เมนู

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[512] 1. คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถธรรม ด้วยอำนาจ
ของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นคันถธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถะที่เป็นสัมปยุตต-
ธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
2. คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นคันถธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
3. คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถธรรม และธรรม
ที่ไม่ใช่คันถธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นคันถธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย,
คันถธรรม และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่คันถธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

5. ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถะที่เป็นสัมปยุตต-
ธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
6. ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถธรรม
และธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย, คันถธรรม และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุ
ปัจจัย.
7. คันถธรรม และธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็น
ปัจจัยแก่คันถธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นคันถธรรม และไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัย
แก่คันถะที่เป็นสัมปยุตตธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
8. คันถธรรม และธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นคันถธรรม และไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
9. คันถธรรม และธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็น
ปัจจัยแก่คันถธรรม และธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม ด้วยอำนาจของ
เหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นคันถธรรม และไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย, คันถธรรม และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย.

2. อารัมมณปัจจัย


[513] 1. คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถธรรม ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภคันถธรรมทั้งหลาย คันถธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที 2)
เพราะปรารภคันถธรรมทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่คันถธรรม ย่อม
เกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 3)
เพราะปรารภคันถธรรมทั้งหลาย คันถธรรม และสัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
4. ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่คันถธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ แล้วพิจารณากุศลกรรม
นั้น.
บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.
บุคคลออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน.