เมนู

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[99] 1. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ.
2. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจต-
สิก ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่จิต และจิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ.
3. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก
ธรรมที่เป็นเจตสิก ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย,
จิต และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ.

2. อารัมมณปัจจัย


[100] 1. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจต-
สิก ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก
ย่อมเกิดขึ้น.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 2)
จิต ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก ย่อมเกิดขึ้น.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 3)
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก
ย่อมเกิดขึ้น.
4. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่
เจตสิก ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลาย ออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณาผล พิจารณา
นิพพาน.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล, แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิก
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภ
จักษุเป็นต้นนั้น จิต ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.