เมนู

ตติยวรรค


วัตถุคุนหทัสสนปัญหา ที่ 1


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ภาสิตํ เจตํ สมเด็จพระพิชิตมารเมาลี มีพระพุทธฎีกาตรัสไว้ว่า
กาเยน สํวโร สาธุ สาธุ วาจาย สํวโร
มนสา สํวโร สาธุ สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร
ดังนี้
กระแสพระพุทธฎีกาตรัสฉะนี้ว่า การสำรวมนี้ดีนักหนา สำรวมกายก็ดี สำรวมวาจาก็ดี
สำรวมจิตก็ดี และสำรวมได้หมดก็ดี ก็ประเสริฐ นี่แหละสมเด็จพระเมาลีโลกเลิศ มีพระพุทธ-
ฎีกาตรัสสรรเสริญซึ่งสำรวมว่าดีดังนี้ ครั้นมาอีก พระชินสีห์เสด็จทรงนั่ง จตุนฺนํ ปริสานํ
มชฺเณ
ในท่ามกลางแห่งบริษัททั้งสี่ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระองค์มิได้สำรวมซึ่ง
บวรกาย จะมีความละอายหามิได้ ไพล่พลิกคุยหะออกให้เสลพราหมณ์ดูเล่น ที่ท่ามกลาง
มนุษย์และเทวดา ชิวฺหํ นีหริตฺวา แลบพระชิวหาเลียเอาพระนาสิกและพระโสตทั้งสองข้าง
แล้วแลบปกพระนลาต กระทำประหลาดโลก ในโลกนี้จะมีใครเหมือนพระองค์หาบ่มิได้ นี่แหละ
พระพุทธฎีกาตรัสว่าสำรวมดีแล้ว ไฉนพระพุทธองค์จึงไม่สำรวมกาย ไม่มีอายอดสู ไพล่ที่ลับ
ออกให้เขาดูไม่สมควร เหมือนเขาว่ากิริยากับวาจาไม่เหมือนกัน กิริยาอย่างหนึ่ง วาจาพูดอย่าง
หนึ่ง ก็เหมือนพระพุทธองค์เป็นที่พึ่งของโลก พระกิริยาจริตเห็นผิดกับพระโอษฐ์ อยํ ปญฺโห
ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ นิมนต์โปรดวิสัชนาตัดเสียซึ่งข้อวิมัตกังขาในกาลบัดนี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ซึ่ง
พระพุทธฏีกาสมเด็จพระมหากรุณาเจ้าโปรดว่าให้บริษัททั้ง 4 สำรวมอินทรีย์ สำรวมวาจา
สำรวมกาย สำรวมได้หมดแล้วประเสริฐนี้ ใช่ว่าพระองค์จะไม่สำรวมกายวาจา จะว่าแต่พระโอษฐ์
เปล่าหามิได้เป็นอันขาด สมเด็จพระมุนีนาถเจ้าสังวรเป็นอันดี การที่สมเด็จพระชินสีห์เจ้า
สำแดงพระคุยหวัตถุที่ลับอันอยู่ในฝักให้เสลพราหมณ์ดูนั้น เป็นด้วยเลาพราหมณ์จะใคร่เห็น
ด้วยบุคคลใดวิมัติสงสัยจะใคร่เห็นที่ลับของพระองค์ ถ้าผู้นั้นจะพ้นทุกข์จะได้มรรคผลแล้ว
สมเด็จพระทศพลเข้าก็ทรงอนุเคราะห์สำแดงแก่บุคคลผู้นั้น แต่ว่าสำแดงให้เห็นแต่พระฉาย
คนทั้งหลายก็เห็นแต่พระฉายที่พระองค์กระทำปาฏิหาริย์ให้เห็นนั้น นี่แหละสมเด็จพระ
สัพพัญญูเจ้าทรงทราบว่าเสลพราหมณ์จะใคร่ดู อนึ่งเล่า พระองค์เจ้าทรงพระดำริทราบว่า
เสลพราหมณ์นั้น เมื่อพระองค์ทรงพระกรุณาเอาออกให้เห็นแล้วจะสำเร็จมรรคผล สมเด็จพระ
ทศพลเจ้าจึงสำแดงคุยหวัตถุอยู่ในฝัก กระทำปาฏิหาริย์ให้เป็นเงา จำเพาะเห็นแต่เสล-

พราหมณ์ผู้เดียว ในท่ามกลางบริษัทมนุษย์และเทวดานั้น
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาว่าสมเด็จพระมหากรุณาเจ้า สำแดงให้แต่ผล-
พราหมณ์เห็นผู้เดียว บริษัททั้งปวงไม่เห็นนั้น โยมไม่เชื่อ คิดดูก็สงสัย นิมนต์วิสัชนาไปให้โยม
แจ้งก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรพิตรพระราชสมภาร
เปรียบปานดุจพระองค์มหาบพิตรกับบุรุษผู้อื่นนั้น บุรุษผู้อื่นเสวยทุกขเวทนา มหาบพิตรจะ
รู้จะเห็นความเจ็บในใจของบุรุษผู้นั้นหรือ
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ความเวทนาในใจใครจะล่วงเข้าไป
เห็นว่าเจ็บอย่างไร จะรู้จะเห็นก็แต่บุรุษผู้ที่เป็นการทุกขเวทนาเท่านั้น
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า ยถา มีครุวนาฉันใด สมเด็จบรมไตรโลกนาถผู้เป็นที่
พึ่ง เมื่อเหตุมาถึงพระองค์ พระองค์ก็ทรงทราบ ใครอื่นจะรู้เห็นเล่า รู้ก็แต่พระองค์เจ้า
เหมือนบุรุษที่เสวยทุกขเวทนานั้น พระองค์รู้ว่าความกังขาของผู้นั้น สงสัยจะใคร่เห็น จึงกระทำ
ปาฏิหาริย์ให้เห็นเป็นแต่พระฉายด้วยพระฤทธิ์ นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา ที่พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาว่านี้ โยมยังสงสัย จงอุปมาอุปไมยให้ยิ่งไปกว่านี้
พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรพระราชสมภารผู้ประเสริฐใน
ราชศฤงคาร เปรียบปานดุจภูตปีศาจอันเข้าสิงอยู่ในคนไข้ ย่อมกระทำให้กระวนกระวาย บุคคล
ทั้งหลายเห็นหรือประการใด นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา เมื่อภูตเข้ามาสิงคนทั้งหลายซึ่งเป็นไข้ คนอื่น ๆ นั้นจะเห็นหาบ่มิได้ จะ
รู้จะเห็นนั้นแต่คนไข้
พระนาคเสนจึงอุปไมยต่ออุปมาว่า มหาราช ขอถวายพระพร ความนี้ฉันใด เมื่อ
ความสงสัยผู้ใดบังเกิด สมเด็จพระมหากรุณาผู้ประเสริฐรู้อัชฌาสัย ก็กระทำปาฏิหาริย์จำเพาะ
ให้ผู้นั้นเห็นด้วยพระฤทธิ์ นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ทุกฺกรํ ภนฺเต ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา ซึ่งสมเด็จพระมหากรุณาเจ้ามาสำแดงคุยหฐาน ให้เสลพราหมณ์ทัศนาการ
เห็นแต่ผู้เดียว จะกระทำยาก ด้วยเป็นที่แจ้งไม่ควรจะเห็นแต่ผู้เดียว นี่แหละโยมสงสัยฉะนี้

พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพร ใช่ว่าสมเด็จพระโลกุตตมา-
จารย์ จะสำแดงพระคุยหะออกให้เห็นจริง ๆ หาบ่มิได้ กระทำไปด้วยพระฤทธินิมิตแต่พระ
ฉายเท่านั้น
ฝ่ายพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าสำแดงพระฉายให้เสลพราหมณ์เห็น เสลพราหมณ์
เห็นแล้ว พระองค์เข้าพระทัยว่าเสลพรมหรณ์เห็นหรือ ประการหนึ่ง เมื่อเสลพราหมณ์นั้นเห็น
แล้วตัวเสียได้ซึ่งความกังขา สมเด็จพระมหากรุณาผู้ประเสริฐทางทราบหรือ
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร อันสมเด็จ
พระบรมโลกนาถศาสดาจารย์กระทำดังนี้ บุคคลผู้อื่นกระทำได้ยาก ด้วยสมเด็จพระพุทธองค์
ผู้ทรงสวัสดิภาคนี้ ถ้าไม่เห็นอุปนิสัยสัตว์ไม่ทรงกระทำ ต่อเห็นว่าสัตว์สิ้นกรมมีอุปนิสัยจะรู้
สมเด็จพระสัพพัญญูจึงกระทำสำแดงให้สิ้นสงสัย เพื่อจะให้สำเร็จแก่ธรรมวิเศษ เหตุฉะนี้
ผิแลสมเด็จพระพิชิตมารเมาลีเจ้ายังกิริยานี้ให้เสื่อมไป คือว่าไม่กระทำให้ต้องอัชฌาสัย
ไหนเลยโพธนิยสัตว์จำพวกนั้น ๆ ที่มีอุปนิสัยจำเพาะจะได้เป็นเช่นนี้ก่อนจึงจะรู้นั้นก็จะเปล่าไป
อันพระองค์เจ้ากระทำดังนี้ไซร้ด้วยพระบรมโลกนาถเป็นชาติสัพพัญญูสารดพัดจะรู้สิ้นทุกประการ
มหาราช ขอถวายพระพร โยคญฺญู ตถาตโต สมเด็จพระโลกุตตมาจารย์ย่อมทรงทราบสิ่ง
อันควรประกอบเข้า อย่างโพธินิยสัตว์อันควรจะรู้มรรคผลด้วยกลอุบายสิ่งนั้น สมเด็จพระ
สัพพัญญูก็ประกอบให้รู้ ตสฺมา เหตุดังนั้นจึงทรงพระนามว่าสมเด็จพระสัพพัญญู มหาราช
ขอถวายพระพร ปานดุจแพทย์รักษาโรค ย่อมประกอบเภสัชให้ชอบโรค ถ้าไข้พิษควรจะวางยา
ให้รากก็วางยาให้ราก พิษจะได้ส่าง อนึ่ง ไข้ทำให้ปิดควรวางยาให้ถ่าย ก็ให้กินยาถ่าย ที่ควร
จะพอกยาก็พอก ควรจะผ่าก็ผ่า โรคท้องถ่ายควรจะวางยาให้ปิดก็วางให้ปิด แพทย์ย่อมยักย้าย
ถ่ายเทแปรผัน ประกอบยาตามโรคร้ายทั้งหลาย อันบังเกิดในกรชกายชายหญิง หนุ่ม สาว เด็ก
เฒ่าแก่ ประกอบยานั้นผันแปรไปตามแก่และปานกลางลูกเล็กเด็กน้อยตามอายุ จะได้ประกอบ
ยายืนอยู่อย่างเดียวหาบ่มิได้ ย่อมประกอบยายักย้ายไปตามโรค ฉันใดก็ดี สมเด็จพระบรม-
โลกนาถบพิตรก็เหมือนแพทย์อันประกอบยารักษาโรคทั้งหลาย พระองค์เจ้าก็ยักย้ายผันแปร
ไปตามอัชฌาสัย เห็นอันควรจะรู้นั้นด้วยเหตุสิ่งไร พระองค์ก็ให้รู้ด้วยเหตุสิ่งนั้น อนึ่ง
จงทรงฟังซึ่งอุปมาอุปไมยใหม่ มหาราช ขอถวายพระพร ปานดุจสตรีภาพ มุฬฺหคพฺภา มีครรภ์
อันหลงไป จะคลอดบุตรก็จำจะสำแดงที่อันไม่ควรจะเห็นให้หมอตำแยนั้นเห็น ด้วยปรารถนาจะ
ให้บุตรนั้นออกมาสบายมิได้คิดละลายอดสู ฉันใดก็ดี สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าก็เหมือนกัน
เป็นด้วยพระกรุณามิควรที่ว่าจะให้เห็น ก็จำเป็นจำให้เห็นแต่พระฉาย ด้วยพระทัยหมายจะให้

รู้มรรคผล อย่าว่าแต่สาธุชนเช่นเสลพราหมณ์ มีความปรารถนาจะเห็นซึ่งอทัสสนิยฐานเป็นที่
อัปประมาณบัดสีเลย ถ้าว่าผู้ใดปรารถนาจะชมเชยดูแลซึ่งดวงพระราชหฤทัย พุชฺเฌยฺย ได้
เห็นแล้วและอาจพ้นทุกข์ถึงมรรคผล สมเด็จพระทศพลเจ้าจำจะประกอบให้ชอบน้ำจิตน้ำใจ
ให้ชอบอัธยาศัย จะทรงสำแดงดวงพระทัยออกให้เห็น ใช่จะเป็นแต่เท่านั้น อันสมเด็จพระ
สัพพัญญูเจ้านี้ แสนที่จะรู้วิเศษ เทสนากุสโล ฉลาดที่จะตรัสพระสัทธรรมเทศนา ทรงทราบ
อัธยาศัยสัตว์สาธุชน เช่นพระนนท์พุทธอนุชาฉะนั้น ชอบตะประโลมล่อด้วยโฉมชาวสาวสุรางค-
นิกรนางสวรรค์ จึงจะค่อยวายคลายกระสันสร่างห่างออกจากโฉมนางชนบทกัลยาณีหน่อเนี้อ
เชื้อชาติศากยวงศ์ หลงละเลิงเลยไปด้วยนางฟ้าทั้งหลายแล้วจะกลับหน่ายใจ ได้สำเร็จแก่
อัครธรรมวิเศษ เทวภวนํ เนตฺวา สมเด็จพระบรมนายกเจ้า ก็พาเอาพระนนท์ขึ้นไปสู่สวรรค์
เทวกญฺญาโย ทสฺเสติ พระองค์สำแดงนางฟ้าให้พระนนท์เห็น ส่วนพระนนท์ก็ขะมักเขม้น
เจริญสมณธรรม หวังจะใคร่ได้นางฟ้า เหตุสมเด็จพระมหากรุณาตรัสประโลมว่า ดูกรพระนนท์
เอ๋ย ถ้าท่านจะใคร่ได้ชมเชยนางฟ้า ก็จงอุตสาหะจำเริญสมณธรรมไปก็จะได้นางฟ้า เมื่อพระ
นนท์เจริญสมณธรรมอยู่ ได้ยินเพื่อนพรหมจารีกันนินทาก็ได้ความละอาย เบื่อหน่ายจากที่จะ
ได้นางฟ้า ส่งจิตของอาตมาไปต่อพระนิพพาน มินานก็ดับกิเลสสำเร็จธรรมวิเศษอริยมรรคอริย-
ผล นี่แหละสมเด็จพระทศพล ตามปรกติพระองค์ย่อมทรงติเตียนสุภนิมิตโดยอเนกปริยาย แต่
เพื่อจะทรงประกอบให้ชอบอัธยาศัยพระนนท์ ยังพระนนท์ให้สำเร็จมรรคผล จึงพาไปสู่สวรรค์
เทวโลก ให้เห็นนางฟ้าอันมีรูปโฉมงามนักหนาเช่นนั้น เหตุฉะนั้นจึงว่า เทสนากุสโล พระองค์ทรง
ฉลาดที่จะตรัสพระสัทธรรมเทศนา ปุน จ ปรํ ใช่จะมีความว่าแต่เท่านี้หาบ่มิได้ เหมือน
พระจุลบันถกกระนั้น โกรธกับพี่ชายจะไปสึกเสียแล้ว สมเด็จพระทูลกระหม่อนแก้วทรงทราบ
อัธยาศัยว่า พระจุลบันถกนี้ บารมีสร้างมาจะรู้ธรรมวิเศษ เหตุดังนี้จึงประทานท่อนผ้าให้แล้ว
บอกคาถาให้พระจุลบันถก ให้เอามือลูบมาที่ท่อนผ้าภาวนาว่า รโชหรณํ จำเริญไปก็ได้สำเร็จ
แก่ธรรมวิเศษถึงซึ่งภาวะประเสริฐมีวสี ชินสาสเน ในพระศาสนาของพระชิเนนทรบพิตรเจ้า
ใช่แต่เท่านั้น สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อโมฆราช
พราหมณ์ผู้ถามปัญหาถึงสามครั้ง สมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้ารู้ว่าพราหมณ์จะทำลายเสียซึ่ง
มานะแล้วจะได้สำเร็วแก่ธรรมวิเศษ เหตุฉะนี้จึงไม่ทรงแก้ปัญหาของโมฆราชพราหมณ์ โมฆ-
ราชพราหมณ์ก็ระงับดับเสียซึ่งมานะละสมบัติบวชเป็นภิกษุในพระศาสนา จำเริญภาวนาไปก็ได้
สำเร็จแก่ธรรมวิเศษเกษมศานต์ วสีภาวํ ชำนาญในอภิญญา 6 นี่แหละสมเด็จพระบรมนายก
ผู้ประเสริฐ ทรงประกอบให้ชอบอัธยาศัยโดยวิเศษ ฉลาดเลิศที่จะเทศนาโปรดสัตว์ทั้งหลาย
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรบวรกษัตริย์สิ้นสงสัยโสมนัสมีพระราชโองการตรัสว่า

ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อยํ ปญฺโห อันว่าปริศนานี้ พระผู้เป็นเจ้าช่างแก้ไข
ให้แจ่มแจ้งมิให้เคลือบแคลงสงสัย คหณํ กตฺวา บรรดาจะให้จนอยู่ พระผู้เป็นเจ้ากระทำ
ให้เคลื่อนคลายหายไป มิอาจให้จนได้กลับแก้ไขให้วิเศษ พหุวิเธน การเณน ด้วยเหตุมีประการ
ต่าง ๆ ชักอุปมาเปรียบปรายพร้อมด้วยอรรถาธิบายบทอักษรวิจิตรบวรเป็นอันดี อนฺธกาโร
บรรดาพระศาสนาจะมืดมนลับแล้ว อาโลโก กโต พระผู้เป็นเจ้าก็กระทำให้ผ่องแผ่วสว่าง
คณฺฑิภินฺนา ทำลายล้างเสียซึ่งคำปรับปวาทอันฟั่นเผื่อ เลิศเหลือในการปรีชา ชินปุตฺตานํ
จกฺขุ ตยา อุปฺปาทิตํ
พระผู้เป็นเจ้าให้ตาทิพย์บริสุทธิ์ แก่ชิเนนทรบุตรอันจะเกิดมาเมื่อปัจฉิมา
ในกาลบัดนี้
วัตถุคุยหทัสสนปัญหา คำรบ 1 จบเพียงนี้

ตถาคตัสส ผรุสวาจานัตถีติปัญหา ที่ 2


ราชา

สมเด็จบรมกษัตริย์จึงมีพระราชโองการถามอรรถปัญหาสืบไปเล่าว่า ภนฺเต
นาคเสน
สธุสะพระผู้เป็นเจ้าพระนาคเสนผู้ปรีชาชาติพรหมจารีย์รุ่งเรืองในศีล ภาสิตํ เจตํ
ถ้อยคำอันนี้ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรอัครสาวกเบื้องขวากล่าวไว้ว่า อาวุโส ดูรกอาวุโส
ตถาคโต สมเด็จพระพุทธองค์เจ้าทรงไว้ซึ่งกายสมาจารและวจีสมาจาร พระกายก็อ่อนน้อม
พระพุทธภาษิตก็อ่อนหวาน สมเด็จพระพิชิตมารจะได้ประพฤติเป็นการกายทุจริตวจีทุจริต
อันหยาบช้าทารุณหาบ่มิได้ ยํ ตถาคโต รกฺเขยฺย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้ามิได้เป็นกาย-
ทุจริตวจีทุจริต ผู้ใดฟังพระพุทธาภาษิตแล้วอย่างติเตียนนครหา ปุน จ ปรํ ครั้นมาใหม่เล่า
พระธรรมเสนาบดีเจ้ากล่าวว่า ตถาคโต สมเด็จพระตถาคตทศพลเจ้าเมื่อพระสุทินกลันท-
บุตรเสพเมถุนด้วยบุราณทุติยิกานั้น ทรงบัญญัติสิกขาบทปาราชิก เรียกพระสุทินด้วยคำอัน
หยาบช้าว่า โมฆบุรุษ เหตุฉะนี้พระกลันทบุตรได้ฟังผรุสวาทของสมเด็จบรมนาถก็มีจิตสะดุ้ง
อุตตราสหวาดหวั่นนักหนา เดือดร้อนกินแหนงน้ำใจจึงมิอาจได้ซึ่งอริยมรรค นี่แหละคำ
เป็นสองอยู่ฉะนี้ ไม่รู้ที่จะฟังข้างไหน ครั้นจะเชื่อคำภายหลังที่ว่าสมเด็จพระบรมโลกนาถตรัส
ผรุสวาทกับพระสุทินนั้น คำเดิมที่ว่าสมเด็จพระสัพพัญญูเป็นกายสมาจารวจีสมาจารนี้ ก็ผิด
เป็นมิจฉา ครั้นจะเชื่อเอาคำเดิม คำภายหลังจะเป็นมิจฉา อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้ อุภโต
โกฏิโก เป็นอุภโตโกฏิ ตฺวานุปฺปตฺโต มาถึงพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจงวิสัชนา ณ กาลบัดนี้