เมนู

อรรถกถาทุกปัฏฐาน


เหตุทุกะ เป็นต้น


แม้ในทุกปัฏฐาน ผู้ศึกษา พึงทราบปัญหาวิสัชนาและการนับในทุกะ
ทั้งหมด ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในบาลีนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง ในทุกปัฏฐานนี้
การวิสัชนา สเหตุกทุกะ และเหตุสัมปยุตตทุกะ เหมือนกับการวิสัชนา
เหตุทุกะ. เหตุและสเหตุกเหตุ แห่งเหตุสัมปยุตตทุกะ และสัปปัจจยทุกะ
สังขตทุกะ ก็เหมือนกัน ฯ คำนี้ว่า อิมํ ทุกํ ยถา สปฺปจฺจยทุกํ เอวํ กาตพฺพํ
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ เพราะแม้สังขตธรรมย่อมประกอบร่วมกับอสังขตธรรม
ไม่ได้. เหมือนสัปปจจยธรรมประกอบกับอัปปัจจยธรรมไม่ได้ฉะนั้น
สารัมมณทุกะ จิตตสัมปยุตตทุกะ และสังสัฏฐทุกะ มีวิสัชนาเหมือนกับ
อาสวโคจฉกะ โอฆโคจฉกะ และโยคโคจฉกะ ซึ่งเหมือนกัน เพราะว่าธรรม
3 เหล่านี้ มีวิสัชนาเหมือนกัน.
อรรถกถาเหตุทุกะเป็นต้น จบ

2. สเหตุกทุกะ


ปฏิจจวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[39] 1. สเหตุกธรรม อาศัยสเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะ
เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นสเหตุกธรรม ฯลฯ ขันธ์ 2 อาศัย
ขันธ์ 2.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
2. อเหตุกธรรม อาศัยสเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะ
เหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
3. สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม อาศัยสเหตุกธรรม
เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นสเหตุกธรรม
ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ