เมนู

อารัมภกถา


เมื่อพระอรรถกถาจารย์ผู้มีนามชื่อว่า ติปิฎกจุฬาภยเจ้าตั้งไว้ซึ่งประณามคาถาใน
ต้นพระคัมภีร์ดังนี้ จึงยกวาระพระบาลีลำดับไว้ว่า เตน โข ปน สมเยน พุทฺโธ ภควา
มหาปรินิพฺพานสมเย กุสินารายํ คนฺตฺวา มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ
แปลความว่า ในกาลครั้ง
หนึ่งนั้น พุทฺโธ ภควา สมเด็จพระภควันตบพิตรพุทธสัมพพัญญูเจ้า วันเมื่อพระพุทธองค์เจ้าจะ
เข้าสู่พระมหาปรินิพพาน จึงเสด็จคมนาการมาสู่กรุงกุสินาราบุรี มีพระภิกษุสงฆ์ที่ตาม
เสด็จพระพุทธดำเนินมา มหตา จะคณนานับนั้นเป็นอันมาก สมเด็จพระผู้ทรงสวัสดิภาคเจ้า
จึงเสด็จเข้าประทับอาศัยอยู่ที่สวนพระอุทยาน แห่งพระยามัลลราชทั้งหลาย อันอยู่ในกรุง
กุสินาราราชธานีนั้น และพระแท่นมีในส่วนพระอุทยานนั้น มีพระเขนยไปข้างทิศอุดรอยู่ใน
ระหว่างนางรังทั้งคู่ สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าจึงเสด็จเข้าประทับบรรทมอยู่เหนือพระแท่นนั้น
อันสมเด็จพระมหากรุณานี้ประกอบไปด้วยพระพุทธอัชฌาสัย ใช่ว่าพระองค์จะตรงเข้าไปประทับ
อยู่ที่พระแท่นนั้นก่อนนั้นหามิได้ พระองค์มีพระพุทธฎีกาตรัสใช้ให้พระอานนท์ เข้าไป
ถวายพระพรแก่พระยามัลลราช พระยามัลลราชจึงเสด็จมาทูลอนุญาตอาราธนาให้พระองค์ทรง
ไสยาสน์เหนือพระแท่นนั้น เนื้อความนี้มีวิตถารอยู่ในมหาปรินิพพานสูตรแล้ว ท่านยกมาว่าใน
ที่นี้แต่ สังเขปพอเป็นใจความเมื่อยามจะใกล้เข้าสู่พระมหาปรินิพพานสมเด็จพระโลกุตตมาจารย์
ทรงพระอาพาธทุพพลภาพเพียบลงๆ จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสแก่สงฆ์ทั้งปวงว่า อามนฺตยามิโว
ภิกฺขเว ขยวยธมฺมา สงฺขารา อปฺปามาเทน เสมฺปาเทถาติ. ภิกฺขเว
ดูกรภิกขุทั้งหลาย ตถาคต
นี้จะอำลาท่านทั้งปวงแล้ว สงฺขารา อันว่าสังขาร คือ ปุญญาภิสังขาร และ อปุญญาภิสังขาร
และอเนญชาภิสังขาร ปุญญาภิสังขารได้แก่สังขารธรรม อันกุศลตามตกแต่งให้เกิดในสุคติคือ
สวรรค์ทั้ง 6 ชั้น และเกิดเป็นมนุษย์มีบุญบริบูรณ์ด้วยรูปโฉมนั้นก็ดี อปุญญาภิสังขารนั้น ได้แก่
สังขารฝ่ายบาป อันอกุศลตามตกแต่งร่างกายจิตและเจตสิก ให้สัตว์เกิดในอบายภูมิ 4 มนุษย์
ทุคติ จะเกิดมาเป็นมนุษย์เล่าก็เป็นคนอดอยากตามืดและหูหนักเป็นมาแต่กำเนิด เป็นง่อยเป็น
เปลี้ยเสียรูปเสียร่าง มีอินทรีย์วิกลต่าง ๆ ก็ดี อเนญชาภิสังขารนั้นได้แก่สังขารอันตามแต่ง
บุคคลที่ได้รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4 อันให้อุบัติบังเกิดในรูปพรหมและอรูปพรหมนั้นก็ดี
อันว่าสังขารธรรมทั้งหลายนี้ ขยวยธมฺมา มีแต่ว่าเกิดมาแล้วก็จะทำลายไปไม่เที่ยงไม่แท้
แปรปรวน เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา สมฺปาเทถ ท่านทั้งหลายจงยังอัปปมาทธรรมให้บริบูรณ์
อุตสาหะปรนนิบัติจำเริญเมตตาภาวนาอย่าได้ประมาทลืมตนเมื่อสมเด็จพระทศพลตรัสอำลาสงฆ์
สั่งสอนให้ปลงสติปัญญาเป็นธรรมสังเวชดังนี้ พระภิกขุที่จิตเป็นโลกีย์นั้นกลั้นความโศกมิได้
แสนที่ว่าจะอาลัยเหลือกำลัง คิดถึงโอวาทสมเด็จพระบรมโลกนาถสั่งก็ไหลหลั่งถั่งธาราน้ำตาตก



ตั้งแต่งจะปริเทวนาโศการ่ำไห้ ครั้นนั้นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงตรัสให้โอวาทอีกเล่าว่า
ท่านทั้งปวงมาโศกมาเศร้าเฝ้าแต่จะร่ำไห้ ทั้งนี้ด้วยสำคัญในใจว่าตถาคตนี้นิพพานล่วงลับดับสูญไป
หามีผู้ใดที่จะเป็นครูสั่งสอนไม่ ท่านอ่างได้น้อยยอกน้อยใจฉะนี้ ถึงตถาคตนิพพานไปแล้วก็จะเป็นไร
มี ด้วยพระธรรม 8 หมื่น 4 พันพระธรรมขันธ์ ที่ตถาคตตรัสเทศนาไว้เป็นฝ่ายพระสูตร
ฝ่ายพระวินัยฝ่ายพระปรมัตถ์ จัดเป็นปริยัติธรรมแล้วมิหนำ อีกทั้งปฏิเวธธรรม ทางวิปัสสนา
ก็บอกกล่าวสั่งสอนไว้บริบูรณ์อยู่ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ที่คถาคตตรัสบัญญัติสั่งสอนไว้นี่แหละ
จะได้อยู่เป็นครูเป็นอาจารย์สั่งสอน ถาวรไปให้ถ้วน 5,000 พระวรรษา
ประการหนึ่ง เมื่อตถาคตเสด็จดับขันธ์เข้าสู่พระอมตมหานิพพานล่วงลับไปแล้ว อยู่
ภายหลังพระมหาอริยกัสสป เป็นพระสงฆเถระผู้เฒ่า จะเฝ้าคำนึงรำลึกถึงถ้อยคำของสุภัทท-
ภิกขุ อันบวชต่อแก่ เจรจาเชือนแชเป็นเสี้ยนเป็นหนามเป็นหลักเป็นตอขึ้นในพระศาสนา พระมหา
อริยกัสสปจึงจะกระทำปฐมสังคายนา มิให้ธรรมของตถาคตเป็นอันตราย
ในลำดับนั้นล่วงไปภายหน้า จะมีพระมหาเถระองค์หนึ่งมีนามปรากฏชื่อพระยสเถระ
มีบุญญานุภาพ จะบำราบปราบปรามห้ามเสียซึ่งลัทธิถ้อยคำวัชชีบุตรภิกขุทั้งหลาย จึงประชุม
สงฆ์ สังคายนาธรรมชื่อทุติยสังคายนา
ในอันดับนั้นสืบไปภายหน้า ยังจะมีพระมหาเถระองค์หนึ่งมีนามว่ามหาโมคคัลลีบุตรเถระ
จะทำลายเสียซึ่งถ้อยคำของเดียรถีย์ทั้งหลาย แล้วจะสังคายนาธรรมชื่อว่าตติยสังคายนา
อันดับนั้นสืบไปภายหน้า ยังมีพระเถระผู้หนึ่งมีนามกรชื่อว่ามหินทเถระ จะนำเอาศาสนา
ของตถาคตไปตั้งไว้ให้ปรากฏในเกาะลังกา
ปญฺจวสฺสสตานิ อจฺจเยน ตโต ปรํ มิลินฺโท นาม ราชา เบื้องหน้าแต่พระมหินทเถระ
เอาศาสนาไปตั้งไว้ในเกาะลังกานั้น พระศาสนากำหนดได้ 500 ปี จะมีบรมขัตติยวงศวเรศเรือง
พระปรีชาเฉลิมเลิศประเสริฐในสาคลนคร ข้างเกาะชมพูประเทศ ทรงพระกิตตินามอันวิเศษ
ชื่อว่ามิลินทภูมินทราธิบดี ทรงพระปรีชาเฉลียวฉลาด เป็นเอกอัครมหานักปราชญ์หาผู้จะ
เปรียบปานมิได้ โดยปัญญาเธอฉลาดเที่ยวถามปัญหาสมณพราหมณาจารย์ หาบุคคลผู้ใดใคร
ผู้หนึ่งที่จะต่อต้านทานฉลาดถึงไม่ มีแต่ชัยเฉลิมเลิศประสาปัญญาเชือนแช ข้างจะผันแปร
ศาสนาตถาคตให้ฟั่นเฟือนไป จนแต่พระอรหันต์ก็ไม่ละลด เสร็จไปเที่ยวจดโจทนา ถ้าไม่ทันคิด
ฉวยแก้ปัญหาเธอเข้า ก็กลับเซ้าซี้ซักไปไล่ให้จน จนว่าคนทั้งหลานที่มีปัญญาเขลาให้พลอยเห็น
ด้วย ถือว่าใครไม่เสมอพระองค์ ในการที่จะถามฉลาดลึกซึ้ง ครั้งนั้นยังมีภิกขุองค์หนึ่งมีนาม
ชื่อว่านาคเสน แสนฉลาด อาจสามารถที่จะแก้อรรถปัญหาของพระเจ้ามิลินท์ ให้ทรงโสมนัส
ยินดีได้ด้วยวิจิตรอุปมา และพระนาคเสนนั้น จะกระทำศาสนาของตถาคตให้ปรากฏถาวรตั้งมั่น

ไป ถ้วน 5,000 พระวรรษาในกาลนั้น
นี่แหละพระนาคเสนกับพระยามิลินท์นี้ต้องพุทธทำนายไว้ในมหาปรินิพพานสูตรมาฉะนี้
เตน วุตฺตํ เหตุดังนั้น พระสังคีติกาจารย์เจ้าจึงกล่าวพระคาถาว่า
มิลินฺโท นาม โส ราชา สาคลายํ ปุรุตฺตเม
อุปคญฺฉิ นาคเสนํ คงฺคาว ยถสาครํ

ในความในพระคาถานี้ว่า พระสังคีติกาจารย์เมื่อจะกล่าวนิทานพระนาคเสนกับกรุง
มิลินท์ให้วิตกถาวรไป จึงสรรเสริญพระเกียรติยศไว้เป็นต้นเหตุว่า ยังมีวงศวเรศกษัตริย์ทรงพระ
นามบัญญัติชื่อว่ากรุงมิลินท์ เป็นปิ่นมนุษย์ในสาคลราชธานีนคร พระองค์เสด็จเข้าไปใกล้แล้ว
ไต่ถาม ซึ่งปัญหาแก่พระนาคเสนนั้น มีอุปมาดุจกระแสน้ำในคงคาทั้ง 5 ห้วง อันไหลล่วงเข้าสู่
สมุทรสาครอันใหญ่ จะได้ไหลละหลั่งถั่งเทไปอื่นหามิได้ ถึงจะไหลมาอีกสักเท่าไร จะได้ล้น
ไปหามิได้ น้ำในคงคาเปรียบเหมือนพระบวรปรีชาของพระเจ้ามิลินท์ และพระมหาสมุทรนั้น
เปรียบดังพระบวรปรีชาปัญญาของพระบวรเสนนี้ คัมภีรภาพลึกซึ้งไม่รู้สิ้นสุด เหมือนพระมหา
สมุทรอันลึกและกว้างใหญ่ ถึงพระเจ้ามิลินท์จะถามปัญหาไปสักเท่าไรก็ไม่รู้จนไม่รู้สิ้นปัญญา
ถึงปัญหาจะคัมภีรภาพจะลึกซึ้งประการใด พระนาคเสนก็แก้ได้วิจิตรแจ้งไปด้วยอุปมาอุปไมยให้
รุ่งเรืองสว่างสติปัญญา มีอุปมาดุจหนึ่งว่าอุกกาธารใต้และเทียนและคบเพลิงอันส่องแสงในที่มืด
ให้สว่างกระจ่างแจ้งไปในเพลาราตรีเมื่อแรมโรยรัศมีมีพระจันทร์ ข้อปุจฉาและวิสัชนากันแห่ง
ท่านทั้งสอง ก็ต้องนัยและอรรถะอันมีในพระปริยัติไตรปิฎก ยกเอามาเป็นข้อ ๆ ถามแก้ซึ่งกัน
และกัน ฟังแล้วเป็นอัศจรรย์ไพเราะแก่โสต เป็นที่จะให้เกิดปราโมทย์ปรีดา โลมหํสนา บังเกิด
ขนพองสยองเกสาแห่งบุคคลอันมาได้ฟังในกาลครั้งนั้น สุยฺยติ สพฺพชนานํ ประการหนึ่ง
เป็นคำระบือลือชาแห่งคนทั้งหลายโดยปริยายได้ฟังเล่ากันมาว่า เมืองสาคลนครราชธานีที่พระ
เจ้ามิลินท์เป็นปิ่นเฉลิมนั้น มีแม่น้ำและภูเขาล้อมรอบ ประกอบด้วยสวนอุทายและที่สนามน้ำ
และที่โบกขรณีสระศรีสาโรช อุโฆษกึกก้องด้วยเสียงนกร่ำร้องเที่ยวท่องโผผินบินไปมาในวนา-
รามคือสวนต้นไม้ อนึ่ง กรุงสาคลราชธานีนั้น หาภัยปัจจามิตรทีจะคิดทรยศประทุษร้ายรบรา
ฆ่าฟันกันมิได้มี เหตุประกอบไปด้วยเขื่อนประตูคูค่าย หอรบเชิงเทินทั้งหลาย ล้อมรอบด้วย
กำแพง มีกลอนทวารมั่นคง คนเฝ้าเล่าก็แน่นหนาหากรักษาเป็นอันดี อนึ่ง ในราชธานีประกอบ
ด้วยวิถีถนนคนเดินเวียนแวะไปโดยรีและสกัดมิได้ขัดขวาง ถนนหนทรงราบรื่น แต่พื้นก่อด้วย
หินศิลาแลงเป็นหนทางใหญ่ไปสี่แพร่ง สองข้างนั้นประกอบด้วยตลอดตั้งร้านรายเรียงไป ดูนี้
สนุกนักหนา อนึ่งก็มั่งคั่งด้วยช้างม้ารี้พลเกลื่อนกล่นไปด้วยนรชาติหนุ่มและสาวหญิงชายดาษ
ไปด้วยตระกูลทั้งหลายอเนกนานา คือ ตระกูลกษัตริย์สุริยวงศา พ่อค้าชาวนาพราหมณ์คหบดี

เศรษฐีเสวกามาตย์ ข้าราชาการ บ้านเรือนรั้วเวียงเคียงกันเป็นแถว ๆ ดูแล้วก็เห็นงาม ตั้งตึก
รามเรียงกันไปเป็นชั้นเป็นขนัด และรั้ววังของกรุงกษัตริย์ก็แสนสำราญ ในพระราชฐานก็โอภาส
ไปด้วยพระมหาปราสาทราชนิเวศ รายเรียงกันสุดที่จะพรรณนา มีทั้งคลังผ้าคลังเงินคลัง
ทองของต่าง ๆ รอบราย ภายนอก มีฉางข้าวฉางปลาฉางถั่วงาสารพัดถ้วนถี่
อนึ่งสาคลราชธานีสารพัดที่จะมี คือผ้ากาสิกพัสตร์ อุทุมพาพัสตร์ ผ้าโกไสยพัสตร์
เงินทองแก้วแหวนอย่างดีเป็นที่ไปมาแห่งพาณิชทั้งหลายค้าขายอยู่อัตรา และข้างนอกทุ่งนาก็
บริบูรณ์ด้วยพืชข้าวกล้าปักหว่านไว้ดูสนุกนี่กระไร ดุจอุดรกุรุทวีปก็เหมือนกัน ถ้ามิฉะนั้นก็สนุก
ดุจอาลกมณฑาอุทยาน อันสถิตในสถานเทวโลก ก็มีในกาลครั้งนั้น
ในมิลินทปัญหานี้มี 6 สถาน คือ แก้ด้วยปุพพปโยคสถาน 1 มิลินทปัญหาสถาน 1
เมณฑกปัญหาสถาน 1 อนุมานปัญหาสถาน 1 ลักขณปัญหาสถาน 1 อุปมากถาปัญหาสถาน 1
เป็น 6 สถานด้วยกัน
แลมิลินทปัญหานั้นแจกออกไปเป็น 2 คือ วิมติเฉทปัญหา 1 ลักขณปัญหา 1 เป็น 2
ประการ
แลในเมณฑกปัญหานั้นก็มี 2 ประการ คือ มหาวัตตกถา 1 โยคีกถาปัญหา 1
แลปัญหา 5 ประการ ตั้งแต่มิลินทปัญหาไปจนอุปมากถาปัญหานี้จะวิสัชนาเป็นเอกเทศ
แปลตามวาระพระบาลีในมิลินทปัญหานั้น คือ พระยามิลินท์ถามปัญหานี้เรียกว่ามิลินทปัญหา
และมิลินทปัญหามีลักษณะ 2 คือ ลักขณปัญหา ถามด้วยลักขณะเหมือนถามว่าผัสสะเจตสิก
นี้มีลักขณะอย่างไร ถามอย่างนี้เรียกว่าลักขณปัญหา อย่างนี้ก็จัดได้ชื่อว่ามิลินทปัญหา และ
ถามเพื่อจะตัดเสียมิให้สงสัย เรียกว่า วิมติเฉทปัญหา ก็นับเข้าเรียกว่ามิลินทปัญหา
แลเมณฑกปัญหานั้นมีลักขณะ 2 คือมหาวัตตกถา กล่าวข้อวัตรปรนนิบัติ ก็เรียกว่า
เมณฑกปัญหา และโยคีกถา กล่าวด้วยพระโยคาวจรปรนนิบัติดูเยี่ยงลาเป็นต้น ก็
เรียกว่าเมณฑกปัญหา
แลอนุมานปัญหานั้นเหมือนพระนาคเสนสำแดงเป็นธรรมนครธรรมบรรพตปรากฏอยู่
จึงรู้ว่าสมเด็จพระสัพพัญญูได้ตรัสด้วยอนุมานปัญญาหยั่งเห็นธรรมนครที่พระองค์สร้างไว้ และ
ปัญหาดังนี้ เรียกว่าอนุมานปัญหา
แลอุปมากถาปัญหานั้น คือ อุปมาแก้ไขไต่ถามกัน เรียกว่าอุปมากถาปัญหา แก้
มาด้วยลักขณปัญหา 5 สถานเป็นเอกเทศ ก็สมมติว่าไว้เป็นใจความเท่านี้

ปุพพปโยคกถา


แลปุพพปโยคนั้น ว่าด้วยบุพพกุศลการแห่งท่านทั้ง 2 คือ พระเจ้ามิลินท์กับพระนาค-
เสนได้สั่งสอนอบรมมาแต่ปางก่อน ด้วยวาระพระบาลีว่า อตีเต กสฺสปสฺส ภควโต สาสเน วิชิตาวี
นาม อโหสิ
เมื่อในอดีตภพล่วงลับไป ในศาสนาสมเด็จพระกัสสปทศพลญาณเจ้านั้น ว่ายัง
มีบรมกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามชื่อว่าวิชิตาวีบรมกษัตราธิราช พระบาทครองราชสม
บัติเป็นใหญ่ในสาคลราชธานี สงเคราะห์แก่อาณาประชากรชาวพระนคร ด้วยสังคหวัตถุ 4 ประการ
ทรงพระราชศรัทธา สร้างพระอารามสร้างวิหารลงแทบใกล้ฝั่งคงคาแล้ว ก็อาราธนานิมนต์พระ
มหาเถระอันรู้พระไตรปิฎกมาให้อยู่ที่วิหาร แล้วพระราชทานจตุปัจจัยทั้ง 4 มีพระราชาศรัทธา
ปรนนิบัติตราบเท่าสิ้นพระชนม์ ก็ได้ขึ้นไปบังเกิดในชั้นดาวดึงสาได้เป็นสมเด็จอมรินทร์ปิ่นพิภพ
เจ้าฟ้าสุราลัย แวดล้อมแห่ห้อมไปด้วยแสนสุรางค์นางฟ้า เป็นมโหฬาริกภาพ ด้วยอานิสงส์ที่
พระองค์สร้างวิหารและได้ถวายจตุปัจจัยทั้ง 4 และอารามที่พระเจ้าวิชิตาวีสร้างไว้ ถึงพระองค์
สิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ดี ก็มีพระภิกษุอาศัยอยู่เป็นอันมากเหมือนแต่ก่อน
ครั้งนั้นยังมีพระภิกษุองค์หนึ่งทรงศีลสังวร เวลารุ่งเช้าจับสัมมัชชนีคันยาวได้ก็คมนาการ
ไปสู่สถานลานพระเจดีย์ ทำอัญชลีกรนมัสการแล้ว ก็ระลึกถึงพระพุทธคุณพลางกวาดลานพระ
เจดีย์พลาง ด้วยจิตศรัทธาเลื่อมใส จึงกวาดหยากเยื่อนั้นมามั่วสุมไว้เป็นกอง ๆ แล้วก็ร้องเรียก
สามเณรน้อยศิษย์ใช้สอยของอาตมา ให้ขนเอาหยากเยื่อไปทิ้งเสียจากกลายพระเจดีย์นอกบริเวณ
ส่วนว่าสามเณรนั้นพานจะอยู่ข้างเกียจคร้าน พระอาจารย์เรียกถึง 3 ครั้งก็นิ่งเฉยอยู่ ทำไม่ได้ยิน
พระภิกษุชีต้นจึงตีด้วยคันกราดแล้วด่าว่า ทุพฺพโจ ดูกรสามเณรใจกระด้างว่ายากสอนยาก
ส่วนว่าสามเณรนั้นก็ร้องไห้วิ่งไปด้วยเร็วพลัน ขนเอาหยากเยื่อนั้นไปเทเสียด้วยกลัว
อาจารย์ แล้วก็ตั้งปณิธานความปรารถนาว่าข้าพเจ้าได้ขนหยากเยื่อมาให้พ้นลานพระเจดีย์ ขอ
ผลบุญนี้แม้นข้าพเจ้าจะไปเกิดในภพใด ๆ ก็ดี ขอให้ข้าพเจ้านี้มีมเหศักดาเดช อันแกล้วกล้า
มชฺฌนฺติสุริโย วิย มีครุวนาดุจแสงพระสุริโยทัยเมื่อเพลาตะวันเที่ยง ทุก ๆ ชาติไปกว่าจะ
สำเร็จแก่พระนิพพาน ตั้งปณิธานความปรารถนาฉะนี้แล้วก็ลงไปสรงน้ำชำระกาย ดำผุดดำว่าย
ค่อยสบายใจ แลเห็นลูกระลอกในท้องชลาลัยนี้มากมายนักหนา ก็ยินดีปรีดาจะใคร่มีปัญญา
เฉลียวฉลาดไม่รู้สุดรู้สิ้น ดุจชลาสินธุธาราระลอกนั้น สามเณรก็อภิวันท์ขึ้นเหนือเกศ ตั้งปณิธาน
ปรารถนาอีกว่า เดชะที่ข้าพเจ้ากระทำตามคำพระชีต้น ท่านจะสงเคราะห์อาตมาให้ได้กองกุศล
จึงบังคับอาตมา เดชะผลานิสงส์นี้ข้าพเจ้ายังไม่ได้พระนิพพานตราบใด ยตฺถ กตฺถจิ อุปฺปชฺ-
ชามิ
ข้าพเจ้าจะเกิดไปในชาติใด ๆ ขอให้ข้าพเจ้านี้มีปัญญาดุจหนึ่งว่ากระแสดลูกคลื่นลูกระลอก