เมนู

5.สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


เป็นปัจจัย ด้วยพลังอำนาจของสมนันตรปัจจัย

มี 1 วาระ
เป็นปัจจัย ด้วยพลังอำนาจของสหชาตปัจจัย มี 7 วาระ เหมือน
กับสหชาตปัจจัย ในปฏิจจวาระ
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 6 วาระ เหมือน
กับอัญญมัญญปัจจัยในปฏิจจวาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ เหมือนกับ
นิสสยปัจจัยในปฏิจจวาระ.


9.อุปนิสสยปัจจัย


[24] 1. สารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สารัมมณธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลที่เข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ย่อมให้ทาน ฯลฯ ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัย ศีล ฯลฯ ปัญญา ความปรารถนา สุขทางกาย
ทุกข์ทางกายแล้ว ย่อมให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด, ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลาย
สงฆ์.

ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา สุขทางกาย ทุกข์
ทางกาย เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา แก่ราคะ แก่ความปราถนา แก่สุขทางกาย
แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
2. อนารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สารัมมณธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัย อุตุ โภชนะ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ยัง
สมาบัติให้เกิด ฯลฯ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
อุตุ โภชนะ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ความปรารถนา
แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[25] 1. อนารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สารัมมณธรรม
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.