เมนู

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[370] 1. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม
ด้วยอํานาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
2. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
3. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม และ
อนุปาทินนธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
4. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

2. อารัมมณปัจจัย


[371] 1. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พิจารณาจักษุ ฯลฯ กายะ ฯลฯ รูปทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม
คันธะ รสะ โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น ครั้นเมื่อกุศล และ
อกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตที่เป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.
รูปายตนะที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
คันธายตนะที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพ-
พายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
2. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมณปัจจัย

คือ พิจารณาจักษุ ฯลฯ กายะ ฯลฯ รูปทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม
คันธะ รสะ โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูป ซึ่งเป็นอุปาทินนธรรม ด้วยทิพยจักษุ.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ซึ่งเป็นอุปาทินนธรรม
ด้วยเจโตปริยญาณ.