เมนู

พึงกระทำมูล (วาระที่ 3)
เจตนาที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้ง
หลาย และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์และ
กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

14. วิปากปัจจัย ฯลฯ 24. อวิคตปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย

มี 1 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย
ภาวนาทุกะ เหมือนกับ ทัสสนทุกะ ทุกปัจจัย ไม่มีแตกต่างกัน.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม


[601] ในเหตุปัจจัย มี 4 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 4 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 5 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 4 วาระ ในสมนันตรปัจจัย

มี 4 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 5 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 2 วาระ
ในนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 4 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย
มี 2 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 2 วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี 2 วาระ
ในกัมมปัจจัย มี 4 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 1 วาระ ในอาหารปัจจัย มี 4
วาระ ในอินทริยปัจจัย มี 4 วาระ ในฌานปัจจัย มี 4 วาระ ในมัคคปัจจัย
มี 4 วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี 2 วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ
ในอัตถิปัจจัย มี 7 วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 4 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 4
วาระ ในอวิคตปัจจัย มี 7 วาระ.
การจำแนกรายละเอียดในปัจจนียะ พึงจำแนกเหมือนกับทัสสนทุกะ
แม้การนับอีก 3 นัย ก็พึงนับอย่างนี้.
ภาวนาทุกกะ จบ

85. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ


ปฏิจจวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[602] 1. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกธรรม อาศัยทัสสเนน-
ปหาตัพพเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกธรรม ฯลฯ
ขันธ์ 2.
2. ธรรมที่ไม่ใช่ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกธรรม อาศัย
ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพ-
เหตุกธรรม
3. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกธรรม และธรรมที่ไม่ใช่
ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกธรรม อาศัยทัสสเนนปหาตัพพเหตุกธรรม
เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นทัสสเนน-
ปหาตัพพเหตุกธรรม ฯลฯ ขันธ์ 2.
4. ธรรมที่ไม่ใช่ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกธรรม อาศัย
ธรรมที่ไม่ใช่ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย