เมนู

อปรภาคกถา


รญฺโญ จ เถรสฺส จ ปุจฺฉาวสาเน

เมื่อจบปุจฉาและวิสัชนาแห่งพระเจ้ามิลินท์
ปิ่นนราธิบดี และพระนาคเสนเถระลงในครั้งนั้นก็บังเกิดมหัศจรรย์บันดาลมี คือปฐพีอันใหญ่
หนาได้ 2 แสน 4 หมื่นโยชน์ มีน้ำรองเป็นที่สุด ปกมฺปิตฺถ ก็กัมปนาทหวาดหวั่นไหว วิชฺชุลตา
อันว่าสายฟ้า นิจฺฉรึสุ ก็แลบทั่วทุกทิศ ทิพฺพปุปฺฝํ วสฺสึสุ ฝูงเทวดาก็โปรยปรายทิพยบุปผา
มาลาสวรรค์ลงมากระทำสักการบูชา มหาพฺรหฺมา อันว่าท้าวมหาพรหมก็ชื่นชม สาธุการโมทนา
มหาโฆโส อโหสิ ได้มีความกึกก้องโกลาหลสะเทื้อนสะท้าน ดุจมหาเมฆอันคะนองเป็นระลอก
กระฉอกฉานอยู่ในมหาสมุทรฉะนั้น
อิติ โส มิลินฺโท ราชา ครั้งนั้น อันว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงกษัตริย์จอมมิลินท์ภูมินทรา-
ธิบดี พร้อมด้วยโยธีเสนาข้าหลวงและอัครนารีสาวสนมทั้งปวง ต่างก็พากันนบน้อมอัญชลี
นมัสการสิ้นด้วยกัน ส่วนสมเด็จพระภูมิบาลจอมมิลินทราชมีพระหฤทัยเลื่อมใสประสาทยินดี
ปรีดาร่าเริงนักหนา ทรงเห็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา สิ้นสงสัยสอดแคล้วกินแหนงในพระ
รัตนตรัย ทรงเสื่อมใสในคุณบรรพชาและปฏิปทาอิริยาบถของพระเถระ โดยจตุคณะบริบูรณ์
นิหตมานมปฺโท สิ้นมานะและกระด้างอวดดี อุทฺธตาโฐ วิย ภุชคินฺโท ดุจพระยานาคฤทธิ์
ร้ายอันเขาถอนเขี้ยวเสียแล้ว ก็ไม่มีพิษฉะนั้น จึงประนมกรนมัสการ มีพระดำรัสตรัสกับพระ
นาคเสนต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ปัญหานี้เป็นพุทธวิสัย พระผู้เป็น
เจ้ามาแก้ไขได้เป็นอันดี พระธรรมกถึกในพระพุทธศาสนานี้ ยกพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเสีย
แล้ว จะมีผู้ใดอื่นอาจแก้ปัญหาพุทธวิสัย เปรียบเทียบด้วยพระผู้เป็นเจ้านั้นหามิได้ มีประเสริฐ
โสดแต่พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวเท่านั้น ขมถ พระผู้เป็นเจ้าจงอดโทษ โยมขอขมา และพระผู้เป็น
เจ้าจงทรงไว้ว่า โยมเป็นอุบาสกถึงซึ่งปาณุเปตสรณคมน์แต่วันนี้เป็นต้นไป โยมจะขอเอาพระผู้
เป็นเจ้าเป็นที่พึ่งจนตราบเท่าสิ้นชีวิต ดังนี้ ครั้นแล้วก็มีพระราชโองการให้สร้างวิหารชื่อว่ามิลินท-
วิหาร ถวายพระนาคเสนกับพระขีณาสพทั้งหลายอันมาอยู่ด้วยร้อยโกฏิ ตั้งแต่นั้นก็โปรด
ปรานปฏิบัติถวายจตุปัจจัยให้สำราญอยู่ในมิลินทวิหารนั้รครั้นนานมาทรงยินดีเลื่อมใสใน
ปัญญาพระมหาเถระนาคเสนผู้เลิศอรหันต์ ก็ทรงมอบราชสมบัติให้แก่พระราชบุตร แต่พระ
นามของพระราชบุตรนั้น จะเป็นอย่างไร มิได้ปรากฏในวาระพระบาลี
ส่วนสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีเห็นโทษลามกมิดีในโลกียกามคุณ อันเป็น
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มิตั้งอยู่จิรังกาลนานช้า จะพาให้อาลัยหลงอยู่ในวัฏสงสารเทวศยิ่ง
ทรงพระรำพึงจะหาที่พึ่งหนีภพทั้ง 3 คือ กามภพ 1 รูปภพ อรูปภพ 1 สิริเป็นภพสาม

พิเคราะห์ดูกามภพทั้ง 11 ชั้น คืออบายภูมิ 4 มนุษยโลก 1 เทวโลก 6 ชั้นตั้งแต่จาตุมหา-
ราชิการไปจนชั้นปรนิมนิตวสวัดดี แล้วพิจารณาดูชั้นพรหม 16 ชั้นซึ่งมีรูปกาย พิเคราะห์ดูชั้น
อรูปพรหม อันหารูปมิได้ทั้ง 4 นั้นก็ดี ก็ไม่เห็นว่าจะเป็นที่พึ่งได้ เหตุภพทั้งสามนี้ไซร้ยังจะให้
เวียนเกิดเวียนตายกลับกลายได้ ไม่เป็นที่แน่นอนเหมือนกรุงแก้วอันกล่าวแล้ว คือพระอมต-
มหานครนฤพาน อันเกษมสำราญสุขสบายมิได้เวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ท้าวเธอมีพระหฤทัย
ผูกพันในที่จะได้สำเร็จพระนฤพาน ตัดกันดารเสียให้ขาดเด็ดแต่ในปัจจุบัน ขณะนั้น ก็ทรงสละ
เสียซึ่งมานะ เสด็จออกจากพระราชเคหาทรงบรรพชาเพศเป็นอนาคาริยบรรพชิต บำเพ็ญ
สมณกิจเจริญพระวิปัสสนาไป ก็ได้สำเร็จแก่พระวิมุตติเศวตฉัตร กระทำให้แจ้งชัดซึ่งพระ
นฤพานเป็นพระอรหันต์ขีณาสพอันประเสริฐสิ้นกิเลส เตน วุตฺตํ เหตุดังนี้ พระคันถรจนาจารย์
จึงนิพนธ์ผูกคาถาสรรเสริญคุณแห่งปัญญาไว้ในที่สุดนี้ว่า
ปญฺญา ปสฏฺฐา โลกสฺมึ คตา สทฺธมฺมฐีติยา
ปญฺญาย วิมตึ หนฺตฺวาน สนฺตึ ปปฺโปนฺติ ปณฺฑิตา
ตสฺมึ ขนฺเธ ฐิตา ปญฺญา สติ ยตฺถ อนูนกา
ปูชาวิเสสสฺส ธีโร อคฺโค โสว อนุตฺตโร
ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโส สุขํ สมฺปสฺสมตฺตโน
ปญฺญวนฺตาภิปูเชยฺย เจติยํ วิย ปูชิตํ

มีความว่า ปัญญานี้เป็นโลกสรรเสริญเพราะเป็นที่บรรลุถึงความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
นักปราชญ์จะสิ้นสงสัยสำเร็จแก่ธรรมาภิสมัยก็เพราะปัญญา อนึ่งสติตั้งบริบูรณ์ไม่บกพร่องใน
ขันธ์ใส ปัญญาก็ตั้งอยู่ได้ในขันธ์นั้น ผู้ประกอบด้วยปัญญาเป็นผู้ควรรับบูชาอันวิเศษ และเป็นผู้
เลิศประเสริฐ หาผู้ใดจะเสมอเหมือนมิได้ เหตุดังนั้นแล บุรุษผู้ปรีชา เมื่อพิจารณาเห็นความสุข
แก่ตนแล้ว พึงสักการะเคารพท่านผู้มีปัญญา ดุจหนึ่งว่าบูชาพระเจดีย์อันเป็นที่สักการะฉะนั้น ดังนี้
มิลินฺทสฺส เจว นาคเสนเรถสฺส จ ปญฺหาปุจฺฉเวยฺยากรณปฺปกรณํ สมตฺตํ
คัมภีร์แสดงคำไวยากรณ์แห่งการถามปัญหา ของพระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสน
จบเพียงนี้ เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้
มิลินทปัญหา จบบริบูรณ์

ภาคผนวก