เมนู

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
สารัมมณขันธ์ ที่เกิดภายหลัง และกพฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
สารัมมณขันธ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง และรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตา-
รูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

การนับจำนวนวาระในอนุโลม


[35] ในเหตุปัจจัย มี 3 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 2 วาระ ใน
อธิปติปัจจัย มี 4 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 1 วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี 1
วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 7 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 6 วาระ ในนิสสย-
ปัจจัยมี 7 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 2 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี 1 วาระ
ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 1 วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี 1 วาระ ในกัมมปัจจัย มี 3
วาระ ในวิปากปัจจัย มี 3 วาระ ในอาหารปัจจัย มี 4 วาระ ในอินทริยปัจจัย
มี 6 วาระ ในฌานปัจจัยมี 3 วาระ ในมัคคปัจจัย มี 3 วาระ ในสัมปยุตต-
ปัจจัย มี 1 วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี 2 วาระ ในอัตถิปัจจัย 7 วาระ ใน
นัตถิปัจจัย มี 1 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 1 วาระ ในอวิคตปัจจัย มี 7 วาระ.

ปัจจนียนัย


การยกปัจจัยในปัจจนียะ


[36] 1. สารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สารัมมณธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาต-

ปัจจัย เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย
.
2. สารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อนารัมมณธรรม ด้วย
อำนาจของสหชาตปัจจัย
, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
3. สารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สารัมมณธรรม และ
อนารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจ
ของกัมมปัจจัย
.
4. อนารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อนารัมมณธรรม
ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
5. อนารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สารัมมณธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย
, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของ
ปุเรชาตปัจจัย
.
6. สารัมมณธรรม และอนารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่
สารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย
.
7. สารัมมณธรรม และอนารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่
อนารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจ

ของปัจฉาชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย, เป็น
ปัจจัย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ


[37] ในนเหตุปัจจัย มี 3 วาระ ในอนารัมมณปัจจัย 7 วาระ ฯลฯ
ในนสมนันตรปัจจัยมี 7 วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี 6 วาระ ในนอัญญมัญญ-
ปัจจัย มี 6 วาระ ในนิสสยปัจจัยมี 6 วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ
ในนปุเรชาตปัจจัย มี 7 วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย 7 วาระ ฯลฯ ใน
นมัคคปัจจัย มี 7 วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี 6 วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย
มี 5 วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี 4 วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี 7 วาระ ใน
โนวิคตปัจจัย มี 7 วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี 4 วาระ.

อนุโลมปัจจนียนัย


การนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ


[38] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ. . . ใน
นอธิปติปัจจัย มี 3 วาระ ฯลฯ ในสมนันตรปัจจัย มี 3 วาระ ในนอัญญ-
มัญญปัจจัย มี 1 วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ ฯลฯ ในนมัคคปัจจัย
มี 3 วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี 1 วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี 1 วาระ
ในโนนัตถิปัจจัย มี 3 วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี 3 วาระ.