เมนู

ปัจจัย มี 4 วาระ ฯลฯ ในนมัคคปัจจัย มี 4 วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี 2
วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี 2 วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี 4 วาระ ในโนวิคต
ปัจจัย มี 4 วาระ.
ปัจจนียานุโลมนัย จบ

ปัจจนียานุโลม


การนับจำนวนวาระในปัจจนียานุโลม


[322] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ... ใน
อธิปติปัจจัย มี 4 วาระ พึงกระทำอนุโลมมาติกา ในอวิคตปัจจัย มี 7 วาระ.
ปัจจนียานุโลมนัย จบ
โลกิยทุกะ จบ

อรรถกถาโลกิยทุกะเป็นต้น


อีกอย่างหนึ่ง ทุกะเหล่านี้คือ โลกิยทุกะ สาสวทุกะ สัญโญชนียทุกะ
คันถนียทุกะ นีวรณียทุกะ ปรามัฏฐทุกะ สังกิเลสิกทุกะ อาสววิปปยุตตสาสวทุกะ
สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนียทุกะ คันถวิปปยุตตคันถนียทุกะ นีวรณวิปป-
ยุตตนีวรณียทุกะ ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐทุกะ กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกทุกะ
ปริยาปันนทุกะ และสอุตตรทุกะ เหมือนกัน กิเลสทุกะเหมือนสัญโญชนทุกะ
สังกิลิฏฐทุกะ กิเลสสัมปยุตตทุกะ นีวรณสัมปยุตตทุกะ ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ

และสรณทุกะ เหมือนกัน อนึ่ง กิเลสทุกะ สังกิลิฏฐนีวรณทุกะ นีวรณ-
สัมปยุตตกิเลสทุกะ และกิเลสสัมปยุตตทุกะ เหมือนกัน โดยนัยนี้ ผู้ศึกษา
พึงทราบว่า วิสัชนาแห่งทุกะทั้งปวงที่มีเนื้อความเหมือนกัน ย่อมเป็นเช่น
เดียวกันนั่นเอง.
ก็ในปัฏฐานทั้งหมด ย่อมไม่ได้เกนจิวิญเญยยทุกะ. ในทุกะอันมีรูป
อย่างนี้ เหล่านี้คือ " อาสวา เจว อาสวสมฺปยุตฺตา จ, สญฺโญชนา
เจว สญฺโญชนสมฺปยุตฺตา จ, คนฺถา เจว คนฺถสมฺปยุตฺตา จ,
นิวรณา เจว นีวรณสมฺปยุตฺตา จ, กิเลสา เจว สงฺกิลิฏฐา จ "

ย่อมไม่ได้วิปากปัจจัย และนานากขณิกกัมมปัจจัย. ในนเหตุสเหตุกทุกะ
นเหตุอเหตุกทุกะ ไม่มีเหตุปัจจัย. ในทุกะเหล่านี้คือ เหตุเหตุสัมปยุตทุกะ
อาสวอาสวสัมปยุตตทุกะ, คันถคันถสัมปยุตตทุกะ ย่อมไม่ได้นเหตุปัจจัย
นฌานปัจจัย
และ นมัคคปัจจัย. ส่วนในทุกะเหล่านี้คือ สัญโญชน-
สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ, นีวรณนีวรณสัมปยุตตทุกะ กิเลสกิเลสสัมปยุตตทุกะ
กิเลสสังกิลิฏฐทุกะ ย่อมได้นเหตุปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งโมหะ ที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ย่อมไม่ได้นฌานปัจจัย และนมัคคปัจจัย. ผู้ศึกษา
กำหนดวิสัชนาที่มีได้และมีไม่ได้ในทุกะทั้งปวง ดังอธิบายมาแล้ว พึงทราบ
การนับวาระด้วยอำนาจแห่งบาลีแล.
อรรถกถาทุกปัฏฐาน จบ

13. เกนจิวิญเญยยทุกะ


ปฏิจจวาระ


อนุโลมนัย


[323] 1. เกนจิวิญเญยยธรรม อาศัยเกนจิวิญเญยยธรรม
เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นเกนจิวิญเญยย-
ธรรม ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลาย, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัย
หทยวัตถุ.
มหาภูตรูป 3 อาศัยมหาภูตรูป 1 ฯลฯ
จิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป
ทั้งหลาย.
2. เกนจินวิญเญยยธรรม อาศัยเกนจิวิญเญยยธรรม
เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 ที่เป็นเกนจินวิญเญยยธรรม และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นเกนจิวิญเญยยธรรม ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลาย, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัย
หทยวัตถุ.