เมนู

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[275] 1. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ทั้งหลาย และพาหิรกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
2. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่จิต ด้วยอำนาจของ
เหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่จิต และ
อัชฌัตติกกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
3. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และ
พาหิรธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ทั้งหลาย, จิต และอัชฌัตติกะและพาหิรกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจ
ของเหตุปัจจัย.

2. อารัมมณปัจจัย


[276] 1. อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ จิต ปรารภจิต เกิดขึ้น.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 2)
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม ปรารภจิต เกิดขึ้น.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 3)
จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ปรารภจิต เกิดขึ้น.
4. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทานแล้ว ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรมแล้ว
พิจารณาซึ่งกุศลกรรมนั้น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภกุศล
กรรมนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลพิจารณากุศลกรรมที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.
ออกจากฌาน พิจารณาฌาน ฯลฯ