ
พระพุทธโฆษาจารย์ได้แต่งนิทานกถากับนิคมกถาประกอบเข้าให้บริบูรณ์ ได้ลักษณะแห่ง
ปกรณ์ในระหว่างพุทธศักราช 957 ถึง 1000 ปี (1)
ศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ (Prof. Rhys Davids) ผู้แปลมิลินทปัญหาเป็นภาษาอังกฤษ
เป็นคนแรก (เมื่อ พ.ศ. 2433) ไม่ได้ระบุผู้รจนา กล่าวแต่เพียงว่า มิลินทปัญหา เป็นหนังสือ
ที่แต่งขึ้นทางอินเดียภาคเหนือ ราวแรกตั้งคริสตศักราช (คริสตศักราชเริ่มเมื่อ พ.ศ. 543) ใน
เวลาที่พระพุทธศาสนายังไม่เกิดแตกแยกกันเป็นนิกายมหายาน ข้างฝ่ายเหนือ และนิกายเถรวาท
ข้างฝ่ายใต้ และว่ามิลินทปัญหานี้ เดิมคงแต่งขึ้นในภาษาสันสกฤตหรือภาษาปรากฤตเช่นเดียว
กับคัมภีร์อื่น ๆ ที่รจนาขึ้นในทางอินเดียภาคเหนือ แต่ฉบับเดิมสาบสูญไปเสียแล้ว ฉบับที่
ปรากฏสืบมาจนบัดนี้นั้น เป็นฉบับที่ชาวลังกาได้แปลเป็นภาษาบาลีไว้(2)
วี. เทรงก์เนอร์ (V. Tremckner) ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดมิลินทปัญหาออกเป็นอักษรโรมัน
เป็นคนแรก (เมื่อ พ.ศ. 2423) กล่าวว่า มิลินทปัญหานี้ รจนาขึ้นราวคริสตศตวรรษที่ 1
และลงความเห็นว่าต้นฉบับเดิมเป็นภาษาสันสกฤต เพราะใช้คำเริ่มต้นว่า "ตมฺยถา นุสูยต"
แทนที่จะใช้คำเริ่มต้นที่นิยมใช้กันในคัมภีร์บาลีทั่วๆ ไปว่า "เอวมฺเม สุตํ" และว่า เป็นปกรณ์
ที่รจนาขึ้นทางอินเดียเหนือ อันเป็นดินแดนที่อยู่ในความปกครองของพระเจ้าเมนันเดอร์ (มิลินท์)
ซึ่งดูก็ไม่น่าจะมีอะไรเกี่ยวข้องกับลังกาทวีป(3)

(1) พระนิพนธ์คำนำ สมเด็จพระสังฆราช (อุฏฺฐายีมหาเถร) ในมิลินทปัญหาฉบับโรงพิมพ์ไท 2470
(2) พระนิพนธ์คำนำ ของสมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ ในมิลินทปัญหา ฉบับสมุดแห่งชาติ 2500
(3) Foreword by Prof. Nalinaksha Dutt, Milindapanha and Nagasenbhikshussutra by Dr. thich Minh
Chau Bhikkhu, Calcutta< 1964.

ส่วนท่านอานันท์ เกาศัลยายนะเถระ (Anand Kausalyayana) ชาวอินเดีย กล่าวว่า
มิลินทปัญหานั้น รวบรวมขึ้นโดยพระนาคเสนมหาเถระ และเป็นคัมภีร์ที่มีหลักฐานดีเล่มหนึ่ง
มิลินทปัญหาคงรจนาขึ้นในสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์ (มิลินท์) หรือหลังจากนั้น แต่จะต้องรจนา
ขึ้นก่อนสมัยพระพุทธโฆษาจารย์ เพราะพุทธโฆษาจารย์มักจะอ้างถึงมิลินทปัญหาเสมอ เมื่อ
ประมาณดูแล้ว มิลินทปัญหาคงจะรจนาขึ้น 150 ปี ก่อนคริสตศักราช ถึงคริตศักราช 400 ปี
เมื่อถือว่ามิลินทปัญหามีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สิ่งที่ควรพิจารณาต่อไปก็คือใครเป็นผู้
รวบรวมขึ้น รวบรวมขึ้นเมื่อไร มีการเพิ่มเติมลงไปบ้างหรือไม่ และถ้ามีการเพิ่ม เพิ่มเติมไป
เมื่อไร มีผู้เสนอความคิดว่ามิลินทปัญหาไม่ใช่เป็นคัมภีร์ที่รจนาขึ้นโดยบุคคลคนเดียว เพราะ
แต่ละตอน มีลีลาการแต่งแตกต่างกัน บางทีจะมีการเพิ่มเข้าในภายหลังเป็นบางตอนก็ได้ ข้อ
พิสูจน์คำที่กล่าวนี้มีอยู่ว่า ฉบับที่แปลเป็นภาษาจีนระหว่างคริสตศักราช 317-420 (พุทธ
ศักราช 860-963) ซึ่งเรียกว่านาคเสนสูตรนั้น มีเพียง 3 ตอนแรก เมื่อพิจารณาตามหลักนี้
จะเห็นได้ว่า 4 ตอนที่เหลือเพิ่มเข้ามาในภายหลัง ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งที่สนับสนุนคำ
กล่าวข้างต้น คือ เมื่อจบตอนที่ 3 แล้ว ก็แสดงว่าพระเจ้ามิลินท์ทรงถามปัญหาจบลง แต่
ถึงตอนที่ 4 กลับเหมือนทรงเริ่มต้นถามใหม่อีก จึงมีทางสันนิษฐานได้เป็น 3 ทางคือ
(1) อาจจะมีการเพิ่มเติมเข้ามาภายหลังอีกหลายตอน (2) อาจจะแต่งขึ้นครบบริบูรณ์อย่าง
ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้มาเดิมแล้ว และ (3) ชาวจีนอาจจะเลือกแปลไว้เพียง 3 ตอนแรก
ก็ได้ (1)
นาง ไอ.บี ฮอนเนอร์ (I. B. Horner) กล่าวว่า มิลินทปัญหาอาจจะไม่ได้แต่งขึ้นใน
สมัยของพระเจ้ามิลินท์ นาย เอส. ดุตต์ (S.Dutt) ประมาณว่า อาจจะร้อยกรองขึ้นในยุคต่อๆ
มาอีกช้านาน และนาย เอ. แอล. บาชัม (A. L. Basham) ก็ว่า บางทีก็อาจจะรจนาขึ้นใน
คริสตศตวรรษที่ 1 หรือมิฉะนั้นก็ราวแรกตั้งคริสตศักราช แต่อย่างน้อยก็ต้องก่อนพระพุทธ-
โฆษาจารย์ไปลังกา แม้จะไม่ทั้งหมดก็ต้องบางส่วน หรือไม่ก็ภายหลังที่พระไตรปิฎกได้จัดเป็น
ชาดก เป็นทีฆนิกาย มัชฌิม-สังยุตต-อังคุตตร-ขุททกนิกายแล้ว ส่วนภาณกาจารย์ผู้ทำหน้าที่
ในการรวบรวมนั้น ก็คงจะรวมอยู่ในจำนวนผู้ที่พระนาคเสน กล่าวว่าเป็นผู้ที่อยู่ในธรรมนคร
ของพระพุทธเจ้า(2) เอ.ดี. แอดิการัม (A.D. Adikaram) ได้ให้ข้อสังเกตไว้ตามที่เขาสอบสวน
ได้ว่า น่าประหลาดที่ชื่อบุคคลต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในขุททกภาณกะนั้นไม่มีกล่าวถึงในอรรถกถา

(1) 2500 Year of Buddhism, p. 206-207
(2) มีธรรมกถิก วินยกถิก สุตันตกถิก เป็นต้น ดูมิลินทปัญหาฉบับแปลในมหากุฏ ฯ หน้า 567

อื่นเลยข้าพเจ้าเอง (นางฮอนเนอร์) ก็ไม่พบเหมือนกัน แต่เกี่ยวกับพื้นฐานของข้อความต่าง ๆ
ในมิลินทปัญหานี้ เขา (นายแอดิการัม) ได้สรุปไว้ว่าเกิดขึ้นในอินเดีย มิใช่เกิดขึ้นในลังกา(1)
นางฮอนเนอร์ ได้ให้ข้อสังเกตต่อไปอีกกว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าในอัตถสาลินี อ้างข้อ
ความบางตอนจากมิลินทปัญหา ตอนที่ 1-3 และ ธัมมปทัฏฐกถา ก็อ้างข้อความจากมิลินท-
ปัญหา ตอนที่ 4-6 ด้วยหลักฐานต่าง ๆ เหล่านี้แสดงว่าพระพุทธโฆษาจารย์มีความชำนิ
ชำนาญในมิลินทปัญหาเป็นอย่างดี ดังนั้นมิลินทปัญหาอาจจะได้รจนาขึ้นในอินเดีย หรือ
แคชเมียร์ เมื่อประมาณ 300-400 ปีก่อนที่จะตกเข้ามาในประเทศลังกา เมื่อเทียบให้เห็น
ข้อต่างกันแล้ว จะเห็นว่า วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์นั้น ให้ความรู้ในทางปฏิบัติ
เพื่อส่งเสริมกรทำตนให้บริสุทธิ์อย่างละเอียดละออ ส่วนพื้นฐาน การอธิบาย และการแนะนำ
ต่าง ๆ ในมิลินทปัญหานั้น เป็นไปในทางพัฒนาปัญญามากกว่า มิใช่เป็นแบบแผนในการ
เจริญสมาธิภาวนา จุดมุ่งหมายตามที่แสดงไว้ก็คือ ต้องการจะขจัดสาเหตุแห่งความเคลือบ
แคลงสงสัยต่าง ๆ อันอาจจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากาการมีความเห็นขัดแย้งกันเกี่ยวกับพระคัมภีร์
หรืออรรถแห่งคำสอนให้หมดสิ้นไป และเพื่อจะขจัดปัญหายุ่งยากต่าง ๆ เมื่ออนุชนใน
อนาคตจะได้รับคำตอบที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาสองแง่ อันอาจทำให้เกิดความฉงนสนเท่ห์
และเพื่อจะทำให้การโต้เถียงกันอันจะพึงมีได้ในอนาคตเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้หมดสิ้นไป ผู้
แต่งจะต้องได้บันทึกการสนทนาที่เกิดขึ้นจริง ๆ หรือว่าเชื่อว่าเกิดขึ้นจริงระหว่างกษัตริย์ผู้ที่
ทรงพระปรีชาสามารถเป็นอย่างยิ่ง (ซึ่งอาจจะเป็นกษัตริย์กรีกบากเตรียน แต่น่าจะเป็นบาก
เตรียนกรีกมากกว่า ) กับพระนาคเสนซึ่งความสามารถพอ ๆ กัน หรือไม่เช่นนั้น ก็จะต้อง
คิดแต่ขึ้นมาเอง โดยมีการรวบรวมและเพิ่มเติมมาเรื่อย ๆ นับเวลาเป็นปี ๆ และอาจจะมี
คณะหรือศิษย์ช่วยเพิ่มเติมต่อ ๆ มาด้วย และด้วยวิธีดังกล่าวนี้เอง จึงทำให้กลายเป็นงานที่มี
หลักฐาน มีสาระและมีความสำคัญขึ้น จึงกล่าวได้ในที่สุดว่า มิลินทปัญหานี้ เป็นผลงานของ
รจนาจารย์มากกว่าหนึ่งท่าน ลีลาอันกะทัดรัดในตอนต้น ๆ ของคัมภีร์นี้ ซึ่งเราจะเห็นว่าแตก
ต่างกันกับตอนท้าย ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความชำนิชำนาญในทางสำนวนวรรคดี ย่อมจะเป็น
เครื่องสนับสนุนสมมติฐานดังกล่าวนี้ได้เป็นอย่างดี (2)
ส่วนศาตราจารย์ ริส เดวิดส์ ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับผู้รจนามิลินทปัญหานี้ไว้ว่า เมื่อ
ประมวลหลักฐานต่าง ๆ จากชื่อสถานที่สำคัญและแม่น้ำสำคัญ ที่กล่าวถึงในคัมภีร์นี้แล้ว ก็

(1) Milinda's Questions Voll.l, by I.B Hornet, p. xxi-xxii.
(2) Milinda's Questions voll.l,p.xx-xxi.

พอสรุปได้ว่า ผู้รจนาคัมภีร์นี้ อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย หรือในแคว้น
ปัญจาบของอินเดีย (ปัจจุบัน) และเหตุผลที่จะมาสนับสนุนความเห็นดังกล่าวนี้ให้หนักแน่น
ยิ่งขึ้น ก็คือว่า ในที่อื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศลังกา ซึ่งอาจจะพิจารณาว่าเป็นที่อยู่
ของผู้แต่งคัมภีร์นี้ หากท่านไม่ได้อยู่ในที่ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นก็ได้นั้น ไม่ปรากฏว่ามีอนุสรณ์
อะไรเกี่ยวกับพระเจ้าเมนันเดอร์อยู่เลย(1)
และศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ยังได้กล่าวอีกว่า มิลินทปัญหานี้รจนาขึ้นภายหลัง
คัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระอภิธรรมปิฎกที่แต่งโดยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ใน
คราวทำสังคายนาครั้งที่ 3 หลังพุทธปรินิพพานแล้ว 235 ปี เพราะเมื่อเปรียบเทียบคัมภีร์
ทั้งสองนี้ดูแล้ว จะเห็นว่า ข้อคฤหัสถ์ที่บรรลุพระอรหัตแล้วจะบวชด้วยวิธีด้วย(2) และเป็น
ธรรมดาว่า ข้อความในคัมภีร์ที่เก่ากว่านั้น มักจะถูกนำมาอ้างในคัมภีร์ที่แต่งทีหลัง และ
ความมุ่งหมายก็อย่างเดียวกัน คือเพื่อปราบพวกมิจฉาทิฏฐิและป้องกันพระศาสนาจากพวก
พาหิรลัทธิ
พระเจ้ามิลินท์ คือใคร ? ภารัต สิงห์ อุปัธยายะ (Bharat sing Upadhyaya) ได้ให้
คำตอบในปัญหานี้ไว้ว่า พระเจ้ามิลินท์นั้น เป็นองค์เดียวกันพระเจิาเมนันเดอร์ กษัตริย์ชาติ
อินโดกรีก ซึ่งเป็นผู้ทรงอุปถัมถ์และสนับสนุนพระพุทธศาสนาที่สำคัญพระองค์หนึ่ง ระหว่าง
ศตวรรษที่ 2 คำว่า มิลินท์ มาจากคำภาษากรีกว่า เมนันดรอส (Menandros) นักเขียนใน
สมัยนั้น เรียกพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้หลายอย่างด้วยกัน เช่น ในหนังสือ อวทาน-
กัลปลดา ของท่านเกษมเมนทร (Ksimendra,s Avadanadalpalata) เรียกพระนามของกษัตริย์
พระองค์นี้ว่า มิลินทร์ (Milindra) ซึ่งเป็นนามเดียวกันกับที่พบในหนังสือหมวด ต้นเซอร์
(The Bstan-hygur) แห่งพระไตรปิฎกธิเบต คำจารึกหีบศพภาษาชินกอด (Shinkot) เป็น
ตัวอักษร ขาโรษฐิ (Kharosthi) เรียกพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้ว่า เมนัทระ (Mebadra)
หลักฐานสำคัญที่พอจะประมวลเรื่องราวของกษัตริย์ชาติอินโดกรีกพระองค์นี้ ก็คือมิลินท-
ปัญหานั่นเอง เรื่องราวของนักประวัติศาสตร์กรีก เช่น สตราโบ (Strabo) พลูตาร์ก (Plutarch)

(1) Sacred Book of the East, by F. Max Muller, Vol.xxxv, p. xliv.
(2) เล่มเดียวกับหมายเลข (1) Vol. xxxvi, p.xxv.