เมนู

ภยโลมหํสนํ บังเกิดพระโลมาพองสยดสยองพระเศียร พระทัยนี้เปลี่ยน ๆ ปิ่มประหนึ่งจะทะลึ่ง
ประลาตหนีไป เสยฺยถา จะมีครุวนาฉันใด อุปไมยเหมือนมนุษย์อันเห็นยักขินีผีเสื้อ เหมือน
กวางเห็นเสือ เหมือนมฤคีหมู่เนื้ออันเห็ฯสีหราชชาติไกรสร เหมือนพระจันทร์ล้อมด้วยดาวดา-
รากรเยื้องรถพิมานจรจะพบอสุรินทราชราหู เหมือนวิฬาร์กับหนูเหมือนทีฆชาตินาคงูแลเห็นครุฑ
สุดที่จะกลัวตัวสั่นฉันใด พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นพิภพเวียงชัย ทอดพระเนตรเห็นพระนาคเสนแต่
ไกลวันนั้นก็กลัวปานกัน น้ำพระทัยนี้ครั่น ๆ จิตฺตํ น สณฺฐติ พระทัยนี้ไหวหวั่นตั้งมั่นลงมิได้
น้ำพระทัยดำริว่า โอ้อาตมานี้แต่อวดดีมานี้ก็นาน หาผู้จะต่อต้านมิได้ ปราชโย อาตมานี้จะถึง
ปราชัยหักลงไปวันนี้เป็นมั่นคง เตนาหุ โปราณา เหตุดังนั้นพระอาจารย์ผู้ประเสริฐเกิดในก่อน
จึงกล่าวเป็นนิคมคาถาไว้ว่า
จรเณนปิ สมฺปนฺนํ สุทนฺตํ อุตฺตเม ทเม
ทิสฺวา ราชา นาคเสนํ อิทํ วจนมพฺรวิ
กถิกา มนา หพู ทิฏฺฐา สากจฺฉา โอสฏฺฐา พหู
น ตาทิสํ ภยํ โหติ อชฺช ตาโส ยถา มม
นิสฺสํสยํ ปราชโย มม อชฺช ภวิสฺสติ
ชโย จ นาคเสนสฺส ยถา จิตฺตํ น สณฺฐิตนฺติ

ใจความในพระคาถาเหมือนที่วิสัชนามาแล้ว พาหิราจริยากถา วิสัชนาด้วยพระเจ้า
มิลินท์ถามอาจารย์ทั้งปวงภายนอกมีอาจารย์ปูรณกัสสปเป็นต้นมีพระอายุบาลเป็นปริโยสานที่สุด
ยุติแต่เท่านี้

วัญจนปัญหา


อถ โข กาเล

ในกาลนั้นแท้จริง อายสฺมา นาคเสโน พระนาคเสนผู้มีอายุนั่งอยู่ในที่ใด
พระยามิลินท์ก็เข้าสู่สถานที่นั้น อุปสงฺกมิตฺวา ครั้นเข้าไปใกล้แล้ว บพิตรเจ้าจึงกล่าวซึ่งสัมโมท-
นียกถา ควรจะลึกสิ้นกาลช้านาน นิสีทิ แล้วก็ทรงนิสัชนาการนั่งในที่สมควรข้างหนึ่ง
ฝ่ายพระนาคเสนผู้มีอายุ ก็สนทนาด้วยถ้อยคำเป็นที่ยังจิตแห่งพระยามิลินท์ให้ชื่นชม
โสมนัสปสันนาการ
สมเด็จบรมกษัตริย์พระเจ้ามิลินท์ จึงทรงปุจฉาซึ่งอรรถปัญหาประถมว่า ภนฺเต