เมนู

ทุติยวรรค


ขุททานุขุททกปัญหา ที่ 1


ลำดับนั้น บรมกษัตริย์ขัตติยนริยทร์ปิ่นพิภพมิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงทรงสุนทรพาทีไต่ถาม
อรรถปัญหาอื่นสืบไปเล่าว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า โยมนี้คือไป ๆ แล้วก็
กังขา ภาสิตํ เจตํ ภควตา ด้วยพระพุทธฎีกาสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ โปรด
ประทานไว้ว่า ภิกฺเว ดูรกภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตได้รู้จริงเห็นจริงซึ่งพระสัทธรรมแล้ว ธมฺมํ
เทเสมิ พระตถาคตจึงได้สำแดงพระสัทธรรมนั้นไว้ โน อนภิญฺญาย ใช่ว่าพระตถาคต จะได้
สำแดงพระสัทธรรมนั้นไว้โดยความที่พระคตาถตไม่ได้รู้จริงเห็นจริงหามิได้ เมื่อสมเด็จบรม
ไตรโลกาธิบดีตรัสไว้ฉะนี้แล้ว ปุน จ ภณิตํ ดังฤๅตรัสไว้ในพระวินัยอีกเล่าว่า อานนฺท ดูกร
สำแดงอานนท์ สงฺโฆ อันว่าสงฆ์ อากงฺขมาโน เมื่อมีความรารถนาต้องการ ตถคต
นิพพานแล้ว สมูหนตุ จงเพิกถอนเสียซึ่งขุททานุขุททกสิกขาบท พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ ขุททา-
นุขุททกสิกขาบทนี้ พระองค์ทรงบัญญัติไม่ดีไม่งาม หรือทรงบัญญัติเพราะไม่มีเหตุไม่มีวัตถุ
เป็นประการใด พระองค์เจ้าจึงรับสั่งให้พระสงฆ์พุทธสาวกเพิถอนเสียได้ในเวลาที่พระองค์นิพพาน
แล้ว ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ถ้าว่าพระตถาคตเจ้าตรัสรู้ซึ่งพระสัทธรรมโดยยิ่งแล้วจึงทรง
แสดงธรรม ข้อซึ่งพระองค์ทรงอนุญาตให้เพิกถอนสิกขาบทต้องผิดเป็นมิจฉา ถ้าพระองค์ทรง
อนุญาตให้เพิกถอนขุททานุขุททกสิกขาบทได้จริง ที่ว่าพระองค์เจ้าตรัสรู้แล้วจึงเทศนาก็จะ
เป็นผิด คำทั้งสองนี้ไม่ต้องกันฉะนี้ อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้ อุภโต โกฏิโก เป็นสองเงื่อนแย้งกัน
สณฺโห ละเอียด สุขุโม สุขุม นิปุโณ ลึกล้ำยากที่จะรู้ ยิ่งฟันยิ่งกังขา เหตุบกพร่องไม่
บริบูรณ์ มาถึงพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจงอนุกูลแก้ปัญหาสำแดงซึ่งกำลังปัญญาให้วิตถาร
คือแก้ปัญหานี้ให้แจ่มกระจ่าง ณ กาลบัดนี้
เถโร ฝ่ายว่าพระมหาเถระผู้ประเสริฐอันได้นามว่านาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถศาสดาจารย์ มีพระพุทธฎีกา
โปรดประทานว่า ภิกฺขเว ดูรกสงฆ์ทั้งหลาย พระตถาคตได้รู้จริงเห็นจริงซึ่งพระสัทธรรมแล้ว
จึงได้สำแดงพระสัทธรรมนั้นไว้ ใช่ว่าจะได้สำแดงพระสัทธรรมไว้โดยความที่ไม่ได้รู้จริงเห็นจริง
หามิได้ สมเด็จบรมจอมไตรมิ่งมกุฏวิสุทธิปรีชา มีพระพุทธฎีกาตรัสฉะนี้แล้ว ปุน จ ปรํ มา
อีกครั้งหนึ่ง มีพระพุทธฎีกาตรัสบัญญัติไว้ในพระวินัยกับพระอานนท์ว่า อานฺนท ดูกรสำแดง
อานนท์ เมื่อพระสงฆ์มีความปรารถนาต้องการ เมื่อตถาคตเข้านิพพานไปแล้วก็จงเพิกถอน
ุขุททานุขุททกสิกขาบทเสียบ้าง ที่พระองค์เจ้ามีพระพุทธฎีกาดังนี้ ก็เพราะมีพระพุทธประสงค์

จะใคร่ทรงทดลองใจเหล่าภิกษุพุทธสาวกทั้งหลายในอนาคตกาลว่า เมื่อตถาคตอนุญาตให้สละ
ละวางเพิกถอนขุททานุขุททกสิกขาบทได้เช่นนี้ ครั้นตถาคตล่วงลับขันธปรินิพพานไปแล้ว
จักชวนกันสละละวางเพิกถอนเสียโดยลำดับ หรือจะยับยั้งเอื้อเฟื้ออยู่ ไม่เพิกถอนให้เสื่อมสูญ
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระอนาวรณญาณพิชิตมารมิ่งโมลี มี
พระพุทธประสงค์จะทรงทดลองใจเหล่าภิกษุพุทธสาวกทั้งหลายดังนี้ จึงทรงอนุญาตให้เพิกถอน
ขุททานุขททกสิกขาบท ในเวลาที่พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วได้ มีอุปมาดังว่าสมเด็จ
พระบรมจักรพรรดิกษัตราธิราช อันให้โอวาทแก่พระราชบุตรว่า ตาต ดูกรเจ้าผู้เป็นบุตร เจ้าจงฟัง
โอวาทของบิดา อยํ มหาชนปโท ชนบทอันใหญ่มีในพื้นปฐพีมีสาครล้อมรอบนี้ ทุกฺกโร
ยากที่เจ้าจะรักษาไว้จนหมดสิ้น ด้วยกำลังอันเล็กน้อยเพียงเท่านี้ได้ เมื่อบิดาสวรรคล่วงลับไป
แล้ว เจ้าจงทอดทิ้งประเทศอันตั้งอยู่ปลายเขตปลายแดนเสียบ้าง สมเด็จพระบรมจักรพรรดิราช
ตรัสสั่งพระโอรสไว้ฉะนี้ ครั้นนานมา พระองค์ผู้เรืองยศก็เสด็จสวรรคตล่วงไป อยู่ภายหลังพระ
โอรสาธิราชจะพึงทอดทิ้งประเทศปลายเขตปลายแดนทั้งปวงเหล่านั้น ซึ่งเป็นรัชสีมาอาณาเขต
แห่งชนบท อันอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์ ตามพระราชดำรัสสั่งของสมเด็จพระบิดาละ
หรือ ขอถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากร จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็น
เจ้าผู้ประกอบด้วยปรีชา พระราชกุมารอันเป็นพระโอรสแห่งสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิราช
นั้น มีพระทัยรักใคร่ราชสมบัติ ยิ่งจะแสวงหาชนบทเมืองขึ้นให้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเก่าเป็นสองเท่า
เสียอีก กึ ปน มุญฺเจยฺยุํ ต้องการอะไรที่พระราชกุมารนั้นจะทอดทิ้งชนบทที่มีอยู่แล้วใน
เงื้อมพระหัตถ์เสียเล่า
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า ยถา อันนี้มีอุปมาฉันใด มหาราช ขอถวายพระพร
บพิตรผู้เป็นมหิศราธิบดี ตถาคโต สมเด็จพระตถาคตทศพลญาณ เมื่อทรงลองใจภิกษุเหล่า
พุทธสาวกทั้งหลาย จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสไว้ว่า อานฺนท ดูรกสำแดงอานนท์ เมื่อตถาคต
นิพพานแล้ว พระสงฆ์มีความปรารถนาต้องการ ก็จงเพิกถอนขุททานุททกสิกขาบทเสียบ้าง
ดังนี้ ฝ่ายภิกษุพุทธชิโนรสทั้งหลาย ทุกฺขปริมุตฺติยา ผู้เห็นภัยในสงสาร บรรพชาด้วยหวังจัก
หลีกเลี่ยงให้พ้นทุกข์ กระทำนิพพานให้แจ้ง มีความจำนงในพระสัทธรรมอันมั่นคงไม่หวั่นไหว
ใคร่ต่อความปฏิบัติ ก็จะพึงคุ้มครองรักษาสิกขาบทให้แน่นหนาอย่างเคร่าครัดมัธยัสถ์เป็นทวี
คูณเสียอีก อะไรเล่าจะปล่อยปละละทิ้งเพิกถอนสิกขาบทที่พระองค์เจ้าทรงบัญญัติไว้แล้วให้
เสื่อมสูญ มีอุปไมยเหมือนพระราชบุตร อันไม่ปล่อยพระราชอาณาเขตปลายแดนเสีย และทรง
แสวงหาเพิ่มขึ้นอีกฉะนี้แล ขอถวายพระพร

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร จึงตรัสถามพระนาคเสนอีกว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ยํ ภควา อาห สมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงสวัสดิภาคพิชิตมาร
โปรดประทานคำอันใด ที่ว่าให้พระสงฆ์เพิกถอนขุททานุขุททกสิกขาบท อยํ โลโก คนที่
เกิดมาในโลกนี้ เป็นคนมืดมนอนธการหลงใหลไม่รู้จริง วิมติ ชาโต มีแต่จะสงสัยตะบึงไป
ดุจคนตามืดหาผู้จูงมิได้ ขุททานุขุททกสิกขาบทนั้น ได้แก่อันใดแน่ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนา
ให้ทราบในกาลบัดนี้
พระนาคเสนผู้เลิศด้วยศีลสมาจาร จึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราช-
สมภาร ผู้ขัตติยมหาศาลเรือนพระเกียรติยศ คำว่าขุททานุขุทกสิกขาบทนั้น บพิตรจงมนสิการ
กำหนดในพระทัยว่า ขุททาสิกขาบทและอนุขุททกสิขานั้น อันว่าอาบัติทุกฏชื่อว่าขุททก
สิกขาบท อาบัติทุพภาสิตชื่อว่าอนุขุททกสิกขาบท รวมสิกขาบททั้งสองประเภทนี้เข้า เรียกว่า
ขุททานุขุททกสิกขาบท พระมหาเถระทั้งหลายในปางก่อนก็เกิดความสงสัยในปัญหาข้อนี้
ท่านจึงรวมสิกขาบททั้งสองนั้นเข้าเป็นส่วนหนึ่ง เพราะพระบรมครูของเราได้ทรงแสดงไว้
โดยบรรยาย ขอถวายพระพร
ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรก็สรรเสริญพระนาคเสนว่า ภนฺเต ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าแก้ปัญหากระทำรสพระพุทธฎีกาให้มั่นคงไว้ฉะนี้ จะเป็นที่ปรากฏ
จำเริญแก่พระชิโนรสไปในโลกช้านาน นับแต่วันนี้เป็นต้นไปในกาลบัดนี้
ขุททานุขุททกปัญหา คำรบ 1 จบเพียงนี้

ฐปนียพยากรณปัญหา ที่ 2


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต
นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชา ภาสิตํ เจตํ ภควจา สมเด็จพระชิเนน-
ทราธิบดีมีพระพุทธฎีกาตรัสไว้ว่า ตถาคตนี้จะปิดบังความเป็นอาจารย์สั่งสอนธรรมหามิได้ คือ
พระองค์ตรัสว่า พระองค์เป็นอาจารย์บอกธรรม ครั้นนานมาเล่า พระเถรเจ้าผู้เป็นบุตรแห่ง
นางพราหมณีชื่อว่ามาลังฆา ทูลถามอรรถปัญหา พระองค์เจ้าก็มิได้ทรงวิสัชนา ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า อันประกอบไปด้วยปรีชา เอโส ปญฺโห อันว่าปัญหานี้อาศัยอรรถ
เป็นแท้ แต่ส่วนทั้งสอง คือมีสองแง่ไม่แปรผัน อชานนฺเตน วา เป็นเพราะพระตถาคตเจ้า