เมนู

ปฐมวรรค


วัชฌาวัชฌปัญหา ที่ 1


อถโข มิลินฺทสฺส รญฺโญ เอตทโหสิ

ลำดับนั้นสมเด็พระเจ้ามิลินท์ทรงพระจินตนา
การดำริฉะนี้ว่า พระนาคเสนผู้มีอายุให้โอกาสอาตมาแล้ว ควรที่อาตมาจะถามเถิด ดำริฉะนี้
แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ผู้เป็นปิ่นกษัตริย์ ก็หมอบลงกับบาทยุคลพระนาคเสนผู้เป็น
อาจารย์ กระทำอัญชลี นมัสการเหนืออุตมางคศิโรตม์มีพระโองการตรัสว่า ได้โปรดเถิดพระ
เจ้าข้า ด้วยคำเดียรถีย์ว่า เมื่อสมเด็จพระมหากรุณาเจ้ามีพระชนมายุอยู่นั้น สาธุสัตบุรุษจะบูชา
นับถือก็ควร บัดนี้พระเจ้าเข้านิพพานล่วงลับไปแล้วจะไหว้จะบูชา สมเด็จพระมหากรุณาเจ้าไม่
ยินดี ธรรมดาว่ากระทำสักการบูชาแก่พระชินสีห์ อันมิได้ยินดีนี้มีโทษหาผลมิได้ อยํ ปญฺโห
อันว่าปัญหาที่ถามนี้ อุภโต โกฏิโก มีเงื่อนเป็นสอง เนโส วิสโย ปัญหานี้จะได้ต้องด้วย
วิสัยแห่งคนมีปัญญาน้อยมีความคิดน้อยหามิได้ เป็นวิสัยแห่งคนอันมีปัญญามากมีความคิด
มาก ธรรมดาว่าวิสัยแห่งคนมีปัญญาน้อยคิดไม่ถึงจึงเป็นทิฐิไป พระผู้เป็นเจ้าจงวิสัชนาแก้ไข
อธิบาย ทำลายเสียซึ่งทิฐิทั้งหลายเถิด ปัญหานี้มาถึงแก่พระผู้เป็นเจ้าผู้ประเสริฐ พระผู้เป็นเจ้า
ผู้ประเสริฐจงให้จักษุปัญญาไว้แก่พระชินบุตร อันจะเกิดมาสุดท้ายภายหลัง เพื่อจะทำลายซึ่ง
คำปรับปวาททั้งหลายในกาลบัดนี้
พระนาคเสนเถรเจ้าผู้ประเสริฐจึงวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร
คำที่ว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าเข้าสู่พระนิพพานล่วงไปแล้วนั้น มิได้ยินดีด้วยเครื่องสักกาบูชานั้น
อย่าว่าไปเลย ถึงมีพระชนม์อยู่ก็ไม่เสวยโสมนัสยินดีในลาภสักการะที่เทพยดามนุษย์บูชา
สาทิยา อันว่าความยินดีนี้ สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้าละเสียแต่ควงไม้พระศรีมหา
โพธิเมื่อแรกได้ตรัส ดังฤๅเล่าสมเด็จพระพุทธเจ้าเข้าสู่นิพพานด้วยนิพพานธาตุ ขาดจากเชื้อ
ตัณหาจะยินดี ด้วยเครื่องสักกาบูชาหามิได้ อนึ่งพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ดังนี้ว่า
อันสมเด็จ พระชินสีห์จะได้ยินดีในเครื่องบูชาหามิได้ แต่ทว่าควรที่โลกเทวดามนุษย์จะบูชา
เป็นธรรมดา เมื่อโลกบูชาแล้ว มีผลมากนักหนา ของถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีพระราชโองการตรัสว่า พระผู้เป็นเจ้ามาอ้างเอาคำ
พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรนี้ เหมือนบิดาสรรเสริญซึ่งบุตร เหมือนบุตรสรรเสริญซึ่งบิดา เชื่อ
ฟังยังไม่ได้ก่อน จงวิสัชนาไปใหม่เพื่อจะทำลายเสียซึ่งทิฐิทั้งหาย จงตั้งไว้ซึ่งสกวาทีคลายเสีย
ซึ่งทิฐิทั้งหลาย

พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ซึ่งคำ
เดียรถีย์สมเด็จพระพุทธเจ้าเข้านิพพานไป มิได้ยินดีในเครื่องสักกาบูชา มนุษย์และเทวดา
บูชาไม่ได้ผลนี้ เชื่อฟังไม่ได้ เทวดาและมนุษย์ผู้ใดมีใจศรัทธาอุตสาหะกระทำสักการบูชา ซึ่ง
พระธาตุรัตนะจงสมเด็จพระพุทธเจ้าอันนิพพานไปมิได้มีความยินดีก็ดี ประการหนึ่ง สาธุ
สัตบุรุษอุบาสกอุบาสิกาอุตสาหะปรนนิบัติตามธรรมน้อยและใหญ่ที่โปรดประทานไว้นั้นก็ดี สาธุ
สัตบุรุษซึ่งกระทำนี้ อาจจะได้ไตรพิธสมบัติทั้ง 3 ประการ คือมนุษย์สมบัติ สวรรคสมบัติ
นิพพานสมบัติ มิได้คลาดคลา อุปมายปิ โส อตฺโถ อรรถปัญหานี้จะรู้ด้วยอุปมา ยถา กึ วิย จะ
อุปมาเหมือนอะไร เปรียบดังกองเพลิงใหญ่ ลุกรุ่งเรืองแล้วดับไป และกองเพลิงใหญ่นั้นยังจะ
ยินดีในเชื้อหญ้าแห้งและไม้แห้งหรือไม่เล่า มหาบพิตร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชาชาวสาคลนคร มีสุนทรวาจาตรัสว่า เพลิงนั้นแม้แต่ยัง
ไม่ดับก็มิได้ยินดีด้วยเชื้อหญ้า เมื่อดับหาเจตนามิได้ ก็จะป่วยกล่าวไปไยว่ามีความยินดี
พระนาคเสนจึงซักไซ้ว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ถ้าว่าเพลิงนี้ดับไปไม่มี
ที่ไหน โลกจะมิสูญจากไฟหรือ มหาบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ ถึงว่าโลกจะไม่มีไฟ ไฟจะดับไป จะสูญจากไฟหามิได้
พระนาคเสนจึงซักว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร พระราชสมภารมีพระราช
โองการตรัสว่า ไฟไม่สูญจากโลกทั้งปวง เมื่อไฟดับไปสิ้นแล้ว มนุษย์จะใคร่ได้ไฟ จะไปเอาไฟที่
ไหนเล่า มหาบพิตร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ถึงว่า
ไฟดับไปแล้ว มนุษย์จะใคร่ได้ไฟ ก็ได้ด้วยวัตถุที่ต้นเดิมแห่งไฟนั้น คืออยู่ที่ไม้แห้ง มนุษย์นั้นจึง
เอาไม้แห้งมาทำเป็นแม่ไฟลูกไฟ รองเชื้อฝอยภายใน เพียงสีไปก็จะได้ไฟนั้น เป็นฉะนี้แหละ
พระผู้เป็นเจ้า
ฝ่ายพระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เพลิงดับไป
และหาเจตนามิได้ ไม่ยินดีที่จะไหม้เชื้อ ครั้นมนุษย์เพียรสีไปก็มีไฟขึ้นได้ ถ้าเพลิงดับแล้วกลับ
ติดขึ้นได้ฉะนั้นไซร้ คำเดียรถีย์ซึ่งว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าเข้านิพพานไปไม่มีความยินดี บุคคลผู้
บูชานั้นหาผลมิได้ คำนี้หาสมไม่ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร มหาอคฺคิกฺขนฺโธ
กองเพลิงอันใหญ่รุ่งโรจน์โชตนาการไป ฉันใดก็ดี ตถาคโต สมเด็จพระตถาคตพุทธเจ้านี้ ก็
รุ่งเรือนด้วยพระพุทธรังสีมีครุวนาดังนั้น

ประการหนึ่งเล่า กองเพลิงนั้นรุ่งโรจน์โชตนาการแล้วดับไป ยถา มีครุวนาฉันใด
ตถาคโต สมเด็จพระตถาคตพุทธเจ้ารุ่งเรืองด้วยพระพุทธรังสี ยังหมื่นโลกธาตุให้หวาดไหว
แล้วนิพพานไป มีอุปไมยเหมือนไฟอันดับ ไม่ยินดีที่จะไหม้ไม้แห้ง เมื่อบุคคลที่จะต้องการไฟนั้น
ก็สีไฟได้ฉันใดก็ดี สมเด็จพระชินสีห์นิพพานล่วงลับไปไม่มีความยินดี บุคคลทั้งหลายจะถวาย
เครื่องสักกาบูชาแก่พระธาตุรัตนะ และจะปรนนิบัติด้วยสัมมาปฏิบัติตามญาณรตารมณ์ ของ
สมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้าตรัสโปรดประทานไว้นั้น อาจจะได้สมบัติทั้งสามประการเปรียบปาน
ดุจกองเพลิงใหญ่ดับไปมิได้ไหม้เชื้อแล้ว และบุคคลสีไฟก็ได้ซึ่งไฟฉะนั้น มหาราช ขอถวาย
พระพรบพิตรพระราชสมภาร บพิตรพระราชสมภารพึงเข้าพระทัยเถิดว่า สมเด็จพระพุทธเจ้านี้
นิพพานไปแล้วไม่มีความยินดี บุคคลบูชาด้วยเครื่องสักการบูชามีผลมากนักหนา จะได้มีโทษ
เหมือนถ้อยคำเดียรถีย์ว่านั้นหามิได้
อปรมฺปิ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร จงทรงพระสวนาการเหตุ
อันหนึ่งให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ ผิแลว่าบุคคลจะมีความสงสัยว่า พระพุทธเจ้านิพพานไปแล้วไม่ยินดี
ันั้น และบุคคลผู้กระทำสักการบูชาหาผลมิได้ ถ้าจะสงสัยฉะนี้ยังไม่หาย จะอุปมาถวายอีก
อย่างหนึ่ง ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดังลมพายุใหญ่พัดแล้วหายไปนั้น และลม
ที่หายไปนั้นจะกลับพัดมาอีกหรือ หรือว่าหามิได้เล่า
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจริญ
เมื่อลมพายุใหญ่นั้นพัดมาแล้วหายไป ลมพายุนั้นก็หายไปทีเดียว จะได้พัดมาอีกหามิได้
ฝ่ายพระนาคเสนจึงซักไซ้ไต่ถามว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ลมพายุนั้นพัดมาแล้วหายไปกระนั้น เมื่อลมพายุหายไป โลกไม่มีลมแล้วนี่ ก็แหละบุคคลที่
กระวนกระวายร้อนนั้น ลมสิสูญไปไม่พัดอีกแล้ว ถ้ากระนั้นจะมิร้อนหนักไปหรือ บพิตรพระ
ราชสมภาร
ส่วนพระเจ้ากรุงมิลินท์จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ
บุคคลทั้งหลายที่ร้อนกระวนกระวายนั้น จึงเอาใบตาลและกระดาษมากระทำเป็นพัดโบกลมให้มี
ลมขึ้นด้วยความเพียรพยายาม ยังร้อนกระวนกระวายให้หายไป กระทำให้เป็นลมเกิดขึ้นได้นะ
พระผู้เป็นเจ้า
ฝ่ายพระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า ดูรานะบพิตรพระราชสมภารเจ้า ลมพายใหญ่พัด
มาแล้วหายไป มนุษย์ยังลมให้เกิดขึ้นได้ฉะนี้ ถ้ากระนั้นคำเดียรถีย์ที่ว่าสมเด็จพระพุทธเจ้า
เสด็จเข้านิพพานไปไม่ยินดีนั้น บุคคลกระทำซึ่งสักการบูชามีโทษ คำเดียรถีย์ที่ว่าดังนี้ว่าผิด

นะบพิตรพระราชสมภาร มหติ วาโต ลมพัดเป็นพายุใหญ่นั้น ย่อมฟุ้งเฟื่องแล้วดับไปหายไป
ฉันใด สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ เปรียบปานดุจลมพายุใหญ่อันพัดมาแล้วดับไปนั้น
สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าก็เหมือนกัน ยังหมื่นโลกธาตุให้หวั่นไหวพัดฟุ้งเฟื่องแล้วนิพพานไป
และพัดฟุ้งเฟื่องไปนั้น คือแผ่พระเมตตาพรหมวิหารอันเกษมศานต์สุขุมเย็นใจแผ่ไปทั่วทั้งหมื่น
โลกธาตุแล้วสมเด็จพระบรมโลกนาถก็นิพพานด้วยนิพานธาตุ หาเชื้อตัณหาที่จะระคนข้องอยู่
มิได้ ไม่มีความยินดี และมนุษย์เทวดามีศรัทธาจะกระทำสักการบูชาย่อมมีผลานิสงส์ เมื่อ
กระทำกองการกุศลแล้วจะดับเสียซึ่งเพลิงทั้งหลายคือ ราคัคคี โทสัคคี โมหัคคี อันร้อน
กระวนกระวายนั้น ก็ดับได้ง่ายดาย ด้วยอำนาจกุศลทั้งหลายที่ตนได้กระทำสักการบูชาแก่
สมเด็จพระพุทธเจ้าเข้านิพพานไปไม่ยินดี มีครุนาดุจลมพายุพัดมาแล้วหายไป เมื่อลมหาย
แล้วจะกระทำให้ลมพัดขึ้นอีกได้ด้วยพัดใบตาลและพัดกระดาษ อาจจะให้ดับระงับกระวน
กระวายได้เหตุฉะนี้มนุษย์ ทั้งหลายถึงแม้นมาตราว่าสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์นิพพาน
ไปแล้วอยู่ภายหลังจะบูชาซึ่งพระธาตุรัตนะของสมเด็จพระพุทธเจ้า และปรนนิบัติตามธรรม
อันน้อยใหญ่ ยังกุศล ธรรมให้เกิดมีขึ้นแล้ว ก็อาจจะดับเสียซึ่งเพลิงทั้งหลาย คือราคัคคี
โทสัคคี โมหัคคี อันร้อนกระวนกระวาย ให้ระงับดับหายไปจากสันดานได้ เสมือนพัดใบตาล
และพัดกระดาษ อันคนทั้งหลายพัดดับเสียได้ซึ่งกระวนกระวายอันรุ่มร้อนนั้น ขอถวายพระพร
อปรํปิ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร จงทรงสวนาการเหตุอันอื่นอีกเพื่อจะข่มขี่เสียซึ่ง
คำปรับปวาทแห่งเดียรถีย์ทั้งหลาย เอโก ปุริโส เปรียบดุจบุรุษผู้หนึ่งตีกลองให้เสียงดังก้องไป
เสียงกลองนั้นดังก้องไปด้วยกำลังตีแห่งบุรุษ ครั้นเสียงกลองนั้นหาดังไม่ เพราะบุรุษนั้นมิได้ดี
และกลองเภรีนั้นจะยินดีที่จะดังอีกหรือหามิได้ ขอถวายพระพร
ส่วนสมเด็จพระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์ตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้
ปรีชาญาณ อันว่าเภรีนั้นจะได้มีความยินดีที่จะดังอีกหามิได้
พระนาคเสนจึงไต่ถามว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร เมื่อ
เสียงกลองนั้นไม่ดังแล้ว จะมิสูญไปหรือ พระราชสมภาร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์จึงตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ เภรีกับ
คนตีนั้นเป็นปัจจัยที่จะให้เกิดเสียงกลอง ถ้าว่าบุคคลเพียรตีเภรีอีกเล่า ก็อาจจะให้กลองมีเสียง
ดังไปอีกได้
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า ฉันใดก็ดี ดูรานะบพิตรพระราชสมภารเจ้าผู้ประเสริฐ
สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์เจ้าตั้งไว้ซึ่งพระธาตุรัตนะและพระไตรปิฎก อันจำเริญ

ด้วยศีลสมาธิปัญญาและมรรคและผลเป็นอันดี ดุจกลองเภรีอันบุคคลเอามาตั้งไว้แล้ว
และพระพุทธองค์เสด็จเข้านิพพานล่วงลับไป เมื่อสาธุสัตบุรุษผู้ใดมีจิตเสื่อมใสศรัทธาอุตสาหะ
กระทำสักการบูชา และมาปรบนิบัติตามโอวาทานุสาสน์น้อยใหญ่ที่พระพุทธองค์ตรัสโปรดพระ
ราชทานไว้ โดยพระสูตรปรมัตถ์อรรถวินัย ก็อาจสามรถจะให้เกิดซึ่งสมบัติ 3 ประการ คือ
มนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ ดุจสัททะสำเนียงเสียงกลองเภรีฉะนั้น
อนึ่งเล่า บพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในธรณี เมื่อกลองเภรีมีอยู่ และมีผู้มาตีลงอีก
เสียงกลองนั้นก็ดังก้องสนั่นไป ฉันใดก็ดี สาธุชนที่มีศรัทธานี้ เมื่อพระธาตุรัตนะมีอยู่และพระ
พุทธวจนะในพระไตรปิฎก ซึ่งสมเด็จพระบรมโลกนายกทรงประดิษฐานไว้ ก็มีอยู่ฉะนี้ มีศรัทธา
แล้วพึงบูชาซึ่งแก้วคือพระบรมธาตุของสมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้า และอุตสาหะเล่าเรียนสดับ
ตรับฟังธรรม ปรนนิบัติตามพระพุทธวจนะดังนี้ ก็จะได้สมบัติทั้งสามประการอาศัยแก่มีพระ
ธาตุรัตนะอยู่เป็นปัจจัยและมีพระไตรปิฎกเป็นปัจจัยอาศัยเหตุกระนี้ จึงได้สมบัติทั้งสามประการ
เปรียบปานดุจเสียงกลองอันดังก้อง ก็อาศัยตัวกลองเป็นปัจจัยเหมือนกัน เหตุดังนั้น สาธุชน
ที่มีศรัทธาจะกระทำสักกาบูชาซึ่งสมเด็จพระศาสดาจารย์ อันเข้าพระนิพพานไปแล้วหาโทษ
มิได้ สผโล ประกอบไปด้วยผล สมด้วยพระฎีกาที่สมเด็จพระทศพลตรัสบัณฑูรพระสัทธรรม
เทศนาไว้ว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุทั้งหลาย กาลนานไปภายภาคหน้า ตถาคตจะได้อยู่เป็นครุ
สั่งสอนท่านทั้งหลายาหามิได้ เหตุไรจึงว่าดังนี้ เหตุว่าตถาคตจะนิพพานไป ก็แหละพระสัทธรรม
คือพระวินัย พระสูตร พระปรมัตถ์ ที่ตถาคตตรัสเทศนาไว้นั้นนั่นแหละจะอยู่เป็นครูสั่งสอน
ท่านทั้งปวงไปในอนาคตกาล และคำที่เดียรถีย์กล่าวว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธเจ้าเข้า
นิพพานไปไม่มีความยินดี และบุคคลอันจะกระทำสักกาบูชานี้มีโทษ ไม่เป็นผลไม่เป็นประโยชน์
นั้น คำที่เดียรดีย์กล่าวดังนี้เป็นคำอันผิดหาควรไม่
อนึ่งเล่า มหาบพิตรพระราชสมภารจงทรงพระสวนาการฟังอุปมาอันอื่นให้ภิยโยภาวะ
ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ เปรียบดุจมหาปฐพีอันใหญ่ย่อมให้จำเริญซึ่งพืชทั้งหลายต่าง ๆ สพฺพวีชานิ
อันว่าพืชทั้งหลายทั้งปวงงอกขึ้นจำเริญขึ้นเป็นลำต้นมีดอกออกผลต่าง ๆ นั้น แผ่นดินจะมี
ความยินดีหรือหามิได้ หรือว่าพืชหากจำเริญเองเป็นประการใด
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นเวียงชัยตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า
แผ่นดินนั้นจะมีความยินดีหามิได้ พืชทั้งปวงหากจำเริญเองน่ะ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่าที่คำเดียรถีย์ว่านั้นว่า พระพุทธเจ้าเข้านิพพานแล้วหา
ความยินดีมิได้ จะกระทำสักกาบูชานั้นหาผลหาประโยชน์มิได้ ประกอบไปด้วยโทษ ถ้อยคำนี้

เป็นคำผิด มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ แผ่นพื้นพสุธาอันใหญ่เจริญพืช
ต่าง ๆ ฉันใด ตถาคตโต อันว่าสมเด็จพระศรีสุคตทศพลญาณเจ้า อันเสด็จมาตรัสตามวงศ์
แห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งหาย อรหํ ผู้ควรแก่เครื่องสักกาบูชา สมฺมาสมฺพุทฺโธ ผู้
ได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสมโพธิญาณ วิชฺชาจรณสมฺปนโน บริบูรณ์ด้วยวิชชา 3 จรณะ 8
สุคโต มีพระดำเนินเป็นอันงาม โลกวิทู รู้ซึ่งลักษณะแห่งสังขารโลกทั้งปวง และองค์พระ
สัพพญญูเจ้าก็เหมือนปฐพีดังนั้น อันว่าแผ่นดินมิได้ยินดีซึ่งพืชฉันใด สมเด็จพระบรมไตรโลก-
นาถ ก็ไม่ยินดีซึ่งบูชาแห่งสัตวโลกมีอุปมาดังนั้น อันว่าพืชทั้งหลายอาศัยซึ่งแผ่นดินแล้ว งอก
จำเริญเป็นต้นเป็นใบมีกิ่งก้านจำเริญ ทรงดอกออกผลอาศัยปฐพีนั้นฉันใด เทวมนุสฺสา อันว่า
เทวดาและมนุษย์ในโลกนี้ที่ศรัทธา ทฬฺหกุสลมูลา มีจิตกุศลเป็นรากอันยั่งยืนไปเป็นอันดี
สมาธิกฺขนฺธา มีสมาธิเป็นลำต้น ธมฺมสารา มีธรรมเป็นแก่นสาร สีลสาขา มีศีลห้าประการเป็น
กิ่งก้าน อันแซมไปภายในภายนอก ทรงไว้ซึ่งดอกคือพระวิมุตติธรรมอันประเสริฐ ทรงไว้ซึ่งผล
อันเลิศ คือ สามัญผล ทั้งนี้อาศัยสมเด็จพระพุทธเจ้าอันเข้านิพพานไปไม่ยินดี ดุจแผ่นดินอัน
มิได้มีความยินดีด้วยพืชทั้งหลายนั้น
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร เหตุอันนี้ที่วิสัชนามา อาตมภาพจึงว่า
สาธุสัตบุรุษจะกระทำสักการบูชาแก่สมเด็จพระมหากรุณาเจ้าเข้าพระนิพพานไปไม่มีความ ยินดี
ไม่มีโทษ มีแต่ประโยชน์ จะให้ได้ซึ่งไตรพิธสมบัติสามประการดุจพรรณนามาฉะนี้
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร จงทรงสวนาการเหตุอันอื่นให้ยิ่งกว่านี้
นี่แนะบพิตรพระราชสมภารเจ้าผู้ประเสริฐในศฤงคาร เปรียบปานดุจตระกูลหนอนทั้งหลายอัน
บ่อนอยู่ในอุทรท้องสัตว์ต่าง ๆ คือช้าง ม้า วัว ควาย แพะ อูฐ ลาทั้งหลายนี้ สัตว์จำพวกนั้นรัก
ใคร่ยินดีด้วยหนอนทั้งหลายหรืออย่างไรเล่า มหาบพิตร
พระเข้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า สัตว์ทั้งหลายเล่านั้นจะได้ยินดีด้วยหนอนหามิได้
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า บพิตรพระราชสมภาร เมื่อสัตว์ทั้งหลายไม่มีความยินดี
หนอนทั้งหลายนี้มีลูกมีหลานจำเริญมากด้วยเหตุอย่างไรเล่า บพิตรพระราชสมภาร
พระเจ้ากรุงมิลินท์บดีมีพระราชโองการตรัสว่า สัตว์ทั้งหลายนี้มิได้ยินดีที่จะให้หนอน
ทั้งหลายบังเกิด แต่ทว่าหนอนทั้งหลายบังเกิดขึ้นในท้องสัตว์นั้ เหตุด้วยบาปกรรมอันกล้า
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร บุคคล
จะกระทำสักกาบูชาแก่สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์เจ้า อันเข้าพระนิพพานไปหา

ความยินดีมิได้นี้มีผล เหตุว่าพระบารมีและอารมณ์ของสมเด็จพระพุทธเจ้านั้นกล้าเป็นทักขิไณย
เนื้อนาอันดี บุคคลมาหว่านพืชลงคงจะมีผล ดุจหนอนอันเกิดในท้องสัตว์ซึ่งมิได้ยินดี เกิด
ด้วยกรรมเป็นบาปอันกล้า
อปรํปิ มหาราช ประการหนึ่ง ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร จงทรงสาวนาการ
เหตุอันหนึ่งให้ยิ่งกว่านี้ โลกิยมนุษย์ทั้งหลายนั้นมีฉันนวุติโรคเกิดขึ้นในกาย มนุษย์ทั้งหลายเป็น
จะมีความยินดีหรือประการใด
พระเจ้ากรุงมิลินท์มีพระราชโองการตรัสว่า มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นจะได้มีความยินดี
หามิได้ น่ะพระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาถามไปเล่าว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช-
สมภาร เมื่อคนทั้งหลายไม่มียินดี ก็ไฉนฉันนวุติโรคเหล่านี้จึงบังเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุประการใด
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงแก้ไขว่า เกิดขึ้นด้วยอกุศลอันบุคคลผู้นั้นกระทำไว้
พระนาคเสนจึงอุปไมยต่ออุปมาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรผู้ประเสริฐ ถ้า
ว่าฉันนวุติโรคบังเกิดแก่มนุษย์ซึ่งมิได้ความยินดีด้วยอกุศลหนหลังฉันใด บุคคลกระทำสักการ-
บูชาแก่สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์นิพพานไปหาความยินดีมิได้นี้มีผล เพราะกองกุศล
เป็นทิฏฐธัมมเวทนีย์เห็นประจักษ์ในชาตินี้ และกุศลที่จะให้ได้เสวยรมย์ชมทิพยสมบัติและ
มนุษยสมบัติข้างหนึ่ง กับทั้งนิพพานสมบัติ และไตรพิธสมบัตินี้เกิดแก่บุคคลก็เพราะกุศลได้
กระทำไว้ อุปไมยดังพรรณนามาฉะนี้
อนึ่ง มหาบพิตรจะได้ทรงฟังบ้างหรือไฉนว่า ยังมียักษ์ตนหนึ่งใจร้อยนักหนา มี
นามปรากฏชื่อว่านนทยักษ์ ประทุษร้ายต่อพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร แผ่นดินสูบเอาไปนั้น
อาม ภนฺเต พระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า อาม เออ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมได้ยินอยู่
คำอันนี้มีปรากฏในโลก คนเขาเล่ากันต่อ ๆ มา
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้
ประเสริฐ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเป็นอัครสาวกอันเลิศ พระผู้เป็นเจ้ายินดีที่จะให้แผ่นดิน
สูบเอานนทยักษ์ไปหรือประการใด น่ะบพิตรพระราชสมภาร
พระเจ้ามิลินท์จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้ปรีชา ถึงเทว-
โลกและมนุษย์โลกจะฉิบหายไปก็ดี พระจันทร์พระอาทิตย์จะตกลงมาเหนือพื้นพระธรณีก็ดี เขา
พระสุเมรุจะภินทนาการทำลายไปก็ดี พระสารีบุตรท่านจะให้ทุกข์แก่โลกหามิได้ ตํ กิสฺส เหตุ

ความนี้เป็นฉันใด เหตุว่าพระสารีบุตรมีน้ำใจมิได้กำเริบคิดร้ายให้ทุกข์โศกแก่บุคคลผู้ใด ถึงว่า
ผู้ใดจะกระทำอันตรายแก่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจนสิ้นชีวิต พระสารีบุตรจะคิดร้ายหมายขวัญ
แก่ผู้นั้นหามิได้
พระนาคเสนผู้ปรีชาจึงมีเถรวาจาถามว่า มหาราช ขอถวายพระพร ถ้าว่าพระธรรม-
เสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้าไม่ยินดีที่จะให้แผ่นดินสูบซึ่งนนทยักษ์ และนนทยักษ์แผ่นดินสูบเอาไป
เป็นเหตุไฉนเล่า
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า แผ่นดินสูบ
เอานนทยักษ์ไป ด้วยอกุศลกรรมนนทยักษ์กระทำไว้แก่กล้า
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพร ถ้าว่านนทยักษ์แผ่นดินสูบเอา
ไปนั้น เป็นด้วยอกุศลกรรมของนนทยักษ์กระทำไว้แก่กล้า ถ้าว่าฉะนี้แล้ว พระสารีบุตร ท่านก็
ไม่ยินดีที่จะให้แผ่นดินสูบนนทยักษ์ ก็คำเดียรถีย์ที่ว่าบุคคลกระทำสักการบูชาแก่สมเด็จพระ
พุทธเจ้าเข้านิพพานไปไม่ยินดี มีโทษหาประโยชน์มิได้ คำเดียรถีย์ว่าดังนี้ก็ผิด คำที่ว่าบุคคล
บูชาสมเด็จพระพิชิตมารอันเขาพระนิพพานไปไม่มีความยินดี มีประโยชน์มีผลหาโทษมิได้
สมควรกับที่เปรียบมา เหตุดังนี้แหละบุคคลจะกระทำสักการบูชาแก่สมเด็จพระพุทธเจ้า อันเข้า
นิพพานไปไม่มีความยินดี มีผลมีประโยชน์หาโทษมิได้
อนึ่งเล่า ขอถวายพระพร บพิตรพระราชสมภารได้ทรงสวนาการฟังบ้างหรือไม่ ใน
ศาสนาสมเด็จพระพุทธเจ้าของเรานี้ ตกนรกทั้งเป็น แผ่นดินสูบเอาไปกี่คนเล่า บพิตร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชาชน จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้
เป็นเจ้า โยมได้ฟังอยู่
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า ดูรานะบพิตรพระราชสมภารเจ้า จงเล่าให้อาตมาฟังก่อน
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
แผ่นดินสูบเอาไป 5 คน คือ นางจิญจมาณวิกาคน 1 พระยาสุปปพุทธศากยราชองค์ 1 พระ
เทวทัตคน 1 นนทยักษ์ ตน 1 อุทเมยยกโจรคน 1 สิริเป็น 5 คนด้วยกันในกาลนั้น
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาถามว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร คน 5 คน
เหล่านี้ประทุษร้ายต่อผู้ใด แผ่นดินจึงสูบเอาไป
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คนทั้ง
หลาย 5 คนนี้ ประทุษร้ายต่อสมเด็จพระพุทธเจ้าและพระอัครสาวกของสมเด็จพระพุทธเจ้า

พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จ
พระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ ยินดีที่จะให้คนเหล่านี้ธรณีสูบเอาไปหรือ บพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นธรณีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
สมเด็จพระพุทธเจ้าจะได้ยินดีที่จะให้คนทั้งหลายนั้นแผ่นดินสูบเอาไปหามิได้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ถ้าว่า
สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ไม่ยินดีที่จะให้ใครไปอวิจีให้ธรณีสูบเอาไป ผู้ใดประทุษ-
ร้ายต่อพระองค์เจ้า แผ่นดินจึงสูบไปฉะนี้แล้ว คำเดียรถีย์ว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าเข้าพระ
นิพพานไป หาความยินดีมิได้ บุคคลบูชามีโทษหาประโยชน์มิได้ คำนี้ผิดหาจริงไม่ ผู้ใดกระทำ
สักการบูชาแก่สมเด็จพระพุทธเจ้าอันเข้านิพพานไปหาความยินดีมิได้นี้ มีผลมีประโยชน์
หาโทษมิได้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ได้ทรงฟังก็ทรงพระโสมนัสปรีดา จึงตรัสสรรเสริญว่า
ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ปัญหานี้คัมภีรภาพลึกล้ำฟั่นเฝือยิ่งนักหนา นี่แหละพระผู้เป็นเจ้าแก้
ไขให้แจ่มแจ้งเป็นอันดี ยังคำเดียรถีย์อันเป็นมิจฉาทิฐิเห็นผิดนั้น ให้ลี้ลับอัปภาคย์ไป แต่วันนี้
ไปเดียรถีย์จะมิได้ว่าต่อไปได้อีกแล้ว พระผู้เป็นเจ้านี้ล้ำเลิศประเสริฐกว่าคนทั้งหลาย โยมจะรับ
เอาอภิปรายของพระผู้เป็นเจ้าตั้งแต่งไว้ในกาลบัดนี้
วิชฌาวัชฌปัญหา คำรบ 1 จบเท่านี้

สัพพัญญูภาวปัญหา ที่ 2


ภนฺเต นาคเสน พุทฺโธ สพฺพญฺญูติ อาม มหาราช ภควา สพฺพญฺญู จ ภควโต สตตํ
สมิตํ ญาณทสฺสนํ ปจฺจุปฏฐิตํ อาวชฺชนปฏิพทฺธํ ภควโต สพฺพญฺญุตญาณํ อาวชฺชิตฺวา
ยทิจฺฉิกํ ชานาตีติ ฯ

พระเจ้ามิลินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน
ผู้ปรีชา สมเด็จพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นสัพพัญญูหรือ
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า อาม เออบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระศาสดาจารย์