เมนู

อัฏฐมวรรค


ยักขานัง มรณภาวปัญหา ที่ 1


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชามหากษัตริย์ขัตติยาธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามปัญหา
อื่นสืบไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ยักษ์ทั้งหลายในโลกนี้มีอยู่หรือหามิได้
พระนาคเสนถวายพระพรรับว่า อาม มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ยักษ์ทั้งหลายในโลกนี้มีอยู่
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ มีพระราชโองการตรัสถามอีกว่า จวนฺติ ปน เต
ภนฺเต
ก็เมื่อยักษ์ทั้งหลายมีอยู่ ยักษ์เหล่านั้นย่อมเคลื่อนจากกำเนิดนั้น เหมือนดังสัตว์ที่เห็น
ปรากฏชัดอยู่ในทุกวันนี้หรือหามิได้ พระผู้เป็นเจ้าจงชี้แจงสำแดงอรรถให้โยมนี้ทราบประจักษ์
ในกาลบัดนี้
พระนาคเสนจึงถวายพระพร อาม มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ยักษ์ทั้ง
หลายเหล่านั้นย่อมเคลื่อนจากกำเนิดนั้น ดังสัตว์ที่ปรากฏชัดในทุกวันนี้เหมือนกัน จะได้วิปริต
ผิดเพี้ยนไปจากนี้หามิได้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่ปนประชากร จึงมีสุนทรวาจาตรัสถามพระนาคเสนต่อไปว่า กิสฺส
ปน ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณยิ่ง ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุดังฤๅ จึงไม่พบ
เห็นซากศพของยักษ์ที่ตายนั้นสักครั้งหนึ่ง โดยที่สุดแม้กลิ่นแห่งซากศพก็มิได้ฟุ้งมากระทบ
ฆานประสาท ให้รู้สึกมีกลิ่นเหม็นแม้สักครั้งหนึ่ง น่าสงสัยนักพระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนถวายพระพรวิสัชนาว่า ทิสฺสติ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร
ผู้ประเสริฐ ศพของยักษ์ย่อมปรากฏ แม้กลิ่นแห่งซากศพของยักษ์เหล่านั้นก็ย่อมฟุ้งมีกระทบ
๋ฆานประสาทเหมือนกัน แต่บุคคลหารู้สึกว่าเป็นศพของยักษ์ไม่ เพราะร่างกายของยักษ์ผู้ตาย
แล้วนั้นกลายเป็นตั๊กแตนไปบ้าง กลายเป็นหนอนไปบ้าง กลายเป็นมดแดงไปบ้าง กลาย
เป็นมดดำไปบ้าง บางทีก็กลายเป็นงู บางทีก็กลายเป็นแมงป่อง บางทีก็กลายเป็นตะขาบ
บางทีก็กลายเป็นนก บางทีก็กลายเป็นเนื้อ อาศัยเหตุนี้แหละ มหาชนจึงไม่ทราบว่าเป็นศพ
ของยักษ์ที่ตาย นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชาสาคลราชธานี เมื่อพระนาคเสนถวายพระพรวิสัชนามา
ดังนี้ ก็สิ้นวิมัติกังขาสังสัย มีความรื่นเริงบันเทิงใจ จึงเปล่งสุนทรพจน์ออกไปชมพระนาคเสนว่า
โก หิ ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ปัญหานี้มีอรรถลึกซึ้งสุขุมคัมภีรภาพ

โยมได้เลือกคัดจัดสรรเอามาไต่ถาม คนอื่นนอกจากทานที่มีปัญญาเช่นพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ที่
ไหนเล่าจะพึงแก้ปัญหานี้ได้ พระผู้เป็นเจ้ามีปัญญาเฉลียวฉลาดมีความสามารถในการแก้ปัญหา
จึงวิสัชนาปัญหาของโยมนี้ให้หมดจดขาวบริสุทธิ์สิ้นวิมัติกังขาสงสัยโยมจะทรงจำไว้ในพระหฤทัย
โดยไม่มีความเคลือบแคลงตลอดกาลทุกเมื่อ
ยักขานัง มรณภาวปัญหา คำรบ 1 จบเพียงนี้

สิกขาปทอปัญญาปนปัญหา ที่ 2


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรสุนทรปรีชามหากษัตริย์มีพระราชโองการตรัส
ถามปัญหาอื่นสืบไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ ในกาลล่วงไปแล้ว มี
อาจารย์ของหมอผู้ประกอบยารักษาโรคอยู่ 7 คน ชื่อนารทะคนหนึ่ง ชื่อธัมมันตริกะคนหนึ่ง ชื่อ
อังคีรสะคนหนึ่ง ชื่อกปิละคนหนึ่ง ชื้อกัณฑรัตติกามะคนหนึ่ง ชื่อตุละคนหนึ่ง ชื่อปุพพกัจ-
จายนะคนหนึ่ง อาจารย์เหล่านี้ รู้อุบัติความบังเกิดขึ้นแห่งโรค รู้โรคนิทาน คือ รู้ว่าโรคชนิดนี้
บังเกิดขึ้นแล้ว ต่อไปจะต้องเป็นอย่างนั้น ๆ และรู้ความเจริญความกำเริบของโรค รู้สมุฏฐาน
ของโรค รู้อาการของโรค รู้รักษา และรู้ว่าจะรักษาหายหรือไม่หาย ตกว่าอาจารย์เหล่านั้นตรวจ
ครั้งเดียว ก็รู้อาการของโรคนั้นทั้งหมดว่า โรคทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ จักบังเกิดขึ้นในกายนี้
เป็นมั่นคง เสมือนหนึ่งว่าม้วนด้ายเขากลุ่ม จับต้นเชือกได้แล้วก็ม้วนไปเป็นลำดับฉะนั้น อาจารย์
เหล่านี้มิใช่เป็นพระสัพพัญญูยังรู้อาการของโรคได้เป็นสายไปฉะนี้ ส่วนพระตถาคตเป็นพระสัพ-
พัญญูรู้อนาคตรู้ได้ทั้งหมด ไฉนเมื่อเรื่องมีประมาณเท่านี้บังเกิดขึ้น พระองค์จึงไม่เอาพุทธญาณ
เข้าจับ ทรงบัญญัติสิกขาบทให้มีประมาณเท่านั้น ชอบแต่ว่พระองค์จะทรงกำหนดบัญญัติสิก-
ขาบทเสียให้หมดในคราวเดียว นี่อะไร ต่อเมื่อมีเรื่องบังเกิดขึ้นแล้ว ความเสียหายได้ปรากฏ
แพร่หลายไป จนถูกติเตียนนินทาต่าง ๆ แล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกในกาลนั้น พระ
ตถาคตเป็นเช่นนี้ จะแปลว่ากระไร พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรวิสัชนาว่า ญาตเมตํ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราช-
สมภารผู้ประเสริฐ การบัญญัติสิกขาบทคาดหน้านั้น พระตถาคตทรงทราบเข้าใจได้ดีว่าเมื่อมนุษย์
ทั้งหลายติเตียนโพนทะนาอยู่ พระองค์ควรจะทรงบัญญัติสิกขาบทในคราวเดียวนี้ ให้ครบ 150
สิกขาบทกว่า ๆ แต่พระองค์ทรงพระปริวิตกว่า ถ้าอาตมาจะทรงบัญญัติสิกขาบทตั้ง 150 กว่า