เมนู

3 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 9 วาระ ในอาหารปัจจัย มี 3 วาระ ในอินทริย-
ปัจจัย มี 9 วาระ ในฌานปัจจัย มี 3 วาระ ในมัคคปัจจัย มี 9 วาระ ใน
สัมปยุตตปัจจัย มี 9 วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี 5 วาระ ในอัตถิปัจจัย มี
9 วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 9 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 9 วาระ ในอวิคตปัจจัย
มี 9 วาระ.

ปัจจนียนัย


การยกปัจจัยในปัจจนียะ


[885] 1. อนิทัสสนอัปปฏิฆธรรมที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัยแก่
อนิทัสสนอัปปฏิฆธรรมที่เป็นเหตุ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย,
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ


[886] ในนเหตุปัจจัย มี 9 วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ
ฯลฯ

อนุโลมปัจจนียนัย


การนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ


[887] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ... ฯลฯ

ปัจจนียานุโลมนัย


การนับจำนวนวาระในปัจจนียานุโลม


[888] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ... ฯลฯ
อนุโลมนัยก็ดี ปัจจนียนัยก็ดี อนุโลมปัจจนียนัยก็ดี ปัจจนียานุ-
โลมนัยก็ดี แห่งปัญหาวาระในกุสลติกะ ท่านนับอย่างไร พึงนับอย่างนั้น.
เหตุทุกสนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ จบ

อรรถกถาทุกติกปัฏฐาน


ใน ทุกติกปัฏฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแต่งเทศนาโดยสังเขป
ด้วยอำนาจการยกเฉพาะปัญหาขึ้น อย่างนี้ว่า เหตุ กุสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ
เหตุ กุสโล ธมฺโม อุปฺปปชฺชติ เหตุปจฺจยา
ผู้ศึกษาควรกล่าวความ
พิสดาร โดยนัยว่า อโทสเหตุ อโมหเหตุ อาศัยกุศลเหตุ คืออโลภะเป็นต้น
ความพิสดารนั้นแม้จะไม่ได้กล่าวไว้ ก็อาจทราบได้ โดยนัยที่แสดงไว้แล้วใน
หนหลัง เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสปัจจัยสักอย่างหนึ่งไว้ แม้ในบทเดียว.
ก็เทศนาที่แสดงไว้โดยย่อนั้น พึงทราบว่าเทศนานั้นทรงแสดงอย่างนี้.
จริงอยู่ พระองค์ทรงเชื่อมกุศลบท กับเหตุทุกะ แล้วแสดงปัจจัย
ที่ได้อยู่ทั้งหมด ด้วยอำนาจอนุโลมและปัจจนียนัย ในปฏิจจวาระ ไม่ทรงแสดง
อนุโลมปัจจนียนัย และปัจจนียานุโลมนัย และสหชาตวาระเป็นต้น แล้ว
ตรัสว่า ทั้งหมดควรขยายให้พิสดารเหมือนปฏิจจวาระนั่นแหละ.