เมนู

ปัจจนียนัย


[368] 1. อุปาทินนธรรม เจือกับอุปาทินนธรรม เกิดขึ้น
เพราะนเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 เจือกับขันธ์ 1 ที่เป็นอุปาทินนธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ
ฯลฯ เจือกับขันธ์ 2.
2. อนุปาทินนธรรม เจือกับอนุปาทินนธรรม เกิดขึ้น
เพราะนเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 เจือกับขันธ์ 1 ที่เป็นอนุปาทินนธรรม ซึ่งเป็น
อเหตุกะ ฯลฯ เจือกับขันธ์ 2.
โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เจือกับขันธ์
ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ.

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ


[369] ในนเหตุปัจจัย มี 2 วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี 2 วาระ
ในนปุเรชาตปัจจัย มี 2 วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี 2 วาระ ในนอาเสวน-
ปัจจัย มี 2 วาระ ในนกัมมปัจจัย มี 1 วาระ ในนวิปากปัจจัย มี 1 วาระ
ในนฌานปัจจัย มี 1 วาระ ในนมัคคปัจจัย มี 2 วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย
มี 2 วาระ.
การนับสองวาระนอกนี้ก็ดี สัมปยุตตวาระก็ดี พึงกระทำอย่างนี้.

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[370] 1. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม
ด้วยอํานาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
2. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
3. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม และ
อนุปาทินนธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
4. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย