เมนู

9. อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็น
ปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่ไม่ใช่อาสวธรรม และกามาสวะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิ
ปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
พึงผูกจักรนัย
ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่
กามาสวะ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ และ
สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
พึงผูกจักรนัย

การนับจำนวนวาระในอนุโลม


[357] ในเหตุปัจจัย มี 7 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 9 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 9 วาระ ในสมนันตรปัจจัย
มี 9 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 9 วาระ
ในนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย
มี 3 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ ใน
กัมมปัจจัย มี 3 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 1 วาระ ในอาหารปัจจัย มี 3 วาระ

ฯลฯ ในมัคคปัจจัย มี 9 วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี 9 วาระ ในวิปปยุตต-
ปัจจัย มี 5 วาระ ในอัตถิปัจจัย มี 9 วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 9 วาระ ใน
วิคตปัจจัย มี 9 วาระ ในอวิคตปัจจัย มี 9 วาระ.
อนุโลมนัย จบ

ปัจจนียนัย


การยกปัจจัยในปัจจนียะ


[358] 1. อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัย ด้วยอํานาจของสหชาตปัจจัย, เป็น
ปัจจัย ด้วยอํานาจของอุปนิสสยปัจจัย.

2. อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาต-
ปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอํานาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วย
อํานาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

3. อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรม
ที่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วย
อำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

4. ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วย
อำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย,