เมนู

คือ ขันธ์ 3 เจือกับขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ฯลฯ
ขันธ์ 2 ฯลฯ
ฯลฯ

การนับจำนวนวาระในอนุโลม


[462] ในเหตุปัจจัย มี 4 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 6 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 2 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 6 วาระ ในสมนันตรปัจจัย
มี 6 วาระ ในอวิคตปัจจัย มี 6 วาระ.

ปัจจนียนัย


การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ


[463] ในนเหตุปัจจัย มี 3 วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี 6 วาระ
ในนปุเรชาตปัจจัย มี 6 วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี 6 วาระ ในนอาเสวน-
ปัจจัย มี 6 วาระ ในนกัมมปัจจัย มี 4 วาระ ในนวิปากปัจจัย มี 6 วาระ
ในนฌานปัจจัย มี 1 วาระ ในนมัคคปัจจัย มี 1 วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย
มี 6 วาระ.
การนับจำนวนวาระทั้งสองนัยนอกนี้ก็ดี สัมปยุตตวาระก็ดี พึงกระทำ
อย่างนี้.

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[464] 1. สัญโญชนสัมปยุตตธรรมเป็นปัจจัยแก่สัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
2. สัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชน-
วิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
3. สัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม และสัญโญชนวิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุ
ปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย.
4. สัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชน-
วิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย