เมนู

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[321] 1. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
2. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทา-
ธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลายที่เป็นอุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
3. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทา-
ธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลายที่เป็นอุปาทาธรรม และไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

2. อารัมมณปัจจัย


[322] 1. อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทา-
ธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ กายะ ฯลฯ รูป ฯลฯ รสะ ฯลฯ
หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่
ชิวหาวิญญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิญญาณ, แก่
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ, แก่อนาคตังสญาณ, แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย.
2. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ ให้ทานแล้ว ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรม แล้วพิจารณา
ซึ่งกุศลกรรมนั้น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น
ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
พิจารณากุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้ในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค แล้วพิจารณามรรค, ผล ฯลฯ
นิพพาน ฯลฯ
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล,
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.