เมนู

สัตตมวรรค


สติอาการปัญหา ที่ 1


ราชา

สมเด็พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีพระราชโองการตรัสถามอรรถปัญหาใน
สัตตมวรรคนี้ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้มีปรีชาอันเลิศ ลักษณะสตินี้บังเกิด
กตีหิ อากาเรหิ ด้วยอาการมากน้อยเท่าใด นิมนต์วิสัชนาแก้ไขให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ลักษณะสติจะบังเกิดด้วยอาการ 17 สถาน ขอถวายพระพร
อันว่าอาการ 17 นั้นคือ
อภิชานโต สติ 1
กุฏุมฺพิกาย สติ 1
โอฬาริกวิญฺญาณโต สติ 1
หิตวิญฺญาณโต สติ 1
อหิตวิญฺญานโต สติ 1
สภาคนิมิตฺตโต สติ 1
วิสภาคนิมิตฺตโต สติ 1
กถาภิญฺญาณโต สติ 1
ลกฺขณโต สติ 1
สรณโต สติ 1
มุทฺธโต สติ 1
คณนาโต สติ 1
ธารณาโต สติ 1
ภาวนาโต สติ 1
โปตฺถกนิพนฺธนโต สติ 1
อุปนิกฺเขปโต สติ 1
อนุภูมโต สติ 1
สิริเป็น 17 เท่านี้ ยอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีสุนทรราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้มีญาณปรีชา อันว่าอาการแห่งอภิชานโต สตินั้นเป็นประการใด

พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
อภิชานโต สตินี้ ได้แก่สติของบุคคลทั้งหลายอันระลึกชาติได้ และสติของพระอานนท์อันฟัง
พระสูตรครั้งเดียวจำไว้ได้ และสตินางขุชชุตตราอุบาสิกานั้น ฟังพระสัทธรรมเทศนาครั้งเดียวก็
จำได้ จำเอามาสำแดงให้คนทั้งหลายฟังได้ถ้วนถี่ทั้งพระคาถาบาลีดังนี้ชื่อว่า อภิชานโต สติ
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา กุฎุมพิกาย สตินั้นอย่างไร
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
กุฏุมพิกาย สตินี้ ได้แก่บุคคลทั้งหลายมีสติฟั่นเฟือนขี้หลงขี้ลืม จำได้แต่ทรัพย์ที่ถุงห่อของตัว
เก็บไว้ดังนี้ ได้ชื่อว่ากุฏุมพิกาย สติ ของถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้มีญาณปรีชา อันว่าโอฬาริกวิญญาณโต สติ เป็นประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
โอฬารริกวิญญาณโต สตินั้น ได้แก่สมเด็จพระบรมขัดตติยราชแรกปราบดาภิเษกมีสติโอฬาริก-
ภาพและท่านผู้ได้โสดาปัตติมรรคแล้วและสำเร็จแก่โสดาปัตติผลสบายอกสบายใจ นั่นแหละได้
ชื่อว่าโอฬารริกวิญญาณโต สติ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา อันว่าหิตวิญญาณโต สตินั้นเป็นประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพร หิตวิญญาณโต สตินั้น ได้แก่
บุคคลเคยได้เป็นสุขอยู่แต่ก่อน และระลึกถึงสุขที่ตนเสวยแต่ก่อนนั้นได้ว่า อาตมาได้เสวยสุข
เมื่อครั้งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อหิตวิญญาณโต สติ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา อันว่าอหิตวิญญาณโต สตินั้น เป็นประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อหิต-
วิญญาณโต สตินั้น ได้แก่บุคคลตกทุกข์ได้ยากมาแต่กาลก่อน จึงระลึกขึ้นถึงทุกข์ยากแต่ก่อน
ดังนี้แหละจัดได้ชื่อว่า อหิตวิญญาณโต สติ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามพระนาคเสนว่า ภนฺเต นาค-
เสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าสภาคนิมิตตโต สตินั้น เป็นประการใด

พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพร สภาคนิมิตตโต สตินั้น ได้แก่
บุคคลเห็นซึ่งผู้อื่นเหมือนบิดามารดาญาติพี่น้องและบุตรของตัวกระทำกาลกิริยาตาย และวัว
ควายช้างม้า อันเหมือนโคหิงสาช้างม้าของตัวนั้น กระทำกาลกิริยาตาย ก็ระลึกขึ้นได้ดังนี้
ชื่อว่าสภาคนิมิตตโต สติ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา วิสภาคนิมิตตโต สตินั้น เป็นประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไข่ว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชมภาร
วิสภาคนิมิตตโต สตินั้น ได้แก่บุคคลระลึกว่า สีสันวรรณะกลิ่นรสแห่งผลไม้สิ่งนี้เป็นเช่นนี้ และ
ระลึกถึงโฏฐัพพารมณ์ อันอ่อน และกระด้าง อย่างนี้เป็นเช่นนี้ อย่างนี้แหละจัดได้ชื่อว่า
วิสภาคนิมิตตโต สติ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่ากถาภิญญาณโต สตินั้นอย่างไร
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร กถาภิญ-
ญาณโต สติ
นั้น ได้แก่บุคคลเคลิ้มสติลืมไปให้ผู้อื่นบอกให้จังระลึกขึ้นได้ ชื่อว่า กถาภิญญาณโต
สติ
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้มีญาณปรีชา ลักขณโต สตินั้น เป็นประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ลักขณโต สติ นั้น
ได้แก่บุคคลเป็นเจ้าของโค เห็นตำหนิเครื่องหมายโคของตนแล้วระลึกได้ดังนี้ ชื่อว่า ลักขณ-
โต สติ
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา อันว่าสรณโต สตินั้น เป็นประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สรณโต สตินั้น
ได้แก่บุคคลอันเคลิ้มสตินั้น ยังมีบุคคลมาว่า ว่าท่านได้กระทำสิ่งนั้นไว้ ท่านลืมไปแล้วหรือ จง
คิดดูเถิด และบุรุษผู้นั้นก็ระลึกขึ้นได้ อย่างนี้ชื่อว่าสรณโต สติ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา มุทธโต สตินั้น เป็นอย่างไร

พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มุทธโต สตินั้น ได้แก่ บุคคลอันจดหมายอักขระไว้แล้ว
ครั้นลืมไปมาดูอักขระนั้นก็รู้ว่า อักขระนี้อาตมาได้กระทำไว้ที่ระหว่างอักขระนี้ อย่างนี้แหละ ได้
ชื่อว่ามุทธโต สติ ขอถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา คณนาโต สตินั้น เป็นอย่างไร
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร คณนาโต สติ
นั้น ได้แก่บุคคลจะระลึกสิ่งของอันใดเป็นของมาก ต้องนับดูจึงจะระลึกได้ว่าท่านเท่านั้น นี่
แหละชื่อว่า คณนาโต สติ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา ธารณโต สตินั้น อย่างไร
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ลักษณะแห่ง
ธารณโต สตินั้น ได้แก่บุคคลจำทรงไว้ได้มากด้วยอุตสาหะสำเหนียกจำไว้มาก อย่างนี้ชื่อว่า
ธารณโต สติ ขอถวายพระพร
ครั้งนั้น พระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระผู้เป็นเจ้าพระนาคเสน อันว่าภาวนาโต สตินั้น อย่างไร
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อันว่าลักษณะ
แห่งภาวนาโต สตินั้น สมเด็จพระสรรเพชญ์ตรัสเทศนาไว้ว่า ภิกษุได้บุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ในศาสนาของตถาคตนี้ คือระลึกชาติได้ชาติ 1 บ้า 2 ชาติบ้าง 3 ชาติบ้าง ตราบเท่าหลายชาติ
ไป ชื่อว่าภาวนาโต สติ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา อันว่าลักษณะแห่งโปตถกนิพันธนโต สตินั้น เป็นประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อันว่าลักษณะ
แห่งโปตถกนิพันธนโต สตินั้น ได้แก่ราชบุรุษข้าราชการ อันระลึกถึงพระราชอนุสาสนีย์กฎหมาย
อธิบายว่า พระราชกำหนดกฎหมายฎีกาที่พระมหากษัตริย์มีพระราชบัญญัติไว้ ย่อมจารึกอยู่
กับลาน ครั้นนำมาอ่านดูแล้วก็ระลึกได้ดังนี้ ชื่อว่าโปตถกนิพันธนโต สติ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา อุปนิกเขปนโต สตินั้น อย่างไร

พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อุปนิกเขปน-
โต สติ
ได้แก่บุคคลเห็นทรัพย์ที่ตั้งไว้และระลึกได้ถึงทรัพย์นั้น ชื่อว่าอุปนิกเขปนโต สติ ขอ
ถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา อนุภูตโต สตินั้น เป็นประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อนุภูตโต สติ
นั้น ได้แก่บุคคลระลึกรูปได้ด้วยเคยเห็นรูป จำเสียงได้ด้วยเคยฟัง จำกลิ่นได้ด้วยเคยดม ระลึกรส
ได้ด้วยเคยบริโภค ระลึกซึ่งโผฏฐัพพารมณ์ได้เหตุเคยถูกต้องด้วยกาย และระลึกถึงธรรมเป็น
การละเอียดได้ เ หตุเคยรู้ด้วยจิต อย่างนี้ชื่อว่า อนุภูตโต สติ ขอถวายพระพร สิริถ้วนอาการ
17 เท่านี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ฟังพระนาคเสนแก้ไขดังนี้ ก็มีพระทัยโสมนัสตรัสว่า
กลฺโลสิ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้สมควรแล้ว
สติอาการปัญหา คำรบ 1 จบเท่านี้

วัสสสตปัญหา ที่ 2


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการว่า ภนฺเต ข้าแต่พระ
ผู้เป็นเจ้าผู้ปรีชา ตุมฺเห ภณถ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวถ้อยคำดังนี้ว่า บุคคลผู้ใดทำแต่งบาปอกุศล
จนอายุได้ร้อยปี เมื่อความมรณะมาถึงตัวจะใกล้ตายนั้น มีสติระลึกถึงพระพุทธคุณ ครั้งเดียว
เท่านั้น ครั้นกระทำกาลกิริยาตาย ได้บ่ายหน้าไปบังเกิดในสวรรค์เทวโลก ตกว่าคำนี้ น สทฺท-
หามิ
โยมจะเชื่อหามิได้ นี่ข้อหนึ่ง ยังอีกข้อหนึ่งเล่า พระผู้เป็นเจ้าว่า บุคคลผู้ใดกระทำปาณา-
ติบาตไว้แต่ครั้งเดียว ก็ไปสู่นรก ตกว่าคำ ๆ นี้โยมจะได้เชื่อหามิได้
พระนาคเสนจึงแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร พระองค์
ทรงสันนิษฐานเข้าพระทัยอย่างไร จึงถามฉะนี้ อันบุคคลกระทำการปาณาติบาตกรรมครั้งเดียว
มิได้กระทำการกุศลไว้ ครั้นกระทำกาลกิริยาตายบ่ายหน้าไปเกิดในนรก เปรียบดุจก้อนศิลาอัน
น้อยบุคคลใส่นาวา นาวาก็พาศิลาลอยอยู่เหนือหลังน้ำได้ และศิลานั้นถ้าบุคคลยกหยิบวางลง